แม่แบบ:สาขาบริหารรัฐกิจ

จาก คลังข้อมูลด้านรัฐศาสตร์

หมวดโครงสร้าง

เนื้อหา

หน่วยงานของรัฐ

1.1 ส่วนราชการ

1.1.1 ความหมาย

หน่วยงานที่รับผิดชอบให้บริการสาธารณะทางปกครองซึ่งเป็นภารกิจหลักของรัฐ ให้บริการเป็นการทั่วไปและไม่มุ่งกำไร ใช้งบประมาณแผ่นดิน ใช้อำนาจฝ่ายเดียวของรัฐเป็นหลักในการดำเนินกิจกรรม บุคลากรมีสถานะเป็นข้าราชการและรัฐต้องรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียวในการกระทำของหน่วยงาน

1.1.2 ความสัมพันธ์กับรัฐ

• รัฐจัดตั้ง

• รับปกครองบังคับบัญชา

• ใช้งบประมาณแผ่นดิน

• ใช้อำนาจฝ่ายเดียวของรัฐเป็นหลักในการดำเนินกิจกรรม

• รัฐต้องรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียวในการกระทำของหน่วยงาน

1.1.3 การบริหารจัดการองค์กร

รัฐต้องรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียวในการกระทำของหน่วยงาน

1.2 รัฐวิสาหกิจ

1.2.1 ความหมาย

หน่วยงานที่รับผิดชอบบริการสาธารณะทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อการแสวงหารายได้ ต้องสามารถเลี้ยงตัวเองจากการดำเนินงานเชิงพาณิชย์ แต่หากมีความจำเป็นต้องรับเงินงบ ประมาณสนับสนุนเป็นครั้งคราวหรือบางส่วน ในกรณีนี้รัฐก็ควรจัดสรรงบประมาณให้ในรูปของเงินอุดหนุนซึ่งควรจะแยกจากการ เก็บค่าบริการตามปกติของรัฐวิสาหกิจนั้นๆให้ชัดเจน เป็นนิติบุคคลและมีความสัมพันธ์กับรัฐซึ่งประกอบด้วยรัฐจัดตั้ง ทุนเกินครึ่งเป็นของรัฐ รัฐมีอำนาจบริหารจัดการ (ผ่านการแต่งตั้งคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงและการให้นโยบาย)การลงทุนต้องขอความเห็นชอบจากรัฐและรายได้ต้องส่งคืนรัฐ บุคลากรมีสถานะเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจแต่ระเบียบการปฎิบัติงานต่างๆใช้หลักเดียวกันกับส่วนราชการมีการดำเนินงานลักษณะผสมระหว่างกิจการเอกชนและหน่วยงานของรัฐบาลแบบมหาชนมีเป้าหมายคือ ผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก

1.2.2 ความสัมพันธ์กับรัฐ

• รัฐจัดตั้ง

• ทุนเกินครึ่งเป็นของรัฐ

• รัฐมีอำนาจกำกับดูแลตามที่กฎหมายกำหนด

• การลงทุนต้องขอความเห็นชอบจากรับและรายได้ต้องส่งคืนรัฐ

1.2.3 การบริหารจัดการองค์กร

การดำเนินการไม่ใช้อำนาจฝ่ายเดียวเป็นหลัก แต่ใช้สัญญา ไม่ใช้กฏระเบียบของทางราชการในการบริหารการเงิน การบริหารงานและการบริหารบุคคล ยกเว้นรัฐวิสาหกิจที่ต้องใช้อำนาจพิเศษของรัฐ เช่น เวนคืน ปักเสา พาดสายต้องจัดตั้งโดยมีพระราชบัญญัติรองรับ

1.2.4 การจัดประเภท

การจัดประเภทรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายจัดตั้ง มีการจัดตั้งโดยพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา ระเบียบหรือข้อบังคับ ประมวลกฏหมายแงและพาณิชย์ และกฎหมายด้วยบริษัทมหาชน จำกัด

• รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติ ทุนทั้งสิ้นเป็นของรัฐ เช่น การรถไฟแห่งประเทสไทย องคืการโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เป็นต้น

• รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งโดยพระราชกฤษฏีกา มีทุนทั้งสิ้นเป็นของรัฐ เช่น องค์การสวนยาง องคืการอุตสาหกรรมป่าไม้

• รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คือ บริษัทจำกัดที่รับเป็นเจ้าของทั้งสิ้น หรือรัฐบาลถือหุ้นเกินร้อยละ 50

• รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นตามมติของคณะรัฐมนตรี อยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงที่สังกัด เช่น โรงงานยาสูบ ฉลากกินแบ่งรับบาล

1.3 องค์กรมหาชน

1.3.1 ความหมาย

หน่วยงานที่รับผิดชอบบริการสาธารณะทางสังคมและวัฒนธรรม ไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไร เป็นนิติบุคคลและมีความสัมพันธ์กับรัฐ รัฐจัดตั้ง ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐหรือสามารถเลี้ยงตัวเองได้ และรัฐมีอำนาจบริหารจัดการ การลงทุนต้องขอความเห็นชอบจากรัฐ บุคลากรมีสถานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ วิธีดำเนินการไม่ใช้อำนาจฝ่ายเดียวเป็นหลัก แต่ใช้สัญญา ไม่ใช้กฎระเบียบของทางราชการ

1.3.2 ความสัมพันธ์กับรัฐ

• รัฐจัดตั้ง

• ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐหรือสามารถเลี้ยงตัวเองได้

• รับมีอำนาจกำกับดูแลตามที่กฎหมายกำหนด

• การลงทุนต้องขอความเห็นชอบจากรัฐ

1.3.3 การบริหารจัดการองค์กร

วิธีการดำเนินการไม่ใช้อำนาจฝ่ายเดียวเป็นหลัก แต่ใช้สัญญา ไม่ใช้กฎระเบียบของทางราชการ ยกเว้นกิจกรรมที่ต้องใช้อำนาจฝ่ายเดียวต้องออกพระราชบัญญัติ รวมทั้งในกรณีจัดตั้งมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

1.3.4 การจัดประเภท

การจัดประเภทองคืกรมหาชนตามกฏหมายจัดตั้ง

• องค์กรมหาชนที่จัดตั้งโดยพระราชกฤษฏีกาซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติองค์กรมหาชน พ.ศ. 2542 มีจำนวน 29 แห่ง

• องค์กรมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ (หน่วยงานในกำกับ) เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สถาบันวิจัยระบบสาธารณะสุข เป็นต้น

1.4 หน่วยงานของรัฐรูปแบบใหม่

1.4.1 ความหมาย

องค์การของรัฐที่เป็นอิสระ ซึ่งเป็นหน่วยงาน รูปแบบใหม่ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการควบคุม กำกับดูแลกิจกรรมของรัฐตามนโยบายสำคัญที่ ต้องการความเป็นกลางอย่างเคร่งครัด ปราศจากการแทรกแซงจากอำนาจทางการเมือง เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สำนักงาน คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เป็นต้นอีกอย่างหนึ่งคือ กองทุนที่เป็นนิติบุคคลซึ่งเป็นเครื่องมือทางเศรษฐกิจของรัฐ หมายถึง นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นโดยตราเป็นพระราชบัญญัติเนื่องจากต้องการอำนาจรัฐในการบังคับฝ่ายเดียว ต่อภาคเอกชนหรือประชาชนในการสมทบเงินเข้ากองทุน ฯลฯ

1.4.2 ความสัมพันธ์กับรัฐ

• รัฐจัดตั้ง

• ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐ

• รัฐมีอำนาจกำกับดูแลตามที่กฎหมายกำหนด

• ต้องการอำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการบังคับฝ่ายเดียวต่อประชาชนหรือกำกับตรวจสอบ

• การบริหารงานไม่ใช่กฎระเบียบของทางราชการ

• รายงานผลต่อคระรัฐมนตรีและรัฐสภา


1.4.3 การบริหารจัดการองค์กร

การบริหารงานไม่ใช่กฎระเบียบของทางราชการ และต้องรายงานผลต่อคระรัฐมนตรีและรัฐสภา

1.4.4 การจัดประเภท

การจัดประเภทของหน่วยธุรการขององค์การของรัฐที่เป็นอิสระตามลักษณะภารกิจ

• หน่วยธุรการขององค์การของรัฐที่ทำหน้าที่กำกับดูแลเป็นหน่วยงานจัดตั้งโดยพระราชบบัญญัติเฉพาะ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น

• หน่วยธุรการขององค์กรรัฐที่ทำหน้าที่ให้บริการ เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ เช่น องคืการกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย เป็นต้น การจำแนกประเภทของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษตามลักษณะภารกิจของหน่วยงาน

• หน่วยบริการรูปแบบพิเศษที่มีลักษณะภารกิจในการให้บริการด้านพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรมแก่ส่วนราชการเจ้าสังกัด เช่น สำนักพิมพ์คระรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นต้น

• หน่วยบริการรูปแบบพิเศษที่มีลักษณะภารกิจในการให้บริการสาธารณะทางสังคมและวัฒนธรรม เช่น สถาบันส่งเสริมการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เป็นต้น

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่

1. ความหมายและคุณลักษณะสำคัญของหน่วยงานรัฐ กับการจัดทำประมวลจริยธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ที่มา http://www.ombudsman.go.th/10/documents/Ethical211.pdf




ความสัมพันธ์กับรัฐ
การบริหารจัดการองค์กร
การจัดประเภท

องค์กรมหาชน

ความหมาย
ความสัมพันธ์กับรัฐ
การบริหารจัดการองค์กร
การจัดประเภท

หน่วยงานของรัฐรูปแบบใหม่

ความหมาย
ความสัมพันธ์กับรัฐ
การบริหารจัดการองค์กร
การจัดประเภท

การบริหารราชการแผ่นดิน

ราชการบริหารส่วนกลาง

ความหมาย
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง

ราชการบริหารส่วนภูมิภาค

ความหมาย
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค

ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น

ความหมาย

การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
การมีส่วนร่วมของประชาชน

การแปรรูปกิจการภาครัฐ

ความหมาย

ประเภทการแปรรูป