คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปริญญาเอก

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พยายามตอบสนองต่อความต้องการในการแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ๆ ด้วยการเปิดหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปริญญาเอก) เมื่อปี พ.ศ. 2546 โดยวัตถุประสงค์หลักของหลักสูตรคือ การฝึกนักศึกษาให้มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ สามารถสร้างสรรค์งานวิจัยที่ได้มาตรฐานด้วยตนเอง นอกจากนี้ หลักสูตรยังมุ่งสอนให้นักศึกษามีจรรยาบรรณของการเป็นนักวิชาการที่ดี สามารถถ่ายทอดความรู้ และแนวคิดเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม
ด้วยการพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง และคณาจารย์ผู้มากประสบการณ์จากนานาสาขาวิชา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตของคณะรัฐศาสตร์ได้กลายเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในวงวิชาการไทย ตลอดร่วม 10 ปีที่ผ่านมา ทางหลักสูตรได้ผลิตศิษย์เก่าที่มีคุณภาพออกไปเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่ ศิษย์เก่าเหล่านี้จะไปประกอบอาชีพเป็นนักวิชาการ นักวิจัย และอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยต่างๆ

รายละเอียดหลักสูตร

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์

Doctor of Philosophy Program in Political Science

เป็นหลักสูตรแบบเต็มเวลา เรียนวันจันทร์ถึงวันศุกร์ในช่วง 9:00-16:00 น. แบ่งเป็น 3 แผนการศึกษา ประกอบด้วยแบบ 1.1 (สำเร็จปริญญาโท ทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว) แบบ 2.1 (สำเร็จปริญญาโท ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์) และแบบ 2.2 (สำเร็จปริญญาตรี ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์) ใช้ระบบทวิภาค แต่ละภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

      • 2-4 ปีสำหรับแผนการศึกษาแบบ 1.1

      • 3-6 ปีสำหรับแผนการศึกษาแบบ 2.1

      • 4-8 ปีสำหรับแผนการศึกษาแบบ 2.2

ปีการศึกษาละ 3 คน

237,600 บาท (กรณีใช้เวลา 6 ปี)

        • แผนการศึกษาแบบ 1.1

ก. ผู้สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาโทสาขารัฐศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง ทั้งในหรือต่างประเทศจากสถาบันการศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยรับรอง

ข. มีเกรดเฉลี่ยสะสมชั้นปริญญาโทไม่ต่ำกว่า 3.25 และจบด้วยการทำวิทยานิพนธ์

ค. เป็นผู้มีวิชาชีพเกี่ยวข้องกับงานวิชาการด้านรัฐศาสตร์ และมีประสบการณ์ในด้านนี้ไม่น้อยกว่า 5 ปีนับถึงวันที่สมัคร

ง. มีผลงานวิจัย หรือผลงานที่เทียบเคียงได้ ไม่น้อยกว่า 3 ชิ้นงานในช่วงเวลา 5 ปีก่อนวันประกาศรับสมัคร ซึ่งจะต้องผ่านการประเมินผลงานได้ระดับดีมากขึ้นไปจากผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับดุษฎีบัณฑิตแต่งตั้งไม่น้อยกว่า 2 ท่าน

        • แผนการศึกษาแบบ 2.1

ก. สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาโทจากสถาบันการศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยรับรอง

ข. มีคุณวุฒิชั้นปริญญาตรี หรือชั้นปริญญาโทด้านสังคมศาสตร์ และ/หรือมนุษย์ศาสตร์ จากสถาบันการศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยรับรอง

ค. มีเกรดเฉลี่ยสะสมชั้นปริญญาโทไม่ต่ำกว่า 3.00

        • แผนการศึกษาแบบ 2.2

ก. สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรีด้านรัฐศาสตร์จากสถาบันการศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยรับรอง

ข. มีเกรดเฉลี่ยสะสมชั้นปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 3.25

ทั้งนี้ นอกจากคุณสมบัติเฉพาะของแผนการศึกษาแต่ละแบบ ผู้สมัครยังต้องมีคุณสมบัติทั่วไป ดังนี้

        • มีผลการทดสอบภาษาอังกฤษที่มีอายุไม่เกิน 2 ปีนับถึงวันสมัคร ตามเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

ก. TU-GET (Paper-based) ไม่ต่ำกว่า 550 คะแนน

ข. TU-GET (Computer-based) ไม่ต่ำกว่า 79 คะแนน

ค. TOEFL (Internet-based) ไม่ต่ำกว่า 79 คะแนน

ง. IELTS ไม่ต่ำกว่าระดับ 6.5

        • เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2561 หมวด 4 การรับเข้าศึกษา

สอบสัมภาษณ์กับพิจารณาใบสมัคร ประสบการณ์ ตลอดจนเอกสารประกอบทั้งหมด

ประมาณเดือนมกราคมของแต่ละปี

นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563) จะต้องลงทะเบียนศึกษา ตามโครงสร้าง ดังนี้

      • แผนการศึกษาแบบ 1.1 (รวม 48 หน่วยกิต)

ก. วิชาบังคับร่วม 9 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)

ข. วิชาศึกษาเฉพาะเรื่อง 3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)

ค. วิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต

      • แผนการศึกษาแบบ 2.1 (รวม 60 หน่วยกิต)

ก. วิชาเสริมพื้นฐาน 3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)

ข. วิชาบังคับร่วม 9 หน่วยกิต

ค. วิชาบังคับเลือกด้านรัฐศาสตร์ 6 หน่วยกิต

ง. วิชาเลือก 9 หน่วยกิต

จ. วิชาศึกษาเฉพาะเรื่อง 3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)

ฉ. วิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต

      • แผนการศึกษาแบบ 2.2 (รวม 81 หน่วยกิต)

ก. วิชาเสริมพื้นฐาน 3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)

ข. วิชาบังคับร่วม 9 หน่วยกิต

ค. วิชาบังคับเลือกด้านรัฐศาสตร์ 6 หน่วยกิต

ง. วิชาบังคับเลือกสาขา 12 หน่วยกิต

จ. วิชาเลือก 6 หน่วยกิต

ฉ. วิชาศึกษาเฉพาะเรื่อง 3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)

ช. วิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต

เอกสารเผยแพร่

ช่องทางติดต่อ

งานวิชาการและวิเทศสัมพันธ์

02-613-2303
grad.polsci@tu.ac.th

ข้อมูล ณ วันที่ 30 ตุลาคม 2567

คณะรัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 9.00-16.00 น.

ท่าพระจันทร์

เลขที่ 2 ถนนพระจันทร์
เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

ศูนย์รังสิต

เลขที่ 99 หมู่ 18 ถนนพหลโยธิน
อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12121

สื่อสังคมออนไลน์

สงวนลิขสิทธิ์: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Copyright © 2024)