นักศึกษาแลกเปลี่ยนขาออก (Outbound)
นักศึกษาของคณะสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศที่คณะ หรือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีความร่วมมือเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ภาคการศึกษา แต่ต้องไม่เกิน 1 ปีการศึกษา สำหรับกรณีที่เป็นความร่วมมือระดับคณะ มีมหาวิทยาลัยให้นักศึกษาเลือกเกือบ 20 แห่ง ครอบคลุมประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส อินโดนีเซีย โปแลนด์ แคนาดา เกาหลีใต้ ฯลฯ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
รายละเอียดโครงการ
-
-
- เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีของคณะตั้งแต่ชั้นปีที่ 2 ขึ้นไป หรือเป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของคณะที่เรียนมาแล้วอย่างน้อย 1 ภาคการศึกษา
- มีผลการศึกษา ผลทดสอบภาษาต่างประเทศ และคุณสมบัติอื่นตามที่สถาบันปลายทางกำหนด
- เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีของคณะตั้งแต่ชั้นปีที่ 2 ขึ้นไป หรือเป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของคณะที่เรียนมาแล้วอย่างน้อย 1 ภาคการศึกษา
-
แต่ละปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 รอบ ได้แก่ รอบเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม (ภาคการศึกษาที่ 1) กับรอบเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน (ภาคการศึกษาที่ 2)
ผู้สมัครสามารถกรอกใบสมัคร พร้อมแนบเอกสารหลักฐานทั้งหมดได้ทางออนไลน์ (Click)
- เรียงความภาษาอังกฤษบรรยายความมุ่งหวังในการไปศึกษาแลกเปลี่ยน (statement of purpose) มีความยาวไม่น้อยกว่า 300 คำ
- แผนการศึกษา (study plan) ซึ่งระบุรายวิชาที่นักศึกษาสนใจศึกษาและสามารถเทียบเคียงรายวิชากับเนื้อหาในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Click)
- ใบรายงานผลการศึกษา (transcript) ที่ออกไม่เกิน 30 วันนับถึงวันยื่นใบสมัคร
- หนังสือรับรองการเป็นนักศึกษาฉบับภาษาอังกฤษ
- ใบรายงานผลการทดสอบความรู้ภาษาต่างประเทศตามที่กำหนด โดยมีอายุไม่เกิน 2 ปีนับถึงวันยื่นใบสมัคร ทั้งนี้ สามารถนำมายื่นภายในวันสอบสัมภาษณ์เป็นอย่างช้า
- ประวัติส่วนตัวโดยสังเขปไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ A4
- สำเนาหนังสือเดินทางหน้าที่ปรากฏข้อมูลของผู้สมัคร โดยมีอายุเหลือไม่น้อยกว่า 6 เดือน
- สำเนาทะเบียนบ้านหน้าที่ปรากฏชื่อผู้สมัครและผู้ปกครอง
- ใบรับรองอาจารย์ที่ปรึกษา (Click)
- คำรับรองของผู้ปกครอง (Click)
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้ปกครอง
- เรียงความภาษาอังกฤษบรรยายความมุ่งหวังในการไปศึกษาแลกเปลี่ยน (statement of purpose) มีความยาวไม่น้อยกว่า 300 คำ
สอบสัมภาษณ์ (เป็นภาษาอังกฤษ)
นักศึกษาสามารถดูรายชื่อมหาวิทยาลัยคู่สัญญาในต่างประเทศของคณะทางออนไลน์ (Click)
นักศึกษาแลกเปลี่ยนขาเข้า (Inbound)
แต่ละปี มีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยคู่สัญญาในต่างประเทศเดินทางมาแลกเปลี่ยนที่คณะตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการประมาณ 40-50 คน ส่วนใหญ่เป็นระดับปริญญาตรีและมาจากมหาวิทยาลัยในยุโรป โดยคณะมีสองหลักสูตรที่ท่าพระจันทร์ที่พร้อมรองรับนักศึกษาแลกเปลี่ยนขาเข้า ได้แก่ หลักสูตร BIR สำหรับระดับปริญญาตรี และ หลักสูตร MIR สำหรับระดับปริญญาโท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
รายละเอียดโครงการ
- หลักสูตร BIR
เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีตั้งแต่ชั้นปีที่ 2 ขึ้นไป
มีผลการเรียนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.80 หรือเทียบเท่า
มีผลคะแนน TOEFL (IBT) ไม่ต่ำกว่า 61 IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.0 หรือผลคะแนนอื่นที่เทียบเท่า
- หลักสูตร MIR
เป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
มีผลการเรียนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 หรือเทียบเท่า
มีผลคะแนน TOEFL (IBT) ไม่ต่ำกว่า 79 IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.5 หรือผลคะแนนอื่นที่เทียบเท่า
มหาวิทยาลัยคู่สัญญาเสนอรายชื่อนักศึกษา ภายในวันที่ 25 เมษายนสำหรับภาคการศึกษาที่ 1 และภายในวันที่ 30 กันยายนสำหรับภาคการศึกษาที่ 2
ผู้สมัครกรอกใบสมัครและเอกสารหลักฐาน ภายในวันที่ 10 พฤษภาคมสำหรับภาคการศึกษาที่ 1 และภายในวันที่ 10 ตุลาคมสำหรับภาคการศึกษาที่ 2
- หนังสือเสนอรายชื่อนักศึกษาจากต้นสังกัดที่ออกโดยผู้ดูแลโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา
- เรียงความบรรยายความมุ่งหวังในการไปศึกษาแลกเปลี่ยน (statement of purpose) มีความยาวไม่น้อยกว่า 300 คำ
- หนังสือเสนอรายชื่อนักศึกษาจากต้นสังกัดที่ออกโดยผู้ดูแลโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา
- แผนการศึกษา (study plan) (Click)
- ใบรายงานผลการศึกษา (transcript) จากต้นสังกัด
- หนังสือรับรองการเป็นนักศึกษาจากต้นสังกัด
- ใบรายงานผลการทดสอบความรู้ภาษาต่างประเทศตามที่กำหนด
- สำเนาหนังสือเดินทางหน้าที่ปรากฏข้อมูลของผู้สมัคร
- รูปถ่ายหน้าตรง นามสกุลไฟล์ JPG ขนาด 2 x 2.5 นิ้ว
- แผนการศึกษา (study plan) (Click)
- แบบฟอร์มผลตรวจสุขภาพ (Click)
- แบบฟอร์มผลตรวจสุขภาพ (Click)
- เอกสารประกันภัย หรืออุบัติเหตุในการเดินทางระหว่างประเทศ
- เอกสารประกันภัย หรืออุบัติเหตุในการเดินทางระหว่างประเทศ
พิจารณาคุณสมบัติจากเอกสารหลักฐาน
การฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาแลกเปลี่ยน
นอกเหนือจากการแลกเปลี่ยนในรูปของการมาลงเรียนเป็นรายวิชา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยังพร้อมให้การสนับสนุนด้านการติดต่อประสานงานแก่นักศึกษาจากสถาบันคู่สัญญาในต่างประเทศของคณะที่ประสงค์จะเดินทางมาฝึกปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน หรือองค์การระหว่างประเทศ ซึ่งตั้งอยู่ที่ประเทศไทย ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา คณะได้เดินเรื่องและดูแลนักศึกษาแลกเปลี่ยนที่มาฝึกปฏิบัติงานในหน่วยงาน อาทิ กรุงเทพมหานคร สหประชาชาติ เป็นต้น โดยนักศึกษาจากสถาบันคู่สัญญาในต่างประเทศที่สนใจการฝึกปฏิบัติงานที่ประเทศไทยสามารถกรอกใบสมัคร พร้อมแนบเอกสารหลักฐานเบื้องต้นทั้งหมด เพื่อประกอบการนำเสนอข้อมูลให้หน่วยงานที่ต้องการฝึกปฏิบัติงาน ได้ทางออนไลน์