คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

หลักสูตร MIR

คงเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจความเป็นไปทางการเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคมของประเทศเรา หากเราไม่ทราบว่าประเทศเรามีฐานะและบทบาทเช่นไรในระบบระหว่างประเทศยุคปัจจุบัน ตลอดเวลาที่ผ่านมา ความเชื่อมโยงระดับโลกได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนนับไม่ถ้วนอย่างไม่อาจคาดเดาได้ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะช่วยให้เราเข้าใจการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เพื่อนำความรู้ไปพัฒนาตนเอง ประเทศชาติ ตลอดจนสังคมโลก
หลักสูตรฯ เปิดสอนในวันเสาร์และอาทิตย์ เพื่อให้โอกาสทั้งบัณฑิตจบใหม่ และคนที่ทำงานอยู่แล้ว ได้เข้ามาเรียน เป้าหมายหลักคือการผลิตมหาบัณฑิตที่ความพร้อมด้านวิชาการและด้านปฏิบัติการเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพื่อตอบสนองตลาดแรงงาน ให้เป็นคลื่นลูกใหม่ที่มีความเชี่ยวชาญ สามารถเอาความรู้ไปประยุกต์ใช้กับเส้นทางอาชีพของตน รวมทั้งมีจิตสำนึก และความสามารถในการเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีในประชาคมโลก
ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา มีมหาบัณฑิตที่จบจากโครงการฯ ร่วม 300 คน บุคคลเหล่านี้ทำงานอยู่ในหลายสาขาอาชีพ อาทิ นักการทูต อาจารย์ เจ้าหน้าที่องค์กรระหว่างประเทศ/สถานทูต นักวิจัย สื่อสารมวลชน พนักงานในบรรษัทข้ามชาติ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ด้านวิเทศสัมพันธ์ เป็นต้น

รายละเอียดหลักสูตร

หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)

Master of Political Science Program in International Relations (English Program)

เป็นหลักสูตรแบบนอกเวลา เรียนวันเสาร์กับวันอาทิตย์ เวลา 9:00-16:00 น. จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ รวมถึงวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระใช้ระบบทวิภาค แต่ละภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ปีการศึกษาละ 15 คน

210,000 บาท (ชาวไทย) และ 261,000 บาท (ชาวต่างชาติ)

      • สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรี หรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยรับรอง

      • มีผลการทดสอบภาษาอังกฤษที่มีอายุไม่เกิน 2 ปีนับถึงวันสมัคร ตามเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

ก. TU-GET (Paper-based) ไม่ต่ำกว่า 550 คะแนน

ข. TU-GET (Computer-based) ไม่ต่ำกว่า 79 คะแนน

ค. TOEFL (Paper-based) ไม่ต่ำกว่า 550 คะแนน

ง. TOEFL (Internet-based) ไม่ต่ำกว่า 79 คะแนน

จ. TOEFL (Institutional Testing Program) ไม่ต่ำกว่า 550 คะแนน

ฉ. IELTS ไม่ต่ำกว่าระดับ 6.5

      • เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2561 หมวด 4 การรับเข้าศึกษา

สอบข้อเขียนกับสอบสัมภาษณ์ (สำหรับผู้สมัครที่พำนักอยู่นอกประเทศ สามารถเข้าร่วมกระบวนการคัดเลือกทางออนไลน์ได้)

ประมาณเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปี ติดตามได้ที่ (www.polsci.tu.ac.th/mir)

นักศึกษาหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) จะต้องลงทะเบียนศึกษารายวิชารวมไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต ตามโครงสร้าง ดังนี้

      • แผน ก แบบ ก 2

ก. หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน 4 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)

ข. หมวดวิชาบังคับ 12 หน่วยกิต

ค. หมวดวิชาเลือก 12 หน่วยกิต

ง. วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต

      • แผน ข (ไม่ทำวิทยานิพนธ์)

ก. หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน 4 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)

ข. หมวดวิชาบังคับ 12 หน่วยกิต

ค. หมวดวิชาเลือก 18 หน่วยกิต

ง. การค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต

เอกสารเผยแพร่

ช่องทางติดต่อ

หลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) (MIR)

02-613-2311, 02-623-5157
www.polsci.tu.ac.th/mir/

ข้อมูล ณ วันที่ 30 ตุลาคม 2567

คณะรัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 9.00-16.00 น.

ท่าพระจันทร์

เลขที่ 2 ถนนพระจันทร์
เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

ศูนย์รังสิต

เลขที่ 99 หมู่ 18 ถนนพหลโยธิน
อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12121

สื่อสังคมออนไลน์

สงวนลิขสิทธิ์: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Copyright © 2024)