ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สาขาการเมืองการปกครอง"

จาก คลังข้อมูลด้านรัฐศาสตร์
แถว 343: แถว 343:
  
 
รวมมีพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น 33 พระองค์
 
รวมมีพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น 33 พระองค์
 +
 +
1.4.2 พระมหากษัตริย์พระองค์สำคัญ
 +
 +
1.4.2.1 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
 +
 +
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือ พระเจ้าอู่ทอง องค์นี้ เป็นพระโอรสของพระเจ้าศิริชัย หรือ ศรีวิชัย สมภพ เมื่อ (จากหมายเหตุโหร) วันจันทร์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 5 จ.ศ. 676 พ.ศ.1857 (ตรงกับวันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ.1856)เวลารุ่งเช้า ปลายรัชกาลของพ่อขุนรามคำแหงแห่งอาณาจักรสุโขทัย
 +
 +
เรื่องราชวงศ์ของพระเจ้าอู่ทองนั้น มีความสันนิษฐานสรุปไว้เบื้องต้นว่า พระเจ้าไชยศิริ กษัตริย์จากแคว้นโยนกเชียงแสน ซึ่งครองเมืองชัยปราการ (เมืองฝาง) นั้นได้พาครอบครัวและเชื้อพระวงศ์ทิ้งเมืองอพยพหนี เนื่องจากพวกมอญได้ยกทัพมาตีและเข้าเผาทำลายบ้านเมืองจนร้าง บรรดาไพร่พลและเชื้อพระวงศ์ที่อพยพลงมาทางตอนใต้นั้น ได้พากันแยกย้ายไปตั้งเมืองของตนอยู่ในแคว้นต่าง ๆ ในดินแดนสุวรรณภูมิ กล่าวคือ ขณะนั้นได้มีคนไทยชาวอพยพ พากันลงมาทำมาหากิน อยู่ตามเมืองต่าง ๆ มากแล้ว เมืองที่คนไทยมาอาศัยอยู่นั้นมีเมืองใหญ่ 2 แห่ง คือ เมืองอโยธยา ในแคว้นละโว้ และเมืองอู่ทอง ในแคว้นสุวรรณภูมิ ต่อมาพวกขอมได้ขยายอำนาจเข้ามาปกครองดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา สมัยอาณาจักรทวาราวดี จึงตั้งศูนย์กลางดูแลอยู่ที่ เมืองละโว้ จึงทำให้บรรดาคนไทยที่อยู่ในเมืองอโยธยา เมืองละโว้ ดังกล่าวนั้นอยู่ในความดูแลของพวกขอม ที่ครองเมืองละโว้ไปด้วย
 +
ครั้นเมื่อคนไทยทางตอนเหนือนำโดยพ่อขุนบางกลาวหาว และขุนผาเมือง ได้ร่วมกันทำการขับไล่อำนาจขอม จากขอมสบาดโขลญลำพง และทำการตั้งเมืองสุโขทัยประกาศตนเป็นแคว้นอิสระ เมื่อ พ.ศ. 1800 นั้น เมืองสุโขทัยได้จัดตั้งแคว้นต่าง ๆ ที่เคยอยู่ในอำนาจของขอมใหม่ เป็นเมืองพระยามหานคร คือเป็นเมืองที่มีเจ้าครองเมือง
 +
 +
เมืองพระยามหานคร ในดินแดนทางตอนใต้นั้น คือ แคว้นอโยธยา มีเมืองแพรกหรือเมืองสรรค์(เมืองตรัยตรึงส์) เป็นราชธานี (เดิมนั้นเมืองอโยธยาขึ้นกับเมืองละโว้) และแคว้นสุวรรณภูมิ มีเมืองอู่ทอง เป็นราชธานี
 +
เจ้าผู้ครองแคว้นดังกล่าวนั้น น่าจะเป็นเชื้อพระวงศ์ที่อพยพลงมาพร้อมกับพระเจ้าไชยศิริ โดยพระเจ้าไชยศิรินั้นได้อพยพมาตั้งอยู่ที่เมืองแปบ ซึ่งเป็นเมืองร้าง (เมืองร้างนี้ น่าจะเป็นเมืองนครปฐมโบราณมากกว่าเมืองเก่าทางเมืองกำแพงเพชร) อยู่ในแคว้นสุวรรณภูมิ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเมืองอู่ทอง ที่เป็นราชธานี
 +
 +
ต่อมานั้น พระเจ้าไชยศิริได้ทำการขยายอาณาเขตไปทางตอนใต้ จนได้ปกครองแคว้น ศิริธรรมราชครั้งนั้น พระเจ้าไชยศิริได้ตั้งเมืองนครศิริธรรมราช (นครศรีธรรมราช) ขึ้นเป็นราชธานีปกครองแคว้นดังกล่าว โดยมีกษัตริย์ครองแคว้นศิริธรรมราชต่อมาหลายรัชกาล จนถึง พระเจ้าศิริธรรมราชผู้เป็นพระอัยการของพระเจ้าอู่ทอง
 +
 +
พระเจ้าศิริธรรมราช นั้น มีพระโอรสชื่อ พระเจ้าศิริชัย (หรือศรีวิชัย) ต่อมาเมื่อ พ.ศ.1856 นั้น พระเจ้าศิริชัยองค์นี้ได้อภิเษกกับพระธิดาองค์เดียวของ พระยาตรัยตรึงส์ กษัตริย์ครองแคว้นอโยธยา (มีราชธานีอยู่เมืองแพรกหรือเมืองสรรค์ คือ เมืองตรัยตรึงส์ และเมืองอโยธยา เป็นเมืองท่า) ซึ่งเดิมขึ้นอยู่กับอาณาจักรละโว้ของขอม ต่อมาพระเจ้าชัยศิริเชียงแสนนั้นมีพระโอรสระยะแรกไม่ปรากฏ ภายหลังเรียก พระเจ้าอู่ทอง (หลังจากที่อภิเษกและไปอยู่เมืองอู่ทอง แคว้นสุวรรณภูมิ)
 +
 +
ดังนั้น พระเจ้าอู่ทอง จึงเป็นนามมงคลที่เกิดขึ้นในธรรมเนียมของ แคว้นสุวรรณภูมิ และพระเจ้าอู่ทององค์นี้เป็นทายาทที่สืบเชื้อสายมาจาก พระเจ้าไชยศิริ กษัตริย์ราชวงศ์ชัยปรากการ (เชียงราย) มาจนถึง พระเจ้าศิริชัยหรือศรีวิชัย
 +
พระเจ้าศิริชัย องค์นี้ครองอยู่แคว้นศิริธรรมราช ทรงพระนามว่า พระเจ้าศิริชัยเชียงแสน ครั้นเมื่อพระยาตรัยตรึงส์ กษัตริย์แคว้นอโยธยา ผู้เป็นพระบิดาของพระมเหสีนั้นได้สิ้นพระชนม์ ลง พระเจ้าศิริชัยเชียงแสนจึงได้ครองแคว้นอโยธยาด้วย
 +
 +
เมื่อพระเจ้าอู่ทอง มีพระชนม์ 19 พรรษา (ราว พ.ศ.1876) นั้น พระเจ้าศิริชัยเชียงแสน พระบิดาจึงได้สู่ขอพระธิดาของพระยาอู่ทอง แคว้นสุวรรณภูมิ มาอภิเษกสมรส และพระเจ้าชัยศิริเชียงแสน ยอมให้พระเจ้าอู่ทองไปอยู่ช่วยราชการที่เมืองอู่ทองนั้น น่าจะมีเหตุให้ช่วยดูแล แคว้นอโยธยาด้วย ด้วยเหตุที่พระเจ้าอู่ทองนั้นได้ช่วยเหลือราชการบ้านเมืองและไว้วางใจในความสามารถ ทำให้พระยาอู่ทอง ไว้วางใจยิ่ง ส่วนขุนหลวงพะงั่ว พระโอรสของพระยาอู่ทอง และพระเชษฐาของพระมเหสีของพระเจ้าอู่ทองนั้น น่าจะครองเมืองสรรค์บุรีอยู่
 +
 +
ต่อมาพระเจ้าแสนเมืองมิ่ง เจ้าเมืองมอญได้ยกทัพมาตีเอาเมืองทะวาย เมืองตะนาวศรี ครั้งนั้น พระเจ้าอู่ทองจึงได้แสดงความสามารถนำทัพไปตีเอาเมืองทวาย กับเมืองตะนาวศรี กลับคืนมาได้ ทำให้ได้รับการยกย่องรักใคร่ของอาณาประชาราษฎร์ ครั้นเมื่อพระยาอู่ทอง กษัตริย์แคว้นสุวรรรภูมิสิ้นพระชนม์ลงราษฎร์จึงพากันยกให้พระเจ้าอู่ทอง ขณะนั้นมีพระชนม์พรรษา 30 ปี ครองแคว้นสุวรรณภูมิต่อมา (ทำไมขุนหลวงพระงั่ว ไม่ได้ครองเมืองสุวรรณภูมิ)
 +
ครั้นเมื่อพระเจ้าชัยสิริเชียงแสน พระบิดาสิ้นพระชนม์ลงอีก พระเจ้าอู่ทอง พระโอรสจึงได้ครองแคว้นศิริธรรมราชและแคว้นอโยธยา ในที่สุด และรวมทั้งแคว้นสุวรรณภูมิ ด้วย (ภายหลังโปรดให้ ขุนหลวงพะงั่ว ครองเมืองสุพรรณบุรี) ถือว่าเป็นการรวบรวมอาณาจักรทั้งสามแคว้นขึ้นเป็นอาณาจักร โดยใช้เมืองอู่ทอง เป็นราชธานี ตามเดิม ซึ่งมีความหมายว่า สุวรรณภูมิ โดยมีแม่นำสายใหญ่ คือ แม่น้ำท่าจีนเป็นทางออกสู่ทะเลที่เมืองนครปฐมโบราณ โดยเป็นเมืองท่าหรือศูนย์กลางการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่ง ด้วยเหตุนี้บริเวณเมืองอู่ทองหรือแคว้นสุวรรณภูมิ จึงเป็นศูนย์กลางการปกครองและเศรษฐกิจของแคว้นสุพรรณภูมิ ที่มีพ่อค้าชาวจีนเดินทางไปมาค้าขายและตั้งถิ่นฐานทำมาหากิน
 +
พระเจ้าอู่ทองนั้นมีพระโอรสองค์หนึ่ง (ไม่ปรากฏชื่อในตอนแรก ภายหลังได้ เป็นพระราเมศวร ตำแหน่งพระอุปราชต่อมา พระเจ้าอู่ทองนั้น ได้อพยพผู้คนมาจากเมืองอู่ทอง (บ้างอ้างว่ากันดารน้ำและเกิดโรคระบาด) มาตั้งอยู่ที่ตำบล เวียงเหล็ก พออยู่ได้ 3 ปี ใน พ.ศ.1893 จึงย้ายสถานที่ข้ามแม่น้ำ เจ้าพระยาไปทำการสร้างกรุงศรีอยุธยาขึ้นที่ตำบลหนองโสน
 +
 +
ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ได้ระบุว่า เมื่อ พ.ศ.1893 นั้น ได้เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ (อาจจะเป็นอหิวาตกโรคหรือ กาฬโรค เพราะระหว่างปี พ.ศ.1878 – 1893 (ค.ศ.1335 – 1350 ) ได้เกิดกาฬโรคโคจรจากเมืองจีน และได้ระบาดไปทั่วโลก) ทำให้ต้องมีการย้ายเมืองจากด้านตะวันออกมาสร้างใหม่ที่หนองโสน ส่วนเหตุที่ทำให้พระเจ้าอู่ทองย้ายเมืองจากตำบลเวียงเหล็ก มาสร้างกรุงศรีอยุธยา นั้นมีข้อสันนิษฐานว่า พระเจ้าอู่ทองนั้นได้ครองเมืองเทพนคร (เมืองอโยธยา) อยู่ 6 ปีด้วย
 +
 +
ส่วนเรื่องที่รับรู้กันมาว่า เมื่อพระเจ้าอู่ทองครองเมืองอู่ทอง พ.ศ. 1889 นั้น พอครองเมืองได้ 1 ปี (พ.ศ.1890) ก็เกิดภาวะธรรมชาติกล่าวคือ ลำน้ำจระเข้สามพันที่ผ่านเมืองอู่ทอง นั้นได้เกิดตื้นเขิน และเปลี่ยนทางน้ำ จนกันดารน้ำต้องขุดบ่อ สระขังน้ำไว้ใช้ในไม่ช้าก็เกิดโรคระบาดดังกล่าวขึ้น (ซึงมาทางเรือสินค้าจากจีน) โดยเข้ามาตามแม่น้ำท่าจีน) พระเจ้าอู่ทอง จึงอพยพย้ายผู้คนมาตั้งเมืองอยู่บริเวณแคว้นอโยธยา คือ ตำบลเวียงเหล็ก เมื่อ พ.ศ.1890 และเมืองอู่ทองนั้น คงไม่ถูกทิ้งร้างยังมีผู้คนอาศัยอยู่ เป็นข้อสันนิษฐานเดิมที่เชื่อกันเช่นนี้
 +
 +
ดังนั้น เรื่อง การย้ายเมืองของพระเจ้าอู่ทอง จึงมีข้อศึกษาใหม่ว่า พระเจ้าอู่ทองนั้น น่าจะดำริถึง อาณาจักรใหม่ที่พระองค์ได้รรับสิทธิปกครองดูแลนั้น คือ แคว้นสุวรรณภูมิ (ของมเหสี) แคว้นอโยธยา (ของมารดา) แคว้นศิริธรรมราช (ของบิดา) ซึ่งแต่ละแคว้นนั้นต่างมีเมืองสำคัญ ตั้งอยู่ห่างไกลกันมาก หากจะให้เมืองอู่ทองเป็นราชธานีของแคว้นทั้งหมด ก็มีทำเลไม่เหมาะสม ด้วยเหตุที่เมืองอู่ทองนั้น ไม่เป็นศูนย์กลางที่จะดูแลแคว้นนั้นได้สะดวก และมีแม่น้ำใหญ่เพียงสายเดียว ทำให้ขัดข้องในการติดต่อกับแคว้นอื่น ๆ ได้
 +
 +
พระองค์จึงได้ทำการอพยพ ผู้คนสำรวจสถานที่สร้างเมืองใหม่ขึ้น เพื่อหาทำเลที่จะตั้งเมือง ให้เป็นศูนย์กลางอาณาจักรที่สามารถปกครองดูแลหรือติดต่อถึงกันได้โดยสะดวกขึ้น โดยเฉพาะทำเลที่มีแม่น้ำหลายสาย ไหลผ่านและใช้เป็นเส้นทางที่จะติดต่อไปยังเมืองใหญ่ของแคว้นทั้งหมดได้ คือ เมืองนครศิริธรรมราช(เมืองนครศรีธรรมราช) เมืองอู่ทอง (ภายหลังย้ายมาสร้างเมืองสุพรรณบุรี) เมืองสรรค์บุรี (เมืองแพรก ) เมืองชัยนาท เมืองอโยธยา เมืองละโว้ เมืองนครปฐมโบราณ (เมืองนครไชยศรี) เป็นต้น
 +
 +
ประกอบกับเมืองอโยธยาเดิมนั้น มีแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสักและแม่น้ำลพบุรีไหลผ่านและเป็นเมืองท่าขนาดใหญ่อยู่แล้ว ในครั้งแรกนั้นพระเจ้าอู่ทองได้กลับมาครองแคว้นอโยธยาอยู่ 6 ปี ก็เห็นว่าที่ตำบลเวียงเหล็ก นั้นน่าจะเป็นทำเลสร้างเมืองใหม่เพื่อเป็นศูนย์กลางการปกครองทั้ง 3 แคว้น นั้นได้ จึงอพยพไปตั้งเมืองอยู่ที่ตำบลเวียงเหล็กก่อน (ส่วนเมืองอโยธยานั้นได้ให้เจ้าแก้วเจ้าไทย ครอง) ครั้นอยู่ที่ตำบลเวียงเหล็ก 3 ปี จึงเห็นว่าบริเวณตำบลหนองโสนนั้น มีทำเลเหมาะสมกว่าและเป็นพื้นที่มีลักษณะเหมือนสังขทักษิณาวรรตที่มีแม่น้ำ 3 สายไหลออกดุจน้ำไหลออกจากสังข์ และเป็นแม่น้ำที่ใช้ เป็นเส้นทางติดต่อได้ สะดวกกว่าที่เดิม (เมืองอโยธยา) ประจวบกับเวลานั้นเกิดโรคอหิวาระบาดใหญ่ จนเป็นเหตุให้เจ้าแก้วเจ้าไทยสิ้นพระชนม์ (จนเมืองอโยธยาร้างผู้คน) พระองค์จึงตัดสินพระทัยอพยพมาสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่ตำบลหนองโสนอ้างอิงจาก https://sites.google.com/site/kanokpon24129/prawati-2
 +
 +
1.4.2.2 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
 +
 +
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๗๔ พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ เมื่อพระองค์มีพระชนม์มายุได้เจ็ดพรรษา พระราชบิดาได้พระราชทานพระนามตามพระราชประเพณีว่า  สมเด็จพระราเมศวรบรมไตรโลกนาถบพิตร และเมื่อพระชนมายุได้ ๑๕ พรรษา ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เสด็จไปครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ โดยได้ประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 เสด็จสวรรคต พระองค์จึงได้เสด็จขึ้นครองราชย์  เมื่อปี พ.ศ.1991 พระชนมายุได้ 17 พรรษา เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่แปดของกรุงศรีอยุธยา
 +
 +
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงมีพระราชสมัญญาอีกพระนามหนึ่งว่า พระเจ้าช้างเผือก เนื่องจาก เมื่อปี พ.ศ.2014 พระองค์ได้ทรงรับช้างเผือก ซี่งนับเป็นช้างเผือกช้างแรกของกรุงศรีอยุธยา
 +
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงปฏิรูปการปกครอง โดยทรงรวมอำนาจจากการปกครองเข้าสู่ศูนย์กลางคือ ราชธานี และแยกฝ่ายทหาร และฝ่ายพลเรือนออกจากกันคือ ฝ่ายทหารมีสมุหพระกลาโหมเป็นหัวหน้า รับผิดชอบ ฝ่ายพลเรือนมีสมุหนายก เป็นหัวหน้ารับผิดชอบ มีผู้ช่วยคือ จตุสดมภ์ ได้แก่ กรมเมือง กรมวัง กรมพระคลัง และกรมนา ในกรณีที่เกิดศึกสงครามทั้งฝ่ายทหาร และฝ่ายพลเรือนจะต้องนำหน้าในกองทัพร่วมกัน
 +
การปกครองในส่วนภูมิภาค ได้ยกเลิกระบบการปกครองหัวเมืองต่าง ๆ แต่เดิมที่แบ่งออกเป็นเมืองลูกหลวง หลานหลวง แล้วระบบการปกครองหัวเมืองเสียใหม่ ดังนี้
 +
 +
หัวเมืองชั้นใน เช่น เมืองราชบุรี นครสวรรค์ นครนายก เมืองฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี เป็นต้น จัดเป็นเมืองจัตวา พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งผู้ที่เหมาะสมไปปกครอง แต่สิทธิอำนาจทั้งหมดยังขึ้นอยู่กับองค์พระมหากษัตริย์
 +
หัวเมืองชั้นนอก หรือเมืองพระยามหานคร เช่น เมืองพิษณุโลก สุโขทัย นครราชสีมา และทวาย จัดเป็น เมือง เอก โท ตรี พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งพระราชวงศ์หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ไปเป็นเจ้าเมืองมีอำนาจบังคับบัญชาเป็นสิทธิขาด เป็๋นผู้แทนองค์พระมหากษัตริย์ มีกรมการปกครองในตำแหน่ง เมือง วัง คลัง นา เช่นเดียวกับของทางราชธานี
 +
 +
เมืองประเทศราช ทางกรุงศรีอยุธยาคงให้เจ้าเมืองของเมืองหลวงนั้นปกครองกันเอง โดยพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งเจ้าเมือง เมืองประเทศราชจะต้องถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองกับเครื่องราชบรรณาการทุกรอบสามปี และต้องส่งกองทัพมาช่วยทางราชธานี เมื่อเกิดการสงคราม
 +
 +
สำหรับการปกครองส่วนท้องถิ่น ให้จัดเป็นหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านปกครองดูแล ตำบล มีกำนันเป็นหัวหน้า แขวง มีหมื่นแขวงเป็นหัวหน้า การปกครองท้องถิ่นดังกล่าวได้ใช้สืบทอดมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์มีการแต่งตั้งตำแหน่งข้าราชการให้มีบรรดาศักดิ์ตามลำดับจากต่ำสุดไปสูงสุดคือ ทนาย พัน หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา และเจ้าพระยา มีการกำหนดศักดินาเพื่อเป็นค่าตอบแทนการรับราชการ และได้อาศัยใช้เป็นเกณฑ์กำหนดการมีที่นาและการปรับไหมตามกฎหมาย
 +
 +
ในปี พ.ศ.2001 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงตั้งกฎมณเฑียรบาล ขึ้นเป็นกฎหมายสำหรับการปกครอง แบ่งออกเป็นสามแผนคือ พระตำรา ว่าด้วยแบบแผนและการพระราชพิธีต่าง ๆ พระธรรมนูญ ว่าด้วยเรื่องตำแหน่งหน้าที่ราชการ พระราชกำหนด เป็นข้อบังคับในพระราชสำนัก
 +
 +
ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งหนังสือมหาชาติคำหลวง นับว่าเป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา เรื่องแรกของกรุงศรีอยุธยา และเป็นวรรณคดีชั้นเยี่ยมที่ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาภาษา และวรรณคดีของไทย นอกจากนี้ยังมีลิลิตพระลอ ซึ่งเป็นยอดวรรณคดีประเภทลิลิตของไทย
 +
 +
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.2031 ครองราชย์ได้ 40 ปี พระองค์ประทับอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา 15 ปี และประทับที่เมืองพิษณุโลก 40 ปี
 +
 +
ที่มา : http://www.thaiheritage.net/
 +
 +
1.4.2.3 สมเด็จพระนเรศวร
 +
 +
มีพระนามเดิมว่าพระองค์ดำพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตริย์ (พระราชธิดาของสมเด็จพระ
 +
ศรีสุริโยทัยและสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ) พระองค์เสด็จพระบรมราชสมภพเมื่อ พ.ศ.2098 ที่เมืองพิษณุโลกทรงมีพระเชษฐภคิณีคือพระสุพรรณกัลยาทรงมีพระอนุชาคือสมเด็จพระเอกาทศรถ(องค์ขาว) และทรงเป็นพระราชนัดดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย พระนามของพระองค์ปรากฏในลายลักษณ์อักษรหลายฉบับ เช่น พระนเรศ วรราชาธิราช พระนเรสส องค์ดำ จึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่าพระนาม นเรศวรได้มาจากที่ใด สันนิษฐานเบื้องต้นว่า เพี้ยนมาจาก สมเด็จพระนเรศ วรราชาธิราช เป็น สมเด็จพระนเรศวร ราชาธิราช เสด็จขึ้นครองราชเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2133 รวมสิริดำรงราชสมบัติ 15 ปี เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ.2148 รวมพระชนมพรรษา 50 พรรษาราชการสงครามในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่และสำคัญยิ่งของชาติไทย พระองค์ได้กู้อิสรภาพของไทยจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก และได้ทรงแผ่อำนาจของราชอาณาจักรไทย อย่างกว้างใหญ่ไพศาล นับตั้งแต่ประเทศพม่าตอนใต้ทั้งหมด นั่นคือ จากฝั่งมหาสมุทรอินเดียทางด้านตะวันตก ไปจนถึงฝั่งมหาสมุทรปาซิฟิคทางด้านตะวันออก ทางด้านทิศใต้ตลอดไปถึงแหลมมลายู ทางด้านทิศเหนือก็ถึงฝั่งแม่น้ำโขงโดยตลอด และยังรวมไปถึงรัฐไทยใหญ่บางรัฐพระองค์ได้ทำสงครามเข้าไปในประเทศที่เป็นข้าศึกของไทย ในทุกทิศทาง จนประเทศไทยอยู่เป็นปกติสุขปราศจากศึกสงคราม เป็นระยะเวลายาวนาน พระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ทั้งสิ้นทั้งปวงของพระองค์ เป็นไปเพื่อประโยชน์ของบ้านเมืองและคนไทยทั้งมวล ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์
 +
 +
ตลอดระยะเวลาในวัยเยาว์ของพระนเรศวรทรงใช้ชีวิตอยู่ในพระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลก จนกระทั่งเมื่อพระเจ้าบุเรงนองยกทัพมาตีเมืองพิษณุโลก สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าเมืองพิษณุโลกยอมอ่อนน้อมต่อแห่งหงสาวดี และทำให้พิษณุโลกต้องแปรสภาพเป็นเมืองประเทศราชหงสาวดีไม่ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าบุเรงนองได้ทรงขอพระนเรศวรไปเป็นองค์ประกันที่หงสาวดี ทำให้พระองค์ต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนตั้งแต่มีพระชนม์มายุเพียง ๙พรรษานอกจากพระองค์แล้วยังมีองค์ประกันจากเมืองอื่น ๆ ที่เป็นเมืองขึ้นของหงสาวดีเป็นจำนวนมาก พระเจ้าบุเรงนองนั้นทรงให้เหล่าองค์ประกันได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาอย่างดี พระนเรศวรทรงใช้เวลา ๘ปีเต็มในหงสาวดีศึกษายุทธศาสตร์ของพม่า พระองค์ทรงศึกษาวิชาศิลปศาสตร์ และวิชาพิชัยสงคราม ทรงนิยมในวิชาการรบทัพจับศึก พระองค์ทรงมีโอกาสศึกษาทั้งภายในราชสำนักไทย และราชสำนักพม่า มอญ และได้ทราบยุทธวิธีของชาวต่างชาติต่าง ๆ ที่มารวมกันอยู่ในกรุงหงสาวดีเป็นอย่างดี เช่น ชาวโปรตุเกส สเปน หรือชาวพม่าเอง ทรงนำหลักวิชามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับเหตุการณ์ และสภาพแวดล้อมในการทำศึกได้เป็นเลิศ ดังเห็นได้จากการสงครามทุกครั้งของพระองค์ ยุทธวิธีที่ทรงใช้ ได้แก่ การใช้คนจำนวนน้อยเอาชนะคนจำนวนมาก และยุทธวิธีการรบแบบกองโจร พระองค์ทรงนำมาใช้ก่อนจอมทัพที่เลื่องชื่อในยุโรป นอกจากนั้น หลักการสงครามที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เช่น การดำรงความมุ่งหมาย หลักการรุก การออมกำลัง และการรวมกำลัง การดำเนินกลยุทธ ความเด็ดขาดในการบังคับบัญชา การระวังป้องกัน การจู่โจม ฯลฯ พระองค์ก็ทรงนำมาใช้อย่างเชี่ยวชาญและประสบผลสำเร็จอย่างงดงามมาโดยตลอด เนื่องจากการที่พระองค์มีชีวิตอยู่ในฐานะองค์ประกันทำให้ทรงมีความกดดันสูงจากมังกะยอชวา (พระราชโอรสในพระเจ้านันทบุเรง) จึงทรงมีแรงผลักดันที่จะกอบกู้อิสรภาพให้กับบ้านเมืองของพระองค์ เช่น จากการชนไก่ของพระองค์กับมังกะยอชวา เป็นต้น รวมทั้งการเหยียดหยามว่าเป็นเชลย จากพวกพม่าด้วย
 +
 +
หลังจากที่พระเจ้าบุเรงนองตีกรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๒ มะเส็งศก วันอาทิตย์ เดือน ๙ แรม ๑๑ ค่ำ และได้สถาปนาสมเด็จพระมหาธรรมราชาครองกรุงศรีอยุธยาในฐานะประเทศราชของหงสาวดีต่อไป หลังจากนั้น พระนเรศได้หนีกลับมาไทยโดยที่บุเรงนองยินยอมด้วยอันเนื่องมาจากพระสุพรรณกัลยาได้ขอไว้ โดยที่บุเรงนองยินยอม หลังจากที่พระองค์ดำกลับมากรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระมหาธรรมราชาได้ทรงพระราชทานนามให้ว่า พระนเรศวร และโปรดเกล้าฯให้เป็นพระมหาอุปราชไปปกครองเมืองพิษณุโลก ทรงปกครองเมืองอย่างดีและทรงเริ่มเตรียมการที่จะกอบกู้เอกราชของกรุงศรีอยุธยา
 +
 +
เมื่อปี พ.ศ. 2126 พระเจ้าอังวะเป็นกบฎ เนื่องจากไม่พอใจทางกรุงหงสาวดีอยู่หลายประการ จึงแข็งเมือง พร้อมกับเกลี้ยกล่อมเจ้าไทยใหญ่อีกหลายเมืองให้แข็งเมืองด้วย พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงจึงยกทัพหลวงไปปราบ ในการณ์นี้ได้สั่งให้เจ้าเมืองแปร เจ้าเมืองตองอู และเจ้าเมืองเชียงใหม่ รวมทั้งทางกรุงศรีอยุธยาด้วย ให้ยกทัพไปช่วย ทางไทย สมเด็จพระมหาธรรมราชาโปรดให้สมเด็จพระนเรศวรยกทัพไปแทน สมเด็จพระนเรศวรยกทัพออกจากเมืองพิษณุโลก เมื่อวันแรม 6 ค่ำ เดือน 3 ปีมะแม พ.ศ. 2126 พระองค์ยกทัพไทยไปช้า ๆ เพื่อให้การปราบปรามเจ้าอังวะเสร็จสิ้นไปก่อน ทำให้พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงแคลงใจว่า ทางไทยคงจะถูกพระเจ้าอังวะชักชวนให้เข้าด้วย จึงสั่งให้พระมหาอุปราชาคุมทัพรักษากรุงหงสาวดีไว้ ถ้าทัพไทยยกมาถึงก็ให้ต้อนรับ และหาทางกำจัดเสีย และพระองค์ได้สั่งให้พระยามอญสองคน คือ พระยาเกียรติและพระยาราม ซึ่งมีสมัครพรรคพวกอยู่ที่เมืองแครงมาก และทำนองจะเป็นผู้คุ้นเคยกับสมเด็จพระนเรศวรมาแต่ก่อน ลงมาคอยต้อนรับทัพไทยที่เมืองแครง อันเป็นชายแดนติดต่อกับไทย พระมหาอุปราชาได้ตรัสสั่งเป็นความลับว่า เมื่อสมด็จพระนเรศวรยกกองทัพขึ้นไป ถ้าพระมหาอุปราชายกเข้าตีด้านหน้าเมื่อใด ให้พระยาเกียรติและพระยาราม คุมกำลังเข้าตีกระหนาบทางด้านหลัง ช่วยกันกำจัดสมเด็จพระนเรศวรเสียให้จงได้ พระยาเกียรติกับพระยาราม เมื่อไปถึงเมืองแครงแล้ว ได้ขยายความลับนี้แก่พระมหาเถรคันฉ่อง ผู้เป็นอาจารย์ของตน ทุกคนไม่มีใครเห็นดีด้วยกับแผนการของพระเจ้ากรุงหงสาวดี เพราะมหาเถรคันฉ่องกับสมเด็จพระนเรศวร เคยรู้จักชอบพอกันมาก่อนกองทัพไทยยกมาถึงเมืองแครง เมื่อวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก พ.ศ. 2127 โดยใช้เวลาเดินทัพเกือบสองเดือน กองทัพไทยตั้งทัพอยู่นอกเมือง เจ้าเมืองแครงพร้อมทั้งพระยาเกียรติกับพระยารามได้มาเฝ้า ฯ สมเด็จพระนเรศวร จากนั้นสมเด็จพระนเรศวรได้เสด็จไปเยี่ยมพระมหาเถรคันฉ่อง ซึ่งคุ้นเคยกันดีมาก่อน พระมหาเถรคันฉ่องมีใจสงสาร จึงกราบทูลถึงเรื่องการคิดร้ายของทางกรุงหงสาวดี แล้วให้พระยาเกียรติกับพระยาราม กราบทูลให้ทราบตามความเป็นจริง เมื่อพระองค์ได้ทราบความโดยตลอดแล้ว ก็ทรงมีพระดำริเห็นว่าการเป็นอริราชศัตรูกับกรุงหงสาวดีนั้น ถึงกาลเวลาที่จะต้องเปิดเผยต่อไปแล้ว จึงได้มีรับสั่งให้เรียกประชุมแม่ทัพนายกอง กรมการเมือง เจ้าเมืองแครงรวมทั้งพระยาเกียรติพระยาราม และทหารมอญมาประชุมพร้อมกัน แล้วนิมนต์พระมหาเถรคันฉ่อง และพระสงฆ์มาเป็นสักขีพยาน ทรงแจ้งเรื่องให้คนทั้งปวงที่มาชุมนุม ณ ที่นั้นทราบว่า พระเจ้าหงสาวดีคิดประทุษร้ายต่อพระองค์ จากนั้นพระองค์ได้ทรงหลั่งน้ำลงสู่แผ่นดินด้วยสุวรรณภิงคาร (พระน้ำเต้าทองคำ) ประกาศแก่เทพยดาฟ้าดินว่า ด้วยพระเจ้าหงสาวดี มิได้อยู่ในครองสุจริตมิตรภาพขัตติยราชประเพณี เสียสามัคคีรสธรรม ประพฤติพาลทุจริต คิดจะทำอันตรายแก่เรา ตั้งแต่นี้ไป กรุงศรีอยุธยาขาดไมตรีกับกรุงหงสาวดี มิได้เป็นมิตรร่วมสุวรรณปฐพีเดียวกันดุจดังแต่ก่อนสืบไปจากนั้นพระองค์ได้ตรัสถามชาวเมืองแครงว่าจะเข้าข้างฝ่ายใด พวกมอญทั้งปวงต่างเข้ากับฝ่ายไทย สมเด็จพระนเรศวรจึงให้จับเจ้าเมืองกรมการพม่า แล้วเอาเมืองแครงเป็นที่ตั้งประชุมทัพเมื่อจัดกองทัพเสร็จ ก็ทรงยกทัพจากเมืองแครง ไปยังเมืองหงสาวดี เมื่อวันแรม 3 ค่ำ เดือน6ฝ่ายพระมหาอุปราชาที่อยู่รักษาเมืองหงสาวดี เมื่อทราบว่าพระยาเกียรติ พระยารามกลับไปเข้ากับสมเด็จพระนเรศวร จึงได้แต่รักษาพระนครมั่นอยู่ สมเด็จพระนเรศวรเสด็จยกทัพข้ามแม่น้ำสะโตงไปใกล้ถึงเมืองหงสาวดี ได้ทราบความว่า พระเจ้ากรุงหงสาวดีมัชัยชนะได้เมืองอังวะแล้ว กำลังจะยกทัพกลับคืนพระนคร พระองค์เห็นว่าสถานการณ์ครั้งนี้ไม่สมคะเน เห็นว่าจะตีเอาเมืองหงสาวดีในครั้งนี้ยังไม่ได้ จึงให้กองทัพแยกย้ายกันเที่ยวบอกพวกครัวไทย ที่พม่ากวาดต้อนไปแต่ก่อน ให้อพยพกลับบ้านเมือง ได้ผู้คนมาประมาณหมื่นเศษ ให้ยกล่วงหน้าไปก่อน พระองค์ทรงคุมกองทัพยกตามมาข้างหลังฝ่ายพระมหาอุปราชาทราบข่าวว่า สมเด็จพระนเรศวรกวาดต้อนคนไทยกลับ จึงได้ให้สุรกรรมาเป็นกองหน้า พระมหาอุปราชาเป็นกองหลวง ยกติดตามกองทัพไทยมา กองหน้าของพม่าตามมาทันที่ริมฝั่งแม่น้ำสะโตง ในขณะที่ฝ่ายไทยได้ข้ามแม่น้ำไปแล้ว และคอยป้องกันมิให้ข้าศึกข้ามตามมาได้ ได้มีการต่อสู้กันที่ริมฝั่งแม่น้ำ สมเด็จพระนเรศวรทรงใช้พระแสงปืนนกสับยาวเก้าคืบ ยิงถูกสุรกรรมา แม่ทัพหน้าพม่าตายบนคอช้าง กองทัพของพม่าเห็นแม่ทัพตาย ก็พากันเลิกทัพกลับไป เมื่อพระมหาอุปราชาแม่ทัพหลวงทรงทราบ จึงให้เลิกทัพกลับไปกรุงหงสาวดีพระแสงปืนที่ใช้ยิงสุรกรรมาตายบนคอช้างนี้ได้นามปรากฏต่อมาว่า "พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง" นับเป็นพระแสงอัษฎาวุธ อันเป็นเครื่องราชูปโภค ยังปรากฏอยู่จนถึงทุกวันนี้เมื่อสมเด็จพระนเรศวรเสด็จกลับถึงเมืองแครง ทรงดำริว่าพระมหาเถรคันฉ่องกับพระยาเกียรติพระยารามได้มีอุปการะมาก สมควรได้รับการตอบแทนให้สมแก่ความชอบ จึงทรงชักชวนให้มาอยู่ในกรุงศรีอยุธยา พระมหาเถรคันฉ่องกับพระยามอญ ที้งสองก็มีความยินดี พาพรรคพวกสเด็จเข้ามาด้วยเป็นอันมาก ในการยกกำลังกลับครั้งนี้ สมเด็จพระนเรศวรทรงเกรงว่าข้าศึกอาจยกทัพตามมาอีก ถ้าเสด็จกลับทางด่านแม่ละเมา มีกองทัพของนันทสูราชสังครำตั้งอยู่ที่เมืองกำแพงเพชร จะเป็นอุปสรรคต่อการเดินทาง พระองค์จึงรีบสั่งให้พระยาเกียรติ พระยาราม นำทัพเดินผ่านหัวเมืองมอญลงมาทางใต้ มาเข้าทางด่านเจดีย์สามองค์เมื่อกลับมาถึงกรุงศรีอยุธยาแล้ว สมเด็จพระมหาธรรมราชาก็พระราชทานบำเหน็จรางวัลแก่พวกมอญที่สวามิภักดิ์ ทรงตั้งพระมาหาเถรคันฉ่องเป็นพระสังฆราชา ที่สมเด็จอริยวงศ์ และให้พระยาเกียรติ พระยารามมีตำแหน่งยศ ได้พระราชทานพานทอง ควบคุมมอญที่เข้ามาด้วย ให้ตั้งบ้านเรือนที่ริมวัดขมิ้น และวัดขุนแสนใกล้วังจันทร์ของสมเด็จพระนเรศวร แล้วทรงมอบการทั้งปวงที่จะตระเตรียมต่อสู้ข้าศึก ให้สมเด็จพระนเรศวรทรงบังคับบัญชาสิทธิขาดแต่นั้นมา
 +
 +
นับตั้งแต่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพเป็นต้นมา หงสาวดีได้เพียรส่งกองทัพเข้ามาหลายครั้ง แต่ก็ถูกกองทัพกรุงศรีอยุธยาตีแตกพ่ายไปทุกครั้ง เมื่อสมเด็จพระมหาธรรมราชาเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๓๓ พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๑๓๓ เมื่อพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระนเรศวร หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๒ และโปรดเกล้า ฯ ให้พระเอกาทศรถ พระอนุชา ขึ้นเป็นพระมหาอุปราช แต่มีศักดิ์เสมอพระมหากษัตริย์อีกพระองค์หนึ่งตลอดรัชสมัยของพระองค์ทรงกอบกู้กรุงศรีอยุธยาจากหงสาวดี และได้ทำสงครามกับอริราชศัตรูทั้งพม่าและเขมร จนราชอาณาจักรไทยเป็นปึกแผ่นมั่นคง ขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาลกว่าครั้งใดในอดีตที่ผ่านมา งานสงครามในรัชสมัยของพระองค์ ทั้งในดินแดนไทยและดินแดนข้าศึก ได้ชัยชนะทุกครั้ง ทรงมีพระปรีชาสามารถในการนำทัพ ทรงริเริ่มนำยุทธวิธีแบบใหม่มาใช้ในการทำสงคราม และเปลี่ยนแนวความคิดจากการตั้งรับมาเป็นการรุก และริเริ่มการใช้วิธีรบนอกแบบการสงครามกับพม่าครั้งสำคัญที่ทำให้พม่าไม่กล้ายกทัพมารุกรานไทยอีกเลย เป็นเวลาเกือบสองร้อยปีคือ สงครามยุทธหัตถี เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๓๕ นั่นคือเมื่อหงสาวดีนำโดยพระมหาอุปราชามังสามเกียดยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง สมเด็จพระนเรศวรก็นำทัพออกไปจนปะทะกันที่หนองสาหร่าย จังหวัดสุพรรณบุรี บ้างก็ว่าจังหวัดกาญจนบุรี สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาจนกระทั่งสามารถเอาพระแสงง้าวฟันพระมหาอุปราชาขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์อยู่กับคอช้างนั่นเอง

รุ่นปรับปรุงเมื่อ 02:28, 24 พฤศจิกายน 2559

อาณาจักรโบราณสู่การก่อตัวของรัฐสยาม จากอดีตถึงปัจจุบัน

1.1 ยุคอาณาจักรโบราณ

ประเทศไทยในปัจจุบัน ได้มีผู้คนหลายเผ่าพันธุ์ตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์สืบต่อเนื่องมาตามลำดับ นับเป็นระยะเวลาหลายพันปีมาแล้วโดยเริ่มจากชุมชนหมู่บ้านที่กระจายอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำและบนที่ราบสูงมารวมตัวกันเป็นเมือง มีการติดต่อค้าขายกับชุมชนอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอก กลายเป็นเมืองท่าค้าขาย มีผู้คนย้ายมาตั้งถิ่นฐานมากขึ้น และได้มีพัฒนาเป็นอาณาจักร ตลอดจนได้ขยายอำนาจครอบคลุมอำนาจอื่น ต่างชิงความเป็นใหญ่ และตั้งเป็นอาณาจักรของตนเอง ได้แก่ อาณาจักรตามพรลิงค์ อาณาจักรโคตรบูร อาณาจักรขอม อาณาจักรทวารวดี อาณาจักรละโว้ อาณาจักรศรีวิชัย อาณาจักรเงินยางเชียงแสน อาณาจักรล้านนา อาณาจักรหริภุญชัย อาณาจักรอโยธยา และอาณาจักรสุพรรณภูมิ

1.1.1 อาณาจักรโบราณในภาคเหนือ

1.1.1.1 อาณาจักรโยนกเชียงแสน

อาณาจักรโยนกเชียงแสน (พุทธศตวรรษที่ 12 – 16) เป็นอาณาจักรเก่าแก่ของชนชาติไทยมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 13ตั้งอยู่บริเวณภาคเหนือของประเทศไทย ปัจจุบันคืออำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นสถานที่ตั้งถิ่นฐานครังแรกหลังจากที่ชนชาติไทยได้อพยพหนีการรุกรานของจีนลงมา โดยพระเจ้าสิงหนวัติ โอรสของพระเจ้าพีล่อโก๊ะได้เป็นผู้ก่อตั้งอาณาจักรโยนกเชียงแสนหรือโยนกนาคนครขึ้น นับเป็นอาณาจักรทีมีความยิ่งใหญ่และสง่างาม จนถึงสมัยของพระเจ้าพังคราช จึงตกอยู่ภายใต้อารยธรรมและการปกครองของพวก “ลอม” หรือ “ขอมดำ” ซึ่งเป็นชนชาติที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ ก่อนที่จะมีการก่อตั้งอาณาจักรโยนกเชียงแสน ได้เข้ายึดครองโยนกเชียงแสน ในสมัยของพระเจ้าพรหม โอรสของพระเจ้าพังคราช ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่เป็นนักรบและมีความกล้าหาญ ได้ทำการต่อต้านพวกขอม ไม่ยอมส่งส่วย เมื่อขอมยกกองทัพมาปราบปรามก็ได้โจมตีขับไล่กองทัพขอมแตกพ่ายไป และยังได้แผ่อิทธิพลขยายอาณาเขตเข้าไปในดินแดนของขอม ยึดไปถึงเมืองเชลียงและล้านนา ล้านช้าง แล้วอัญเชิญพระเจ้าพรหม พระราชบิดาให้กลับมาครองเมืองโยนกเชียงแสนเหมือนเดินแล้วได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่เป็นเมืองชัยบุรี ส่วนพระเจ้าพรหมได้เสด็จไปสร้างเมืองใหม่ทางใต้ของโยนกเชียงแสน คือเมืองชัยปราการ ให้พระเชษฐาคือ เจ้าทุกขิตราชเป็นพระอุปราชปกครองเมือง นอกจากนั้นยังได้สร้างเมืองอื่นๆ ขึ้นอีก เช่น ชัยนารายณ์ นครพางคำ เมื่อสิ้นสมัยพระเจ้าพังคราช พระเจ้าทุกขิตราชก็ได้ขึ้นครองเมืองชัยบุรี (โยนกเชียงแสน) ส่วนพระเจ้าพรหมและโอรสของพระองค์ได้ครองเมืองชัยปราการในสมัยต่อมา และเป็นระยะเวลาที่พวกขอมเริ่มเสื่อมอำนาจลง เมื่อหมดสมัยของพระเจ้าพรหมเป็นต้นไป อาณาจักรโยนกเชียงแสนเริ่มเสื่อมอำนาจลง กษัตริย์ล้วนอ่อนแอหย่อนความสามารถ จนถึง พ.ศ. 1731พวกมอญก็ได้ยกทัพเข้ายึดครอบครองอาณาจักรขอม และได้แผ่อำนาจเข้ายึดเมืองโยนกเชียงแสน ซึ่งขณะนั้นมีพระเจ้าชัยศิริ โอรสของพระเจ้าพรหมเป็นกษัตริย์ปกครอง พระเจ้าชัยศิริไม่สามารถต่อต้านกองทัพมอญได้ จึงพากันเผาเมืองทิ้งเพื่อไม่ให้เป็นที่พำนักและเสบียงอาหารแก่พวกมอญแล้วพากันอพยพลงมาทางใต้ จนมาถึงเมืองร้าง้แห่งหนึ่งในแขวงเมืองกำแพงเพชร ชื่อเมืองแปป ได้อาศัยอยู่ที่เมืองแปประยะหนึ่งเห็นว่าชัยภูมิไม่สู้เหมาะเพราะอยู่ใกล้ขอม จึงได้อพยพลงไปทางใต้จนถึงถึงเมืองนครปฐมจึงได้สร้างเมืองนครปฐมและพำนักอยู่ ณ ที่นั้น

ส่วนกองทัพมอญ หลังจากรุกรานเมืองชัยปราการแล้ว ก็ได้ยกล่วงเลยตลอดไปถึงเมืองอื่นๆ ในแคว้นโยนกเชียงแสน จึงทำให้พระญาติของพระเจ้าชัยศิริซึ่งครองเมืองชัยบุรี ต้องอพยพหลบหนีข้าศึกเช่นกัน ปรากฏว่าเมืองชัยบุรีนั้นเกิดน้ำท่วม บรรดาเมืองในแคว้นโยนกต่างก็ถูกทำลายลงหมด พวกมอญเห็นว่าหากเข้าไปตั้งอยู่ก็อาจเสียแรง เสียเวลา และทรัพย์สินเงินทอง เพื่อที่จะสถาปนาขึ้นมาใหม่ พวกมอญจึงยกทัพกลับ เป็นเหตุให้เมืองโยนกเชียงแสนขาดผู้ปกครองอยู่ระยะหนึ่ง

ในระยะที่ฝ่ายไทยกำลังระส่ำระสายอยู่นี้ เป็นโอกาสให้ขอมซึ่งมีราชธานีอยู่ที่เมืองละโว้ ถือสิทธิ์เข้าครอบครองแคว้นโยนกเชียงแสน แล้วบังคับให้คนไทยที่ตกค้างอยู่นั้นให้ส่งส่วยแก่ขอม ความเสื่อมสลายของอาณาจักรโยนกเชียงแสนครั้งนี้ ทำให้ชาวไทยต้องอพยพย้ายกันลงมาเป็นสองสายคือ สายของพระเจ้าชัยศิริ อพยพลงมาทางใต้ และได้อาศัยอยู่ชั่วคราวที่เมืองแปป ส่วนสายของพระเจ้าชัยบุรีได้แยกออกไปทางตะวันออกของสุโขทัย จนมาถึงเมืองนครไทย จึงได้เข้าไปตั้งรกรากอยู่ ณ เมืองนั้นด้วยเห็นว่าเป็นเมืองที่มีชัยภูมิเหมาะสม เพราะเป็นเมืองใหญ่ และตั้งอยู่สุดเขตของขอมทางเหนือ ผู้คนในเมืองนั้นส่วนใหญ่ก็เป็นชาวไทย อย่างไรก็ตามในช่วงแรกที่เข้าไปตั้งเมืองอยู่นั้น ก็ต้องยอมอ่อนน้อมต่อขอม ซึ่งขณะนั้นยังคงเรืองอำนาจอยู่

ในเวลาต่อมาเมื่อคนไทยอพยพลงมาจากน่านเจ้าเป็นจำนวนมาก ทำให้นครไทยมีกำลังผู้คนมากขึ้น ข้างฝ่ายอาณาจักรโยนกเชียงแสนนั้น เมื่อพระเจ้าชัยศิริทิ้งเมืองลงมาทางใต้ ก็เป็นเหตุให้ดินแดนแถบนั้นว่างผู้ปกครอง และระยะต่อมาชาวไทยที่ยังคงเหลืออยู่ในอาณาจักรโยนกเชียงแสนได้รวมตัวกันตั้งเมืองขี้นหลายแห่งตั้งเป็นอิสระแก่กัน บรรดาหัวเองต่างๆ ที่เกิดขึ้นในครั้งนั้นนับว่าสำคัญ มีอยู่สามเมืองด้วยกัน คือ นครเงินยาง อยู่ทางเหนือ นครพะเยา อยู่ตอนกลาง และเมืองหริภุญไชย อยู่ทางใต้ ส่วนเมืองนครไทยนั้นด้วยเหตุที่ว่ามีที่ตั้งอยู่ปลายทางการอพยพ และอาศัญที่มีราชวงศ์เชื้อสายโยนกอพยพมาอยู่ที่เมืองนี้ จึงเป็นทีนิยมของชาวไทยมากกว่า เมื่อบรรดาชาวไทยเกิดความคิดที่จะสลัดแอกจากขอมครั้งนี้ บุคคลสำคัญในการนี้คือ พ่อขุนบางกลางท่าว ซึ่งเป็นเจ้าเมืองบางยาง และพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองตราด ได้ร่วมกำลังกัน ยกขึ้นไปโจมตีขอม จนได้เมืองสุโขทัยอันเป็นเมืองหน้าด่านของขอมไว้ได้ เมื่อปี พ.ศ. 1800 การชัยใน ครังนี้นับว่าเป็นนิมิตหมายเบื้องต้นแห่งความเจริญรุ่งเรืองของชนชาติไทย และเป็นลางร้ายแห่งความเสื่อมโทรมของขอม เพราะนับแต่นั้นเป็นต้นมาอาณาจักรขอมก็เริ่มเสื่อมอำนาจลง จนสิ้นสุดอำนาจไปจากบริเวณนี้

ต่อมาเมืองโยนกเชียงแสน (เมืองชัยบุรี) เกิดน้ำท่วม บรรดาเมืองในแคว้นโยนกเชียงแสนต่างๆ ก็ถูกทำลายลงหมด พวกมอญเห็นว่าหากจะเข้าไปบูรณะซ่อมแซม ปฎิสังขรเมืองใหม่ จะสิ้นเปลืองเงินทองจำนวนมาก จึงได้พากันยกทัพกลับ เป็นเหตุให้เมืองโยนกเชียงแสน (ชัยบุรี) ขาดกษัตริย์ปกครอง ทำให้อำนาจ และอารยธรรมเริ่มเสื่อมลง ชนชาติไทยในโยนกเชียงแสนจึงได้พากันอพยพลงมาทางตอนใต้ แล้วได้สร้างอาณาจักรใหม่ขึ้นคือ อาณาจักรล้านนา ซึ่งต่อมาได้เจริญเติบโตขึ้นเป็นอาณาจักร

1.1.1.2 อาณาจักรหริภุญชัย

อาณาจักรหริภุญชัย หรือ หริภุญไชย เป็นอาณาจักรมอญ[1]ที่ตั้งอยู่บริเวณภาคเหนือของประเทศไทยปัจจุบัน ตำนานจามเทวีวงศ์โบราณได้บันทึกไว้ว่า ฤๅษีวาสุเทพเป็นผู้สร้างเมืองหริภุญชัยขึ้นในปี พ.ศ. 1310 แล้วทูลเชิญพระนางจามเทวี ซึ่งเป็นเจ้าหญิงจากอาณาจักรละโว้ ขึ้นมาครองเมืองหริภุญชัย ในครั้งนั้นพระนางจามเทวีได้นำพระภิกษุ นักปราชญ์ และช่างศิลปะต่าง ๆ จากละโว้ขึ้นไปด้วยเป็นจำนวนมากราวหมื่นคน พระนางได้ทำนุบำรุงและก่อสร้างบ้านเมือง ทำให้เมืองหริภุญชัย (ลำพูน) นั้นเป็นแหล่งศิลปวัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรืองยิ่ง ต่อมาพระนางได้สร้างเขลางค์นคร (ลำปาง) ขึ้นอีกเมืองหนึ่งให้เป็นเมืองสำคัญ สมัยนั้นปรากฏมีการใช้ภาษามอญโบราณในศิลาจารึกของหริภุญชัย มีหนังสือหมานซูของจีนสมัยราชวงศ์ถัง กล่าวถึงนครหริภุญชัยไว้ว่าเป็น “อาณาจักรของสมเด็จพระราชินีนาถ”

ต่อมา พ.ศ. 1824 พญามังรายมหาราชผู้สถาปนาอาณาจักรล้านนา ได้ยกกองทัพเข้ายึดเอาเมืองหริภุญชัยจากพญายีบาได้ ต่อจากนั้นอาณาจักรหริภุญชัยจึงสิ้นสุดลงหลังจากรุ่งเรืองมา 618 ปี มีพระมหากษัตริย์ครองเมือง 49 พระองค์

ปัจจุบัน โบราณสถานสำคัญของอาณาจักรหริภุญชัยคือพระธาตุหริภุญไชย ที่จังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นบริเวณที่สันนิษฐานว่าเป็นราชธานีในสมัยนั้น และยังมีเมืองโบราณเวียงมโน ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ โบราณสถานที่เวียงเกาะ บ้านสองแคว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และเวียงท่ากาน ที่ตำบลบ้านกลาง ต.สันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ บางหมู่บ้านของจังหวัดลำพูนนั้นพบว่า ยังมีคนพูดภาษามอญโบราณและอนุรักษ์วัฒนธรรมอาณาจักรมอญโบราณอยู่


1.1.1.3 อาณาจักรล้านนา

ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ดินแดนล้านนาได้พัฒนาการจากแว่นแคว้น – นครรัฐมาสู่รัฐแบบอาณาจักร มีเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง รัฐแบบอาณาจักรสถาปนาอำนาจโดยรวบรวมแว่นแคว้น – นครรัฐมาไว้ด้วยกัน อาณาจักรล้านนาเริ่มก่อรูปโดยการรวมแคว้นโยนกและแคว้นหริภุญชัย หลังจากนั้นก็ขยายอาณาจักรไปสู่ดินแดนใกล้เคียง ได้แก่ เมืองเชียงตุง เมืองนายในเขตรัฐฉาน และขยายสู่เมืองเขลางคนคร เมืองพะเยา ในยุคที่อาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรืองสามารถขยายอำนาจไปสู่เมืองแพร่และ เมืองน่านตลอดจนรัฐฉานและสิบสองพันนา

ในพุทธศตวรรษที่ 19 เกิดปรากฏการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของภูมิภาคนี้ คือการสลายตัวของรัฐโบราณที่เคยรุ่งเรืองมาก่อน ดังเช่น กัมพูชา ทวารวดี หริภุญชัย และพุกาม การเสื่อมสลายของรัฐโบราณเปิดโอกาสให้เกิดการสถาปนาอาณาจักรใหม่ของชนชาติ ไทยที่ผู้นำ ใช้ภาษาและวัฒนธรรมไทย อาณาจักรใหม่ที่เกิดขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 19 ที่สำคัญคือ ล้านนา สุโขทัย และอยุธยา อาณาจักรทั้งสามมีความเชื่อในพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทนิกายลังกาวงศ์เช่นเดียว กัน ความเชื่อดังกล่าวสร้างความสัมพันธ์ต่อกัน ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการแข่งสร้างบุญบารมีของกษัตริย์ จึงนำไปสู่การทำสงครามระหว่างอาณาจักร รัฐสุโขทัยสลายลงก่อน โดยถูกผนวกกับอยุธยา หลังจากนั้นสงครามระหว่างอยุธยาและล้านนามีอย่างต่อเนื่อง สงครามครั้งสำคัญอยู่ในสมัยของพระเจ้าติโลกราชและพระบรมไตรโลกนาถ

ประวัติศาสตร์ล้านนาใน สมัยรัฐอาณาจักรแบ่งตามพัฒนาการเป็น 3 สมัย คือสมัยสร้างอาณาจักร สมัยอาณาจักรเจริญรุ่งเรือง และสมัยเสื่อมและการล่มสลาย

1. สมัยสร้างอาณาจักร (พ.ศ. 1939 – 1989) การก่อตั้งอาณาจักรล้านนา เป็นผลจากการรวมแคว้นหริภุญชัยกับแคว้นโยน แล้วสถาปนาเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางอาณาจักรพญามังรายปฐมกษัตริย์เริ่ม ขยายอำนาจตั้งแต่ พ.ศ. 1804 ซึ่งเป็นปีแรกที่เสวยราชย์ในเมืองเงินยาง ปีแรกที่พญามังรายครองเมืองเงินยางนั้น ปรากฏว่าเมืองต่าง ๆ ในเขตลุ่มแม่น้ำกกแตกแยกกัน มีการแย่งชิงพลเมืองและรุกรานกันอยู่เสมอ สร้างความเดือดร้อนแก่คนทั่วไป พญามังรายจึงรวบรวมหัวเมืองน้อยมาไว้ในพระราชอำนาจ โดยอ้างถึงสิทธิธรรมที่พระองค์สืบเชื้อสายโดยตรงจากปู่เจ้าลาวจง และพระองค์ได้รับน้ำมุรธาภิเษกและได้เครื่องราชาภิเษกเป็นต้นว่า ดาบไชย หอก และมีดสรีกัญไชย สิ่งเหล่านี้เป็นของปู่เจ้าลาวจง ซึ่งตกทอดมายังกษัตริย์ราชวงศ์ลาวทุกพระองค์ พญามังรายอ้างว่าเจ้าเมืองอื่น ๆ นั้นสืบสายญาติพี่น้องกับราชวงศ์ลาวที่ห่างออกไป ดังนั้นจึงไม่มีโอกาสผ่านพิธีมุรธาภิเษกและได้เครื่องราชาภิเษกเหมือนพระองค์ วิธีการที่พญามังราย รวบรวมหัวเมืองมีหลายวิธี เช่น ยกทัพไปตี ในกรณีที่เจ้าเมืองนั้นไม่ยอมสวามิภักดิ์ ได้แก่ เมืองมอบ เมืองไล่ เมืองเชียงคำ เมืองเหล่านี้เมื่อตีได้ จะให้ลูกขุนปกครอง ส่วนเมืองที่ยอมสวามิภักดิ์ พญามังรายคงให้เจ้าเมืองปกครองต่อไป นอกจากนั้นยังใช้วิธีเป็นพันธมิตรกับพญางำเมือง ซึ่งพญางำเมืองได้มอบที่ให้จำนวนหนึ่ง มี 500 หลังคาเรือน เป็นต้น

หลังจากรวบรวมหัวเมือง ใกล้เคียงเมืองเงินยางได้แล้ว พญามังรายก็ย้ายศูนย์กลางลงมาทางใต้ โดยสร้างเมืองเชียงรายใน พ.ศ. 1805 และสร้างเมืองฝาง พ.ศ. 1816 จากนั้นพญามังรายได้รวบรวมเมืองต่าง ๆ บริเวณต้นแม่น้ำกก แม่น้ำอิง และริมแม่น้ำโขง พญามังรายสามารถรวบรวมเมืองต่าง ๆ (ซึ่งต่อมาคือเขตตอนบนของอาณาจักรล้านนา) สำเร็จประมาณ พ.ศ. 1830 ซึ่งเป็นปีที่พญามังราย พญางำเมืองและพ่อขุนรามคำแหง ทำสัญญามิตรภาพต่อกัน ผลของสัญญามี 2ประการ ประการแรกคงมีส่วนทำให้พญามังรายมั่นใจว่าการขยายอำนาจลงสู่แม่น้ำปิง เพื่อผนวกแคล้นหริภุญชัยจะไม่ได้รับการจัดขวางจากพญางำเมืองและพ่อขุนราม คำแหง ประการที่สอง สามกษัตริย์ร่วมมือกันป้องกันภัยอันตรายจากมองโกลซึ่งกำลังขยายอำนาจลงมาใน ภูมิภาคนี้

เมื่อพญามังรายรวบรวม เมืองต่าง ๆ ในเขตทางตอนบนแถบลุ่มแม่น้ำปิงตอนบน โดยยึดครองแคว้นหริภุญชัยได้ในราว พ.ศ. 1835 พญามังรายประทับที่หริภุญชัยเพียง 2 ปี ก็พบว่าไม่เหมาะที่จะเป็นเมืองหลวงของอาณาจักร พญามังรายจึงทรงย้ายมาสร้างเวียงกุมกาม ความเหมาะสมของนครเชียงใหม่ คือตัวเมืองตั้งอยู่ระหว่างที่ราบลุ่มน้ำปิงและดอยสุเทพ พื้นที่ลาดเทจากดอยสุเทพสู่น้ำปิง ทำให้สายน้ำจากดอยสุเทพไหลมาหล่อเลี้ยงเมืองเชียงใหม่ตลอดเวลา เมืองเชียงใหม่จึงมีน้ำอุดมสมบูรณ์

การก่อตั้งเมือง เชียงใหม่หรือนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ใน พ.ศ. 1839 มีเป้าหมายเพื่อให้เป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความสืบเนื่อง ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางอาณาจักรล้านนา ทั้งทางการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ด้วยเหตุนี้จึงให้ความสำคัญต่อเมืองเชียงใหม่เป็นพิเศษ นับตั้งแต่พยายามเลือกทำเลที่ตั้ง การวางผังเมือง และการสร้างสิทธิธรรม การสร้างเมืองเชียงใหม่ถือเป็นความสำเร็จอย่างสูง เพราะเชียงใหม่ได้รับการยอมรับในฐานะศูนย์กลางดินแดนล้านนาตลอดมา ครั้นฟื้นฟูบ้านเมืองได้ในสมัยราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน พระเจ้ากาวิละซึ่งตั้งมั่นอยู่ที่เวียงป่าซาง 14 ปี ก็ยังเลือกเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางล้านนา เชียงใหม่จึงเป็นศูนย์กลางความเจริญในภาคเหนือสืบมาถึงปัจจุบัน การสร้างเมืองเชียงใหม่ พญามังรายเชิญพญางำเมืองและพ่อขุนรามคำแหงมาร่วมกันพิจาณาทำเลที่ตั้ง พญาทั้งสองก็เห็นด้วยและช่วยดูแลการสร้างเมืองเชียงใหม่ ด้วยเหตุที่พ่อขุนรามคำแหงมาร่วมสร้างเมืองเชียงใหม่ ทำให้ผังเมืองเชียงใหม่ได้รับอิทธิพลจากสุโขทัย เมื่อแรกสร้างกำแพงเมืองมีขนาดกว้าง 900 วา ยาว 1,000 วา และขุดคูน้ำกว้าง 9 วา กำแพงเมืองเชียงใหม่ปรับเปลี่ยนไปตามกาลสมัย ปัจจุบันเปลี่ยนรูปสี่เหลี่ยมยาวด้านละ 1,600 เมตร

ในสมัยอาณาจักรเป็นช่วง สร้างความเข้มแข็งอยู่ในสมัยราชวงศ์มังรายตอนต้น มีกษัตริย์ปกครอง 5 พระองค์ ได้แก่ พญามังราย พญาไชยสงคราม พญาแสนพู พญาคำฟู และพญาผายู การสร้างความเข้มแข็งในช่วงต้นนี้สรุปได้ 3 ประการ

ประการแรก การขยายอาณาเขตและสร้างความมั่นคงในอาณาจักร ในสมัยพญามังรายได้ผนวกเขลางคนครเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร เนื่องจากเขลางคนครมีความสัมพันธ์กับเมืองหริภุญชัยในฐานะบ้านพี่เมืองน้อง เมื่อยึดครองหริภุญชัยสำเร็จก็จำเป็นต้องรุกคืบต่อไปยังเขลางคนคร หลังจากนั้นความคิดขยายอาณาเขตไปยังทางด้านตะวันออกสู่เมืองพะเยาซึ่งเกิด ขึ้นในสมัยพญามังรายแล้ว แต่ติดขัดที่เป็นพระสหายกับพญางำเมือง เมืองพะเยาและเชียงใหม่มีความสัมพันธ์ฐานะเครือญาติในวงศ์ลวจังกราช เมืองพะเยาซึ่งเป็นรัฐเล็ก ต่อมาจึงถูกยึดครองสำเร็จในสมัยพญาคำฟู (พ.ศ. 1877 – 1879) การยึดครองพะเยาได้เป็นผลดีต่ออาณาจักรล้านนาเพราะนอกจากเมืองเชียงรายจะ ปลอดภัยจากพะเยาแล้ว เมืองพะเยายังเป็นฐานกาลังขยายไปสู่เมืองแพร่และเมืองน่านต่อไป ความคิดขยายอำนาจสู่เมืองแพร่มีในสมัยพญาคำฟูแต่ไม่ประสบความสำเร็จ แสดงให้เห็นว่าการรวมหัวเมืองล้านนาตะวันออก ซึ่งเป็นรัฐในหุบเขาไม่ใช่จะกระทำได้โดยง่าย เพราะกว่าจะรวมเมืองแพร่และเมืองน่านสำเร็จก็อยู่ในช่วงอาณาจักรล้านนามี ความเจริญสูงสุดในสมัยพระเจ้าติโลกราช

การสร้างความมั่นคงในเขต ทางตอนบนของอาณาจักรเด่นชัดในสมัยราชวงศ์มังรายตอนต้น ดังปรากฏว่าเมือสิ้นสมัยพญามังราย พญาไชยสงครามครองราชย์ต่อมา ได้เสด็จไปประทับที่เมืองเชียงราย ส่วนเมืองเชียงใหม่ให้โอรสครองเมืองลักษณะเช่นนี้มีสืบมาในสมัยพญาแสนพู และพญาคำฟู โดยสมัยพญาแสนพูสร้างเมืองเชียงแสนในบริเวณเมืองเงินยาง การสร้างเมืองเชียงแสนก็เพื่อป้องกันศึกทางด้านเหนือ เพราะเมืองเชียงแสนตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ใช้แม่น้ำโขงเป็นคูเมืองธรรมชาติ มีตัวเมืองกว้าง 700 วา ยาว 1,500 วา มีป้อมปราการ 8 แห่ง ที่ตั้งเมืองเชียงแสนคุมเส้นทางการคมนาคมเพราะเป็นช่องทางไปสู่เมืองต่าง ๆ เช่น เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ่ง เมืองนาย เมืองยอง เมืองเชียงแสนจึงเป็นศูนย์กลางของเมืองตอนบน หลังจากสร้างเมืองเชียงแสนแล้ว พญาแสนพูประทับที่เชียงแสนสืบต่อมาถึงสมัยพญาคำฟู สถานการณ์ทางการเมืองดีขึ้นเมื่อผนวกพะเยาเข้ากับอาณาจักรล้านนาในสมัยพญา คำฟู ส่วนเมืองเชียงตุงพญาผายูสถาปนาอำนาจอันมั่นคง โดยส่งเจ้าราชบุตรเจ็ดพันตูไปปกครองและพญาผายูสร้างความผูกพันโดยอภิเษก กับธิดาเจ้าเมืองเชียงของ การสร้างความมั่นคงเขตตอนบนมีเสถียรภาพพอสมควร ในสมัยพญาผายูจึงย้ายมาประทับที่เชียงใหม่ ให้เมืองเชียงราย เชียงแสนเป็นเมืองสำคัญทางตอนบน

ประการที่สอง การปกครองมีโครงสร้างแบ่งเป็น 3 เขต

1. บริเวณเมืองราชธานี ประกอบด้วยเมืองเชียงใหม่และลำพูน เนื่องจากทั้งสองเมืองตั้งอยู่ในแอ่งที่ราบเดียวกันและอยู่ใกล้กัน กษัตริย์จึงปกครองโดยตรง

2. บริเวณเมืองข้าหลวง อยู่ถัดจากเมืองราชธานีออกไป กษัตริย์จะแต่งตั้งข้าหลวงไปปกครอง เจ้าเมืองซึ่งเป็นข้าหลวงนี้ส่วนใหญ่เป็นเชื้อพระวงศ์ ขุนนางที่ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์ก็มีบ้าง แต่เป็นส่วนน้อย เมืองสำคัญจะปกครองโดยเจ้าเชื้อพระวงศ์ ที่ใกล้ชิด เช่น เมืองเชียงราย กษัตริย์มักส่งโอรสหรือพระอนุชาไปปกครองเมืองอุปราช เจ้าเมืองมีอำนาจสูงสุดในการจัดการภายในเมืองของตน เช่น การแต่งตั้งขุนนางตำแหน่งต่าง ๆ การจัดตั้งพันนา การค้าภายในเมือง การควบคุมกำลังไพร่ ความสัมพันธ์ระหว่างข้าหลวงและกษัตริย์เป็นเพียงความสัมพันธ์ส่วนบุคคล เมื่อเปลี่ยนรัชกาล ความสัมพันธ์ก็อาจเปลี่ยนไปด้วย

3. บริเวณเมืองประเทศราช เป็นเขตเจ้าต่างชาติต่างภาษา ปกครองตนเองตามประเพณีท้องถิ่น เมืองประเทศราชเป็นรัฐตามชายขอบล้านนา เช่น เมืองเชียงตุง เมืองนาย เมืองยอง เนื่องจากประเทศราชอยู่ห่างไกลจึงผูกพันกับเมืองราชธานีน้อยกว่าเมืองข้า หลวง ครั้นมีโอกาสเมืองประเทศราชมักแยกตนเป็นอิสระหรือไปขึ้นกับรัฐใหญ่อื่น ๆ ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองราชธานีกับเมืองประเทศราชเป็นเรื่องส่วนบุคคลที่ อาจอาศัยระบบเครือญาติหรือการเกื้อกูลกัน ภายใต้การปกครองที่อาศัยความสัมพันธ์ทางเครือญาติของรัฐ โบราณ เจ้าเมืองมักเป็นเชื้อพระวงศ์ที่กษัตริย์ส่งไปปกครองเมืองต่าง ๆ ลักษณะเช่นนี้คลี่คลายมาจากธรรมเนียมการสร้างบ้านแปลงเมือง ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงแรกเมื่อรัฐขยายตัวการปกครองแบบนี้เป็นการรวมตัวอย่าง หลวม ๆ ของเมืองต่าง ๆ ซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของอาณาจักรล้านนา เพราะลักษณะทางกายภาพอาณาจักรล้านนาเป็นรัฐในหุบเขา เมืองต่าง ๆ จะตั้งถิ่นฐานอยู่ตามหุบเขาซึ่งกระจายตัว ดังนั้นรัฐล้านนาจำเป็นต้องสร้างเสถียรภาพตลอดมา โดยให้เมืองต่าง ๆ ที่กระจายตัวตามหุบเขายอมรับอำนาจศูนย์กลาง ความพยายามจะปรับการปกครองรัฐในหุบเขาจากการใช้ระบบข้าหลวงหรือระบบเครือ ญาติ ซึ่งพึ่งพาความสัมพันธ์ส่วนบุคคลไปสู่ระบบข้าราชการที่เป็นสถาบันไม่ประสบ ความสำเร็จในล้านนา ปัญหาโครงสร้างรัฐแบบหลวม ๆ นี้เป็นข้อจำกัดอย่างอย่างหนึ่งที่นำไปสู่ความเสื่อมของอาณาจักรล้านนา

ประการที่สาม การรับวัฒนธรรมความเจริญ จากหริภุญชัย แคว้นหริภุญชัยมีความเจริญรุ่งเรืองในเขตที่ราบลุ่มน้ำปิงมาช้านาน เมื่อพญามังรายยึดครองหริภุญชัยสำเร็จ ได้นำความเจริญต่าง ๆ มาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาต่อไป เชื่อกันว่าอิทธิพลจากหริภุญชัยมีหลายอย่าง เช่น กฎหมายล้านนาอย่างมังรายศาสตร์คงรับความคิดมาจากกฎหมายธรรมศาสตร์ของมอญหริ ภุญชัย อย่างไรก็ตามหลังจากรับมาแล้ว รัฐล้านนาได้พัฒนาต่อไปมากเป็นลักษณะเฉพาะท้องถิ่น โดยเฉพาะตัวอักษรธรรมล้านนา หรือตัวเมืองมีต้นแบบมาจากอักษรมอญโบราณ ส่วนด้านศิลปวัฒนธรรมหริภุญชัยพบว่าได้รับรูปแบบสถาปัตยกรรมเจดีย์ทรงสี่ เหลี่ยม และเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม ซึ่งมักสร้างในสมัยราชวงศ์มังรายตอนต้น เช่น เจดีย์กู่คำ เวียงกุมกามรับอิทธิพลจากกู่กุด

อิทธิพลที่ชัดเจนมาก คือพระพุทธศาสนาของหริภุญชัย เพราะพระพุทธศาสนานิกายเดิมรับจากหริภุญชัยมีบทบาทในล้านนาสูง นับตั้งแต่พญามังรายยึดครองหริภุญชัย ได้รับพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทหริภุญชัย จนถึงสมัยพญากือนามีความคิดจะสถาปนานิกายรามัญวงศ์ โดยอาราธนาพระสุมนเถระจากสุโขทัยเข้ามาเผย แพร่พุทธศาสนาในล้านนา และในสมัยพญาสามฝั่งแกนได้เกิดนิกายสิงหล หรือลังกาวงศ์ใหม่มาจากลักกาอีกระลอกหนึ่ง พระพุทธศาสนาในล้านนาจึงมี 3 นิกายด้วยกัน อย่างไรก็ตามนิกายเดิมหรือนิกายพื้นเมืองที่ปริมาณพระภิกษุมากกว่านิกายอื่น พระพุทธศาสนาแนวหริภุญชัยมีบทบาทในล้านนาอย่างน้อยจนถึงสิ้นราชวงศ์มังราย

2. สมัยอาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรือง (พ.ศ. 1898 – 2068) ความ เจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนาพัฒนาการขึ้นอย่างเด่นชัดในราวกลางราชวงศ์ มังราย นับตั้งแต่สมัยพญากือนา (พ.ศ. 1898 – 1928) เป็นต้นมา และเจริญสูงสุดในสมัยพระเจ้าติโลกราชและพญาแก้วหรือพระเมืองแก้ว ซึ่งเป็นช่วงยุคทอง หลังจากนั้นอาณาจักรล้านนาก็เสื่อมลง

ตั้งแต่สมัยพญากือนา กิจการในพุทธศาสนาได้รับการสนับสนุนมาก เห็นได้จากการรับนิกายรามัญจากสุโขทัยเข้ามาเผยแผ่ในล้านนา ทรงสร้างวัดสวนดอกให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาของเมืองทางตนบน จึงมีพระสงฆ์ชาวล้านนาได้ให้ความสนใจศึกษาพระพุทธศาสนามากขึ้นตามลำดับ ซึ่งนำไปสู่การศึกษาที่ลึกซึ้ง โดยในสมัยพญาสามฝั่งแกนมีพระสงฆ์กลุ่มหนึ่งไปศึกษาพระพุทธศาสนาในลังกา แล้วกลับมาตั้งนิกายสิงหลหรือลังกาวงศ์ใหม่ มีศูนย์กลางที่วัดป่าแดงในเมืองเชียงใหม่ พระสงฆ์กลุ่มนี้ได้ไปเผยแพร่ศาสนายังเมืองต่าง ๆ ภายในอาณาจักรล้านนา ตลอดจนขยายไปถึงเชียงตุง เชียงรุ่ง สิบสองพันนา

พระสงฆ์ในนิกายรามัญและนิกายสิงหลขัดแย้ง กันในการตีความพระธรรมวินัยหลายอย่าง แต่ก็เป็นแรงผลักดันนำไปสู่การศึกษาค้นคว้า โดยเฉพาะพระสงฆ์ในนิกายสิงหลเน้นการศึกษาภาษาบาลี ทำให้ศึกษาพระธรรมได้ลึกซึ้ง ดังนั้นหลังจากการสถาปนานิกายใหม่แล้ว พระพุทธศาสนาในล้านนาเจริญเติบโตอย่างมาก โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าติโลกราชถึงสมัยพญาแก้ว ดังปรากฏการสร้างวัดวาอารามทั่วไปในล้านนาและผลจากภิกษุล้านนามีความรู้ความ สามารถสูง จึงเกิดการทำสังคายนาพระไตรปิฎกที่วัดเจ็ดยอด จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2020 สิ่งที่สำคัญในระยะนี้ คือการเขียนคัมภีร์ต่าง ๆ ทางพุทธศาสนา คัมภีร์จากล้านนาได้แพร่หลายไปสู่ดินแดนใกล้เคียง เช่น ล้านช้าง พม่า อยุธยา งานเขียนประวัติศาสตร์นิพนธ์ในล้านนาประเภทตำนาน แพร่หลายตามท้องถิ่นต่าง ๆ โดยอาศัยสำนึกประวัติศาสตร์ที่เป็นจารีตเดิม ประกอบกับได้รับอิทธิพลจากงานเขียนจากสำนักลังกาที่พระสงฆ์นำเข้ามา งานเขียนประวัติศาสตร์สกุลตำนานในยุคนี้มีมากมาย เช่น ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ พื้นเมืองน่าน ตำนานพระธาตุลำปางหลวง ตำนานมูลสาสนา จามเทวีวงศ์ และชินกาลมีปกรณ์ เป็นต้น

ผลงานวรรณกรรมพุทธศาสนาของพระสงฆ์ล้านนา ที่สำคัญได้แก่ พระโพธิรังสี แต่งจามเทวีวงศ์ และสิหิงคนิทาน รัตนปัญญาเถระ แต่งชินกาลมาลีปกรณ์ เป็นงานเขียนที่มีคุณค่าต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ล้านนา พระสิริมังคลาจารย์ แต่งวรรณกรรมหลายเรื่อง เช่น เวสสันดรทีปนี จักรวาลทีปนี สังขยาปกาสกฎีการ และมังคลัตถทีปนี พระพุทธเจ้าและพระพุทธพุกาม แต่งตำนางมูลสาสนา

นอกจากนั้นยังมีปัญญาสชาดก (ชากด 50 เรื่อง) ซึ่งไม่ปรากฏนามผู้แต่ง เข้าใจว่าในสมัยพญาแก้ว ปัญญาสชาดกเป็นงานวรรณกรรมพุทธศาสนาที่แต่งทำนองเลียนแบบชาดกในพระไตรปิฎก แต่มีเนื้อเรื่องไม่เหมือนกัน เพราะเป็นชาดกนอกไตรปิฎก ปัญญาสชาดกเป็นต้นกำเนิดของวรรณคดีไทยหลายเรื่อง เช่น สมุททโฆสชาดก (นำมาแต่งเป็นสมุทรโฆษคำฉันท์) สุธนชาดำ (นำมาแต่งเป็นบทละครเรื่องมโนราห์) ปัญญาสชาดกแพร่หลายมากไปถึงพม่า มีการแปลเป็นภาษาพม่าในสมัยพระเจ้าโพธพระยา เมื่อ พ.ศ. 2224 พ ม่าเรียกปัญญา สชาดกว่า ซิมแม่ปัณณาสชาดก (เชียงใหม่ปัณณาสชาดก)

ในช่วงสมัยรุ่งเรืองนี้พระพุทธศาสนาเจริญ ยิ่งดังปรากฏการสร้างวัดแพร่หลายทั่วไปในดินแดนล้านนา ตามหมู่บ้านต่าง ๆ ได้สร้างวัดเป็นศูนย์กลางชุมชน และตามเมืองมีวัดหนาแน่ดังพบว่า เขตเมืองเชียงใหม่มีวัดนับร้อยแห่ง ปริมาณวัดที่มากมายในยุครุ่งเรืองนั้นมีร่องรอยปรากฏเป็นวัดร้างมากมายใน ปัจจุบัน ความเจริญในพุทธศาสนายังได้สร้างถาวรวัตถุในพุทธศาสนา ซึ่งมีคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมล้านน้า วัดสำคัญ ได้แก่ วัดเจ็ดยอด วัดเจดีย์หลวง วัดพระสิงห์ วัดสวนดอก วัดบุพพาราม เป็นต้น การสร้างวัดมากมายนอกจากแสดงความเจริญในพระพุทธศาสนาแล้ว ยังสะท้อนความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของล้านนาในยุครุ่งเรืองด้วย

ในยุคเศรษฐกิจรุ่งเรือง ล้านนามีความมั่งคั่งด้วยความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ มีพัฒนาการร่วมไปกับความเจริญรุ่งเรืองโดยรวมของรัฐ เพราะพบว่านับตั้งแต่สมัยพญากือนาเป็นต้นมา การค้าระหว่างรัฐมีเครือข่ายก้าวขวางไปไกล ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ได้ สะท้อนการค้าว่ามีหมู่พ่อค้าเมืองเชียงใหม่ไปค้าขายถึงเมืองพุกาม ในยุคนั้นเมืองเชียงใหม่มีฐานะเป็นศูนย์กลางการค้าสำคัญ เพราะตำแหน่งที่ตั้งเมืองนั้นคุมเส้นทางการค้า คือ เมืองต่าง ๆ ที่อยู่ตอนบนขึ้นไป เช่น รัฐฉาน สิบสองพันนา เชียงแสนจะนำสินค้าผ่านสู่เมืองเชียงใหม่แล้วจึงผ่านไปเมื่ออื่น ๆ ที่อยู่ทางใต้และทางตะวันตก ดังนั้น จึงพบหลักฐานกล่าวถึงพ่อค้าจากทุกทิศมาค้าขายที่เชียงใหม่มีทั้งเงี้ยว ม่าน เม็ง ไทย ฮ่อ กุลา เมืองเชียงใหม่คงมีผลประโยชน์จากการเก็บภาษีสินค้าสูงทีเดียว สินค้าออกเชียงใหม่สู่ตลาดนานาชาติคือของป่า เมืองเชียงใหม่ทำหน้าที่รวบรวมสินค้าของป่าจากเมืองต่าง ๆ ทางตนบนแล้วส่งไปขายยังเมืองท่าทางตอนล่างในดินแดนกรุงศรีอยุธยาและหัวเมือง มอญ กษัตริย์มีบทบาทในการค้าของป่า โดยอาศัยการเก็บส่วยจากไพร่และให้เจ้าเมืองต่าง ๆ ในอาณาจักรส่งส่วนให้ราชธานี ด้วยพระราชอำนาจจึงออกกฎหมายบังคับให้ทุกคนในอาณาจักรนำส่วยสินค้าของป่ามา ถวาย รูปแบบการค้าของป่า คือกษัตริย์จะส่งข้าหลวงกำลับดูแลสินค้าชนิดต่าง ๆ เพราะพบตำแหน่งแสนน้ำผึ้ง ข้าหลวงดูแลการค้าส่วยน้ำผึ้ง และมีพ่อค้าจากอยุธยาเดินทางเข้าซื้อสินค้าในเมืองฮอด

ในยุคที่อาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรือง รัฐมีความเจริญทางการค้ามากและสภาพเศรษฐกิจดี จึงมีกองกำลังเข้มแข็งดังพบว่า ในยุคนี้อาณาจักรล้านนามีอำนาจสูงได้แผ่อิทธิพลออกไปอย่างกว้างขวาง เช่น เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ่ง เมืองยอง เมืองนาย เมืองน่าน และยังขยายอำนาจลงสู่ชายขอบรัฐอยุธยา ดังทำสงครามติดต่อกันหลายปีระหว่างพระเจ้าติโลกราชและพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งในครั้งนั้นทัพล้านนาสามารถยึดครองเมืองศรีสัชนาลัยได้

3. สมัยเสื่อมและอาณาจักรล้านนาล่มสลาย (พ.ศ. 2068 – 2101) ความเสื่อมของอาณาจักรล้านนาเกิดขึ้นในช่วงปลายสมัยราชวงศ์มังราย นับตั้งแต่พญาเกศเชษฐาราชขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2068 จนกระทั่งตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าใน พ.ศ. 2101 ข่วงเวลา 33 ปี ในช่วงเวลานั้นมีระยะหนึ่งที่ว่างเว้นไม่มีกษัตริย์ปกครองถึง 4 ปี (พ.ศ. 2091 – 2094) เพราะขุนนางขัดแย้งกันตกลงกันไม่ได้ว่าจะให้ใครเป็นกษัตริย์ กษัตริย์สมัยเสื่อมจะครองเมืองระยะสั้น ๆ การสิ้นรัชสมัยของกษัตริย์เกิดจากขุนนางจัดการปลงพระชนม์ หรือขุนนางปลดกษัตริย์ หรือกษัตริย์สละราชสมบัติ

ประการแรก การขยายอาณาเขตและสร้างความมั่นคงในอาณาจักร ในสมัยพญามังรายได้ผนวกเขลางคนครเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร เนื่องจากเขลางคนครมีความสัมพันธ์กับเมืองหริภุญชัยในฐานะบ้านพี่เมืองน้อง เมื่อยึดครองหริภุญชัยสำเร็จก็จำเป็นต้องรุกคืบต่อไปยังเขลางคนคร หลังจากนั้นความคิดขยายอาณาเขตไปยังทางด้านตะวันออกสู่เมืองพะเยาซึ่งเกิด ขึ้นในสมัยพญามังรายแล้ว แต่ติดขัดที่เป็นพระสหายกับพญางำเมือง เมืองพะเยาและเชียงใหม่มีความสัมพันธ์ฐานะเครือญาติในวงศ์ลวจังกราช เมืองพะเยาซึ่งเป็นรัฐเล็ก ต่อมาจึงถูกยึดครองสำเร็จในสมัยพญาคำฟู (พ.ศ. 1877 – 1879) การยึดครองพะเยาได้เป็นผลดีต่ออาณาจักรล้านนาเพราะนอกจากเมืองเชียงรายจะ ปลอดภัยจากพะเยาแล้ว เมืองพะเยายังเป็นฐานกาลังขยายไปสู่เมืองแพร่และเมืองน่านต่อไป ความคิดขยายอำนาจสู่เมืองแพร่มีในสมัยพญาคำฟูแต่ไม่ประสบความสำเร็จ แสดงให้เห็นว่าการรวมหัวเมืองล้านนาตะวันออก ซึ่งเป็นรัฐในหุบเขาไม่ใช่จะกระทำได้โดยง่าย เพราะกว่าจะรวมเมืองแพร่และเมืองน่านสำเร็จก็อยู่ในช่วงอาณาจักรล้านนามี ความเจริญสูงสุดในสมัยพระเจ้าติโลกราช

การสร้างความมั่นคงในเขต ทางตอนบนของอาณาจักรเด่นชัดในสมัยราชวงศ์มังรายตอนต้น ดังปรากฏว่าเมือสิ้นสมัยพญามังราย พญาไชยสงครามครองราชย์ต่อมา ได้เสด็จไปประทับที่เมืองเชียงราย ส่วนเมืองเชียงใหม่ให้โอรสครองเมืองลักษณะเช่นนี้มีสืบมาในสมัยพญาแสนพู และพญาคำฟู โดยสมัยพญาแสนพูสร้างเมืองเชียงแสนในบริเวณเมืองเงินยาง การสร้างเมืองเชียงแสนก็เพื่อป้องกันศึกทางด้านเหนือ เพราะเมืองเชียงแสนตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ใช้แม่น้ำโขงเป็นคูเมืองธรรมชาติ มีตัวเมืองกว้าง 700 วา ยาว 1,500 วา มีป้อมปราการ 8 แห่ง ที่ตั้งเมืองเชียงแสนคุมเส้นทางการคมนาคมเพราะเป็นช่องทางไปสู่เมืองต่าง ๆ เช่น เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ่ง เมืองนาย เมืองยอง เมืองเชียงแสนจึงเป็นศูนย์กลางของเมืองตอนบน หลังจากสร้างเมืองเชียงแสนแล้ว พญาแสนพูประทับที่เชียงแสนสืบต่อมาถึงสมัยพญาคำฟู สถานการณ์ทางการเมืองดีขึ้นเมื่อผนวกพะเยาเข้ากับอาณาจักรล้านนาในสมัยพญา คำฟู ส่วนเมืองเชียงตุงพญาผายูสถาปนาอำนาจอันมั่นคง โดยส่งเจ้าราชบุตรเจ็ดพันตูไปปกครองและพญาผายูสร้างความผูกพันโดยอภิเษก กับธิดาเจ้าเมืองเชียงของ การสร้างความมั่นคงเขตตอนบนมีเสถียรภาพพอสมควร ในสมัยพญาผายูจึงย้ายมาประทับที่เชียงใหม่ ให้เมืองเชียงราย เชียงแสนเป็นเมืองสำคัญทางตอนบน

ประการที่สอง การปกครองมีโครงสร้างแบ่งเป็น 3 เขต

1. บริเวณเมืองราชธานี ประกอบด้วยเมืองเชียงใหม่และลำพูน เนื่องจากทั้งสองเมืองตั้งอยู่ในแอ่งที่ราบเดียวกันและอยู่ใกล้กัน กษัตริย์จึงปกครองโดยตรง

2. บริเวณเมืองข้าหลวง อยู่ถัดจากเมืองราชธานีออกไป กษัตริย์จะแต่งตั้งข้าหลวงไปปกครอง เจ้าเมืองซึ่งเป็นข้าหลวงนี้ส่วนใหญ่เป็นเชื้อพระวงศ์ ขุนนางที่ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์ก็มีบ้าง แต่เป็นส่วนน้อย เมืองสำคัญจะปกครองโดยเจ้าเชื้อพระวงศ์ ที่ใกล้ชิด เช่น เมืองเชียงราย กษัตริย์มักส่งโอรสหรือพระอนุชาไปปกครองเมืองอุปราช เจ้าเมืองมีอำนาจสูงสุดในการจัดการภายในเมืองของตน เช่น การแต่งตั้งขุนนางตำแหน่งต่าง ๆ การจัดตั้งพันนา การค้าภายในเมือง การควบคุมกำลังไพร่ ความสัมพันธ์ระหว่างข้าหลวงและกษัตริย์เป็นเพียงความสัมพันธ์ส่วนบุคคล เมื่อเปลี่ยนรัชกาล ความสัมพันธ์ก็อาจเปลี่ยนไปด้วย

3. บริเวณเมืองประเทศราช เป็นเขตเจ้าต่างชาติต่างภาษา ปกครองตนเองตามประเพณีท้องถิ่น เมืองประเทศราชเป็นรัฐตามชายขอบล้านนา เช่น เมืองเชียงตุง เมืองนาย เมืองยอง เนื่องจากประเทศราชอยู่ห่างไกลจึงผูกพันกับเมืองราชธานีน้อยกว่าเมืองข้า หลวง ครั้นมีโอกาสเมืองประเทศราชมักแยกตนเป็นอิสระหรือไปขึ้นกับรัฐใหญ่อื่น ๆ ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองราชธานีกับเมืองประเทศราชเป็นเรื่องส่วนบุคคลที่ อาจอาศัยระบบเครือญาติหรือการเกื้อกูลกัน ภายใต้การปกครองที่อาศัยความสัมพันธ์ทางเครือญาติของรัฐ โบราณ เจ้าเมืองมักเป็นเชื้อพระวงศ์ที่กษัตริย์ส่งไปปกครองเมืองต่าง ๆ ลักษณะเช่นนี้คลี่คลายมาจากธรรมเนียมการสร้างบ้านแปลงเมือง ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงแรกเมื่อรัฐขยายตัวการปกครองแบบนี้เป็นการรวมตัวอย่าง หลวม ๆ ของเมืองต่าง ๆ ซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของอาณาจักรล้านนา เพราะลักษณะทางกายภาพอาณาจักรล้านนาเป็นรัฐในหุบเขา เมืองต่าง ๆ จะตั้งถิ่นฐานอยู่ตามหุบเขาซึ่งกระจายตัว ดังนั้นรัฐล้านนาจำเป็นต้องสร้างเสถียรภาพตลอดมา โดยให้เมืองต่าง ๆ ที่กระจายตัวตามหุบเขายอมรับอำนาจศูนย์กลาง ความพยายามจะปรับการปกครองรัฐในหุบเขาจากการใช้ระบบข้าหลวงหรือระบบเครือ ญาติ ซึ่งพึ่งพาความสัมพันธ์ส่วนบุคคลไปสู่ระบบข้าราชการที่เป็นสถาบันไม่ประสบ ความสำเร็จในล้านนา ปัญหาโครงสร้างรัฐแบบหลวม ๆ นี้เป็นข้อจำกัดอย่างอย่างหนึ่งที่นำไปสู่ความเสื่อมของอาณาจักรล้านนา

ประการที่สาม การรับวัฒนธรรมความเจริญ จากหริภุญชัย แคว้นหริภุญชัยมีความเจริญรุ่งเรืองในเขตที่ราบลุ่มน้ำปิงมาช้านาน เมื่อพญามังรายยึดครองหริภุญชัยสำเร็จ ได้นำความเจริญต่าง ๆ มาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาต่อไป เชื่อกันว่าอิทธิพลจากหริภุญชัยมีหลายอย่าง เช่น กฎหมายล้านนาอย่างมังรายศาสตร์คงรับความคิดมาจากกฎหมายธรรมศาสตร์ของมอญหริภุญชัย อย่างไรก็ตามหลังจากรับมาแล้ว รัฐล้านนาได้พัฒนาต่อไปมากเป็นลักษณะเฉพาะท้องถิ่น โดยเฉพาะตัวอักษรธรรมล้านนา หรือตัวเมืองมีต้นแบบมาจากอักษรมอญโบราณ ส่วนด้านศิลปวัฒนธรรมหริภุญชัยพบว่าได้รับรูปแบบสถาปัตยกรรมเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยม และเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม ซึ่งมักสร้างในสมัยราชวงศ์มังรายตอนต้น เช่น เจดีย์กู่คำ เวียงกุมกามรับอิทธิพลจากกู่กุด

อิทธิพลที่ชัดเจนมาก คือพระพุทธศาสนาของหริภุญชัย เพราะพระพุทธศาสนานิกายเดิมรับจากหริภุญชัยมีบทบาทในล้านนาสูง นับตั้งแต่พญามังรายยึดครองหริภุญชัย ได้รับพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทหริภุญชัย จนถึงสมัยพญากือนามีความคิดจะสถาปนานิกายรามัญวงศ์ โดยอาราธนาพระสุมนเถระจากสุโขทัยเข้ามาเผย แพร่พุทธศาสนาในล้านนา และในสมัยพญาสามฝั่งแกนได้เกิดนิกายสิงหล หรือลังกาวงศ์ใหม่มาจากลังกาอีกระลอกหนึ่ง พระพุทธศาสนาในล้านนาจึงมี 3 นิกายด้วยกัน อย่างไรก็ตามนิกายเดิมหรือนิกายพื้นเมืองที่ปริมาณพระภิกษุมากกว่านิกายอื่น พระพุทธศาสนาแนวหริภุญชัยมีบทบาทในล้านนาอย่างน้อยจนถึงสิ้นราชวงศ์มังราย ปัจจัยความเสื่อมสลาย เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของรัฐในหุบเขา ที่ทำให้เมืองต่าง ๆ ในอาณาจักรมีโอกาสแยกตัวเป็นอิสระ เมืองราชธานีจึงพยายามสร้างเสถียรภาพให้ศูนย์กลางมีความเข้มแข็งตลอดมา โดยกษัตริย์อาศัยการสร้างสายสัมพันธ์กับเจ้าเมืองต่าง ๆ ในระบบเครือญาติ ซึ่งระบบนี้ใช้ได้ในระยะแรก ในที่สุดเมื่อรัฐขยายขึ้นจำเป็นต้องสร้างระบบราชการที่มีประสิทธิภาพแทนที่ ระบบเครือญาติ อาณาจักรล้านนาสถาปนาระบบราชการไม่ได้ รัฐจึงอ่อนแอและเสื่อมสลายลง ในช่วงนี้สถาบันกษัตริย์อ่อนแอลง ขุนนางมีอำนาจเพิ่มพูน นอกจากนั้นขุนนางยังขัดแย้งกัน โดยแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือขุนนางเมืองราชธานีและขุนนางหัวเมือง แย่งชิงความเป็นใหญ่ ต่างสนับสนุนคนของตนเป็นกษัตริย์ ปัญหาการเมืองภายในล้านนาที่แตกแยกอ่อนแอมีผลต่อเศรษฐกิจ เพราะช่วงนั้นเศรษฐกิจตกต่ำมาก ความเสื่อภายในล้านนาเป็นปัญหาพื้นฐานสำคัญ และมีปัจจัยภายนอกคือการขยายอำนาจของราชวงศ์ตองอูเป็นตัวเร่งให้อาณาจักร ล้านนาล่มสลายลง ในพ.ศ. 2101อ้างอิงจาก http://www.openbase.in.th/node/6405

1.1.2 อาณาจักรโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

1.1.2.1 อาณาจักรโครตบูรณ์ "ในราว พ.ศ.700 ประเทศพนม เป็นประเทศรุ่งเรืองขึ้นมาใหม่ในอินโดจีน ทางทิศตะวันตกของพนมมีประเทศเจนละ(เขมร) ถัดจากประเทศเจนละคือประเทศกิมหลินทางเหนือประเทศกิมหลินคือประเทศบูหลุน พระมหาราชกรุงพนมได้ยกกองทัพเรือไปปราบประเทศในคาบมหาสมุทรมลายาได้กว่า 10 ประเทศ ภายหลังให้รัชทายาทนามว่ากิมแซ ไปปราบประเทศกิมหลินได้(ราวพ.ศ.773)

ประเทศสุวรรณภูมิและประเทศเล็กๆในสุวรรณภูมิทวีป(คาบมหาสมุทรมลายา)เป็นอิสระตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกอยู่ได้ 500 ปี ก็เป็นประเทศราชของประเทศพนม พระพุทธศาสนายังคงรุ่งเรืองอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิทวีปตลอดมา เพราะปรากฏตามหนังสือของภิกษุจาริกจีนว่า ดินแดนแถบนี้ยังคงมีพุทธศาสนารุ่งเรืองดีอยู่ ภิกษุอี้จิงจึงเรียกแถบนี้ว่า ดินแดนกิมหลิน ตามชื่อเก่า"

แต่ในตำนานพระธาตุพนมเล่าว่า"ในราว พ.ศ.8 ศรีโคตรบูรตั้งเมืองหลวงอยู่ใต้ปากเซบ้องไฟ อยู่เหนือสุวรรณเขตประเทศลาว ครั้นต่อมาได้ย้ายเมืองหลวงมาตั้งอยู่เหนือธาตุพนม ในดงไม้รวกจึงมีนามว่า" มรุกขนคร"มีกษัตริย์ครองเมือง 5 องค์ องค์สุดท้ายชื่อ พระยานิรุฏฐราช บ้านเมืองเลยเกิดวิบัติล่มร้างเป็นบึงและป่า ต่อมาในราวพ.ศ.1800 ปรากฏว่าได้ไปตั้งเมืองขึ้นใหม่อยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง แต่เหนือที่เดิมมาก ได้แก่เมืองเก่าใต้ท่าแขกประเทศลาวเดี๋ยวนี้"

การที่อาณาจักรศรีโคตรบูรตั้งเมืองหลวงในพ.ศ.8 นั้นน่าจะผิดพลาดเนื่องจากเวลาห่างจากปีที่พระเจ้าอโศกมหาราชส่งพระสมณฑูตออกไปประกาศพระศาสนาในปี พ.ศ.236 ถึง 228 ปี (หากเป็นพุทธศตวรรษที่ 8 คือ พ.ศ.800 ก็น่าจะพอเชื่อถือได้บ้าง) แต่มีข้อสนับสนุนตามตำนานว่า การสร้างพระธาตุพนมนั้น พระพุทธเจ้าเสด็จไปประกาศพระศาสนาด้วยพระองค์เอง และในพ.ศ.8 พระมหากัสสปะและท้าวพญาทั้งห้าพระองค์ได้สร้างพระธาตุโดยอัญเชิญพระอุรังคธาตุบรรจุไว้ในพระเจดีย์สูง ประมาณ 8 เมตรสำหรับ ท้าวพญา 5 พระองค์ที่ร่วมสร้างพระธาตุพนมเมื่อพ.ศ.8 นั้น คือ พญานันทเสน ครองเมืองศรีโคตรบูร พญาจุลณีพรหมทัต ครองแคว้นจุลณี พญาอินทปัตถ์ ครองอินทปัตนคร พญาคำแดง ครองเมืองหนองหารน้อย และพญาสุวรรณภิงคาร ครองเมืองหนองหารหลวง ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้ครองเมืองในอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์โบราณเมื่อครั้งที่ตั้งเมืองหลวงอยู่ใต้ปากเซบ้องไฟ ฝั่งสุวรรณเขตประเทศลาว จากตำนานพระธาตุพนมนั้น อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์โบราณได้ตั้งขึ้นก่อนแล้วเมื่อพ.ศ.8 ต่อมาได้มีการย้ายเมืองหลวงมาอยู่เหนือพระธาตุพนมฝั่งอาณาจักรสยาม ดังนั้นเรื่องของอาณาจักรแห่งนี้จึงมีความแตกต่างกัน ดังนี้

ในพุทธศตวรรษที่ 14-15 ครั้งสมัยอาณาจักรทวารวดีมีอำนาจอยู่นั้น บริเวณสองฟากแม่น้ำโขงได้มีการตั้งอาณาจักรขึ้นใหม่เรียกว่าอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ หรือ โคตรปุระ แปลว่า เมืองตะวันออก โดยมีพระยาโคตรบอง เป็นผู้ครองนคร ดินแดนแห่งนี้มีเมืองสำคัญคือ เวียงจันท์ หรือเวียงจันทน์ หนองหานหลวง(สกลนคร) มรุกขนคร(นครพนม) เมืองจันทบุรี ศรีสัตนาคนหต ล้านช้างร่มขาว(หลวงพระบาง) เชียงใหม่ เชียงแสน เชียงรุ้ง เป็นต้น พ.ศ.1896 สมัยอยุธยาตอนต้น พระเจ้าฟ้างุ้มทรงสถาปนานครเวียงจันท์ขึ้นเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรลาว

พ.ศ.1991 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ซึ่งเป็นกษัตริย์ครองอาณาจักรล้านนา ภายหลังได้อภิเษกพระธิดาของกษัตริย์ผู้ครองอาณาจักรล้านช้างและได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์อาณาจักรล้านช้าง ร่วมกันสร้างพระเจดีย์ศรีสองรักษ์ เพื่อเป็นสัญญลักษณ์แห่งมิตรภาพ (ปัจจุบันอยู่ที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย)

อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์นี้ได้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อกันมา และภายหลังได้เป็นอาณาจักรล้านช้าง(ปัจจุบันคือพระราชอาณาจักรลาว) ในสมัยกรุงธนบุรีนั้นอาณาจักรลานช้างได้ตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรสยาม ในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้นอาณาจักรสยามต้องเสียดินแดนให้ฝรั่งเศสจึงทำให้อาณาจักรแห่งนี้ตกอยู่ใต้อำนาจฝรั่งเศสต่อมา

โบราณสถานสำคัญของอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์นั้นคือ พระธาตุพนมที่จังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นปูชนีย์สถานพุทธศาสนาสำคัญ โดยสร้างทับบนปราสาทขอมสมัยโบราณ มีตำนานพระธาตุพนมว่า พระธาตุนี้ได้สร้างขึ้นในพ.ศ.8 สมัยอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์โบราณฅโดยก่ออุโมงค์เป็นรูปเตามีประตูปิดเปิด 4 ด้านสูง 5เมตรสำหรับบรรจุพระอุรังคธาตุโดยมีผ้ากัมพลห่อไว้ภายในอุโมงค์ ต่อมาพ.ศ.500 พระอรหันต์ทั้ง 5 องค์คือ พระสังขวิชาเถระ พระมหารัตนเถระ พระจุลรัตนเถระ พระมหาสุวรรณปราสาทเถระ และพระจุลสุวรรณปราสาทเถระ พร้อมด้วยพระยาสุมิตธรรมวงศา แห่งเมืองมรุกขนคร ได้ร่วมกันบูรณะพระธาตุพนมสูงประมาณ 24 เมตรและอัญเชิญพระอุรังคธาตุออกมาประดิษฐานบนพานทองคำ อมรฤาษีและโยธิกฤาษีไปเอาอุโมงศิลาบนยอดเขาภูเพ็กมาตั้งไว้ชั้นบนของพระธาตุชั้นที่ 2 ซึ่งอยู่สูง 14 เมตรแล้วพระสุมิตธรรมวงศาได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุฐาปนาไว้บนเจดีย์ศิลานั้น ต่อมาพระโพธิศาล ซึ่งครองเมืองหลวงพระบางเมื่อพ.ศ.2073-2103 นั้นได้ตำนานอุรังคธาตุ(ที่พระธาตุพนม)มาจากกัมพูชา จึงเกิดความศรัทธาและได้มาสร้างบริเวณภูกำพร้าขึ้นเป็นวัด อุทิศข้าทาสให้แก่พระธาตุ พระไชยเชษฐาธิราช โอรสของพระโพธิศาล ซึ่งสร้างเมืองเวียงจันทน์เป็นเมืองหลวง ได้เสด็จมานมัสการพระธาตุพนมเมื่อพ.ศ.2157 ต่อมาพ.ศ.2233-2235 เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กแห่งนครเวียงจันทน์ได้นำช่างมาจากเวียงจันทน์มาทำการบูรณะพระธาตุพนมต่อเติมจนสูง 47 เมตรโดยพ่อออกพระขนานโคตพร้อมด้วยบุตรภริยาได้"นำเอาอูบพระชินธาตุเจ้าที่จันทรปุระ(เวียงจันทน์)มาฐาปนาที่ธาตุปะนม"และบรรจุพระพุทธรุปเงิน-ทอง แก้วมรกต อัญมณีมีค่าไว้มากมายและพ.ศ.2483-2484 กรมศิลปากรได้ทำบูรณะพระธาตุให้สูงขึ้นเป็น 57 เมตร หลังจากนั้นก็มีการบูรณปฏิสังขรณ์อยู่เสมอ ครั้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2518 องค์พระธาตุพนมได้ล้มทลายลงมาทั้งองค์ ยอดพระธาตุฟาดมาทางทิศตะวันออก กรมศิลปากรได้บูรณะตามแบบเดิมเสร็จใน พ.ศ.2522อ้างอิงจากhttp://www.siamrecorder.com/h/30.htm

1.1.2.2 อาณาจักรอิศานปุระ

อาณาจักรอิศานปุระ เป็นอาณาจักรโบราณ รุ่งเรืองอยู่ในช่วงพุทธศตรวรรษที่ 11 ครอบคลุมพื้นที่ภาคอีสานตอนล่างของไทย ตอนบนของประเทศกัมพูชา และลาวตอนใต้ สถาปนาขึ้นโดยพระเจ้าอิศานวรมัน ผู้สืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์เจนละ คือพระเจ้ามเหนทระวรมัน หรือที่จิตรเสน ผู้ครองแคล้นเจนละ ที่ทรงครอบครองดินแดนในพื้นที่อีสานตอนใต้และลาวทางตอนใต้แถบวัดภู หลังจากที่ได้รับการสิบทอดอำนาจจากพระเจ้าจิตรเสน พระเจ้าอีศานวรมัน เสด็จขึ้นครองราชย์ (ราวพ.ศ. 1153-1198) ได้ทำสงครามกับอาณาจักรฟูนัน ที่ยึดของพื้นที่ทางตอนใต้ ควบรวมเป็นอาณาจักรเดียวกัน ซึ่งเป็นการสูญสิ้นอาณาจักรฟูนัน และได้สถาปนาศูนย์กลางการปกครองขึ้นใหม่ ชื่อว่าอีศานปุระ http://www.siamrecorder.com/h/30.htm

1.1.3 อาณาจักรโบราณในภาคกลาง

1.1.3.1 อาณาจักรทวาราวดี

อาณาจักรทวารวดี มีศูนย์กลางอยู่ที่ใดไม่ปรากฏชัด สันนิษฐานว่า อาจอยู่ที่นครปฐมราชบุรี หรือสุพรรณบุรี เพราะทั้ง 3 แห่งนี้มีร่องรอย เมืองโบราณ ศิลปวัตถุ และโบราณสถานแบบทวารวดีเหมือนๆ กัน ศิลปวัฒนธรรมของทวารวดีส่วนใหญ่เป็นไปในทางพระพุทธศาสนาซึ่งจดหมายเหตุจีนได้ระบุว่า อาณาจักรทวารวดีนี้มีวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างสูงมีความเจริญทางด้านการค้ามาก นอกจากนี้ ตำนานมูลศาสนา และตำนานจามเทวีวงศ์ซึ่งเป็นหลักฐานของไทยก็กล่าวถึงความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรทวารวดีไว้เช่นกัน

อาณาจักรทวารวดี เจริญรุ่งเรืองขึ้นในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 และได้แผ่อิทธิพลทางวัฒนธรรมที่รับมาจากอินเดียไปทั่วทุกภาคของประเทศโดยเฉพาะความเชื่อทางพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท คำว่า ทวารวดี ปรากฏในบันทึกการเดินทางของภิกษุจีนรูปหนึ่ง และได้เทียบคำว่า อาณาจักร โต-โล-โป-ตี้ หรือ ตว้อ-หลอ-ปอ-ตี้ ตามสำเนียงจีน ว่า ตรงกับคำว่า อาณาจักร ท-วา-ร-ว-ดี บันทึกการเดินทางของภิกษุจีน ซึ่งบันทึกไว้ราวพุทธศตวรรษที่ 13 หรือเมื่อประมาณ 1,300 ปีมาแล้ว กล่าวว่า เป็นอาณาจักรที่ตั้งอยู่ระหว่างอาณาจักรศรีเกษตร(ปัจจุบันอยู่ในประเทศพม่า)และอาณาจักรอิศานปุระ อยู่ในประเทศกัมพูชา ดังนั้นอาณาจักรทวารวดีจึงตั้งอยู่ในดินแดนประเทศไทยปัจจุบันจากการศึกษาของนักประวัติศาสตร์เชื่อว่าประชาชนของทวารวดีเป็นชาวมอญ อพยพมาจากแถบตะวันตกของจีนลงมาทางใต้ตามลำน้ำโขงและแม่น้ำสาละวิน เข้าสู่พม่าตอนล่าง และดินแดนลุ่มน้ำเจ้าพระยาอ้างอิงจาก http://thawarawadeekingdom.blogspot.com/2013/07/blog-post_5416.html

1.1.3.2 อาณาจักรละโว้

ตามข้อมูลที่ปรากฏเกี่ยวกับเมืองละโว้ มีข้อมูลอยู่ในพงศาวดารเหนือพอจะสรุปได้ว่าเมืองละโว้มีมาตั้งแต่ พ.ศ. 1002 แล้ว มีเมืองลพบุรีเป็นเมืองหลวงตั้งอยู่ทางภาคกลางในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา มีอาณาเขตตั้งแต่ชัยนาทลงมาจนถึงเขตประจวบคีรีขันธ์ ทางด้านตะวันตก จดมะริด ทวาย ด้านตะวันออกจดนครราชสีมา

ลพบุรีเคยเป็นเมืองสำคัญของอาณาจักรทวารวดีมาก่อนเคยมีความรุ่งเรืองในด้านพระพุทธศาสนามาแต่โบราณ ตำนานบูลศาสน์ กล่าวว่าพระเจ้ากรุงละโว้ได้ส่ง พระนางจามเทวี ราชธิดาไปครอง เมืองหิริภุญชัย (ลำพูน)เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนภาคเหนือ

และจากการขุดค้นทางโบราณคดีปรากฏว่าตั้งแต่อำเภอชัยบาดาล ถึงอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรีล้วนแต่มีหลักฐานเกี่ยวกับมนุษย์ในอดีตที่ยาวนานมาแล้วจากชุมชนขนาดย่อมขยายเป็นเมืองเล็กๆ จนกระทั่งรวมตัวกันเป็นอาณาจักรหรือเขตปกครองที่เป็นส่วนย่อยของประเทศราวพุทธศตวรรษที่ 10-12 ละโว้กลายเป็นอาณาจักรหรือเมืองขนาดใหญ่แล้วและในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-14 อาณาจักรละโว้มีความรุ่งเรืองอย่างมากโดยเฉพาะด้านพระพุทธศาสนา

อาณาจักรละโว้ มีความเจริญมากขึ้นเรื่อยๆจนมีอิทธิพลครอบคลุมดินแดนภาคกลางตอนบนตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์เรื่อยมาจนถึงภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยบางส่วนศูนย์กลางของอาณาจักรละโว้ในตอนต้นสันนิษฐานว่าอยู่ที่เมืองลพบุรี และประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 ได้ย้ายมาอยู่ที่เมืองอโยธยา ภายหลังต่อมาเมื่อใน พ.ศ.1893 ได้มีการสถาปนาอาณาจักรอยุธยาขึ้นนั้นให้ละโว้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา

เมื่อเทียบเคียงกับอาณาจักรร่วมสมัยก็จะพบว่าอาณาจักรละโว้อยู่ในยุคเดียวกันกับอาณาจักรทวารวดี และอาณาจักรเจนละพื้นที่อิทธิพลบางส่วนก็ถือว่าเป็นพื้นที่เดียวกันประกอบกับตามหลักฐานเกี่ยวกับอาณาจักรทวารวดีบ่งบอกว่า ทวารวดีได้รับอิทธิพลจากอินเดียหลายอย่าง เช่นด้านการปกครอง รับความเชื่อเรื่องการปกครองโดยกษัตริย์สันนิษฐานว่าการปกครองสมัยทวารวดีแบ่งออกเป็นแคว้น มีเจ้านายปกครองตนเองแต่มีความสัมพันธ์ในลักษณะเครือญาติการแบ่งชนชั้นในสังคมออกเป็นชนชั้นปกครองกับชนชั้นที่ถูกปกครอง

จึงมีความเป็นไปได้ว่าละโว้ก็เป็นแคว้นหนึ่งที่เป็นองค์ประกอบของอาณาจักรทวารวดีดังนั้นข้อมูลบางประการที่ปรากฎเป็นหลักฐานเกี่ยวกับอาณาจักรละโว้อาจจะเป็นข้อมูลของอาณาจักรทวารวดี ขณะเดียวกันข้อมูลบางประการที่เกี่ยวกับอาณาจักรทวารวดีก็อาจจะหมายถึงข้อมูลของอาณาจักรละโว้ก็เป็นไปได้ แต่การเสื่อมอำนาจของทั้งสองอาณาจักรนี้ไม่พร้อมกันก็น่าจะเป็นเพราะการขยายอำนาจของขอมนั้นค่อยๆลิดรอนอำนาจเดิมในพื้นที่ด้วยการตีเอาเมืองต่างๆของอาณาจักรทวารวดีไปที่ละเมืองสองเมือง จึงทำให้ความเป็นอาณาจักรทวารวดีสูญสิ้นไปก่อน ความเป็นอาณาจักรละโว้

หลังจากพุทธศตวรรษที่๑๖ เป็นต้นมา อาณาจักรขอมได้ขยายอิทธิพลเข้ามายังบริเวณนี้ ทำให้ความสำคัญของอาณาจักรละโว้ลดลงอิทธิพลศิลปวัฒนธรรมของขอมได้แพร่เข้ามาในดินแดนประเทศไทยโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทหินพิมายจังหวัดนครราชสีมา และเลยมาทางตะวันตกได้แก่ ปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี และในช่วงเวลาดังกล่าวละโว้เป็นศูนย์กลางที่สำคัญทางภาคกลางจึงได้รับอิทธิพลศิลปะขอม โดยนำมาผสมผสานรูปแบบให้เป็นลักษณะเฉพาะของตนเอง ได้แก่พระปรางค์สามยอด และเทวสถานปรางค์แขก จังหวัดลพบุรีแม้จะมีลักษณะสถาปัตยกรรมรูปพระปรางค์ตามขอมแต่เป็นการสร้างเลียนแบบขอมเท่านั้นเอง ทางด้านประติมากรรมศิลปะลพบุรีมักมีส่วนผสมกับศิลปะทวารวดี ทั้งนี้เพราะถิ่นที่ตั้งของอาณาจักรละโว้ก็เป็นพื้นที่ของอาณาจักรทวารวดี ที่อยู่ร่วมสมัยกัน

ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่๑๗ การค้าขายระหว่างอาณาจักรละโว้กับจีนเจริญรุ่งเรืองขึ้นแต่เนื่องจากอยุธยาตั้งอยู่ใกล้ทะเลซึ่งเป็นทำเลที่เหมาะสมกว่าศูนย์กลางการค้าขายจึงเปลี่ยนจากลพบุรีไปอยู่ที่อยุธยาและในที่สุดเมื่อพระเจ้าอู่ทองสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรอยุธยาอาณาจักรละโว้ก็ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา จึงเป็นอันสิ้นสุดความเป็นอาณาจักรละโว้ ตั้งแต่นั้นมาอ้างอิง

จากhttp://www.bloggang.com/mainblog.php?id=sathit1&month

1.1.4 อาณาจักรโบราณในภาคใต้

1.1.4.1 อาณาจักรลังกาสุกะ

อาณาจักรลังกาสุกะ (พุทธศตวรรษที่ 7-14) มีอาณาเขตควบคลุมพื้นที่ในจังหวัดปัตตานีและจังหวัดยะลา มีศูนย์กลางอยู่ที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี พัฒนาขึ้นมาจากการเป็นเมืองท่าสำคัญที่มีการติดต่อกับต่างชาติโดยเฉพีจนและ อินเดียแต่มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับจีนมากกว่าโดยส่งทูตไปเมืองจีนถึง 6 ครั้ง เป็นศูนย์กลางสำคัญของพระพุทธศาสนานิกายมหายาน จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่อำเภอยะรังจังหวัดปัตตานี พบประติมากรรมสำริดพระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวร และสถูปจำลองรูปทรงต่างๆจำนวนมาก

1.1.4.2 อาณาจักรตามพรลิงค์

อาณาจักรตามพรลิงค์ (พุทธศตวรรษที่ 13-18) มีศูนย์กลางอยู่ที่นครศรีธรรมราช มีหลักฐานที่กล่าวถึงตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 8 โดยเอกสารอินเดียโบราณกล่าวถึงอาณาจักรตามพรลิงค์ในชื่อ “ตมลิง” “ตัมพลิงค์” เอกสารจีนสมัยราชวงศ์ถัง เรียกว่า “ถ่ามเหร่ง”สมัยราชวงศ์ซ่งเรียกว่า “ต่านหม่าลิ่ง” ต่อมาเรียกว่า “อาณาจักรนครศรีธรรมราช”

ด้านศาสนา พุทธศตวรรษที่ 18 พระเจ้าจันทรภานุศรีธรรมาโศกราชทรงยกทัพไปโจมตีลังกา 2 ครั้ง เพื่อแย่งชิงพระทันตธาตุจากลังกา ทำให้อิทธิพลของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ลัทธิลังวงศ์และศิลปะแบบลังกาเข้ามาเผยแผ่และฝังรากลึกอยู่ในอาณาจักรนครศรีธรรมราช ศาสนวัตถุที่สำคัญ คือ พระบรมธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราชพระพุทธรูปประทับยืนสำริดปางประธานธรรม ทำให้นครศรีธรรมราชกลายเป็นศูนย์กลางสำคัญของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนไทย ซึ่งพระสงฆ์จากนครศรีธรรมราชได้นำพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ไปเผยแผ่ยังกรุงสุโขทัยตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

1.1.4.3 อาณาจักรศรีวิชัย

อาณาจักรศรีวิชัย(พุทธศตวรรษที่ 13-19) มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองปาเล็มบังบนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย มีอิทธิพลครอบคลุมตั้งแต่เกาะชวาในอินโดนีเซีย ขึ้นมาถึงอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี อนึ่ง มีนักวิชาการบางท่านเชื่อว่าศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยอยู่ที่อำเภอไชยาด้านศาสนา ในระยะแรกอาณาจักรศรีวิชัยที่ไชยานับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและพระพุทธศาสนานิการมหายาน ต่อมานับถือพระพุทธศาสนานิการเถรวาทจากทวารวดี และพระพุทธศาสนา ลัทธิลังกาวงศ์จากนครศรีธรรมราชดังปรากฏศาสนสถานและศาสนาวัตถุในศาสนาต่างๆ เช่น พระบรมธาตุไชยา อำเภอไชยา พระพุทธรูปปางนาคปรกสำริด ที่วัดหัวเวียงอำเภอไชยา เทวรูปพระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวร วัดศาลาทึง อำเภอไชยา

1.2 ยุคก่อนกรุงสุโขทัย

ดังได้ทราบแล้วว่าโอรสของพระเจ้าพีล่อโก๊ะองค์หนึ่ง ชื่อพระเจ้าสิงหนวัติ ได้มาสร้างเมืองใหม่ขึ้นทางใต้ ชื่อเมืองโยนกนาคนคร เมืองดังกล่าวนี้อยู่ในเขตละว้า หรือในแคว้นโยนก เมื่อประมาณปี พ.ศ. 1111 เป็นเมืองที่สง่างามของย่านนั้น ในเวลาต่อมาก็ได้รวบรวมเมืองที่อ่อนน้อมตั้งขึ้นเป็นแคว้น ชื่อโยนกเชียงแสน มีอาณาเขตทางทิศเหนือตลอดสิบสองปันนา ทางใต้จดแคว้นหริภุญชัย มีกษัตริย์สืบเชื้อสายต่อเนื่องกันมา จนถึงสมัยพระเจ้าพังคราชจึงได้เสียทีแก่ขอมดังกล่าวแล้ว

อย่างไรก็ตาม พระเจ้าพังคราชตกอับอยู่ไม่นานนัก ก็กลับเป็นเอกราชอีกครั้งหนึ่ง ด้วยพระปรีชาสามารถของพระโอรสองค์น้อย คือ พระเจ้าพรหม ซึ่งมีอุปนิสัยเป็นนักรบ และมีความกล้าหาญ ได้สร้างสมกำลังผู้คน ฝึกหัดทหารจนชำนิชำนาญ แล้วคิดต่อสู้กับขอม ไม่ยอมส่งส่วยให้ขอม เมื่อขอมยกกองทัพมาปราบปราม ก็ตีกองทัพขอมแตกพ่ายกลับไป และยังได้แผ่อาณาเขตเลยเข้ามาในดินแดนขอม ได้ถึงเมืองเชลียง และตลอดถึงลานนา ลานช้าง แล้วอัญเชิญพระราชบิดา กลับไปครองโยนกนาคนครเดิม แล้วเปลี่ยนชื่อเมืองเสียใหม่ว่าชัยบุรี ส่วนพระองค์เองนั้นลงมาสร้างเมืองใหม่ทางใต้ชื่อเมืองชัยปราการ ให้พระเชษฐา คือ เจ้าทุกขิตราช ดำรงตำแหน่งอุปราช นอกจากนั้นก็สร้างเมืองอื่น ๆ เช่น เมืองชัยนารายณ์ นครพางคำ ให้เจ้านายองค์อื่น ๆ ปกครอง

เมื่อสิ้นรัชสมัยพระเจ้าพังคราช พระเจ้าทุกขิตราช ก็ได้ขึ้นครองเมืองชัยบุรี  ส่วนพระเจ้าพรหม และโอรสของพระองค์ก็ได้ครองเมืองชัยปราการต่อมา  ในสมัยนั้นขอมกำลังเสื่อมอำนาจ จึงมิได้ยกกำลังมาปราบปราม  ฝ่ายไทยนั้น แม้กำลังเป็นฝ่ายได้เปรียบ แต่ก็คงยังไม่มีกำลังมากพอที่จะแผ่ขยาย อาณาเขตลงมาทางใต้อีกได้  ดังนั้นอาณาเขตของไทยและขอมจึงประชิดกันเฉยอยู่
เมื่อสิ้นรัชสมัยพระเจ้าพรหม  กษัตริย์องค์ต่อ ๆ มาอ่อนแอและหย่อนความสามารถ ซึ่งมิใช่แต่ที่นครชัยปราการเท่านั้น  ความเสื่อมได้เป็นไปอย่างทั่วถึงกันยังนครอื่น ๆ เช่น ชัยบุรี ชัยนารายณ์ และนครพางคำ ดังนั้นในปี พ.ศ.1731 เมื่อมอญกรีฑาทัพใหญ่มารุกรานอาณาจักรขอมได้ชัยชนะแล้ว ก็ล่วงเลยเข้ามารุกรานอาณาจักรไทยเชียงแสนขณะนั้นโอรสของพระเจ้าพรหม คือ พระเจ้าชัยศิริปกครองเมืองชัยปราการไม่สามารถต้านทานศึกมอญได้จึงจำเป็นต้องเผาเมืองเพื่อมิให้พวกข้าศึกเข้าอาศัยแล้วพากันอพยพลงมาทางใต้ของดินแดนสุวรรณภูมิ  จนกระทั่งมาถึงเมืองร้างแห่งหนึ่งในแขวงเมืองกำแพงเพชรชื่อเมืองแปปได้อาศัยอยู่ที่เมืองแปปอยู่ห้วงระยะเวลาหนึ่งเห็นว่าชัยภูมิไม่สู้เหมาะเพราะอยู่ใกล้ขอม จึงได้อพยพลงมาทางใต้จนถึงเมืองนครปฐมจึงได้พักอาศัยอยู่ ณ ที่นั้น

ส่วนกองทัพมอญ หลังจากรุกรานเมืองชัยปราการแล้ว ก็ได้ยกล่วงเลยตลอดไปถึงเมืองอื่น ๆ ในแคว้นโยนกเชียงแสน จึงทำให้พระญาติของพระเจ้าชัยศิริ ซึ่งครองเมืองชัยบุรี ต้องอพยพหลบหนีข้าศึกเช่นกับปรากฎว่าเมืองชัยบุรีนั้นเกิดน้ำท่วมบรรดาเมืองในแคว้นโยนกต่างก็ถูกทำลายลงหมดแล้วพวกมอญเห็นว่าหากเข้าไปตั้งอยู่ก็อาจเสียแรง เสียเวลา และทรัพย์สินเงินทองเพื่อที่จะสถาปนาขึ้นมาใหม่ ดังนั้นพวกมอญจึงยกกองทัพกลับ เป็นเหตุให้แว่นแคว้นนี้ว่างเปล่า ขาดผู้ปกครองอยู่ห้วงระยะเวลาหนึ่ง

ในระหว่างที่ฝ่ายไทย กำลังระส่ำระสายอยู่นี้ เป็นโอกาสให้ขอมซึ่งมีราชธานีอุปราชอยู่ที่เมืองละโว้ ถือสิทธิ์เข้าครองแคว้นโยนก แล้วบังคับให้คนไทยที่ตกค้างอยู่นั้นให้ส่งส่วยให้แก่ขอม ความพินาศของแคว้นโยนกครั้งนี้ ทำให้ชาวไทยต้องอพยพแยกย้ายกันลงมาเป็นสองสายคือ สายของพระเจ้าชัยศิริ อพยพลงมาทางใต้ และได้อาศัยอยู่ชั่วคราวที่เมืองแปปดังกล่าวแล้ว ส่วนสายพวกชัยบุรีได้แยกออกไปทางตะวันออกของสุโขทัย จนมาถึงเมืองนครไทยจึงได้เข้าไปตั้งอยู่ ณ เมืองนั้นด้วยเห็นว่าเป็นเมืองที่มีชัยภูมิเหมาะสม เพราะเป็นเมืองใหญ่ และตั้งอยู่สุดเขตของขอมทางเหนือ ผู้คนในเมืองนั้นส่วนใหญ่ก็เป็นชาวไทย อย่างไรก็ตามในชั้นแรกที่เข้ามาตั้งอยู่นั้น ก็คงต้องยอมขึ้นอยู่กับขอม ซึ่งขณะนั้นยังมีอำนาจอยู่

ในเวลาต่อมา เมื่อคนไทยอพยพลงมาจากน่านเจ้าเป็นจำนวนมาก ทำให้นครไทยมีกำลังผู้คนมากขึ้น ข้างฝ่ายอาณาจักรลานนาหรือโยนกนั้น เมื่อพระเจ้าชัยศิริทิ้งเมืองลงมาทางใต้ แล้วก็เป็นเหตุให้ดินแดนแถบนั้นว่างผู้ปกครองอยู่ระยะหนึ่ง แต่ในระยะต่อมาชาวไทยที่ค้างการอพยพ อยู่ในเขตนั้นก็ได้รวมตัวกัน ตั้งเป็นบ้านเมืองขึ้นหลายแห่งตั้งเป็นอิสระแก่กัน บรรดาหัวเมืองต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในครั้งนั้นที่นับว่าสำคัญ มีอยู่สามเมืองด้วยกัน คือ นครเงินยาง อยู่ทางเหนือ นครพะเยา อยู่ตอนกลาง และเมืองหริภุญไชย อยู่ลงมาทางใต้ ส่วนเมืองนครไทยนั้นด้วยเหตุที่ว่ามีที่ตั้งอยู่ปลายทางการอพยพ และอาศัยที่มีราชวงศ์เชื้อสายโยนกอพยพมาอยู่ที่เมืองนี้ จึงเป็นที่นิยมของชาวไทยมากกว่าพวกอื่น จึงได้รับยกย่องขึ้นเป็นพ่อเมือง ที่ตั้งของเมืองนครไทยนั้นสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเมืองเดียวกันกับเมืองบางยาง ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ มีเมืองขึ้น และเจ้าเมืองมีฐานะเป็นพ่อขุน เมื่อบรรดาชาวไทยเกิดความคิดที่จะสลัดแอกของขอมครั้งนี้บุคคลสำคัญในการนี้ก็คือพ่อขุนบางกลางท่าวซึ่งเป็นเจ้าเมืองบางยางและพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราดได้ร่วมกำลังกันยกขึ้นไปโจมตีขอมจนได้เมืองสุโขทัยอันเป็นเมืองหน้าด่านของขอมไว้ได้ เมื่อปี พ.ศ.1800 การมีชัยชนะของฝ่ายไทยในครั้งนั้นนับว่าเป็นนิมิตหมายเบื้องต้น แห่งความเจริญรุ่งเรืองของชนชาติไทยและเป็นลางร้ายแห่งความเสื่อมโทรมของขอมเพราะนับแต่วาระนั้นเป็นต้นมาขอมก็เสื่อมอำนาจลงทุกทีจนในที่สุดก็สิ้นอำนาจไปจากดินแดนละว้า แต่ยังคงมีอำนาจปกครองเหนือลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนใต้อยู่


1.3 ยุคกรุงสุโขทัย

อาณาจักรสุโขทัย หรือ รัฐสุโขทัย (อังกฤษ: Kingdom of Sukhothai) เป็นอาณาจักร หรือรัฐในอดีต รัฐหนึ่ง ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำยม เป็นชุมชนโบราณมาตั้งแต่ยุคเหล็กตอนปลาย จนกระทั่งสถาปนาขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในฐานะสถานีการค้าของรัฐละโว้ หลังจากนั้นราวปี 1800 พ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง ได้ร่วมกันกระทำการยึดอำนาจจากขอมสบาดโขลญลำพง ซึ่งทำการเป็นผลสำเร็จและได้สถาปนาเอกราชให้สุโขทัยเป็นรัฐอิสระ และมีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับและเพิ่มถึงขีดสุดในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ก่อนจะค่อย ๆ ตกต่ำ และประสบปัญหาทั้งจากปัญหาภายนอกและภายใน จนต่อมาถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาไปในที่สุด

อาณาจักรสุโขทัย ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าผ่านคาบสมุทรระหว่างอ่าวเมาะตะมะ และที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง มีอาณาเขตดังนี้

ทิศเหนือ มีเมืองเวียงโกศัย (ปัจจุบันคือแพร่) เป็นเมืองปลายแดนด้านเหนือสุด

ทิศใต้ มีเมืองพระบาง (ปัจจุบันคือนครสวรรค์) เป็นเมืองปลายแดนด้านใต้

ทิศตะวันตก มีเมืองฉอด (ปัจจุบันคือแม่สอด) เมืองชายแดนติดต่ออาณาจักรมอญ

ทิศตะวันออก มีเมืองสะค้าใกล้แม่น้ำโขงในเขตภาคอีสานตอนเหนือ

ข้อมูลทั่วไปของกรุงสุโขทัย

1.3.1 พระมหากษัตริย์พระองค์สำคัญ

1.3.1.1 พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ หรือพระนามเต็ม กำมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์ พระนามเดิม พ่อขุนบางกลางหาว (ไม่ใช่ กลางท่าว) ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งประวัติศาสตร์ไทย ครองราชสมบัติ ตั้งแต่ พ.ศ. 1792 (คำนวณศักราชจากคัมภีร์สุริยยาตรตามข้อเสนอของ ศ. ประเสริฐ ณ นครและ พ.อ.พิเศษ เอื้อน มณเฑียรทอง) แต่ไม่ปรากฏหลักฐานการสวรรคตหรือสิ้นสุดการครองราชสมบัติปีใด มีผู้สันนิษฐานที่มาของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จากคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ว่าบ้านเดิมของพระองค์อาจอยู่ที่ "บ้านโคน" ในจังหวัดกำแพงเพชร

พระนาม

1.บางกลางหาว

2.ศรีอินทราทิตย์

3.อรุณราช

4.ไสยรังคราช หรือสุรังคราช หรือไสยนรงคราช หรือรังคราช

5.พระร่วง หรือโรจนราช

สำหรับพระนามแรก คือ พ่อขุนบางกลางหาวนั้น เป็นพระนามดั้งเดิมเมื่อครั้งเป็นเจ้าเมืองบางยาง พระนามนี้ไม่มีปัญหาอะไรมากนัก และเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า พ่อขุนบางกลางหาวเป็นพระนามสมัยเป็นเจ้าเมืองบางยางโดยแท้จริง

พระนามที่สองนั้น เป็นพระนามที่ใช้กันทางราชการ เป็นพระนามที่เชื่อกันว่าทรงใช้เมื่อราชาภิเษกแล้ว คำว่าศรีอินทราทิตย์นั้น ไมมีปัญหา เพราะมีบ่งอยู่ในศิลาจารึก แต่สิ่งที่เป็นปัญหาคือ คำที่นำหน้า คำว่า "ศรีอินทราทิตย์" เพราะเรียกแตกต่างกันไปว่า ขุนศรีอินทราทิตย์บ้าง พ่อขุนศรีอินทราทิตย์บ้าง พระเจ้าศรีอินทราทิตย์บ้าง และบางทีก็เรียกพระเจ้าขุนศรีอินทราทิตย์

พระราชกรณียกิจ

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์เมื่อครั้งยังเป็นพ่อขุนบางกลางหาวได้ร่วมกับพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราดแห่งราชวงศ์ศรีนาวนำถุม รวมกำลังพลกัน กระทำรัฐประหารขอมสบาดโขลญลำพง โดยพ่อขุนบางกลางหาวตีเมืองศรีสัชนาลัยและเมืองบางขลงได้ และยกทั้งสองเมืองให้พ่อขุนผาเมือง ส่วนพ่อขุนผาเมืองตีเมืองสุโขทัยได้ ก็ได้มอบเมืองสุโขทัยให้พ่อขุนบางกลาวหาว พร้อมพระขรรค์ชัยศรีและพระนาม "ศรีอินทรบดินทราทิตย์" ซึ่งได้นำมาใช้เป็นพระนาม ภายหลังได้คลายเป็น ศรีอินทราทิตย์ การเข้ามาครองสุโขทัยของพระองค์ ส่งผลให้ราชวงศ์พระร่วงเข้ามามีอิทธิพลในเขตนครสุโขทัยเพิ่มมากขึ้น และได้แผ่ขยายดินแดนกว้างขวางมากออกไป แต่เขตแดนเมืองสรลวงสองแคว ก็ยังคงเป็นฐานกำลังของราชวงศ์ศรีนาวนำถุมอยู่

ในกลางรัชสมัย ทรงมีสงครามกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ทรงชนช้างกับขุนสามชน แต่ช้างทรงพระองค์ ได้เตลิดหนีดังคำในศิลาจารึกว่า "หนีญญ่ายพ่ายจแจ" ขณะนั้นพระโอรสองค์เล็ก ทรงมีพระปรีชาสามารถ ได้ชนช้างชนะขุนสามชน ภายหลังจึงทรงเฉลิมพระนามพระโอรสว่ารามคำแหง

ในยุคประวัติศาสตร์ชาตินิยม มีคติหนึ่งที่เชื่อกันว่า พระองค์ทรงเป็นผู้นำชนชาติไทย ต่อสู้กับอิทธิพลขอมในสุวรรณภูมิ ทรงได้ชัยชนะและประกาศอิสรภาพตั้งราชอาณาจักรสุโขทัยขึ้น และทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย แต่ภายหลัง คติดังกล่าวได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่จริง เพราะพระองค์ไม่ได้เป็นปฐมกษัตริย์ อีกทั้งยังมีพ่อขุนศรีนาวนำถุม ครองสุโขทัยอยู่ก่อนแล้ว อ้างอิงจากhttp://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/19521-029760/

1.3.1.2 พ่อขุนรามคำแหง พ่อขุนรามคำแหง โอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นพระอนุชาของขุนบานเมือง ได้ครองเมืองสุโขทัยสืบต่อจากพ่อขุนบานเมือง ขณะที่มีพระชนมายุได้ 34 พรรษา ประมาณก่อน พ.ศ. 1820 บางแห่งว่าครองราชย์ พ.ศ. 1822-1842

พ่อขุนผู้นี้ทรงทำนุบำรุงอาณาประชาราษฎร และปกครองไพร่ฟ้าประชาชนแบบพ่อปกครองลูก และโปรดให้แขวนกระดิ่งอันหนึ่งไว้ที่ประตูพระราชวัง เมื่อประชาชนเดือดร้อนก็สามารถมาสั่นกระดิ่งร้องทุกข์ต่อพ่อขุนรามคำแหงให้ออกมาตัดสินปัญหาได้

ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงทรงให้สร้างพระแท่นมนังคศิลาบาตรด้วยขดารหินชนวนที่นำมาจากภูเขาใกล้เมืองสุโขทัย โดยตั้งไว้กลางดงตาลเพื่อให้พระสงฆ์นั่งเทศนาสั่งสอนธรรมแก่ไพร่ฟ้าประชาชนในวันพระปัจจุบันพระแท่นมนังคศิลาบาตรนี้อยู่ในพิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) กรุงเทพฯ

พ.ศ. 1825 พ่อขุนรามคำแหงนั้นได้ขยายอาณาเขตของอาณาจักรไปยังดินแดนใกล้เคียง โดยมี ความสัมพันธ์กับเมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองกาว เมืองลาว ชุนชนคนไทยบริเวณแม่น้ำอูและแม่น้ำโขง

ในประวัติศาสตร์กัมพูชาบันทึกว่า กองทัพสยามนั้นเข้ารุกรานกัมพูชา และจดหมายเหตุญวนก็บันทึกว่า กองทัพสยามไปรุกรานจามปา สรุป แล้วในรัชกาลนี้อาณาจักรของชาวสยามมีอาณาเขตกว้างขวางไปยังดินแดนกัมพูชา และอาณาจักรจามปา ด้วย

แต่พ่อขุนรามคำแหงนั้นจะไม่ขยายอาณาเขตไปทางดินแดนเหนือ เนื่องจากขุนผู้นี้ทรงมีพระสหายสนิทซึ่ง เป็นผู้นำของชาวสยามเช่นกัน กล่าวคือพ่อขุนเม็งราย (พระยาเม็งราย) ผู้ครองเมืองเชียงรายและพ่อขุนงำเมือง(พระยางำเมือง)ผู้ครองเมืองพะเยา(เมืองภูกามยาว) ขุนผู้นี้เป็นโอรสของขุนมิ่งเมืองประสูติ พ.ศ.1781 สืบเชื้อสายจากเจ้าขอมผาเรือง เมื่ออายุได้ 14 พรรษา ได้ศึกษาอยู่กับสำนักสุกทันตฤษีที่เมืองละโว้ ร่วมอาจารย์กับพ่อขุนรามคำแหง กลับครองเมืองจนถึง พ.ศ.1801 ซึ่งทั้งสามพ่อขุนนี้ได้มีสัมพันธไมตรีต่อกันเป็นอย่างดี

อาณาจักรของเมืองสุโขทัยนั้นยังมีความสัมพันธ์กับเมืองต่างๆ ทางตอนใต้ด้วยคือ อาณาจักรสุวรรณภูมิ (เมืองสุพรรณบุรี) อาณาจักรตามพรลิงค์ (เมืองนครศรีธรรมราช) ส่วนด้านตะวันตกนั้นมีความสัมพันธ์กับเมืองฉอด และเมืองหงสาวดี

พ.ศ.1825 พ่อขุนรามคำแหง ได้มีสัมพันธไมตรีกับชาติจีน ในจดหมายเหตุจีนบันทึกไว้ว่า กุลไลข่านหรือพระเจ้าหงวนสีโจ๊วฮ่องเต้ ได้ส่งคณะทูตเดินทางมาแคว้นสุโขทัย แต่คณะทูตจีนเดินทางมาไม่ถึง เพราะในระหว่างการเดินทางนั้นคณะทูตจีนได้ถูกพวกจามจับกุมประหารชีวิตเสียก่อน

อ้างอิงจาก http://haab.catholic.or.th/history/history002/sukhothai8/sukhothai8.html

1.3.1.3 พญาลิไท พญาลิไท หรือ พระยาลิไท หรือ พระศรีสุริยพงศ์รามมหาราชาธิราช หรือพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ครองราชย์ พ.ศ. 1897 - พ.ศ. 1919) พระมหากษัตริย์อาณาจักรสุโขทัยราชวงศ์พระร่วงลำดับที่ 5 พระโอรสพญาเลอไท และพระราชนัดดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พญาลิไทเป็นกษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งกรุงสุโขทัย ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระยางัวนำถม จากหลักฐานในศิลาจารึกวัดพระมหาธาตุ พ.ศ. 1935 หลักที่ 8 ข. ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2499 ได้กล่าวว่า เมื่อพระยาเลอไทสวรรคต ใน พ.ศ. 1884 พระยางัวนำถมได้ขึ้นครองราชย์ ต่อมาพระยาลิไทยกทัพมาแย่งชิงราชสมบัติได้ และขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 1890 ทรงพระนามว่า พระเศรีสุริยพงสรามมหาธรรมราชาธิราช ในศิลาจารึกมักเรียกพระนามเดิมว่า "พระยาลิไท" หรือเรียกย่อว่า พระมหาธรรมราชาที่ 1

พญาลิไททรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ทรงผนวชในพระพุทธศาสนาเมื่อ พ.ศ. 1905 ที่วัดป่ามะม่วง นอกเมืองสุโขทัยทางทิศตะวันตก ทรงอาราธนาพระสามิสังฆราชจากลังกาเข้ามาเป็นสังฆราชใน กรุงสุโขทัย เผยแพร่เพิ่มความเจริญให้แก่พระศาสนามากยิ่งขึ้น ทรงสร้างและบูรณะวัดมากมายหลายแห่ง รวมทั้งการสร้างพระพุทธรูปเป็นจำนวนมาก เช่น พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา และพระพุทธรูปองค์สำคัญองค์หนึ่งของประเทศคือ พระพุทธชินราช ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร

พญาลิไท ทรงปราดเปรื่องในความรู้ในพระพุทธศาสนา ทรงมีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก พระองค์ได้ทรงแบ่งพระสงฆ์ออกเป็น 2 ฝ่ายคือฝ่าย "คามวาสี" และฝ่าย "อรัญวาสี" โดยให้ฝ่ายคามวาสีเน้นหนักการสั่งสอนราษฎรในเมืองและเน้นการศึกษาพระไตรปิฎก ส่วนฝ่ายอรัญวาสีเน้นให้หนักด้านการวิปัสสนาและประจำอยู่ตามป่าหรือชนบท ด้วยทรงเป็นองค์อุปถัมภ์พระศาสนาตลอดพระชนม์ชีพ ราษฎรจึงถวายพระนามว่า "พระมหาธรรมราชา"

นอกจากศาสนาพุทธแล้ว พญาลิไทยังทรงอุปถัมภ์ศาสนาพราหมณ์ด้วยโดยทรงสร้างเทวรูปขนาดใหญ่หลายองค์ ซึ่งยังเหลือปรากฏให้ศึกษาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในกรุงเทพมหานครและที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดพิษณุโลก

ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้ เจริญหลายประการ เช่น สร้างถนนพระร่วงตั้งแต่เมืองศรีสัชนาลัยผ่านกรุงสุโขทัยไปถึงเมืองนครชุม (กำแพงเพชร) บูรณะเมืองนครชุม สร้างเมืองสองแคว (พิษณุโลก) เป็นเมืองลูกหลวง

ด้านอักษรศาสตร์ทรงพระปรีชาสามารถนิพนธ์หนังสือไตรภูมิพระร่วงที่นับเป็นงานนิพนธ์ที่เก่าแก่ที่สุดเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย

- การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาศูนย์รวมจิตใจของคนในชาติ เพราะสุโขทัยหลังรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว บ้านเมืองแตกแยกแคว้นหลายแคว้นในราชอาณาจักรแยกตัวออกห่างไป ไม่อยู่ในบังคับบัญชาสุโขทัยต่อไป

- พญาลิไททรงคิดจะรวบรวมสุโขทัยให้กลับคืนดังเดิม แต่ก็ทรงทำไม่สำเร็จ นโยบายการปกครองที่ใช้ศาสนาเป็นหลักรวมความเป็นปึกแผ่นจึงเป็นนโยบายหลักใน รัชสมัยนี้

- ทรงสร้างเจดีย์ที่นครชุม (เมืองกำแพงเพชร) สร้างพระพุทธชินราชที่พิษณุโลก

- ทรงออกผนวช เมื่อ พ.ศ.1905 การที่ทรงออกผนวช นับว่าทำความมั่นคงให้พุทธศาสนามากขึ้น ดังกล่าวแล้วว่า หลังรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว บ้านเมืองแตกแยก วงการสงฆ์เองก็แตกแยก แต่ละสำนักแต่ละเมืองก็ปฏิบัติแตกต่างกันออกไป เมื่อผู้นำทรงมีศรัทธาแรงกล้าถึงขั้นออกบวช พสกนิกรทั้งหลายก็คล้อยตามหันมาเลื่อมใสตามแบบอย่างพระองค์ กิตติศัพท์ของพระพุทธศาสนาในสุโขทัยจึงเลื่องลือไปไกล พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่หลายรูปได้ออกไปเผยแพร่ธรรมในแคว้นต่างๆ เช่น อโยธยา หลวงพระบาง เมืองน่าน พระเจ้ากือนา แห่งล้านนาไทย ได้นิมนต์พระสมณะเถระไปจากสุโขทัย เพื่อเผยแพร่ธรรมในเมืองเชียงใหม่ พระมหาธรรมราชาที่ 1 หรือพญาลิไท มีมเหสีชื่อพระนางศรีธรรม ทรงมีโอรสสืบพระราชบัลลังก์ต่อมา คือ พระ มหาธรรมราชาที่สอง ปีสวรรคตของกษัตริย์ พระองค์นี้ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่คงอยู่ในระยะเวลา ระหว่างปี พ.ศ. 1921-1927

เหตุการณ์ทางการเมืองที่ผันแปรของเมืองศรีสัชนาลัยหรือสวรรคโลก เริ่มในสมัยพระยาลิไท เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงขยายอำนาจขึ้นมารทางเหนือและยึดเมืองพิษณุโลก เมืองพิษณุโลกถือว่าเป็นเมืองที่ขึ้นอยู่กับสุโขทัยอยู่แล้วในรัชสมัยพระยา ลิไท เหตุการณ์เช่นนี้เริ่มส่อแสดงให้เห็นว่าสุโขทัยเริ่มมีปัญหากับกรุง ศรีอยุธยาแล้ว ถึงแม้ว่าต่อมาจะได้เมืองพิษณุโลกกลับคืนมา แต่ก็ด้วยเหตุผลที่พระยาลิไททรง ผนวช และบิณฑบาตขอคืนเมืองพิษณุโลก และได้ถวายบรรณาการให้กับกรุงศรีอยุธยาเป็นอันมากในสายตากรุงศรีอยุธยาก็คง เห็นถึงความไม่เข้มแข็งของสุโขทัยแล้ว และด้วยพระองค์ทรงผนวชและใฝ่ธรรมะนี้เอง พระนามของพระองค์ก็เปลี่ยนมาเป็นพระมหาธรรมราชา (ลิไท) ที่ 1

ในปี พ.ศ.1962 ได้เกิดจลาจลที่เมืองสุโขทัย เนื่องจากพระยาบาลกับพระยารามโอรสของพระมหาธรรมราชาที่ 3 ได้แย่งชิงราชสมบัติกัน สมเด็จพระนครินทราชาธิราชเสด็จไประงับจลาจล ให้พระยาบาลครองเมืองพิษณุโลกและทรงสถาปนาเป็นพระมหาธรรมราชาที่ 4 และให้พระยารามครองเมืองสุโขทัย

เมืองศรีสัชนาลัยหรือสวรรคโลกในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีเหตุการณ์ศึกสงครามระหว่างล้านนากับกรุงศรีอยุธยา โดยมีเป้าหมายการแย่งชิงเมืองสวรรคโลก จึงมีการแต่งวรรณคดีเรื่องลิลิตยวนพ่าย เป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถที่สามารถชนะพระเจ้าติโลกราช แห่งเชียงใหม่ หลังจากที่เมืองสวรรคโลกถูกเจ้าติโลกราบยึดครองอยู่ถึง 14 ปี (พ.ศ. 2003-2017) มูลเหตุที่เกิดสงครามเนื่องจากเจ้านายราชวงศ์พระร่วงพระองค์หนึ่ง คือพระยายุธิษเฐียรไม่พอใจสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถที่มิให้ปกครองเมือง พิษณุโลก ซึ่งถือว่าเป็นศูนย์กลางในการปกครองของพระราชวงศ์พระร่วงที่จะได้ดูแลเมือง สุโขทัยศรีสัชนาลัย หรือสวรรคโลกด้วย

อ้างอิงจาก http://haab.catholic.or.th/history/history002/sukhothai8/sukhothai8.html

1.3.2 พัฒนาการของกรุงสุโขทัย

1.3.2.1 ความเจิญรุ่งเรือง

1.3.2.1.1 ด้านการปกครอง

การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น (พ.ศ. 1792 - 1841)

ในช่วงต้นของการสถาปนากรุงสุโขทัยเริ่มจากสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์จนสิ้นสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นการปกครองแบบ พ่อปกครองลูก

การปกครองแบบพ่อปกครองลูกนี้ประชาชนทุกคนเสมือนหนึ่งเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน  โดยมีกษัตริย์เป็นหัวหน้าครอบครัว  มีอำนาจสูงสุดในการปกครอง  แต่ก็มิได้ทรงใช้อำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครองแต่เพียงพระองค์เดียว  ทรงยินยอมให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการปกครองด้วย  ประชาชนจึงเรียกกษัตริย์ว่าพ่อขุน  เช่น  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์  พ่อขุนรามคำแหง  เป็นต้น  การปกครองลักษณะนี้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับประชาชนว่ามีความใกล้ชิดกันมาก
   
กษัตริย์นอกจากจะเป็นผู้ปกครองและเป็นเสมือนพ่อแล้ว  ยังทรงเป็นตุลาการที่เที่ยงธรรมด้วย  จากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวไว้ว่า  ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงพระองค์ทรงให้สร้างกระดิ่งแขวนไว้ที่หน้าประตูพระราชวัง  เมื่อพ่อขุนทรงทราบเรื่องก็จะออกมาไต่สวนคดีความด้วยพระองค์เอง
  
 นอกจากนั้น  ในยามเกิดศึกสงครามพ่อขุนจะทรงเป็นจอมทัพของกองทัพหลวง  เมืองขึ้นต่าง ๆ จะต้องเกณฑ์ทัพมาร่วมกันต่อสู้ป้องกันราชอาณาจักรและเมื่อยามบ้านเมืองสงบ  พ่อขุนจะทรงออกว่าราชการและดูแลทุกข์สุขของราษฎร  เช่น  ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  พระองค์จะทรงออกว่าราชการที่ป่าตาล  โดยประทับบนพระแท่นมนังศิลาบาตรเป็นประจำทุกวัน  ยกเว้นในวันพระและวันโกน  โดยในวันดังกล่าวนี้จะทรงนิมนต์พระเถระให้มาเทศนาสั่งสอนประชาชนเป็นประจำ

การปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย (พ.ศ. 1841 - 1981)

หลังจากสิ้นสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว กษัตริย์องค์ต่อมา คือ พญาเลอไทย และ พญางั่วนำถม ในช่วงนี้อาณาจักรสุโขทัยเริ่มระส่ำระสวยเมืองต่าง ๆ พากันแยกตัวอิสระไม่ขึ้นต่อกรุงสุโขทัย ภายในบ้านเมืองเกิดความไม่สงบเรียบร้อย มีการแย่งชิงราชสมบัติกันอยู่เนื่อง ๆ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ลักษณะการปกครองแบบพ่อปกครองลูกเริ่มเสื่อมลง

เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย)  ทรงขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 1890  พระองค์ทรงตระหนักถึงความไม่สงบเรียบร้อยดังกล่าว  และทรงเห็นว่าการแก้ปัญหาการเมืองด้วยการใช้อำนาจทางทหารเพียงอย่างเดียวคงทำได้ยาก  เพราะกำลังทหารของกรุงสุโขทัยในขณะนั้นไม่เข้มแข็งพอ  พระองค์จึงทรงดำเนินนโยบายใหม่ด้วยการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้เป็นหลักในการปกครองอาณาจักร  พร้อมกับได้ขยายอำนาจทางการเมืองออกไป
   
การปกครองที่ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นหลักนี้  เรียกว่า  การปกครองแบบธรรมราชา  กษัตริย์ผู้ปกครองอยู่ในฐานะธรรมราชาหรือพระราชาผู้ทรงธรรม  ทรงปกครองบ้านเมืองด้วยหลักทศพิธราชธรรม

1.3.2.1.1.1 การปกครองแบบพ่อปกครองลูก

แนวคิดปิตาธิปไตยที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดในโลกตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกที่ใช้ภาษาอังกฤษก็คือ การนำแนวคิดดังกล่าวมาใช้สร้างความชอบธรรมให้แก่อำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์อังกฤษในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยเซอร์ โรเบิร์ต ฟิลเมอร์ (Sir Robert Filmer) ซึ่งได้อธิบายว่าพระมหากษัตริย์นั้นมีความชอบธรรมในการใช้อำนาจไม่ใช่เพราะความศักดิ์สิทธิ์ตามแนวคิดเทวสิทธิ์ หากแต่เป็นเพราะพระองค์ได้สืบทอดสิทธิอำนาจดังกล่าวมาจากอดัมที่เป็นมนุษย์คนแรกที่ทำหน้าที่ปกครองภรรยาของเขา คือ อีฟ และบุตรของเขา ดังนั้นฐานที่มาของอำนาจของพระมหากษัตริย์จึงมาจากสถาบันทางสังคมพื้นฐานนั่นก็คือสถาบันครอบครัวที่มีอดัมเป็นต้นแบบ และในกรณีของราชอาณาจักรก็คือครอบครัวขนาดใหญ่ที่มีพระมหากษัตริย์ทำหน้าที่เป็นบิดาของเหล่าอาณาประชาราษฎร์ทั้งปวงนั่นเอง (Filmer, 1991 :1-11)[2]

ในทางรัฐศาสตร์สมัยใหม่ ปิตาธิปไตย หมายถึง อำนาจเผด็จการอำนาจนิยมที่ทำการควบคุมและชี้นำประชาชน ในเชิงการปกครอง รัฐแบบปิตาธิปไตยจะจัดหาการบริการสาธารณะและโครงสร้างพื้นฐานให้กับประชาชนอย่างใกล้ชิด เช่น การจัดบริการน้ำประปา ไฟฟ้า ถนน การสาธารณสุข เป็นต้น แต่ก็จะทำการปกครองและควบคุมอย่างเข้มงวดด้วยกฎระเบียบที่ชัดเจน และเน้นส่งเสริมการพัฒนาประเทศจากทั้งทางเศรษฐกิจและความมั่นคง การอธิบายการเมืองแบบปิตาธิปไตยในยุคหนึ่งจะใช้เพื่อทำความเข้าใจประเทศในกลุ่มสังคมนิยม หรือ Soviet bloc ที่รัฐบาลแทรกแซงการทำงานของกลไกตลาดและควบคุมสิทธิเสรีภาพของปัจเจกบุคคล (Melich, 2011: 1196)[3] นอกจากนี้ ปิตาธิปไตย ยังอาจหมายรวมไปถึงการกำหนดนโยบายแบบ ‘คุณพ่อรู้ดี’ คือ การที่รัฐ หรือ ผู้ปกครองนั้นเชื่อว่าประชาชนอาจไม่เข้าใจว่าผลประโยชน์ที่แท้จริงของตนเองคืออะไร ด้วยฐานคิดเช่นนี้ ทำให้เชื่อว่า ผู้มีอำนาจ หรือ ผู้ปกครองต่างหากที่สมควรเป็นผู้กำหนดนโยบายที่เป็นผลประโยชน์ที่แท้จริงให้แก่ประชาชน

สำหรับสังคมไทย คำว่าปิตาธิปไตยจะถูกใช้แทนการปกครองของรัฐบาลที่มีพระมหากษัตริย์เป็นผู้นำในสมัยสุโขทัยนั้น ทำให้เข้าใจได้ว่า มีข้าราชการเกิดขึ้นแล้วเรียกว่า "ลูกขุน" โดยมีพระมหากษัตริย์เป็น "พ่อขุน" และมีประชาชนเป็น "ท่วย" หรือ "ไพร่ฟ้า" เพราะฉะนั้น กษัตริย์ในฐานะพ่อจึงสามารถใช้อำนาจเด็ดขาดในการปกครองลูกได้ เพื่อให้ลูกเชื่อฟัง แต่พ่อก็มีหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครองลูกอย่างใกล้ชิดเสมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน การที่พระมหากษัตริย์เป็นเสมือนพ่อหรือข้าราชการบริพาร และประชาชนเปรียบเสมือนลูก ทำให้การปกครองมีลักษณะใกล้ชิดกัน และเมื่อเกิดปัญหาสังคมขึ้น พระมหากษัตริย์จะลงมาแก้ไขปัญหาดังกล่าวเอง คำที่นิยมเรียกแทนปิตาธิปไตยคือคำว่า “พ่อปกครองลูก” ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกระบอบการปกครองสมัยสุโขทัย ก่อนที่จะมีการสถาปนาความคิดแบบธรรมราชาและเทวราชาอ้างอิงจาก https://th.wikipedia.org/wiki

1.3.2.1.1.2 การปกครองแบบธรรมราชา

การปกครองแบบธรรมราชาหรือธรรมาธิปไตย ลักษณะการปกครองทรงยึดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และต้องเผยแพร่ธรรมะสู่ประชาชนด้วยการปกครองแบบธรรมราชานั้นเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ พระองค์ทรงออกบวชและศึกษาหลักธรรมอย่างแตกฉานนอกจากนี้ยังทรงพระราชนิพนธ์หนังสือเตภูมิกถา (ไตรภูมิพระร่วง) ไว้ให้ประชาชนศึกษาอีกด้วยซึ่งหลังจากที่พ่อขุนรามคำแหง สวรรคตในพุทธศักราช ๑๘๔๑ แล้วอาณาจักรสุโขทัยเริ่มระส่ำระสายพระมหากษัตริย์รัชกาลต่อมาเริ่มอ่อนแอ ไม่สามารถรักษาความมั่นคงของอาณาจักรไว้ได้ เมืองหลายเมืองแยกตัว ออกไปเป็นอิสระสภาพการเมืองภายในเกิดปัญหาการสืบราชสมบัติจนกระทั่งสมัยพระยาลิไท ได้ยกกำลังเข้ายึดเมืองสุโขทัยและปราบศัตรู จนราบคาบบ้านเมืองจึงสงบลงพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) ทรงเห็นว่าการแก้ปัญหาทางการเมืองด้วยการใช้อำนาจทางทหารอย่างเดียวนั้นไม่สามารถทำได้เพราะอำนาจทางการทหารในสมัยของพระองค์นั้นไม่เข้มแข็งพอ จึงทรงดำเนินพระราชกุศโลบายโดยทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนาทรงเป็นผู้ปฏิบัติธรรมเป็นตัวอย่าง และได้ทรงสร้างถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนาไว้ทั่วไปเพื่อเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธายึดหลักธรรมของพระพุทธศาสนาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตการปกครองที่อาศัยพระพุทธศาสนานี้เรียกว่า การปกครองแบบธรรมราชา การปกครองแบบธรรมราชานี้ถูกนำมาใช้จนประทั่งสิ้นสุดสมัยสุโขทัย 1.4 ยุคกรุงศรีอยุธยา

ข้อมูลทั่วไปของกรุงศรีอยุธยากรุงศรีอยุธยาเป็นเกาะซึ่งมีแม่น้ำสามสายล้อมรอบ ได้แก่ แม่น้ำป่าสักทางทิศเหนือ, แม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันตกและทิศใต้ และแม่น้ำลพบุรีทางทิศตะวันออก เดิมทีบริเวณนี้ไม่ได้มีสภาพเป็นเกาะ แต่สมเด็จพระเจ้าอู่ทองทรงดำริให้ขุดคูเชื่อมแม่น้ำทั้งสามสาย เพื่อให้เป็นปราการธรรมชาติป้องกันข้าศึก ที่ตั้งกรุงศรีอยุธยายังอยู่ห่างจากอ่าวไทยไม่มากนัก ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการค้ากับชาวต่างประเทศ และอาจถือว่าเป็น "เมืองท่าตอนใน" เนื่องจากเป็นศุนย์กลางเศรษฐกิจของภุมิภาค มีสินค้ากว่า40ชนิดจากสงครามและบรรณาการ แม้ว่าตัวเมืองจะไม่ติดทะเลก็ตาม มีการประเมินว่า ราว พ.ศ. 2143 กรุงศรีอยุธยามีประชากรประมาณ 300,000 คน และอาจสูงถึง 1,000,000 คน ราว พ.ศ. 2243 ทำให้เป็นหนึ่งในนครใหญ่ที่สุดของโลกขณะนั้น บางครั้งมีผู้เรียกกรุงศรีอยุธยาว่า "เวนิสแห่งตะวันออก"

ปัจจุบันบริเวณนี้เป็นส่วนหนึ่งของอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พื้นที่ที่เคยเป็นเมืองหลวงของไทยนั้น คือ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ตัวนครปัจจุบันถูกตั้งขึ้นใหม่ห่างจากกรุงเก่าไปไม่กี่กิโลเมตร

1.4.1 พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์ต่างๆ

พระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา มี 5 ราชวงศ์ คือ

1. ราชวงศ์อู่ทอง มีกษัตริย์ 3 พระองค์

2. ราชวงศ์สุพรรณภูมิ มีกษัตริย์ 13 พระองค์

3. ราชวงศ์สุโขทัย มีกษัตริย์ 7 พระองค์

4. ราชวงศ์ปราสาททอง มีกษัตริย์ 4 พระองค์

5. ราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีกษัตริย์ 6 พระองค์

รวมมีพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น 33 พระองค์

1.4.2 พระมหากษัตริย์พระองค์สำคัญ

1.4.2.1 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือ พระเจ้าอู่ทอง องค์นี้ เป็นพระโอรสของพระเจ้าศิริชัย หรือ ศรีวิชัย สมภพ เมื่อ (จากหมายเหตุโหร) วันจันทร์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 5 จ.ศ. 676 พ.ศ.1857 (ตรงกับวันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ.1856)เวลารุ่งเช้า ปลายรัชกาลของพ่อขุนรามคำแหงแห่งอาณาจักรสุโขทัย

เรื่องราชวงศ์ของพระเจ้าอู่ทองนั้น มีความสันนิษฐานสรุปไว้เบื้องต้นว่า พระเจ้าไชยศิริ กษัตริย์จากแคว้นโยนกเชียงแสน ซึ่งครองเมืองชัยปราการ (เมืองฝาง) นั้นได้พาครอบครัวและเชื้อพระวงศ์ทิ้งเมืองอพยพหนี เนื่องจากพวกมอญได้ยกทัพมาตีและเข้าเผาทำลายบ้านเมืองจนร้าง บรรดาไพร่พลและเชื้อพระวงศ์ที่อพยพลงมาทางตอนใต้นั้น ได้พากันแยกย้ายไปตั้งเมืองของตนอยู่ในแคว้นต่าง ๆ ในดินแดนสุวรรณภูมิ กล่าวคือ ขณะนั้นได้มีคนไทยชาวอพยพ พากันลงมาทำมาหากิน อยู่ตามเมืองต่าง ๆ มากแล้ว เมืองที่คนไทยมาอาศัยอยู่นั้นมีเมืองใหญ่ 2 แห่ง คือ เมืองอโยธยา ในแคว้นละโว้ และเมืองอู่ทอง ในแคว้นสุวรรณภูมิ ต่อมาพวกขอมได้ขยายอำนาจเข้ามาปกครองดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา สมัยอาณาจักรทวาราวดี จึงตั้งศูนย์กลางดูแลอยู่ที่ เมืองละโว้ จึงทำให้บรรดาคนไทยที่อยู่ในเมืองอโยธยา เมืองละโว้ ดังกล่าวนั้นอยู่ในความดูแลของพวกขอม ที่ครองเมืองละโว้ไปด้วย ครั้นเมื่อคนไทยทางตอนเหนือนำโดยพ่อขุนบางกลาวหาว และขุนผาเมือง ได้ร่วมกันทำการขับไล่อำนาจขอม จากขอมสบาดโขลญลำพง และทำการตั้งเมืองสุโขทัยประกาศตนเป็นแคว้นอิสระ เมื่อ พ.ศ. 1800 นั้น เมืองสุโขทัยได้จัดตั้งแคว้นต่าง ๆ ที่เคยอยู่ในอำนาจของขอมใหม่ เป็นเมืองพระยามหานคร คือเป็นเมืองที่มีเจ้าครองเมือง

เมืองพระยามหานคร ในดินแดนทางตอนใต้นั้น คือ แคว้นอโยธยา มีเมืองแพรกหรือเมืองสรรค์(เมืองตรัยตรึงส์) เป็นราชธานี (เดิมนั้นเมืองอโยธยาขึ้นกับเมืองละโว้) และแคว้นสุวรรณภูมิ มีเมืองอู่ทอง เป็นราชธานี เจ้าผู้ครองแคว้นดังกล่าวนั้น น่าจะเป็นเชื้อพระวงศ์ที่อพยพลงมาพร้อมกับพระเจ้าไชยศิริ โดยพระเจ้าไชยศิรินั้นได้อพยพมาตั้งอยู่ที่เมืองแปบ ซึ่งเป็นเมืองร้าง (เมืองร้างนี้ น่าจะเป็นเมืองนครปฐมโบราณมากกว่าเมืองเก่าทางเมืองกำแพงเพชร) อยู่ในแคว้นสุวรรณภูมิ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเมืองอู่ทอง ที่เป็นราชธานี

ต่อมานั้น พระเจ้าไชยศิริได้ทำการขยายอาณาเขตไปทางตอนใต้ จนได้ปกครองแคว้น ศิริธรรมราชครั้งนั้น พระเจ้าไชยศิริได้ตั้งเมืองนครศิริธรรมราช (นครศรีธรรมราช) ขึ้นเป็นราชธานีปกครองแคว้นดังกล่าว โดยมีกษัตริย์ครองแคว้นศิริธรรมราชต่อมาหลายรัชกาล จนถึง พระเจ้าศิริธรรมราชผู้เป็นพระอัยการของพระเจ้าอู่ทอง

พระเจ้าศิริธรรมราช นั้น มีพระโอรสชื่อ พระเจ้าศิริชัย (หรือศรีวิชัย) ต่อมาเมื่อ พ.ศ.1856 นั้น พระเจ้าศิริชัยองค์นี้ได้อภิเษกกับพระธิดาองค์เดียวของ พระยาตรัยตรึงส์ กษัตริย์ครองแคว้นอโยธยา (มีราชธานีอยู่เมืองแพรกหรือเมืองสรรค์ คือ เมืองตรัยตรึงส์ และเมืองอโยธยา เป็นเมืองท่า) ซึ่งเดิมขึ้นอยู่กับอาณาจักรละโว้ของขอม ต่อมาพระเจ้าชัยศิริเชียงแสนนั้นมีพระโอรสระยะแรกไม่ปรากฏ ภายหลังเรียก พระเจ้าอู่ทอง (หลังจากที่อภิเษกและไปอยู่เมืองอู่ทอง แคว้นสุวรรณภูมิ)

ดังนั้น พระเจ้าอู่ทอง จึงเป็นนามมงคลที่เกิดขึ้นในธรรมเนียมของ แคว้นสุวรรณภูมิ และพระเจ้าอู่ทององค์นี้เป็นทายาทที่สืบเชื้อสายมาจาก พระเจ้าไชยศิริ กษัตริย์ราชวงศ์ชัยปรากการ (เชียงราย) มาจนถึง พระเจ้าศิริชัยหรือศรีวิชัย พระเจ้าศิริชัย องค์นี้ครองอยู่แคว้นศิริธรรมราช ทรงพระนามว่า พระเจ้าศิริชัยเชียงแสน ครั้นเมื่อพระยาตรัยตรึงส์ กษัตริย์แคว้นอโยธยา ผู้เป็นพระบิดาของพระมเหสีนั้นได้สิ้นพระชนม์ ลง พระเจ้าศิริชัยเชียงแสนจึงได้ครองแคว้นอโยธยาด้วย

เมื่อพระเจ้าอู่ทอง มีพระชนม์ 19 พรรษา (ราว พ.ศ.1876) นั้น พระเจ้าศิริชัยเชียงแสน พระบิดาจึงได้สู่ขอพระธิดาของพระยาอู่ทอง แคว้นสุวรรณภูมิ มาอภิเษกสมรส และพระเจ้าชัยศิริเชียงแสน ยอมให้พระเจ้าอู่ทองไปอยู่ช่วยราชการที่เมืองอู่ทองนั้น น่าจะมีเหตุให้ช่วยดูแล แคว้นอโยธยาด้วย ด้วยเหตุที่พระเจ้าอู่ทองนั้นได้ช่วยเหลือราชการบ้านเมืองและไว้วางใจในความสามารถ ทำให้พระยาอู่ทอง ไว้วางใจยิ่ง ส่วนขุนหลวงพะงั่ว พระโอรสของพระยาอู่ทอง และพระเชษฐาของพระมเหสีของพระเจ้าอู่ทองนั้น น่าจะครองเมืองสรรค์บุรีอยู่

ต่อมาพระเจ้าแสนเมืองมิ่ง เจ้าเมืองมอญได้ยกทัพมาตีเอาเมืองทะวาย เมืองตะนาวศรี ครั้งนั้น พระเจ้าอู่ทองจึงได้แสดงความสามารถนำทัพไปตีเอาเมืองทวาย กับเมืองตะนาวศรี กลับคืนมาได้ ทำให้ได้รับการยกย่องรักใคร่ของอาณาประชาราษฎร์ ครั้นเมื่อพระยาอู่ทอง กษัตริย์แคว้นสุวรรรภูมิสิ้นพระชนม์ลงราษฎร์จึงพากันยกให้พระเจ้าอู่ทอง ขณะนั้นมีพระชนม์พรรษา 30 ปี ครองแคว้นสุวรรณภูมิต่อมา (ทำไมขุนหลวงพระงั่ว ไม่ได้ครองเมืองสุวรรณภูมิ) ครั้นเมื่อพระเจ้าชัยสิริเชียงแสน พระบิดาสิ้นพระชนม์ลงอีก พระเจ้าอู่ทอง พระโอรสจึงได้ครองแคว้นศิริธรรมราชและแคว้นอโยธยา ในที่สุด และรวมทั้งแคว้นสุวรรณภูมิ ด้วย (ภายหลังโปรดให้ ขุนหลวงพะงั่ว ครองเมืองสุพรรณบุรี) ถือว่าเป็นการรวบรวมอาณาจักรทั้งสามแคว้นขึ้นเป็นอาณาจักร โดยใช้เมืองอู่ทอง เป็นราชธานี ตามเดิม ซึ่งมีความหมายว่า สุวรรณภูมิ โดยมีแม่นำสายใหญ่ คือ แม่น้ำท่าจีนเป็นทางออกสู่ทะเลที่เมืองนครปฐมโบราณ โดยเป็นเมืองท่าหรือศูนย์กลางการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่ง ด้วยเหตุนี้บริเวณเมืองอู่ทองหรือแคว้นสุวรรณภูมิ จึงเป็นศูนย์กลางการปกครองและเศรษฐกิจของแคว้นสุพรรณภูมิ ที่มีพ่อค้าชาวจีนเดินทางไปมาค้าขายและตั้งถิ่นฐานทำมาหากิน พระเจ้าอู่ทองนั้นมีพระโอรสองค์หนึ่ง (ไม่ปรากฏชื่อในตอนแรก ภายหลังได้ เป็นพระราเมศวร ตำแหน่งพระอุปราชต่อมา พระเจ้าอู่ทองนั้น ได้อพยพผู้คนมาจากเมืองอู่ทอง (บ้างอ้างว่ากันดารน้ำและเกิดโรคระบาด) มาตั้งอยู่ที่ตำบล เวียงเหล็ก พออยู่ได้ 3 ปี ใน พ.ศ.1893 จึงย้ายสถานที่ข้ามแม่น้ำ เจ้าพระยาไปทำการสร้างกรุงศรีอยุธยาขึ้นที่ตำบลหนองโสน

ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ได้ระบุว่า เมื่อ พ.ศ.1893 นั้น ได้เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ (อาจจะเป็นอหิวาตกโรคหรือ กาฬโรค เพราะระหว่างปี พ.ศ.1878 – 1893 (ค.ศ.1335 – 1350 ) ได้เกิดกาฬโรคโคจรจากเมืองจีน และได้ระบาดไปทั่วโลก) ทำให้ต้องมีการย้ายเมืองจากด้านตะวันออกมาสร้างใหม่ที่หนองโสน ส่วนเหตุที่ทำให้พระเจ้าอู่ทองย้ายเมืองจากตำบลเวียงเหล็ก มาสร้างกรุงศรีอยุธยา นั้นมีข้อสันนิษฐานว่า พระเจ้าอู่ทองนั้นได้ครองเมืองเทพนคร (เมืองอโยธยา) อยู่ 6 ปีด้วย

ส่วนเรื่องที่รับรู้กันมาว่า เมื่อพระเจ้าอู่ทองครองเมืองอู่ทอง พ.ศ. 1889 นั้น พอครองเมืองได้ 1 ปี (พ.ศ.1890) ก็เกิดภาวะธรรมชาติกล่าวคือ ลำน้ำจระเข้สามพันที่ผ่านเมืองอู่ทอง นั้นได้เกิดตื้นเขิน และเปลี่ยนทางน้ำ จนกันดารน้ำต้องขุดบ่อ สระขังน้ำไว้ใช้ในไม่ช้าก็เกิดโรคระบาดดังกล่าวขึ้น (ซึงมาทางเรือสินค้าจากจีน) โดยเข้ามาตามแม่น้ำท่าจีน) พระเจ้าอู่ทอง จึงอพยพย้ายผู้คนมาตั้งเมืองอยู่บริเวณแคว้นอโยธยา คือ ตำบลเวียงเหล็ก เมื่อ พ.ศ.1890 และเมืองอู่ทองนั้น คงไม่ถูกทิ้งร้างยังมีผู้คนอาศัยอยู่ เป็นข้อสันนิษฐานเดิมที่เชื่อกันเช่นนี้

ดังนั้น เรื่อง การย้ายเมืองของพระเจ้าอู่ทอง จึงมีข้อศึกษาใหม่ว่า พระเจ้าอู่ทองนั้น น่าจะดำริถึง อาณาจักรใหม่ที่พระองค์ได้รรับสิทธิปกครองดูแลนั้น คือ แคว้นสุวรรณภูมิ (ของมเหสี) แคว้นอโยธยา (ของมารดา) แคว้นศิริธรรมราช (ของบิดา) ซึ่งแต่ละแคว้นนั้นต่างมีเมืองสำคัญ ตั้งอยู่ห่างไกลกันมาก หากจะให้เมืองอู่ทองเป็นราชธานีของแคว้นทั้งหมด ก็มีทำเลไม่เหมาะสม ด้วยเหตุที่เมืองอู่ทองนั้น ไม่เป็นศูนย์กลางที่จะดูแลแคว้นนั้นได้สะดวก และมีแม่น้ำใหญ่เพียงสายเดียว ทำให้ขัดข้องในการติดต่อกับแคว้นอื่น ๆ ได้

พระองค์จึงได้ทำการอพยพ ผู้คนสำรวจสถานที่สร้างเมืองใหม่ขึ้น เพื่อหาทำเลที่จะตั้งเมือง ให้เป็นศูนย์กลางอาณาจักรที่สามารถปกครองดูแลหรือติดต่อถึงกันได้โดยสะดวกขึ้น โดยเฉพาะทำเลที่มีแม่น้ำหลายสาย ไหลผ่านและใช้เป็นเส้นทางที่จะติดต่อไปยังเมืองใหญ่ของแคว้นทั้งหมดได้ คือ เมืองนครศิริธรรมราช(เมืองนครศรีธรรมราช) เมืองอู่ทอง (ภายหลังย้ายมาสร้างเมืองสุพรรณบุรี) เมืองสรรค์บุรี (เมืองแพรก ) เมืองชัยนาท เมืองอโยธยา เมืองละโว้ เมืองนครปฐมโบราณ (เมืองนครไชยศรี) เป็นต้น

ประกอบกับเมืองอโยธยาเดิมนั้น มีแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสักและแม่น้ำลพบุรีไหลผ่านและเป็นเมืองท่าขนาดใหญ่อยู่แล้ว ในครั้งแรกนั้นพระเจ้าอู่ทองได้กลับมาครองแคว้นอโยธยาอยู่ 6 ปี ก็เห็นว่าที่ตำบลเวียงเหล็ก นั้นน่าจะเป็นทำเลสร้างเมืองใหม่เพื่อเป็นศูนย์กลางการปกครองทั้ง 3 แคว้น นั้นได้ จึงอพยพไปตั้งเมืองอยู่ที่ตำบลเวียงเหล็กก่อน (ส่วนเมืองอโยธยานั้นได้ให้เจ้าแก้วเจ้าไทย ครอง) ครั้นอยู่ที่ตำบลเวียงเหล็ก 3 ปี จึงเห็นว่าบริเวณตำบลหนองโสนนั้น มีทำเลเหมาะสมกว่าและเป็นพื้นที่มีลักษณะเหมือนสังขทักษิณาวรรตที่มีแม่น้ำ 3 สายไหลออกดุจน้ำไหลออกจากสังข์ และเป็นแม่น้ำที่ใช้ เป็นเส้นทางติดต่อได้ สะดวกกว่าที่เดิม (เมืองอโยธยา) ประจวบกับเวลานั้นเกิดโรคอหิวาระบาดใหญ่ จนเป็นเหตุให้เจ้าแก้วเจ้าไทยสิ้นพระชนม์ (จนเมืองอโยธยาร้างผู้คน) พระองค์จึงตัดสินพระทัยอพยพมาสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่ตำบลหนองโสนอ้างอิงจาก https://sites.google.com/site/kanokpon24129/prawati-2

1.4.2.2 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๗๔ พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ เมื่อพระองค์มีพระชนม์มายุได้เจ็ดพรรษา พระราชบิดาได้พระราชทานพระนามตามพระราชประเพณีว่า สมเด็จพระราเมศวรบรมไตรโลกนาถบพิตร และเมื่อพระชนมายุได้ ๑๕ พรรษา ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เสด็จไปครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ โดยได้ประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 เสด็จสวรรคต พระองค์จึงได้เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.1991 พระชนมายุได้ 17 พรรษา เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่แปดของกรุงศรีอยุธยา

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงมีพระราชสมัญญาอีกพระนามหนึ่งว่า พระเจ้าช้างเผือก เนื่องจาก เมื่อปี พ.ศ.2014 พระองค์ได้ทรงรับช้างเผือก ซี่งนับเป็นช้างเผือกช้างแรกของกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงปฏิรูปการปกครอง โดยทรงรวมอำนาจจากการปกครองเข้าสู่ศูนย์กลางคือ ราชธานี และแยกฝ่ายทหาร และฝ่ายพลเรือนออกจากกันคือ ฝ่ายทหารมีสมุหพระกลาโหมเป็นหัวหน้า รับผิดชอบ ฝ่ายพลเรือนมีสมุหนายก เป็นหัวหน้ารับผิดชอบ มีผู้ช่วยคือ จตุสดมภ์ ได้แก่ กรมเมือง กรมวัง กรมพระคลัง และกรมนา ในกรณีที่เกิดศึกสงครามทั้งฝ่ายทหาร และฝ่ายพลเรือนจะต้องนำหน้าในกองทัพร่วมกัน การปกครองในส่วนภูมิภาค ได้ยกเลิกระบบการปกครองหัวเมืองต่าง ๆ แต่เดิมที่แบ่งออกเป็นเมืองลูกหลวง หลานหลวง แล้วระบบการปกครองหัวเมืองเสียใหม่ ดังนี้

หัวเมืองชั้นใน เช่น เมืองราชบุรี นครสวรรค์ นครนายก เมืองฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี เป็นต้น จัดเป็นเมืองจัตวา พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งผู้ที่เหมาะสมไปปกครอง แต่สิทธิอำนาจทั้งหมดยังขึ้นอยู่กับองค์พระมหากษัตริย์ หัวเมืองชั้นนอก หรือเมืองพระยามหานคร เช่น เมืองพิษณุโลก สุโขทัย นครราชสีมา และทวาย จัดเป็น เมือง เอก โท ตรี พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งพระราชวงศ์หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ไปเป็นเจ้าเมืองมีอำนาจบังคับบัญชาเป็นสิทธิขาด เป็๋นผู้แทนองค์พระมหากษัตริย์ มีกรมการปกครองในตำแหน่ง เมือง วัง คลัง นา เช่นเดียวกับของทางราชธานี

เมืองประเทศราช ทางกรุงศรีอยุธยาคงให้เจ้าเมืองของเมืองหลวงนั้นปกครองกันเอง โดยพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งเจ้าเมือง เมืองประเทศราชจะต้องถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองกับเครื่องราชบรรณาการทุกรอบสามปี และต้องส่งกองทัพมาช่วยทางราชธานี เมื่อเกิดการสงคราม

สำหรับการปกครองส่วนท้องถิ่น ให้จัดเป็นหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านปกครองดูแล ตำบล มีกำนันเป็นหัวหน้า แขวง มีหมื่นแขวงเป็นหัวหน้า การปกครองท้องถิ่นดังกล่าวได้ใช้สืบทอดมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์มีการแต่งตั้งตำแหน่งข้าราชการให้มีบรรดาศักดิ์ตามลำดับจากต่ำสุดไปสูงสุดคือ ทนาย พัน หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา และเจ้าพระยา มีการกำหนดศักดินาเพื่อเป็นค่าตอบแทนการรับราชการ และได้อาศัยใช้เป็นเกณฑ์กำหนดการมีที่นาและการปรับไหมตามกฎหมาย

ในปี พ.ศ.2001 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงตั้งกฎมณเฑียรบาล ขึ้นเป็นกฎหมายสำหรับการปกครอง แบ่งออกเป็นสามแผนคือ พระตำรา ว่าด้วยแบบแผนและการพระราชพิธีต่าง ๆ พระธรรมนูญ ว่าด้วยเรื่องตำแหน่งหน้าที่ราชการ พระราชกำหนด เป็นข้อบังคับในพระราชสำนัก

ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งหนังสือมหาชาติคำหลวง นับว่าเป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา เรื่องแรกของกรุงศรีอยุธยา และเป็นวรรณคดีชั้นเยี่ยมที่ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาภาษา และวรรณคดีของไทย นอกจากนี้ยังมีลิลิตพระลอ ซึ่งเป็นยอดวรรณคดีประเภทลิลิตของไทย

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.2031 ครองราชย์ได้ 40 ปี พระองค์ประทับอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา 15 ปี และประทับที่เมืองพิษณุโลก 40 ปี

ที่มา : http://www.thaiheritage.net/

1.4.2.3 สมเด็จพระนเรศวร

มีพระนามเดิมว่าพระองค์ดำพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตริย์ (พระราชธิดาของสมเด็จพระ ศรีสุริโยทัยและสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ) พระองค์เสด็จพระบรมราชสมภพเมื่อ พ.ศ.2098 ที่เมืองพิษณุโลกทรงมีพระเชษฐภคิณีคือพระสุพรรณกัลยาทรงมีพระอนุชาคือสมเด็จพระเอกาทศรถ(องค์ขาว) และทรงเป็นพระราชนัดดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย พระนามของพระองค์ปรากฏในลายลักษณ์อักษรหลายฉบับ เช่น พระนเรศ วรราชาธิราช พระนเรสส องค์ดำ จึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่าพระนาม นเรศวรได้มาจากที่ใด สันนิษฐานเบื้องต้นว่า เพี้ยนมาจาก สมเด็จพระนเรศ วรราชาธิราช เป็น สมเด็จพระนเรศวร ราชาธิราช เสด็จขึ้นครองราชเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2133 รวมสิริดำรงราชสมบัติ 15 ปี เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ.2148 รวมพระชนมพรรษา 50 พรรษาราชการสงครามในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่และสำคัญยิ่งของชาติไทย พระองค์ได้กู้อิสรภาพของไทยจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก และได้ทรงแผ่อำนาจของราชอาณาจักรไทย อย่างกว้างใหญ่ไพศาล นับตั้งแต่ประเทศพม่าตอนใต้ทั้งหมด นั่นคือ จากฝั่งมหาสมุทรอินเดียทางด้านตะวันตก ไปจนถึงฝั่งมหาสมุทรปาซิฟิคทางด้านตะวันออก ทางด้านทิศใต้ตลอดไปถึงแหลมมลายู ทางด้านทิศเหนือก็ถึงฝั่งแม่น้ำโขงโดยตลอด และยังรวมไปถึงรัฐไทยใหญ่บางรัฐพระองค์ได้ทำสงครามเข้าไปในประเทศที่เป็นข้าศึกของไทย ในทุกทิศทาง จนประเทศไทยอยู่เป็นปกติสุขปราศจากศึกสงคราม เป็นระยะเวลายาวนาน พระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ทั้งสิ้นทั้งปวงของพระองค์ เป็นไปเพื่อประโยชน์ของบ้านเมืองและคนไทยทั้งมวล ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์

ตลอดระยะเวลาในวัยเยาว์ของพระนเรศวรทรงใช้ชีวิตอยู่ในพระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลก จนกระทั่งเมื่อพระเจ้าบุเรงนองยกทัพมาตีเมืองพิษณุโลก สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าเมืองพิษณุโลกยอมอ่อนน้อมต่อแห่งหงสาวดี และทำให้พิษณุโลกต้องแปรสภาพเป็นเมืองประเทศราชหงสาวดีไม่ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าบุเรงนองได้ทรงขอพระนเรศวรไปเป็นองค์ประกันที่หงสาวดี ทำให้พระองค์ต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนตั้งแต่มีพระชนม์มายุเพียง ๙พรรษานอกจากพระองค์แล้วยังมีองค์ประกันจากเมืองอื่น ๆ ที่เป็นเมืองขึ้นของหงสาวดีเป็นจำนวนมาก พระเจ้าบุเรงนองนั้นทรงให้เหล่าองค์ประกันได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาอย่างดี พระนเรศวรทรงใช้เวลา ๘ปีเต็มในหงสาวดีศึกษายุทธศาสตร์ของพม่า พระองค์ทรงศึกษาวิชาศิลปศาสตร์ และวิชาพิชัยสงคราม ทรงนิยมในวิชาการรบทัพจับศึก พระองค์ทรงมีโอกาสศึกษาทั้งภายในราชสำนักไทย และราชสำนักพม่า มอญ และได้ทราบยุทธวิธีของชาวต่างชาติต่าง ๆ ที่มารวมกันอยู่ในกรุงหงสาวดีเป็นอย่างดี เช่น ชาวโปรตุเกส สเปน หรือชาวพม่าเอง ทรงนำหลักวิชามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับเหตุการณ์ และสภาพแวดล้อมในการทำศึกได้เป็นเลิศ ดังเห็นได้จากการสงครามทุกครั้งของพระองค์ ยุทธวิธีที่ทรงใช้ ได้แก่ การใช้คนจำนวนน้อยเอาชนะคนจำนวนมาก และยุทธวิธีการรบแบบกองโจร พระองค์ทรงนำมาใช้ก่อนจอมทัพที่เลื่องชื่อในยุโรป นอกจากนั้น หลักการสงครามที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เช่น การดำรงความมุ่งหมาย หลักการรุก การออมกำลัง และการรวมกำลัง การดำเนินกลยุทธ ความเด็ดขาดในการบังคับบัญชา การระวังป้องกัน การจู่โจม ฯลฯ พระองค์ก็ทรงนำมาใช้อย่างเชี่ยวชาญและประสบผลสำเร็จอย่างงดงามมาโดยตลอด เนื่องจากการที่พระองค์มีชีวิตอยู่ในฐานะองค์ประกันทำให้ทรงมีความกดดันสูงจากมังกะยอชวา (พระราชโอรสในพระเจ้านันทบุเรง) จึงทรงมีแรงผลักดันที่จะกอบกู้อิสรภาพให้กับบ้านเมืองของพระองค์ เช่น จากการชนไก่ของพระองค์กับมังกะยอชวา เป็นต้น รวมทั้งการเหยียดหยามว่าเป็นเชลย จากพวกพม่าด้วย

หลังจากที่พระเจ้าบุเรงนองตีกรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๒ มะเส็งศก วันอาทิตย์ เดือน ๙ แรม ๑๑ ค่ำ และได้สถาปนาสมเด็จพระมหาธรรมราชาครองกรุงศรีอยุธยาในฐานะประเทศราชของหงสาวดีต่อไป หลังจากนั้น พระนเรศได้หนีกลับมาไทยโดยที่บุเรงนองยินยอมด้วยอันเนื่องมาจากพระสุพรรณกัลยาได้ขอไว้ โดยที่บุเรงนองยินยอม หลังจากที่พระองค์ดำกลับมากรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระมหาธรรมราชาได้ทรงพระราชทานนามให้ว่า พระนเรศวร และโปรดเกล้าฯให้เป็นพระมหาอุปราชไปปกครองเมืองพิษณุโลก ทรงปกครองเมืองอย่างดีและทรงเริ่มเตรียมการที่จะกอบกู้เอกราชของกรุงศรีอยุธยา

เมื่อปี พ.ศ. 2126 พระเจ้าอังวะเป็นกบฎ เนื่องจากไม่พอใจทางกรุงหงสาวดีอยู่หลายประการ จึงแข็งเมือง พร้อมกับเกลี้ยกล่อมเจ้าไทยใหญ่อีกหลายเมืองให้แข็งเมืองด้วย พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงจึงยกทัพหลวงไปปราบ ในการณ์นี้ได้สั่งให้เจ้าเมืองแปร เจ้าเมืองตองอู และเจ้าเมืองเชียงใหม่ รวมทั้งทางกรุงศรีอยุธยาด้วย ให้ยกทัพไปช่วย ทางไทย สมเด็จพระมหาธรรมราชาโปรดให้สมเด็จพระนเรศวรยกทัพไปแทน สมเด็จพระนเรศวรยกทัพออกจากเมืองพิษณุโลก เมื่อวันแรม 6 ค่ำ เดือน 3 ปีมะแม พ.ศ. 2126 พระองค์ยกทัพไทยไปช้า ๆ เพื่อให้การปราบปรามเจ้าอังวะเสร็จสิ้นไปก่อน ทำให้พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงแคลงใจว่า ทางไทยคงจะถูกพระเจ้าอังวะชักชวนให้เข้าด้วย จึงสั่งให้พระมหาอุปราชาคุมทัพรักษากรุงหงสาวดีไว้ ถ้าทัพไทยยกมาถึงก็ให้ต้อนรับ และหาทางกำจัดเสีย และพระองค์ได้สั่งให้พระยามอญสองคน คือ พระยาเกียรติและพระยาราม ซึ่งมีสมัครพรรคพวกอยู่ที่เมืองแครงมาก และทำนองจะเป็นผู้คุ้นเคยกับสมเด็จพระนเรศวรมาแต่ก่อน ลงมาคอยต้อนรับทัพไทยที่เมืองแครง อันเป็นชายแดนติดต่อกับไทย พระมหาอุปราชาได้ตรัสสั่งเป็นความลับว่า เมื่อสมด็จพระนเรศวรยกกองทัพขึ้นไป ถ้าพระมหาอุปราชายกเข้าตีด้านหน้าเมื่อใด ให้พระยาเกียรติและพระยาราม คุมกำลังเข้าตีกระหนาบทางด้านหลัง ช่วยกันกำจัดสมเด็จพระนเรศวรเสียให้จงได้ พระยาเกียรติกับพระยาราม เมื่อไปถึงเมืองแครงแล้ว ได้ขยายความลับนี้แก่พระมหาเถรคันฉ่อง ผู้เป็นอาจารย์ของตน ทุกคนไม่มีใครเห็นดีด้วยกับแผนการของพระเจ้ากรุงหงสาวดี เพราะมหาเถรคันฉ่องกับสมเด็จพระนเรศวร เคยรู้จักชอบพอกันมาก่อนกองทัพไทยยกมาถึงเมืองแครง เมื่อวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก พ.ศ. 2127 โดยใช้เวลาเดินทัพเกือบสองเดือน กองทัพไทยตั้งทัพอยู่นอกเมือง เจ้าเมืองแครงพร้อมทั้งพระยาเกียรติกับพระยารามได้มาเฝ้า ฯ สมเด็จพระนเรศวร จากนั้นสมเด็จพระนเรศวรได้เสด็จไปเยี่ยมพระมหาเถรคันฉ่อง ซึ่งคุ้นเคยกันดีมาก่อน พระมหาเถรคันฉ่องมีใจสงสาร จึงกราบทูลถึงเรื่องการคิดร้ายของทางกรุงหงสาวดี แล้วให้พระยาเกียรติกับพระยาราม กราบทูลให้ทราบตามความเป็นจริง เมื่อพระองค์ได้ทราบความโดยตลอดแล้ว ก็ทรงมีพระดำริเห็นว่าการเป็นอริราชศัตรูกับกรุงหงสาวดีนั้น ถึงกาลเวลาที่จะต้องเปิดเผยต่อไปแล้ว จึงได้มีรับสั่งให้เรียกประชุมแม่ทัพนายกอง กรมการเมือง เจ้าเมืองแครงรวมทั้งพระยาเกียรติพระยาราม และทหารมอญมาประชุมพร้อมกัน แล้วนิมนต์พระมหาเถรคันฉ่อง และพระสงฆ์มาเป็นสักขีพยาน ทรงแจ้งเรื่องให้คนทั้งปวงที่มาชุมนุม ณ ที่นั้นทราบว่า พระเจ้าหงสาวดีคิดประทุษร้ายต่อพระองค์ จากนั้นพระองค์ได้ทรงหลั่งน้ำลงสู่แผ่นดินด้วยสุวรรณภิงคาร (พระน้ำเต้าทองคำ) ประกาศแก่เทพยดาฟ้าดินว่า ด้วยพระเจ้าหงสาวดี มิได้อยู่ในครองสุจริตมิตรภาพขัตติยราชประเพณี เสียสามัคคีรสธรรม ประพฤติพาลทุจริต คิดจะทำอันตรายแก่เรา ตั้งแต่นี้ไป กรุงศรีอยุธยาขาดไมตรีกับกรุงหงสาวดี มิได้เป็นมิตรร่วมสุวรรณปฐพีเดียวกันดุจดังแต่ก่อนสืบไปจากนั้นพระองค์ได้ตรัสถามชาวเมืองแครงว่าจะเข้าข้างฝ่ายใด พวกมอญทั้งปวงต่างเข้ากับฝ่ายไทย สมเด็จพระนเรศวรจึงให้จับเจ้าเมืองกรมการพม่า แล้วเอาเมืองแครงเป็นที่ตั้งประชุมทัพเมื่อจัดกองทัพเสร็จ ก็ทรงยกทัพจากเมืองแครง ไปยังเมืองหงสาวดี เมื่อวันแรม 3 ค่ำ เดือน6ฝ่ายพระมหาอุปราชาที่อยู่รักษาเมืองหงสาวดี เมื่อทราบว่าพระยาเกียรติ พระยารามกลับไปเข้ากับสมเด็จพระนเรศวร จึงได้แต่รักษาพระนครมั่นอยู่ สมเด็จพระนเรศวรเสด็จยกทัพข้ามแม่น้ำสะโตงไปใกล้ถึงเมืองหงสาวดี ได้ทราบความว่า พระเจ้ากรุงหงสาวดีมัชัยชนะได้เมืองอังวะแล้ว กำลังจะยกทัพกลับคืนพระนคร พระองค์เห็นว่าสถานการณ์ครั้งนี้ไม่สมคะเน เห็นว่าจะตีเอาเมืองหงสาวดีในครั้งนี้ยังไม่ได้ จึงให้กองทัพแยกย้ายกันเที่ยวบอกพวกครัวไทย ที่พม่ากวาดต้อนไปแต่ก่อน ให้อพยพกลับบ้านเมือง ได้ผู้คนมาประมาณหมื่นเศษ ให้ยกล่วงหน้าไปก่อน พระองค์ทรงคุมกองทัพยกตามมาข้างหลังฝ่ายพระมหาอุปราชาทราบข่าวว่า สมเด็จพระนเรศวรกวาดต้อนคนไทยกลับ จึงได้ให้สุรกรรมาเป็นกองหน้า พระมหาอุปราชาเป็นกองหลวง ยกติดตามกองทัพไทยมา กองหน้าของพม่าตามมาทันที่ริมฝั่งแม่น้ำสะโตง ในขณะที่ฝ่ายไทยได้ข้ามแม่น้ำไปแล้ว และคอยป้องกันมิให้ข้าศึกข้ามตามมาได้ ได้มีการต่อสู้กันที่ริมฝั่งแม่น้ำ สมเด็จพระนเรศวรทรงใช้พระแสงปืนนกสับยาวเก้าคืบ ยิงถูกสุรกรรมา แม่ทัพหน้าพม่าตายบนคอช้าง กองทัพของพม่าเห็นแม่ทัพตาย ก็พากันเลิกทัพกลับไป เมื่อพระมหาอุปราชาแม่ทัพหลวงทรงทราบ จึงให้เลิกทัพกลับไปกรุงหงสาวดีพระแสงปืนที่ใช้ยิงสุรกรรมาตายบนคอช้างนี้ได้นามปรากฏต่อมาว่า "พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง" นับเป็นพระแสงอัษฎาวุธ อันเป็นเครื่องราชูปโภค ยังปรากฏอยู่จนถึงทุกวันนี้เมื่อสมเด็จพระนเรศวรเสด็จกลับถึงเมืองแครง ทรงดำริว่าพระมหาเถรคันฉ่องกับพระยาเกียรติพระยารามได้มีอุปการะมาก สมควรได้รับการตอบแทนให้สมแก่ความชอบ จึงทรงชักชวนให้มาอยู่ในกรุงศรีอยุธยา พระมหาเถรคันฉ่องกับพระยามอญ ที้งสองก็มีความยินดี พาพรรคพวกสเด็จเข้ามาด้วยเป็นอันมาก ในการยกกำลังกลับครั้งนี้ สมเด็จพระนเรศวรทรงเกรงว่าข้าศึกอาจยกทัพตามมาอีก ถ้าเสด็จกลับทางด่านแม่ละเมา มีกองทัพของนันทสูราชสังครำตั้งอยู่ที่เมืองกำแพงเพชร จะเป็นอุปสรรคต่อการเดินทาง พระองค์จึงรีบสั่งให้พระยาเกียรติ พระยาราม นำทัพเดินผ่านหัวเมืองมอญลงมาทางใต้ มาเข้าทางด่านเจดีย์สามองค์เมื่อกลับมาถึงกรุงศรีอยุธยาแล้ว สมเด็จพระมหาธรรมราชาก็พระราชทานบำเหน็จรางวัลแก่พวกมอญที่สวามิภักดิ์ ทรงตั้งพระมาหาเถรคันฉ่องเป็นพระสังฆราชา ที่สมเด็จอริยวงศ์ และให้พระยาเกียรติ พระยารามมีตำแหน่งยศ ได้พระราชทานพานทอง ควบคุมมอญที่เข้ามาด้วย ให้ตั้งบ้านเรือนที่ริมวัดขมิ้น และวัดขุนแสนใกล้วังจันทร์ของสมเด็จพระนเรศวร แล้วทรงมอบการทั้งปวงที่จะตระเตรียมต่อสู้ข้าศึก ให้สมเด็จพระนเรศวรทรงบังคับบัญชาสิทธิขาดแต่นั้นมา

นับตั้งแต่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพเป็นต้นมา หงสาวดีได้เพียรส่งกองทัพเข้ามาหลายครั้ง แต่ก็ถูกกองทัพกรุงศรีอยุธยาตีแตกพ่ายไปทุกครั้ง เมื่อสมเด็จพระมหาธรรมราชาเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๓๓ พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๑๓๓ เมื่อพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระนเรศวร หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๒ และโปรดเกล้า ฯ ให้พระเอกาทศรถ พระอนุชา ขึ้นเป็นพระมหาอุปราช แต่มีศักดิ์เสมอพระมหากษัตริย์อีกพระองค์หนึ่งตลอดรัชสมัยของพระองค์ทรงกอบกู้กรุงศรีอยุธยาจากหงสาวดี และได้ทำสงครามกับอริราชศัตรูทั้งพม่าและเขมร จนราชอาณาจักรไทยเป็นปึกแผ่นมั่นคง ขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาลกว่าครั้งใดในอดีตที่ผ่านมา งานสงครามในรัชสมัยของพระองค์ ทั้งในดินแดนไทยและดินแดนข้าศึก ได้ชัยชนะทุกครั้ง ทรงมีพระปรีชาสามารถในการนำทัพ ทรงริเริ่มนำยุทธวิธีแบบใหม่มาใช้ในการทำสงคราม และเปลี่ยนแนวความคิดจากการตั้งรับมาเป็นการรุก และริเริ่มการใช้วิธีรบนอกแบบการสงครามกับพม่าครั้งสำคัญที่ทำให้พม่าไม่กล้ายกทัพมารุกรานไทยอีกเลย เป็นเวลาเกือบสองร้อยปีคือ สงครามยุทธหัตถี เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๓๕ นั่นคือเมื่อหงสาวดีนำโดยพระมหาอุปราชามังสามเกียดยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง สมเด็จพระนเรศวรก็นำทัพออกไปจนปะทะกันที่หนองสาหร่าย จังหวัดสุพรรณบุรี บ้างก็ว่าจังหวัดกาญจนบุรี สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาจนกระทั่งสามารถเอาพระแสงง้าวฟันพระมหาอุปราชาขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์อยู่กับคอช้างนั่นเอง