ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สาขาการเมืองการปกครอง"

จาก คลังข้อมูลด้านรัฐศาสตร์
แถว 3: แถว 3:
  
 
ประเทศไทยในปัจจุบัน ได้มีผู้คนหลายเผ่าพันธุ์ตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์สืบต่อเนื่องมาตามลำดับ นับเป็นระยะเวลาหลายพันปีมาแล้วโดยเริ่มจากชุมชนหมู่บ้านที่กระจายอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำและบนที่ราบสูงมารวมตัวกันเป็นเมือง มีการติดต่อค้าขายกับชุมชนอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอก กลายเป็นเมืองท่าค้าขาย มีผู้คนย้ายมาตั้งถิ่นฐานมากขึ้น และได้มีพัฒนาเป็นอาณาจักร ตลอดจนได้ขยายอำนาจครอบคลุมอำนาจอื่น ต่างชิงความเป็นใหญ่ และตั้งเป็นอาณาจักรของตนเอง ได้แก่ อาณาจักรตามพรลิงค์ อาณาจักรโคตรบูร อาณาจักรขอม อาณาจักรทวารวดี อาณาจักรละโว้ อาณาจักรศรีวิชัย อาณาจักรเงินยางเชียงแสน อาณาจักรล้านนา อาณาจักรหริภุญชัย อาณาจักรอโยธยา และอาณาจักรสุพรรณภูมิ
 
ประเทศไทยในปัจจุบัน ได้มีผู้คนหลายเผ่าพันธุ์ตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์สืบต่อเนื่องมาตามลำดับ นับเป็นระยะเวลาหลายพันปีมาแล้วโดยเริ่มจากชุมชนหมู่บ้านที่กระจายอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำและบนที่ราบสูงมารวมตัวกันเป็นเมือง มีการติดต่อค้าขายกับชุมชนอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอก กลายเป็นเมืองท่าค้าขาย มีผู้คนย้ายมาตั้งถิ่นฐานมากขึ้น และได้มีพัฒนาเป็นอาณาจักร ตลอดจนได้ขยายอำนาจครอบคลุมอำนาจอื่น ต่างชิงความเป็นใหญ่ และตั้งเป็นอาณาจักรของตนเอง ได้แก่ อาณาจักรตามพรลิงค์ อาณาจักรโคตรบูร อาณาจักรขอม อาณาจักรทวารวดี อาณาจักรละโว้ อาณาจักรศรีวิชัย อาณาจักรเงินยางเชียงแสน อาณาจักรล้านนา อาณาจักรหริภุญชัย อาณาจักรอโยธยา และอาณาจักรสุพรรณภูมิ
 +
 +
1.1.1 อาณาจักรโบราณในภาคเหนือ
 +
 +
1.1.1.1 อาณาจักรโยนกเชียงแสน
 +
 +
อาณาจักรโยนกเชียงแสน (พุทธศตวรรษที่ 12 – 16) เป็นอาณาจักรเก่าแก่ของชนชาติไทยมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 13ตั้งอยู่บริเวณภาคเหนือของประเทศไทย ปัจจุบันคืออำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นสถานที่ตั้งถิ่นฐานครังแรกหลังจากที่ชนชาติไทยได้อพยพหนีการรุกรานของจีนลงมา โดยพระเจ้าสิงหนวัติ โอรสของพระเจ้าพีล่อโก๊ะได้เป็นผู้ก่อตั้งอาณาจักรโยนกเชียงแสนหรือโยนกนาคนครขึ้น นับเป็นอาณาจักรทีมีความยิ่งใหญ่และสง่างาม  จนถึงสมัยของพระเจ้าพังคราช จึงตกอยู่ภายใต้อารยธรรมและการปกครองของพวก “ลอม” หรือ “ขอมดำ” ซึ่งเป็นชนชาติที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ ก่อนที่จะมีการก่อตั้งอาณาจักรโยนกเชียงแสน ได้เข้ายึดครองโยนกเชียงแสน
 +
ในสมัยของพระเจ้าพรหม โอรสของพระเจ้าพังคราช ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่เป็นนักรบและมีความกล้าหาญ ได้ทำการต่อต้านพวกขอม ไม่ยอมส่งส่วย เมื่อขอมยกกองทัพมาปราบปรามก็ได้โจมตีขับไล่กองทัพขอมแตกพ่ายไป และยังได้แผ่อิทธิพลขยายอาณาเขตเข้าไปในดินแดนของขอม ยึดไปถึงเมืองเชลียงและล้านนา ล้านช้าง  แล้วอัญเชิญพระเจ้าพรหม พระราชบิดาให้กลับมาครองเมืองโยนกเชียงแสนเหมือนเดินแล้วได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่เป็นเมืองชัยบุรี ส่วนพระเจ้าพรหมได้เสด็จไปสร้างเมืองใหม่ทางใต้ของโยนกเชียงแสน คือเมืองชัยปราการ ให้พระเชษฐาคือ เจ้าทุกขิตราชเป็นพระอุปราชปกครองเมือง นอกจากนั้นยังได้สร้างเมืองอื่นๆ ขึ้นอีก เช่น ชัยนารายณ์ นครพางคำ   
 +
เมื่อสิ้นสมัยพระเจ้าพังคราช พระเจ้าทุกขิตราชก็ได้ขึ้นครองเมืองชัยบุรี (โยนกเชียงแสน) ส่วนพระเจ้าพรหมและโอรสของพระองค์ได้ครองเมืองชัยปราการในสมัยต่อมา และเป็นระยะเวลาที่พวกขอมเริ่มเสื่อมอำนาจลง เมื่อหมดสมัยของพระเจ้าพรหมเป็นต้นไป อาณาจักรโยนกเชียงแสนเริ่มเสื่อมอำนาจลง กษัตริย์ล้วนอ่อนแอหย่อนความสามารถ จนถึง พ.ศ. 1731พวกมอญก็ได้ยกทัพเข้ายึดครอบครองอาณาจักรขอม และได้แผ่อำนาจเข้ายึดเมืองโยนกเชียงแสน ซึ่งขณะนั้นมีพระเจ้าชัยศิริ โอรสของพระเจ้าพรหมเป็นกษัตริย์ปกครอง  พระเจ้าชัยศิริไม่สามารถต่อต้านกองทัพมอญได้ จึงพากันเผาเมืองทิ้งเพื่อไม่ให้เป็นที่พำนักและเสบียงอาหารแก่พวกมอญแล้วพากันอพยพลงมาทางใต้ จนมาถึงเมืองร้าง้แห่งหนึ่งในแขวงเมืองกำแพงเพชร ชื่อเมืองแปป ได้อาศัยอยู่ที่เมืองแปประยะหนึ่งเห็นว่าชัยภูมิไม่สู้เหมาะเพราะอยู่ใกล้ขอม จึงได้อพยพลงไปทางใต้จนถึงถึงเมืองนครปฐมจึงได้สร้างเมืองนครปฐมและพำนักอยู่ ณ ที่นั้น
 +
 +
ส่วนกองทัพมอญ หลังจากรุกรานเมืองชัยปราการแล้ว  ก็ได้ยกล่วงเลยตลอดไปถึงเมืองอื่นๆ ในแคว้นโยนกเชียงแสน จึงทำให้พระญาติของพระเจ้าชัยศิริซึ่งครองเมืองชัยบุรี  ต้องอพยพหลบหนีข้าศึกเช่นกัน ปรากฏว่าเมืองชัยบุรีนั้นเกิดน้ำท่วม บรรดาเมืองในแคว้นโยนกต่างก็ถูกทำลายลงหมด  พวกมอญเห็นว่าหากเข้าไปตั้งอยู่ก็อาจเสียแรง เสียเวลา และทรัพย์สินเงินทอง เพื่อที่จะสถาปนาขึ้นมาใหม่ พวกมอญจึงยกทัพกลับ เป็นเหตุให้เมืองโยนกเชียงแสนขาดผู้ปกครองอยู่ระยะหนึ่ง
 +
 +
ในระยะที่ฝ่ายไทยกำลังระส่ำระสายอยู่นี้ เป็นโอกาสให้ขอมซึ่งมีราชธานีอยู่ที่เมืองละโว้ ถือสิทธิ์เข้าครอบครองแคว้นโยนกเชียงแสน  แล้วบังคับให้คนไทยที่ตกค้างอยู่นั้นให้ส่งส่วยแก่ขอม  ความเสื่อมสลายของอาณาจักรโยนกเชียงแสนครั้งนี้ ทำให้ชาวไทยต้องอพยพย้ายกันลงมาเป็นสองสายคือ สายของพระเจ้าชัยศิริ อพยพลงมาทางใต้ และได้อาศัยอยู่ชั่วคราวที่เมืองแปป  ส่วนสายของพระเจ้าชัยบุรีได้แยกออกไปทางตะวันออกของสุโขทัย จนมาถึงเมืองนครไทย จึงได้เข้าไปตั้งรกรากอยู่ ณ เมืองนั้นด้วยเห็นว่าเป็นเมืองที่มีชัยภูมิเหมาะสม เพราะเป็นเมืองใหญ่ และตั้งอยู่สุดเขตของขอมทางเหนือ  ผู้คนในเมืองนั้นส่วนใหญ่ก็เป็นชาวไทย อย่างไรก็ตามในช่วงแรกที่เข้าไปตั้งเมืองอยู่นั้น ก็ต้องยอมอ่อนน้อมต่อขอม ซึ่งขณะนั้นยังคงเรืองอำนาจอยู่
 +
 +
ในเวลาต่อมาเมื่อคนไทยอพยพลงมาจากน่านเจ้าเป็นจำนวนมาก  ทำให้นครไทยมีกำลังผู้คนมากขึ้น  ข้างฝ่ายอาณาจักรโยนกเชียงแสนนั้น เมื่อพระเจ้าชัยศิริทิ้งเมืองลงมาทางใต้ ก็เป็นเหตุให้ดินแดนแถบนั้นว่างผู้ปกครอง และระยะต่อมาชาวไทยที่ยังคงเหลืออยู่ในอาณาจักรโยนกเชียงแสนได้รวมตัวกันตั้งเมืองขี้นหลายแห่งตั้งเป็นอิสระแก่กัน  บรรดาหัวเองต่างๆ ที่เกิดขึ้นในครั้งนั้นนับว่าสำคัญ มีอยู่สามเมืองด้วยกัน คือ นครเงินยาง  อยู่ทางเหนือ  นครพะเยา อยู่ตอนกลาง และเมืองหริภุญไชย อยู่ทางใต้  ส่วนเมืองนครไทยนั้นด้วยเหตุที่ว่ามีที่ตั้งอยู่ปลายทางการอพยพ และอาศัญที่มีราชวงศ์เชื้อสายโยนกอพยพมาอยู่ที่เมืองนี้ จึงเป็นทีนิยมของชาวไทยมากกว่า
 +
เมื่อบรรดาชาวไทยเกิดความคิดที่จะสลัดแอกจากขอมครั้งนี้  บุคคลสำคัญในการนี้คือ พ่อขุนบางกลางท่าว  ซึ่งเป็นเจ้าเมืองบางยาง  และพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองตราด ได้ร่วมกำลังกัน ยกขึ้นไปโจมตีขอม จนได้เมืองสุโขทัยอันเป็นเมืองหน้าด่านของขอมไว้ได้ เมื่อปี พ.ศ. 1800 การชัยใน ครังนี้นับว่าเป็นนิมิตหมายเบื้องต้นแห่งความเจริญรุ่งเรืองของชนชาติไทย และเป็นลางร้ายแห่งความเสื่อมโทรมของขอม  เพราะนับแต่นั้นเป็นต้นมาอาณาจักรขอมก็เริ่มเสื่อมอำนาจลง จนสิ้นสุดอำนาจไปจากบริเวณนี้
 +
 +
ต่อมาเมืองโยนกเชียงแสน (เมืองชัยบุรี)  เกิดน้ำท่วม  บรรดาเมืองในแคว้นโยนกเชียงแสนต่างๆ ก็ถูกทำลายลงหมด  พวกมอญเห็นว่าหากจะเข้าไปบูรณะซ่อมแซม ปฎิสังขรเมืองใหม่ จะสิ้นเปลืองเงินทองจำนวนมาก จึงได้พากันยกทัพกลับ  เป็นเหตุให้เมืองโยนกเชียงแสน (ชัยบุรี) ขาดกษัตริย์ปกครอง ทำให้อำนาจ และอารยธรรมเริ่มเสื่อมลง  ชนชาติไทยในโยนกเชียงแสนจึงได้พากันอพยพลงมาทางตอนใต้ แล้วได้สร้างอาณาจักรใหม่ขึ้นคือ อาณาจักรล้านนา  ซึ่งต่อมาได้เจริญเติบโตขึ้นเป็นอาณาจักร
 +
 +
1.1.1.2 อาณาจักรหริภุญชัย
 +
 +
อาณาจักรหริภุญชัย หรือ หริภุญไชย เป็นอาณาจักรมอญ[1]ที่ตั้งอยู่บริเวณภาคเหนือของประเทศไทยปัจจุบัน ตำนานจามเทวีวงศ์โบราณได้บันทึกไว้ว่า ฤๅษีวาสุเทพเป็นผู้สร้างเมืองหริภุญชัยขึ้นในปี พ.ศ. 1310 แล้วทูลเชิญพระนางจามเทวี ซึ่งเป็นเจ้าหญิงจากอาณาจักรละโว้ ขึ้นมาครองเมืองหริภุญชัย ในครั้งนั้นพระนางจามเทวีได้นำพระภิกษุ นักปราชญ์ และช่างศิลปะต่าง ๆ จากละโว้ขึ้นไปด้วยเป็นจำนวนมากราวหมื่นคน พระนางได้ทำนุบำรุงและก่อสร้างบ้านเมือง ทำให้เมืองหริภุญชัย (ลำพูน) นั้นเป็นแหล่งศิลปวัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรืองยิ่ง ต่อมาพระนางได้สร้างเขลางค์นคร (ลำปาง) ขึ้นอีกเมืองหนึ่งให้เป็นเมืองสำคัญ สมัยนั้นปรากฏมีการใช้ภาษามอญโบราณในศิลาจารึกของหริภุญชัย มีหนังสือหมานซูของจีนสมัยราชวงศ์ถัง กล่าวถึงนครหริภุญชัยไว้ว่าเป็น “อาณาจักรของสมเด็จพระราชินีนาถ”
 +
 +
ต่อมา พ.ศ. 1824 พญามังรายมหาราชผู้สถาปนาอาณาจักรล้านนา ได้ยกกองทัพเข้ายึดเอาเมืองหริภุญชัยจากพญายีบาได้ ต่อจากนั้นอาณาจักรหริภุญชัยจึงสิ้นสุดลงหลังจากรุ่งเรืองมา 618 ปี มีพระมหากษัตริย์ครองเมือง 49 พระองค์
 +
 +
ปัจจุบัน โบราณสถานสำคัญของอาณาจักรหริภุญชัยคือพระธาตุหริภุญไชย ที่จังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นบริเวณที่สันนิษฐานว่าเป็นราชธานีในสมัยนั้น และยังมีเมืองโบราณเวียงมโน ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ โบราณสถานที่เวียงเกาะ บ้านสองแคว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และเวียงท่ากาน ที่ตำบลบ้านกลาง ต.สันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ บางหมู่บ้านของจังหวัดลำพูนนั้นพบว่า ยังมีคนพูดภาษามอญโบราณและอนุรักษ์วัฒนธรรมอาณาจักรมอญโบราณอยู่
 +
 +
 +
1.1.1.3 อาณาจักรล้านนา
 +
 +
ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ดินแดนล้านนาได้พัฒนาการจากแว่นแคว้น – นครรัฐมาสู่รัฐแบบอาณาจักร มีเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง รัฐแบบอาณาจักรสถาปนาอำนาจโดยรวบรวมแว่นแคว้น – นครรัฐมาไว้ด้วยกัน อาณาจักรล้านนาเริ่มก่อรูปโดยการรวมแคว้นโยนกและแคว้นหริภุญชัย หลังจากนั้นก็ขยายอาณาจักรไปสู่ดินแดนใกล้เคียง ได้แก่ เมืองเชียงตุง เมืองนายในเขตรัฐฉาน และขยายสู่เมืองเขลางคนคร เมืองพะเยา ในยุคที่อาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรืองสามารถขยายอำนาจไปสู่เมืองแพร่และ เมืองน่านตลอดจนรัฐฉานและสิบสองพันนา
 +
 +
ในพุทธศตวรรษที่ 19 เกิดปรากฏการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของภูมิภาคนี้ คือการสลายตัวของรัฐโบราณที่เคยรุ่งเรืองมาก่อน ดังเช่น กัมพูชา ทวารวดี หริภุญชัย และพุกาม การเสื่อมสลายของรัฐโบราณเปิดโอกาสให้เกิดการสถาปนาอาณาจักรใหม่ของชนชาติ ไทยที่ผู้นำ ใช้ภาษาและวัฒนธรรมไทย อาณาจักรใหม่ที่เกิดขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 19 ที่สำคัญคือ ล้านนา สุโขทัย และอยุธยา อาณาจักรทั้งสามมีความเชื่อในพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทนิกายลังกาวงศ์เช่นเดียว กัน ความเชื่อดังกล่าวสร้างความสัมพันธ์ต่อกัน ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการแข่งสร้างบุญบารมีของกษัตริย์ จึงนำไปสู่การทำสงครามระหว่างอาณาจักร รัฐสุโขทัยสลายลงก่อน โดยถูกผนวกกับอยุธยา หลังจากนั้นสงครามระหว่างอยุธยาและล้านนามีอย่างต่อเนื่อง สงครามครั้งสำคัญอยู่ในสมัยของพระเจ้าติโลกราชและพระบรมไตรโลกนาถ
 +
 +
ประวัติศาสตร์ล้านนาใน สมัยรัฐอาณาจักรแบ่งตามพัฒนาการเป็น 3 สมัย คือสมัยสร้างอาณาจักร สมัยอาณาจักรเจริญรุ่งเรือง และสมัยเสื่อมและการล่มสลาย
 +
 +
1. สมัยสร้างอาณาจักร (พ.ศ. 1939 – 1989) การก่อตั้งอาณาจักรล้านนา เป็นผลจากการรวมแคว้นหริภุญชัยกับแคว้นโยน แล้วสถาปนาเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางอาณาจักรพญามังรายปฐมกษัตริย์เริ่ม ขยายอำนาจตั้งแต่ พ.ศ. 1804 ซึ่งเป็นปีแรกที่เสวยราชย์ในเมืองเงินยาง ปีแรกที่พญามังรายครองเมืองเงินยางนั้น ปรากฏว่าเมืองต่าง ๆ ในเขตลุ่มแม่น้ำกกแตกแยกกัน มีการแย่งชิงพลเมืองและรุกรานกันอยู่เสมอ สร้างความเดือดร้อนแก่คนทั่วไป พญามังรายจึงรวบรวมหัวเมืองน้อยมาไว้ในพระราชอำนาจ โดยอ้างถึงสิทธิธรรมที่พระองค์สืบเชื้อสายโดยตรงจากปู่เจ้าลาวจง และพระองค์ได้รับน้ำมุรธาภิเษกและได้เครื่องราชาภิเษกเป็นต้นว่า ดาบไชย หอก และมีดสรีกัญไชย สิ่งเหล่านี้เป็นของปู่เจ้าลาวจง ซึ่งตกทอดมายังกษัตริย์ราชวงศ์ลาวทุกพระองค์ พญามังรายอ้างว่าเจ้าเมืองอื่น ๆ นั้นสืบสายญาติพี่น้องกับราชวงศ์ลาวที่ห่างออกไป ดังนั้นจึงไม่มีโอกาสผ่านพิธีมุรธาภิเษกและได้เครื่องราชาภิเษกเหมือนพระองค์
 +
วิธีการที่พญามังราย รวบรวมหัวเมืองมีหลายวิธี เช่น ยกทัพไปตี ในกรณีที่เจ้าเมืองนั้นไม่ยอมสวามิภักดิ์ ได้แก่ เมืองมอบ เมืองไล่ เมืองเชียงคำ เมืองเหล่านี้เมื่อตีได้ จะให้ลูกขุนปกครอง ส่วนเมืองที่ยอมสวามิภักดิ์ พญามังรายคงให้เจ้าเมืองปกครองต่อไป นอกจากนั้นยังใช้วิธีเป็นพันธมิตรกับพญางำเมือง ซึ่งพญางำเมืองได้มอบที่ให้จำนวนหนึ่ง มี 500 หลังคาเรือน เป็นต้น
 +
 +
หลังจากรวบรวมหัวเมือง ใกล้เคียงเมืองเงินยางได้แล้ว พญามังรายก็ย้ายศูนย์กลางลงมาทางใต้ โดยสร้างเมืองเชียงรายใน พ.ศ. 1805 และสร้างเมืองฝาง พ.ศ. 1816 จากนั้นพญามังรายได้รวบรวมเมืองต่าง ๆ บริเวณต้นแม่น้ำกก แม่น้ำอิง และริมแม่น้ำโขง พญามังรายสามารถรวบรวมเมืองต่าง ๆ (ซึ่งต่อมาคือเขตตอนบนของอาณาจักรล้านนา) สำเร็จประมาณ พ.ศ. 1830 ซึ่งเป็นปีที่พญามังราย พญางำเมืองและพ่อขุนรามคำแหง ทำสัญญามิตรภาพต่อกัน ผลของสัญญามี 2ประการ ประการแรกคงมีส่วนทำให้พญามังรายมั่นใจว่าการขยายอำนาจลงสู่แม่น้ำปิง เพื่อผนวกแคล้นหริภุญชัยจะไม่ได้รับการจัดขวางจากพญางำเมืองและพ่อขุนราม คำแหง ประการที่สอง สามกษัตริย์ร่วมมือกันป้องกันภัยอันตรายจากมองโกลซึ่งกำลังขยายอำนาจลงมาใน ภูมิภาคนี้
 +
 +
เมื่อพญามังรายรวบรวม เมืองต่าง ๆ ในเขตทางตอนบนแถบลุ่มแม่น้ำปิงตอนบน โดยยึดครองแคว้นหริภุญชัยได้ในราว พ.ศ. 1835 พญามังรายประทับที่หริภุญชัยเพียง 2 ปี ก็พบว่าไม่เหมาะที่จะเป็นเมืองหลวงของอาณาจักร พญามังรายจึงทรงย้ายมาสร้างเวียงกุมกาม ความเหมาะสมของนครเชียงใหม่ คือตัวเมืองตั้งอยู่ระหว่างที่ราบลุ่มน้ำปิงและดอยสุเทพ พื้นที่ลาดเทจากดอยสุเทพสู่น้ำปิง ทำให้สายน้ำจากดอยสุเทพไหลมาหล่อเลี้ยงเมืองเชียงใหม่ตลอดเวลา เมืองเชียงใหม่จึงมีน้ำอุดมสมบูรณ์
 +
 +
การก่อตั้งเมือง เชียงใหม่หรือนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ใน พ.ศ. 1839 มีเป้าหมายเพื่อให้เป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความสืบเนื่อง ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางอาณาจักรล้านนา ทั้งทางการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ด้วยเหตุนี้จึงให้ความสำคัญต่อเมืองเชียงใหม่เป็นพิเศษ นับตั้งแต่พยายามเลือกทำเลที่ตั้ง การวางผังเมือง และการสร้างสิทธิธรรม การสร้างเมืองเชียงใหม่ถือเป็นความสำเร็จอย่างสูง เพราะเชียงใหม่ได้รับการยอมรับในฐานะศูนย์กลางดินแดนล้านนาตลอดมา ครั้นฟื้นฟูบ้านเมืองได้ในสมัยราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน พระเจ้ากาวิละซึ่งตั้งมั่นอยู่ที่เวียงป่าซาง 14 ปี ก็ยังเลือกเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางล้านนา เชียงใหม่จึงเป็นศูนย์กลางความเจริญในภาคเหนือสืบมาถึงปัจจุบัน การสร้างเมืองเชียงใหม่ พญามังรายเชิญพญางำเมืองและพ่อขุนรามคำแหงมาร่วมกันพิจาณาทำเลที่ตั้ง พญาทั้งสองก็เห็นด้วยและช่วยดูแลการสร้างเมืองเชียงใหม่ ด้วยเหตุที่พ่อขุนรามคำแหงมาร่วมสร้างเมืองเชียงใหม่ ทำให้ผังเมืองเชียงใหม่ได้รับอิทธิพลจากสุโขทัย เมื่อแรกสร้างกำแพงเมืองมีขนาดกว้าง 900 วา ยาว 1,000 วา และขุดคูน้ำกว้าง 9 วา กำแพงเมืองเชียงใหม่ปรับเปลี่ยนไปตามกาลสมัย ปัจจุบันเปลี่ยนรูปสี่เหลี่ยมยาวด้านละ 1,600 เมตร
 +
 +
ในสมัยอาณาจักรเป็นช่วง สร้างความเข้มแข็งอยู่ในสมัยราชวงศ์มังรายตอนต้น มีกษัตริย์ปกครอง 5 พระองค์ ได้แก่ พญามังราย พญาไชยสงคราม พญาแสนพู พญาคำฟู และพญาผายู การสร้างความเข้มแข็งในช่วงต้นนี้สรุปได้ 3 ประการ
 +
 +
ประการแรก การขยายอาณาเขตและสร้างความมั่นคงในอาณาจักร ในสมัยพญามังรายได้ผนวกเขลางคนครเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร เนื่องจากเขลางคนครมีความสัมพันธ์กับเมืองหริภุญชัยในฐานะบ้านพี่เมืองน้อง เมื่อยึดครองหริภุญชัยสำเร็จก็จำเป็นต้องรุกคืบต่อไปยังเขลางคนคร หลังจากนั้นความคิดขยายอาณาเขตไปยังทางด้านตะวันออกสู่เมืองพะเยาซึ่งเกิด ขึ้นในสมัยพญามังรายแล้ว แต่ติดขัดที่เป็นพระสหายกับพญางำเมือง เมืองพะเยาและเชียงใหม่มีความสัมพันธ์ฐานะเครือญาติในวงศ์ลวจังกราช เมืองพะเยาซึ่งเป็นรัฐเล็ก ต่อมาจึงถูกยึดครองสำเร็จในสมัยพญาคำฟู (พ.ศ. 1877 – 1879) การยึดครองพะเยาได้เป็นผลดีต่ออาณาจักรล้านนาเพราะนอกจากเมืองเชียงรายจะ ปลอดภัยจากพะเยาแล้ว เมืองพะเยายังเป็นฐานกาลังขยายไปสู่เมืองแพร่และเมืองน่านต่อไป ความคิดขยายอำนาจสู่เมืองแพร่มีในสมัยพญาคำฟูแต่ไม่ประสบความสำเร็จ แสดงให้เห็นว่าการรวมหัวเมืองล้านนาตะวันออก ซึ่งเป็นรัฐในหุบเขาไม่ใช่จะกระทำได้โดยง่าย เพราะกว่าจะรวมเมืองแพร่และเมืองน่านสำเร็จก็อยู่ในช่วงอาณาจักรล้านนามี ความเจริญสูงสุดในสมัยพระเจ้าติโลกราช
 +
 +
การสร้างความมั่นคงในเขต ทางตอนบนของอาณาจักรเด่นชัดในสมัยราชวงศ์มังรายตอนต้น ดังปรากฏว่าเมือสิ้นสมัยพญามังราย พญาไชยสงครามครองราชย์ต่อมา ได้เสด็จไปประทับที่เมืองเชียงราย ส่วนเมืองเชียงใหม่ให้โอรสครองเมืองลักษณะเช่นนี้มีสืบมาในสมัยพญาแสนพู และพญาคำฟู โดยสมัยพญาแสนพูสร้างเมืองเชียงแสนในบริเวณเมืองเงินยาง การสร้างเมืองเชียงแสนก็เพื่อป้องกันศึกทางด้านเหนือ เพราะเมืองเชียงแสนตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ใช้แม่น้ำโขงเป็นคูเมืองธรรมชาติ มีตัวเมืองกว้าง 700 วา ยาว 1,500 วา มีป้อมปราการ 8 แห่ง ที่ตั้งเมืองเชียงแสนคุมเส้นทางการคมนาคมเพราะเป็นช่องทางไปสู่เมืองต่าง ๆ เช่น เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ่ง เมืองนาย เมืองยอง เมืองเชียงแสนจึงเป็นศูนย์กลางของเมืองตอนบน หลังจากสร้างเมืองเชียงแสนแล้ว พญาแสนพูประทับที่เชียงแสนสืบต่อมาถึงสมัยพญาคำฟู สถานการณ์ทางการเมืองดีขึ้นเมื่อผนวกพะเยาเข้ากับอาณาจักรล้านนาในสมัยพญา คำฟู ส่วนเมืองเชียงตุงพญาผายูสถาปนาอำนาจอันมั่นคง โดยส่งเจ้าราชบุตรเจ็ดพันตูไปปกครองและพญาผายูสร้างความผูกพันโดยอภิเษก กับธิดาเจ้าเมืองเชียงของ การสร้างความมั่นคงเขตตอนบนมีเสถียรภาพพอสมควร ในสมัยพญาผายูจึงย้ายมาประทับที่เชียงใหม่ ให้เมืองเชียงราย เชียงแสนเป็นเมืองสำคัญทางตอนบน
 +
 +
ประการที่สอง การปกครองมีโครงสร้างแบ่งเป็น 3 เขต
 +
 +
1. บริเวณเมืองราชธานี ประกอบด้วยเมืองเชียงใหม่และลำพูน เนื่องจากทั้งสองเมืองตั้งอยู่ในแอ่งที่ราบเดียวกันและอยู่ใกล้กัน กษัตริย์จึงปกครองโดยตรง
 +
 +
2. บริเวณเมืองข้าหลวง อยู่ถัดจากเมืองราชธานีออกไป กษัตริย์จะแต่งตั้งข้าหลวงไปปกครอง เจ้าเมืองซึ่งเป็นข้าหลวงนี้ส่วนใหญ่เป็นเชื้อพระวงศ์ ขุนนางที่ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์ก็มีบ้าง แต่เป็นส่วนน้อย เมืองสำคัญจะปกครองโดยเจ้าเชื้อพระวงศ์ ที่ใกล้ชิด เช่น เมืองเชียงราย กษัตริย์มักส่งโอรสหรือพระอนุชาไปปกครองเมืองอุปราช เจ้าเมืองมีอำนาจสูงสุดในการจัดการภายในเมืองของตน เช่น การแต่งตั้งขุนนางตำแหน่งต่าง ๆ การจัดตั้งพันนา การค้าภายในเมือง การควบคุมกำลังไพร่ ความสัมพันธ์ระหว่างข้าหลวงและกษัตริย์เป็นเพียงความสัมพันธ์ส่วนบุคคล เมื่อเปลี่ยนรัชกาล ความสัมพันธ์ก็อาจเปลี่ยนไปด้วย
 +
 +
3. บริเวณเมืองประเทศราช เป็นเขตเจ้าต่างชาติต่างภาษา ปกครองตนเองตามประเพณีท้องถิ่น เมืองประเทศราชเป็นรัฐตามชายขอบล้านนา เช่น เมืองเชียงตุง เมืองนาย เมืองยอง เนื่องจากประเทศราชอยู่ห่างไกลจึงผูกพันกับเมืองราชธานีน้อยกว่าเมืองข้า หลวง ครั้นมีโอกาสเมืองประเทศราชมักแยกตนเป็นอิสระหรือไปขึ้นกับรัฐใหญ่อื่น ๆ ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองราชธานีกับเมืองประเทศราชเป็นเรื่องส่วนบุคคลที่ อาจอาศัยระบบเครือญาติหรือการเกื้อกูลกัน
 +
ภายใต้การปกครองที่อาศัยความสัมพันธ์ทางเครือญาติของรัฐ โบราณ เจ้าเมืองมักเป็นเชื้อพระวงศ์ที่กษัตริย์ส่งไปปกครองเมืองต่าง ๆ ลักษณะเช่นนี้คลี่คลายมาจากธรรมเนียมการสร้างบ้านแปลงเมือง ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงแรกเมื่อรัฐขยายตัวการปกครองแบบนี้เป็นการรวมตัวอย่าง หลวม ๆ ของเมืองต่าง ๆ ซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของอาณาจักรล้านนา เพราะลักษณะทางกายภาพอาณาจักรล้านนาเป็นรัฐในหุบเขา เมืองต่าง ๆ จะตั้งถิ่นฐานอยู่ตามหุบเขาซึ่งกระจายตัว ดังนั้นรัฐล้านนาจำเป็นต้องสร้างเสถียรภาพตลอดมา โดยให้เมืองต่าง ๆ ที่กระจายตัวตามหุบเขายอมรับอำนาจศูนย์กลาง ความพยายามจะปรับการปกครองรัฐในหุบเขาจากการใช้ระบบข้าหลวงหรือระบบเครือ ญาติ ซึ่งพึ่งพาความสัมพันธ์ส่วนบุคคลไปสู่ระบบข้าราชการที่เป็นสถาบันไม่ประสบ ความสำเร็จในล้านนา ปัญหาโครงสร้างรัฐแบบหลวม ๆ นี้เป็นข้อจำกัดอย่างอย่างหนึ่งที่นำไปสู่ความเสื่อมของอาณาจักรล้านนา
 +
 +
ประการที่สาม การรับวัฒนธรรมความเจริญ จากหริภุญชัย แคว้นหริภุญชัยมีความเจริญรุ่งเรืองในเขตที่ราบลุ่มน้ำปิงมาช้านาน เมื่อพญามังรายยึดครองหริภุญชัยสำเร็จ ได้นำความเจริญต่าง ๆ มาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาต่อไป เชื่อกันว่าอิทธิพลจากหริภุญชัยมีหลายอย่าง เช่น กฎหมายล้านนาอย่างมังรายศาสตร์คงรับความคิดมาจากกฎหมายธรรมศาสตร์ของมอญหริ ภุญชัย อย่างไรก็ตามหลังจากรับมาแล้ว รัฐล้านนาได้พัฒนาต่อไปมากเป็นลักษณะเฉพาะท้องถิ่น โดยเฉพาะตัวอักษรธรรมล้านนา หรือตัวเมืองมีต้นแบบมาจากอักษรมอญโบราณ ส่วนด้านศิลปวัฒนธรรมหริภุญชัยพบว่าได้รับรูปแบบสถาปัตยกรรมเจดีย์ทรงสี่ เหลี่ยม และเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม ซึ่งมักสร้างในสมัยราชวงศ์มังรายตอนต้น เช่น เจดีย์กู่คำ เวียงกุมกามรับอิทธิพลจากกู่กุด
 +
 +
อิทธิพลที่ชัดเจนมาก คือพระพุทธศาสนาของหริภุญชัย เพราะพระพุทธศาสนานิกายเดิมรับจากหริภุญชัยมีบทบาทในล้านนาสูง นับตั้งแต่พญามังรายยึดครองหริภุญชัย ได้รับพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทหริภุญชัย จนถึงสมัยพญากือนามีความคิดจะสถาปนานิกายรามัญวงศ์ โดยอาราธนาพระสุมนเถระจากสุโขทัยเข้ามาเผย แพร่พุทธศาสนาในล้านนา และในสมัยพญาสามฝั่งแกนได้เกิดนิกายสิงหล หรือลังกาวงศ์ใหม่มาจากลักกาอีกระลอกหนึ่ง พระพุทธศาสนาในล้านนาจึงมี 3 นิกายด้วยกัน อย่างไรก็ตามนิกายเดิมหรือนิกายพื้นเมืองที่ปริมาณพระภิกษุมากกว่านิกายอื่น พระพุทธศาสนาแนวหริภุญชัยมีบทบาทในล้านนาอย่างน้อยจนถึงสิ้นราชวงศ์มังราย
 +
 +
2. สมัยอาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรือง (พ.ศ. 1898 – 2068) ความ เจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนาพัฒนาการขึ้นอย่างเด่นชัดในราวกลางราชวงศ์ มังราย นับตั้งแต่สมัยพญากือนา (พ.ศ. 1898 – 1928) เป็นต้นมา และเจริญสูงสุดในสมัยพระเจ้าติโลกราชและพญาแก้วหรือพระเมืองแก้ว ซึ่งเป็นช่วงยุคทอง หลังจากนั้นอาณาจักรล้านนาก็เสื่อมลง
 +
 +
ตั้งแต่สมัยพญากือนา กิจการในพุทธศาสนาได้รับการสนับสนุนมาก เห็นได้จากการรับนิกายรามัญจากสุโขทัยเข้ามาเผยแผ่ในล้านนา ทรงสร้างวัดสวนดอกให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาของเมืองทางตนบน จึงมีพระสงฆ์ชาวล้านนาได้ให้ความสนใจศึกษาพระพุทธศาสนามากขึ้นตามลำดับ ซึ่งนำไปสู่การศึกษาที่ลึกซึ้ง โดยในสมัยพญาสามฝั่งแกนมีพระสงฆ์กลุ่มหนึ่งไปศึกษาพระพุทธศาสนาในลังกา แล้วกลับมาตั้งนิกายสิงหลหรือลังกาวงศ์ใหม่ มีศูนย์กลางที่วัดป่าแดงในเมืองเชียงใหม่ พระสงฆ์กลุ่มนี้ได้ไปเผยแพร่ศาสนายังเมืองต่าง ๆ ภายในอาณาจักรล้านนา ตลอดจนขยายไปถึงเชียงตุง เชียงรุ่ง สิบสองพันนา
 +
 +
พระสงฆ์ในนิกายรามัญและนิกายสิงหลขัดแย้ง กันในการตีความพระธรรมวินัยหลายอย่าง แต่ก็เป็นแรงผลักดันนำไปสู่การศึกษาค้นคว้า โดยเฉพาะพระสงฆ์ในนิกายสิงหลเน้นการศึกษาภาษาบาลี ทำให้ศึกษาพระธรรมได้ลึกซึ้ง ดังนั้นหลังจากการสถาปนานิกายใหม่แล้ว พระพุทธศาสนาในล้านนาเจริญเติบโตอย่างมาก โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าติโลกราชถึงสมัยพญาแก้ว ดังปรากฏการสร้างวัดวาอารามทั่วไปในล้านนาและผลจากภิกษุล้านนามีความรู้ความ สามารถสูง จึงเกิดการทำสังคายนาพระไตรปิฎกที่วัดเจ็ดยอด จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2020 สิ่งที่สำคัญในระยะนี้ คือการเขียนคัมภีร์ต่าง ๆ ทางพุทธศาสนา คัมภีร์จากล้านนาได้แพร่หลายไปสู่ดินแดนใกล้เคียง เช่น ล้านช้าง พม่า อยุธยา งานเขียนประวัติศาสตร์นิพนธ์ในล้านนาประเภทตำนาน แพร่หลายตามท้องถิ่นต่าง ๆ โดยอาศัยสำนึกประวัติศาสตร์ที่เป็นจารีตเดิม ประกอบกับได้รับอิทธิพลจากงานเขียนจากสำนักลังกาที่พระสงฆ์นำเข้ามา งานเขียนประวัติศาสตร์สกุลตำนานในยุคนี้มีมากมาย เช่น ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ พื้นเมืองน่าน ตำนานพระธาตุลำปางหลวง ตำนานมูลสาสนา จามเทวีวงศ์ และชินกาลมีปกรณ์ เป็นต้น
 +
 +
ผลงานวรรณกรรมพุทธศาสนาของพระสงฆ์ล้านนา ที่สำคัญได้แก่ พระโพธิรังสี แต่งจามเทวีวงศ์ และสิหิงคนิทาน รัตนปัญญาเถระ แต่งชินกาลมาลีปกรณ์ เป็นงานเขียนที่มีคุณค่าต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ล้านนา พระสิริมังคลาจารย์ แต่งวรรณกรรมหลายเรื่อง เช่น เวสสันดรทีปนี จักรวาลทีปนี สังขยาปกาสกฎีการ และมังคลัตถทีปนี พระพุทธเจ้าและพระพุทธพุกาม แต่งตำนางมูลสาสนา
 +
 +
นอกจากนั้นยังมีปัญญาสชาดก (ชากด 50 เรื่อง) ซึ่งไม่ปรากฏนามผู้แต่ง เข้าใจว่าในสมัยพญาแก้ว ปัญญาสชาดกเป็นงานวรรณกรรมพุทธศาสนาที่แต่งทำนองเลียนแบบชาดกในพระไตรปิฎก แต่มีเนื้อเรื่องไม่เหมือนกัน เพราะเป็นชาดกนอกไตรปิฎก ปัญญาสชาดกเป็นต้นกำเนิดของวรรณคดีไทยหลายเรื่อง เช่น สมุททโฆสชาดก (นำมาแต่งเป็นสมุทรโฆษคำฉันท์) สุธนชาดำ (นำมาแต่งเป็นบทละครเรื่องมโนราห์) ปัญญาสชาดกแพร่หลายมากไปถึงพม่า มีการแปลเป็นภาษาพม่าในสมัยพระเจ้าโพธพระยา เมื่อ พ.ศ. 2224 พ ม่าเรียกปัญญา สชาดกว่า ซิมแม่ปัณณาสชาดก (เชียงใหม่ปัณณาสชาดก)
 +
 +
ในช่วงสมัยรุ่งเรืองนี้พระพุทธศาสนาเจริญ ยิ่งดังปรากฏการสร้างวัดแพร่หลายทั่วไปในดินแดนล้านนา ตามหมู่บ้านต่าง ๆ ได้สร้างวัดเป็นศูนย์กลางชุมชน และตามเมืองมีวัดหนาแน่ดังพบว่า เขตเมืองเชียงใหม่มีวัดนับร้อยแห่ง ปริมาณวัดที่มากมายในยุครุ่งเรืองนั้นมีร่องรอยปรากฏเป็นวัดร้างมากมายใน ปัจจุบัน ความเจริญในพุทธศาสนายังได้สร้างถาวรวัตถุในพุทธศาสนา ซึ่งมีคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมล้านน้า วัดสำคัญ ได้แก่ วัดเจ็ดยอด วัดเจดีย์หลวง วัดพระสิงห์ วัดสวนดอก วัดบุพพาราม เป็นต้น การสร้างวัดมากมายนอกจากแสดงความเจริญในพระพุทธศาสนาแล้ว ยังสะท้อนความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของล้านนาในยุครุ่งเรืองด้วย
 +
 +
ในยุคเศรษฐกิจรุ่งเรือง ล้านนามีความมั่งคั่งด้วยความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ มีพัฒนาการร่วมไปกับความเจริญรุ่งเรืองโดยรวมของรัฐ เพราะพบว่านับตั้งแต่สมัยพญากือนาเป็นต้นมา การค้าระหว่างรัฐมีเครือข่ายก้าวขวางไปไกล ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ได้ สะท้อนการค้าว่ามีหมู่พ่อค้าเมืองเชียงใหม่ไปค้าขายถึงเมืองพุกาม ในยุคนั้นเมืองเชียงใหม่มีฐานะเป็นศูนย์กลางการค้าสำคัญ เพราะตำแหน่งที่ตั้งเมืองนั้นคุมเส้นทางการค้า คือ เมืองต่าง ๆ ที่อยู่ตอนบนขึ้นไป เช่น รัฐฉาน สิบสองพันนา เชียงแสนจะนำสินค้าผ่านสู่เมืองเชียงใหม่แล้วจึงผ่านไปเมื่ออื่น ๆ ที่อยู่ทางใต้และทางตะวันตก ดังนั้น จึงพบหลักฐานกล่าวถึงพ่อค้าจากทุกทิศมาค้าขายที่เชียงใหม่มีทั้งเงี้ยว ม่าน เม็ง ไทย ฮ่อ กุลา เมืองเชียงใหม่คงมีผลประโยชน์จากการเก็บภาษีสินค้าสูงทีเดียว สินค้าออกเชียงใหม่สู่ตลาดนานาชาติคือของป่า เมืองเชียงใหม่ทำหน้าที่รวบรวมสินค้าของป่าจากเมืองต่าง ๆ ทางตนบนแล้วส่งไปขายยังเมืองท่าทางตอนล่างในดินแดนกรุงศรีอยุธยาและหัวเมือง มอญ กษัตริย์มีบทบาทในการค้าของป่า โดยอาศัยการเก็บส่วยจากไพร่และให้เจ้าเมืองต่าง ๆ ในอาณาจักรส่งส่วนให้ราชธานี ด้วยพระราชอำนาจจึงออกกฎหมายบังคับให้ทุกคนในอาณาจักรนำส่วยสินค้าของป่ามา ถวาย รูปแบบการค้าของป่า คือกษัตริย์จะส่งข้าหลวงกำลับดูแลสินค้าชนิดต่าง ๆ เพราะพบตำแหน่งแสนน้ำผึ้ง ข้าหลวงดูแลการค้าส่วยน้ำผึ้ง และมีพ่อค้าจากอยุธยาเดินทางเข้าซื้อสินค้าในเมืองฮอด
 +
 +
ในยุคที่อาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรือง รัฐมีความเจริญทางการค้ามากและสภาพเศรษฐกิจดี จึงมีกองกำลังเข้มแข็งดังพบว่า ในยุคนี้อาณาจักรล้านนามีอำนาจสูงได้แผ่อิทธิพลออกไปอย่างกว้างขวาง เช่น เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ่ง เมืองยอง เมืองนาย เมืองน่าน และยังขยายอำนาจลงสู่ชายขอบรัฐอยุธยา ดังทำสงครามติดต่อกันหลายปีระหว่างพระเจ้าติโลกราชและพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งในครั้งนั้นทัพล้านนาสามารถยึดครองเมืองศรีสัชนาลัยได้
 +
 +
3. สมัยเสื่อมและอาณาจักรล้านนาล่มสลาย (พ.ศ. 2068 – 2101) ความเสื่อมของอาณาจักรล้านนาเกิดขึ้นในช่วงปลายสมัยราชวงศ์มังราย นับตั้งแต่พญาเกศเชษฐาราชขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2068 จนกระทั่งตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าใน พ.ศ. 2101 ข่วงเวลา 33 ปี ในช่วงเวลานั้นมีระยะหนึ่งที่ว่างเว้นไม่มีกษัตริย์ปกครองถึง 4 ปี (พ.ศ. 2091 – 2094) เพราะขุนนางขัดแย้งกันตกลงกันไม่ได้ว่าจะให้ใครเป็นกษัตริย์ กษัตริย์สมัยเสื่อมจะครองเมืองระยะสั้น ๆ การสิ้นรัชสมัยของกษัตริย์เกิดจากขุนนางจัดการปลงพระชนม์ หรือขุนนางปลดกษัตริย์ หรือกษัตริย์สละราชสมบัติ
 +
 +
ประการแรก การขยายอาณาเขตและสร้างความมั่นคงในอาณาจักร ในสมัยพญามังรายได้ผนวกเขลางคนครเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร เนื่องจากเขลางคนครมีความสัมพันธ์กับเมืองหริภุญชัยในฐานะบ้านพี่เมืองน้อง เมื่อยึดครองหริภุญชัยสำเร็จก็จำเป็นต้องรุกคืบต่อไปยังเขลางคนคร หลังจากนั้นความคิดขยายอาณาเขตไปยังทางด้านตะวันออกสู่เมืองพะเยาซึ่งเกิด ขึ้นในสมัยพญามังรายแล้ว แต่ติดขัดที่เป็นพระสหายกับพญางำเมือง เมืองพะเยาและเชียงใหม่มีความสัมพันธ์ฐานะเครือญาติในวงศ์ลวจังกราช เมืองพะเยาซึ่งเป็นรัฐเล็ก ต่อมาจึงถูกยึดครองสำเร็จในสมัยพญาคำฟู (พ.ศ. 1877 – 1879) การยึดครองพะเยาได้เป็นผลดีต่ออาณาจักรล้านนาเพราะนอกจากเมืองเชียงรายจะ ปลอดภัยจากพะเยาแล้ว เมืองพะเยายังเป็นฐานกาลังขยายไปสู่เมืองแพร่และเมืองน่านต่อไป ความคิดขยายอำนาจสู่เมืองแพร่มีในสมัยพญาคำฟูแต่ไม่ประสบความสำเร็จ แสดงให้เห็นว่าการรวมหัวเมืองล้านนาตะวันออก ซึ่งเป็นรัฐในหุบเขาไม่ใช่จะกระทำได้โดยง่าย เพราะกว่าจะรวมเมืองแพร่และเมืองน่านสำเร็จก็อยู่ในช่วงอาณาจักรล้านนามี ความเจริญสูงสุดในสมัยพระเจ้าติโลกราช
 +
 +
การสร้างความมั่นคงในเขต ทางตอนบนของอาณาจักรเด่นชัดในสมัยราชวงศ์มังรายตอนต้น ดังปรากฏว่าเมือสิ้นสมัยพญามังราย พญาไชยสงครามครองราชย์ต่อมา ได้เสด็จไปประทับที่เมืองเชียงราย ส่วนเมืองเชียงใหม่ให้โอรสครองเมืองลักษณะเช่นนี้มีสืบมาในสมัยพญาแสนพู และพญาคำฟู โดยสมัยพญาแสนพูสร้างเมืองเชียงแสนในบริเวณเมืองเงินยาง การสร้างเมืองเชียงแสนก็เพื่อป้องกันศึกทางด้านเหนือ เพราะเมืองเชียงแสนตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ใช้แม่น้ำโขงเป็นคูเมืองธรรมชาติ มีตัวเมืองกว้าง 700 วา ยาว 1,500 วา มีป้อมปราการ 8 แห่ง ที่ตั้งเมืองเชียงแสนคุมเส้นทางการคมนาคมเพราะเป็นช่องทางไปสู่เมืองต่าง ๆ เช่น เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ่ง เมืองนาย เมืองยอง เมืองเชียงแสนจึงเป็นศูนย์กลางของเมืองตอนบน หลังจากสร้างเมืองเชียงแสนแล้ว พญาแสนพูประทับที่เชียงแสนสืบต่อมาถึงสมัยพญาคำฟู สถานการณ์ทางการเมืองดีขึ้นเมื่อผนวกพะเยาเข้ากับอาณาจักรล้านนาในสมัยพญา คำฟู ส่วนเมืองเชียงตุงพญาผายูสถาปนาอำนาจอันมั่นคง โดยส่งเจ้าราชบุตรเจ็ดพันตูไปปกครองและพญาผายูสร้างความผูกพันโดยอภิเษก กับธิดาเจ้าเมืองเชียงของ การสร้างความมั่นคงเขตตอนบนมีเสถียรภาพพอสมควร ในสมัยพญาผายูจึงย้ายมาประทับที่เชียงใหม่ ให้เมืองเชียงราย เชียงแสนเป็นเมืองสำคัญทางตอนบน
 +
 +
ประการที่สอง การปกครองมีโครงสร้างแบ่งเป็น 3 เขต
 +
 +
1. บริเวณเมืองราชธานี ประกอบด้วยเมืองเชียงใหม่และลำพูน เนื่องจากทั้งสองเมืองตั้งอยู่ในแอ่งที่ราบเดียวกันและอยู่ใกล้กัน กษัตริย์จึงปกครองโดยตรง
 +
 +
2. บริเวณเมืองข้าหลวง อยู่ถัดจากเมืองราชธานีออกไป กษัตริย์จะแต่งตั้งข้าหลวงไปปกครอง เจ้าเมืองซึ่งเป็นข้าหลวงนี้ส่วนใหญ่เป็นเชื้อพระวงศ์ ขุนนางที่ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์ก็มีบ้าง แต่เป็นส่วนน้อย เมืองสำคัญจะปกครองโดยเจ้าเชื้อพระวงศ์ ที่ใกล้ชิด เช่น เมืองเชียงราย กษัตริย์มักส่งโอรสหรือพระอนุชาไปปกครองเมืองอุปราช เจ้าเมืองมีอำนาจสูงสุดในการจัดการภายในเมืองของตน เช่น การแต่งตั้งขุนนางตำแหน่งต่าง ๆ การจัดตั้งพันนา การค้าภายในเมือง การควบคุมกำลังไพร่ ความสัมพันธ์ระหว่างข้าหลวงและกษัตริย์เป็นเพียงความสัมพันธ์ส่วนบุคคล เมื่อเปลี่ยนรัชกาล ความสัมพันธ์ก็อาจเปลี่ยนไปด้วย
 +
 +
3. บริเวณเมืองประเทศราช เป็นเขตเจ้าต่างชาติต่างภาษา ปกครองตนเองตามประเพณีท้องถิ่น เมืองประเทศราชเป็นรัฐตามชายขอบล้านนา เช่น เมืองเชียงตุง เมืองนาย เมืองยอง เนื่องจากประเทศราชอยู่ห่างไกลจึงผูกพันกับเมืองราชธานีน้อยกว่าเมืองข้า หลวง ครั้นมีโอกาสเมืองประเทศราชมักแยกตนเป็นอิสระหรือไปขึ้นกับรัฐใหญ่อื่น ๆ ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองราชธานีกับเมืองประเทศราชเป็นเรื่องส่วนบุคคลที่ อาจอาศัยระบบเครือญาติหรือการเกื้อกูลกัน
 +
ภายใต้การปกครองที่อาศัยความสัมพันธ์ทางเครือญาติของรัฐ โบราณ เจ้าเมืองมักเป็นเชื้อพระวงศ์ที่กษัตริย์ส่งไปปกครองเมืองต่าง ๆ ลักษณะเช่นนี้คลี่คลายมาจากธรรมเนียมการสร้างบ้านแปลงเมือง ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงแรกเมื่อรัฐขยายตัวการปกครองแบบนี้เป็นการรวมตัวอย่าง หลวม ๆ ของเมืองต่าง ๆ ซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของอาณาจักรล้านนา เพราะลักษณะทางกายภาพอาณาจักรล้านนาเป็นรัฐในหุบเขา เมืองต่าง ๆ จะตั้งถิ่นฐานอยู่ตามหุบเขาซึ่งกระจายตัว ดังนั้นรัฐล้านนาจำเป็นต้องสร้างเสถียรภาพตลอดมา โดยให้เมืองต่าง ๆ ที่กระจายตัวตามหุบเขายอมรับอำนาจศูนย์กลาง ความพยายามจะปรับการปกครองรัฐในหุบเขาจากการใช้ระบบข้าหลวงหรือระบบเครือ ญาติ ซึ่งพึ่งพาความสัมพันธ์ส่วนบุคคลไปสู่ระบบข้าราชการที่เป็นสถาบันไม่ประสบ ความสำเร็จในล้านนา ปัญหาโครงสร้างรัฐแบบหลวม ๆ นี้เป็นข้อจำกัดอย่างอย่างหนึ่งที่นำไปสู่ความเสื่อมของอาณาจักรล้านนา
 +
 +
ประการที่สาม การรับวัฒนธรรมความเจริญ จากหริภุญชัย แคว้นหริภุญชัยมีความเจริญรุ่งเรืองในเขตที่ราบลุ่มน้ำปิงมาช้านาน เมื่อพญามังรายยึดครองหริภุญชัยสำเร็จ ได้นำความเจริญต่าง ๆ มาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาต่อไป เชื่อกันว่าอิทธิพลจากหริภุญชัยมีหลายอย่าง เช่น กฎหมายล้านนาอย่างมังรายศาสตร์คงรับความคิดมาจากกฎหมายธรรมศาสตร์ของมอญหริภุญชัย อย่างไรก็ตามหลังจากรับมาแล้ว รัฐล้านนาได้พัฒนาต่อไปมากเป็นลักษณะเฉพาะท้องถิ่น โดยเฉพาะตัวอักษรธรรมล้านนา หรือตัวเมืองมีต้นแบบมาจากอักษรมอญโบราณ ส่วนด้านศิลปวัฒนธรรมหริภุญชัยพบว่าได้รับรูปแบบสถาปัตยกรรมเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยม และเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม ซึ่งมักสร้างในสมัยราชวงศ์มังรายตอนต้น เช่น เจดีย์กู่คำ เวียงกุมกามรับอิทธิพลจากกู่กุด
 +
 +
อิทธิพลที่ชัดเจนมาก คือพระพุทธศาสนาของหริภุญชัย เพราะพระพุทธศาสนานิกายเดิมรับจากหริภุญชัยมีบทบาทในล้านนาสูง นับตั้งแต่พญามังรายยึดครองหริภุญชัย ได้รับพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทหริภุญชัย จนถึงสมัยพญากือนามีความคิดจะสถาปนานิกายรามัญวงศ์ โดยอาราธนาพระสุมนเถระจากสุโขทัยเข้ามาเผย แพร่พุทธศาสนาในล้านนา และในสมัยพญาสามฝั่งแกนได้เกิดนิกายสิงหล หรือลังกาวงศ์ใหม่มาจากลังกาอีกระลอกหนึ่ง พระพุทธศาสนาในล้านนาจึงมี 3 นิกายด้วยกัน อย่างไรก็ตามนิกายเดิมหรือนิกายพื้นเมืองที่ปริมาณพระภิกษุมากกว่านิกายอื่น พระพุทธศาสนาแนวหริภุญชัยมีบทบาทในล้านนาอย่างน้อยจนถึงสิ้นราชวงศ์มังราย
 +
ปัจจัยความเสื่อมสลาย เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของรัฐในหุบเขา ที่ทำให้เมืองต่าง ๆ ในอาณาจักรมีโอกาสแยกตัวเป็นอิสระ เมืองราชธานีจึงพยายามสร้างเสถียรภาพให้ศูนย์กลางมีความเข้มแข็งตลอดมา โดยกษัตริย์อาศัยการสร้างสายสัมพันธ์กับเจ้าเมืองต่าง ๆ ในระบบเครือญาติ ซึ่งระบบนี้ใช้ได้ในระยะแรก ในที่สุดเมื่อรัฐขยายขึ้นจำเป็นต้องสร้างระบบราชการที่มีประสิทธิภาพแทนที่ ระบบเครือญาติ อาณาจักรล้านนาสถาปนาระบบราชการไม่ได้ รัฐจึงอ่อนแอและเสื่อมสลายลง ในช่วงนี้สถาบันกษัตริย์อ่อนแอลง ขุนนางมีอำนาจเพิ่มพูน นอกจากนั้นขุนนางยังขัดแย้งกัน โดยแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือขุนนางเมืองราชธานีและขุนนางหัวเมือง แย่งชิงความเป็นใหญ่ ต่างสนับสนุนคนของตนเป็นกษัตริย์ ปัญหาการเมืองภายในล้านนาที่แตกแยกอ่อนแอมีผลต่อเศรษฐกิจ เพราะช่วงนั้นเศรษฐกิจตกต่ำมาก ความเสื่อภายในล้านนาเป็นปัญหาพื้นฐานสำคัญ และมีปัจจัยภายนอกคือการขยายอำนาจของราชวงศ์ตองอูเป็นตัวเร่งให้อาณาจักร ล้านนาล่มสลายลง ในพ.ศ. 2101อ้างอิงจาก http://www.openbase.in.th/node/6405

รุ่นปรับปรุงเมื่อ 02:20, 24 พฤศจิกายน 2559

อาณาจักรโบราณสู่การก่อตัวของรัฐสยาม จากอดีตถึงปัจจุบัน

1.1 ยุคอาณาจักรโบราณ

ประเทศไทยในปัจจุบัน ได้มีผู้คนหลายเผ่าพันธุ์ตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์สืบต่อเนื่องมาตามลำดับ นับเป็นระยะเวลาหลายพันปีมาแล้วโดยเริ่มจากชุมชนหมู่บ้านที่กระจายอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำและบนที่ราบสูงมารวมตัวกันเป็นเมือง มีการติดต่อค้าขายกับชุมชนอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอก กลายเป็นเมืองท่าค้าขาย มีผู้คนย้ายมาตั้งถิ่นฐานมากขึ้น และได้มีพัฒนาเป็นอาณาจักร ตลอดจนได้ขยายอำนาจครอบคลุมอำนาจอื่น ต่างชิงความเป็นใหญ่ และตั้งเป็นอาณาจักรของตนเอง ได้แก่ อาณาจักรตามพรลิงค์ อาณาจักรโคตรบูร อาณาจักรขอม อาณาจักรทวารวดี อาณาจักรละโว้ อาณาจักรศรีวิชัย อาณาจักรเงินยางเชียงแสน อาณาจักรล้านนา อาณาจักรหริภุญชัย อาณาจักรอโยธยา และอาณาจักรสุพรรณภูมิ

1.1.1 อาณาจักรโบราณในภาคเหนือ

1.1.1.1 อาณาจักรโยนกเชียงแสน

อาณาจักรโยนกเชียงแสน (พุทธศตวรรษที่ 12 – 16) เป็นอาณาจักรเก่าแก่ของชนชาติไทยมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 13ตั้งอยู่บริเวณภาคเหนือของประเทศไทย ปัจจุบันคืออำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นสถานที่ตั้งถิ่นฐานครังแรกหลังจากที่ชนชาติไทยได้อพยพหนีการรุกรานของจีนลงมา โดยพระเจ้าสิงหนวัติ โอรสของพระเจ้าพีล่อโก๊ะได้เป็นผู้ก่อตั้งอาณาจักรโยนกเชียงแสนหรือโยนกนาคนครขึ้น นับเป็นอาณาจักรทีมีความยิ่งใหญ่และสง่างาม จนถึงสมัยของพระเจ้าพังคราช จึงตกอยู่ภายใต้อารยธรรมและการปกครองของพวก “ลอม” หรือ “ขอมดำ” ซึ่งเป็นชนชาติที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ ก่อนที่จะมีการก่อตั้งอาณาจักรโยนกเชียงแสน ได้เข้ายึดครองโยนกเชียงแสน ในสมัยของพระเจ้าพรหม โอรสของพระเจ้าพังคราช ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่เป็นนักรบและมีความกล้าหาญ ได้ทำการต่อต้านพวกขอม ไม่ยอมส่งส่วย เมื่อขอมยกกองทัพมาปราบปรามก็ได้โจมตีขับไล่กองทัพขอมแตกพ่ายไป และยังได้แผ่อิทธิพลขยายอาณาเขตเข้าไปในดินแดนของขอม ยึดไปถึงเมืองเชลียงและล้านนา ล้านช้าง แล้วอัญเชิญพระเจ้าพรหม พระราชบิดาให้กลับมาครองเมืองโยนกเชียงแสนเหมือนเดินแล้วได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่เป็นเมืองชัยบุรี ส่วนพระเจ้าพรหมได้เสด็จไปสร้างเมืองใหม่ทางใต้ของโยนกเชียงแสน คือเมืองชัยปราการ ให้พระเชษฐาคือ เจ้าทุกขิตราชเป็นพระอุปราชปกครองเมือง นอกจากนั้นยังได้สร้างเมืองอื่นๆ ขึ้นอีก เช่น ชัยนารายณ์ นครพางคำ เมื่อสิ้นสมัยพระเจ้าพังคราช พระเจ้าทุกขิตราชก็ได้ขึ้นครองเมืองชัยบุรี (โยนกเชียงแสน) ส่วนพระเจ้าพรหมและโอรสของพระองค์ได้ครองเมืองชัยปราการในสมัยต่อมา และเป็นระยะเวลาที่พวกขอมเริ่มเสื่อมอำนาจลง เมื่อหมดสมัยของพระเจ้าพรหมเป็นต้นไป อาณาจักรโยนกเชียงแสนเริ่มเสื่อมอำนาจลง กษัตริย์ล้วนอ่อนแอหย่อนความสามารถ จนถึง พ.ศ. 1731พวกมอญก็ได้ยกทัพเข้ายึดครอบครองอาณาจักรขอม และได้แผ่อำนาจเข้ายึดเมืองโยนกเชียงแสน ซึ่งขณะนั้นมีพระเจ้าชัยศิริ โอรสของพระเจ้าพรหมเป็นกษัตริย์ปกครอง พระเจ้าชัยศิริไม่สามารถต่อต้านกองทัพมอญได้ จึงพากันเผาเมืองทิ้งเพื่อไม่ให้เป็นที่พำนักและเสบียงอาหารแก่พวกมอญแล้วพากันอพยพลงมาทางใต้ จนมาถึงเมืองร้าง้แห่งหนึ่งในแขวงเมืองกำแพงเพชร ชื่อเมืองแปป ได้อาศัยอยู่ที่เมืองแปประยะหนึ่งเห็นว่าชัยภูมิไม่สู้เหมาะเพราะอยู่ใกล้ขอม จึงได้อพยพลงไปทางใต้จนถึงถึงเมืองนครปฐมจึงได้สร้างเมืองนครปฐมและพำนักอยู่ ณ ที่นั้น

ส่วนกองทัพมอญ หลังจากรุกรานเมืองชัยปราการแล้ว ก็ได้ยกล่วงเลยตลอดไปถึงเมืองอื่นๆ ในแคว้นโยนกเชียงแสน จึงทำให้พระญาติของพระเจ้าชัยศิริซึ่งครองเมืองชัยบุรี ต้องอพยพหลบหนีข้าศึกเช่นกัน ปรากฏว่าเมืองชัยบุรีนั้นเกิดน้ำท่วม บรรดาเมืองในแคว้นโยนกต่างก็ถูกทำลายลงหมด พวกมอญเห็นว่าหากเข้าไปตั้งอยู่ก็อาจเสียแรง เสียเวลา และทรัพย์สินเงินทอง เพื่อที่จะสถาปนาขึ้นมาใหม่ พวกมอญจึงยกทัพกลับ เป็นเหตุให้เมืองโยนกเชียงแสนขาดผู้ปกครองอยู่ระยะหนึ่ง

ในระยะที่ฝ่ายไทยกำลังระส่ำระสายอยู่นี้ เป็นโอกาสให้ขอมซึ่งมีราชธานีอยู่ที่เมืองละโว้ ถือสิทธิ์เข้าครอบครองแคว้นโยนกเชียงแสน แล้วบังคับให้คนไทยที่ตกค้างอยู่นั้นให้ส่งส่วยแก่ขอม ความเสื่อมสลายของอาณาจักรโยนกเชียงแสนครั้งนี้ ทำให้ชาวไทยต้องอพยพย้ายกันลงมาเป็นสองสายคือ สายของพระเจ้าชัยศิริ อพยพลงมาทางใต้ และได้อาศัยอยู่ชั่วคราวที่เมืองแปป ส่วนสายของพระเจ้าชัยบุรีได้แยกออกไปทางตะวันออกของสุโขทัย จนมาถึงเมืองนครไทย จึงได้เข้าไปตั้งรกรากอยู่ ณ เมืองนั้นด้วยเห็นว่าเป็นเมืองที่มีชัยภูมิเหมาะสม เพราะเป็นเมืองใหญ่ และตั้งอยู่สุดเขตของขอมทางเหนือ ผู้คนในเมืองนั้นส่วนใหญ่ก็เป็นชาวไทย อย่างไรก็ตามในช่วงแรกที่เข้าไปตั้งเมืองอยู่นั้น ก็ต้องยอมอ่อนน้อมต่อขอม ซึ่งขณะนั้นยังคงเรืองอำนาจอยู่

ในเวลาต่อมาเมื่อคนไทยอพยพลงมาจากน่านเจ้าเป็นจำนวนมาก ทำให้นครไทยมีกำลังผู้คนมากขึ้น ข้างฝ่ายอาณาจักรโยนกเชียงแสนนั้น เมื่อพระเจ้าชัยศิริทิ้งเมืองลงมาทางใต้ ก็เป็นเหตุให้ดินแดนแถบนั้นว่างผู้ปกครอง และระยะต่อมาชาวไทยที่ยังคงเหลืออยู่ในอาณาจักรโยนกเชียงแสนได้รวมตัวกันตั้งเมืองขี้นหลายแห่งตั้งเป็นอิสระแก่กัน บรรดาหัวเองต่างๆ ที่เกิดขึ้นในครั้งนั้นนับว่าสำคัญ มีอยู่สามเมืองด้วยกัน คือ นครเงินยาง อยู่ทางเหนือ นครพะเยา อยู่ตอนกลาง และเมืองหริภุญไชย อยู่ทางใต้ ส่วนเมืองนครไทยนั้นด้วยเหตุที่ว่ามีที่ตั้งอยู่ปลายทางการอพยพ และอาศัญที่มีราชวงศ์เชื้อสายโยนกอพยพมาอยู่ที่เมืองนี้ จึงเป็นทีนิยมของชาวไทยมากกว่า เมื่อบรรดาชาวไทยเกิดความคิดที่จะสลัดแอกจากขอมครั้งนี้ บุคคลสำคัญในการนี้คือ พ่อขุนบางกลางท่าว ซึ่งเป็นเจ้าเมืองบางยาง และพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองตราด ได้ร่วมกำลังกัน ยกขึ้นไปโจมตีขอม จนได้เมืองสุโขทัยอันเป็นเมืองหน้าด่านของขอมไว้ได้ เมื่อปี พ.ศ. 1800 การชัยใน ครังนี้นับว่าเป็นนิมิตหมายเบื้องต้นแห่งความเจริญรุ่งเรืองของชนชาติไทย และเป็นลางร้ายแห่งความเสื่อมโทรมของขอม เพราะนับแต่นั้นเป็นต้นมาอาณาจักรขอมก็เริ่มเสื่อมอำนาจลง จนสิ้นสุดอำนาจไปจากบริเวณนี้

ต่อมาเมืองโยนกเชียงแสน (เมืองชัยบุรี) เกิดน้ำท่วม บรรดาเมืองในแคว้นโยนกเชียงแสนต่างๆ ก็ถูกทำลายลงหมด พวกมอญเห็นว่าหากจะเข้าไปบูรณะซ่อมแซม ปฎิสังขรเมืองใหม่ จะสิ้นเปลืองเงินทองจำนวนมาก จึงได้พากันยกทัพกลับ เป็นเหตุให้เมืองโยนกเชียงแสน (ชัยบุรี) ขาดกษัตริย์ปกครอง ทำให้อำนาจ และอารยธรรมเริ่มเสื่อมลง ชนชาติไทยในโยนกเชียงแสนจึงได้พากันอพยพลงมาทางตอนใต้ แล้วได้สร้างอาณาจักรใหม่ขึ้นคือ อาณาจักรล้านนา ซึ่งต่อมาได้เจริญเติบโตขึ้นเป็นอาณาจักร

1.1.1.2 อาณาจักรหริภุญชัย

อาณาจักรหริภุญชัย หรือ หริภุญไชย เป็นอาณาจักรมอญ[1]ที่ตั้งอยู่บริเวณภาคเหนือของประเทศไทยปัจจุบัน ตำนานจามเทวีวงศ์โบราณได้บันทึกไว้ว่า ฤๅษีวาสุเทพเป็นผู้สร้างเมืองหริภุญชัยขึ้นในปี พ.ศ. 1310 แล้วทูลเชิญพระนางจามเทวี ซึ่งเป็นเจ้าหญิงจากอาณาจักรละโว้ ขึ้นมาครองเมืองหริภุญชัย ในครั้งนั้นพระนางจามเทวีได้นำพระภิกษุ นักปราชญ์ และช่างศิลปะต่าง ๆ จากละโว้ขึ้นไปด้วยเป็นจำนวนมากราวหมื่นคน พระนางได้ทำนุบำรุงและก่อสร้างบ้านเมือง ทำให้เมืองหริภุญชัย (ลำพูน) นั้นเป็นแหล่งศิลปวัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรืองยิ่ง ต่อมาพระนางได้สร้างเขลางค์นคร (ลำปาง) ขึ้นอีกเมืองหนึ่งให้เป็นเมืองสำคัญ สมัยนั้นปรากฏมีการใช้ภาษามอญโบราณในศิลาจารึกของหริภุญชัย มีหนังสือหมานซูของจีนสมัยราชวงศ์ถัง กล่าวถึงนครหริภุญชัยไว้ว่าเป็น “อาณาจักรของสมเด็จพระราชินีนาถ”

ต่อมา พ.ศ. 1824 พญามังรายมหาราชผู้สถาปนาอาณาจักรล้านนา ได้ยกกองทัพเข้ายึดเอาเมืองหริภุญชัยจากพญายีบาได้ ต่อจากนั้นอาณาจักรหริภุญชัยจึงสิ้นสุดลงหลังจากรุ่งเรืองมา 618 ปี มีพระมหากษัตริย์ครองเมือง 49 พระองค์

ปัจจุบัน โบราณสถานสำคัญของอาณาจักรหริภุญชัยคือพระธาตุหริภุญไชย ที่จังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นบริเวณที่สันนิษฐานว่าเป็นราชธานีในสมัยนั้น และยังมีเมืองโบราณเวียงมโน ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ โบราณสถานที่เวียงเกาะ บ้านสองแคว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และเวียงท่ากาน ที่ตำบลบ้านกลาง ต.สันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ บางหมู่บ้านของจังหวัดลำพูนนั้นพบว่า ยังมีคนพูดภาษามอญโบราณและอนุรักษ์วัฒนธรรมอาณาจักรมอญโบราณอยู่


1.1.1.3 อาณาจักรล้านนา

ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ดินแดนล้านนาได้พัฒนาการจากแว่นแคว้น – นครรัฐมาสู่รัฐแบบอาณาจักร มีเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง รัฐแบบอาณาจักรสถาปนาอำนาจโดยรวบรวมแว่นแคว้น – นครรัฐมาไว้ด้วยกัน อาณาจักรล้านนาเริ่มก่อรูปโดยการรวมแคว้นโยนกและแคว้นหริภุญชัย หลังจากนั้นก็ขยายอาณาจักรไปสู่ดินแดนใกล้เคียง ได้แก่ เมืองเชียงตุง เมืองนายในเขตรัฐฉาน และขยายสู่เมืองเขลางคนคร เมืองพะเยา ในยุคที่อาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรืองสามารถขยายอำนาจไปสู่เมืองแพร่และ เมืองน่านตลอดจนรัฐฉานและสิบสองพันนา

ในพุทธศตวรรษที่ 19 เกิดปรากฏการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของภูมิภาคนี้ คือการสลายตัวของรัฐโบราณที่เคยรุ่งเรืองมาก่อน ดังเช่น กัมพูชา ทวารวดี หริภุญชัย และพุกาม การเสื่อมสลายของรัฐโบราณเปิดโอกาสให้เกิดการสถาปนาอาณาจักรใหม่ของชนชาติ ไทยที่ผู้นำ ใช้ภาษาและวัฒนธรรมไทย อาณาจักรใหม่ที่เกิดขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 19 ที่สำคัญคือ ล้านนา สุโขทัย และอยุธยา อาณาจักรทั้งสามมีความเชื่อในพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทนิกายลังกาวงศ์เช่นเดียว กัน ความเชื่อดังกล่าวสร้างความสัมพันธ์ต่อกัน ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการแข่งสร้างบุญบารมีของกษัตริย์ จึงนำไปสู่การทำสงครามระหว่างอาณาจักร รัฐสุโขทัยสลายลงก่อน โดยถูกผนวกกับอยุธยา หลังจากนั้นสงครามระหว่างอยุธยาและล้านนามีอย่างต่อเนื่อง สงครามครั้งสำคัญอยู่ในสมัยของพระเจ้าติโลกราชและพระบรมไตรโลกนาถ

ประวัติศาสตร์ล้านนาใน สมัยรัฐอาณาจักรแบ่งตามพัฒนาการเป็น 3 สมัย คือสมัยสร้างอาณาจักร สมัยอาณาจักรเจริญรุ่งเรือง และสมัยเสื่อมและการล่มสลาย

1. สมัยสร้างอาณาจักร (พ.ศ. 1939 – 1989) การก่อตั้งอาณาจักรล้านนา เป็นผลจากการรวมแคว้นหริภุญชัยกับแคว้นโยน แล้วสถาปนาเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางอาณาจักรพญามังรายปฐมกษัตริย์เริ่ม ขยายอำนาจตั้งแต่ พ.ศ. 1804 ซึ่งเป็นปีแรกที่เสวยราชย์ในเมืองเงินยาง ปีแรกที่พญามังรายครองเมืองเงินยางนั้น ปรากฏว่าเมืองต่าง ๆ ในเขตลุ่มแม่น้ำกกแตกแยกกัน มีการแย่งชิงพลเมืองและรุกรานกันอยู่เสมอ สร้างความเดือดร้อนแก่คนทั่วไป พญามังรายจึงรวบรวมหัวเมืองน้อยมาไว้ในพระราชอำนาจ โดยอ้างถึงสิทธิธรรมที่พระองค์สืบเชื้อสายโดยตรงจากปู่เจ้าลาวจง และพระองค์ได้รับน้ำมุรธาภิเษกและได้เครื่องราชาภิเษกเป็นต้นว่า ดาบไชย หอก และมีดสรีกัญไชย สิ่งเหล่านี้เป็นของปู่เจ้าลาวจง ซึ่งตกทอดมายังกษัตริย์ราชวงศ์ลาวทุกพระองค์ พญามังรายอ้างว่าเจ้าเมืองอื่น ๆ นั้นสืบสายญาติพี่น้องกับราชวงศ์ลาวที่ห่างออกไป ดังนั้นจึงไม่มีโอกาสผ่านพิธีมุรธาภิเษกและได้เครื่องราชาภิเษกเหมือนพระองค์ วิธีการที่พญามังราย รวบรวมหัวเมืองมีหลายวิธี เช่น ยกทัพไปตี ในกรณีที่เจ้าเมืองนั้นไม่ยอมสวามิภักดิ์ ได้แก่ เมืองมอบ เมืองไล่ เมืองเชียงคำ เมืองเหล่านี้เมื่อตีได้ จะให้ลูกขุนปกครอง ส่วนเมืองที่ยอมสวามิภักดิ์ พญามังรายคงให้เจ้าเมืองปกครองต่อไป นอกจากนั้นยังใช้วิธีเป็นพันธมิตรกับพญางำเมือง ซึ่งพญางำเมืองได้มอบที่ให้จำนวนหนึ่ง มี 500 หลังคาเรือน เป็นต้น

หลังจากรวบรวมหัวเมือง ใกล้เคียงเมืองเงินยางได้แล้ว พญามังรายก็ย้ายศูนย์กลางลงมาทางใต้ โดยสร้างเมืองเชียงรายใน พ.ศ. 1805 และสร้างเมืองฝาง พ.ศ. 1816 จากนั้นพญามังรายได้รวบรวมเมืองต่าง ๆ บริเวณต้นแม่น้ำกก แม่น้ำอิง และริมแม่น้ำโขง พญามังรายสามารถรวบรวมเมืองต่าง ๆ (ซึ่งต่อมาคือเขตตอนบนของอาณาจักรล้านนา) สำเร็จประมาณ พ.ศ. 1830 ซึ่งเป็นปีที่พญามังราย พญางำเมืองและพ่อขุนรามคำแหง ทำสัญญามิตรภาพต่อกัน ผลของสัญญามี 2ประการ ประการแรกคงมีส่วนทำให้พญามังรายมั่นใจว่าการขยายอำนาจลงสู่แม่น้ำปิง เพื่อผนวกแคล้นหริภุญชัยจะไม่ได้รับการจัดขวางจากพญางำเมืองและพ่อขุนราม คำแหง ประการที่สอง สามกษัตริย์ร่วมมือกันป้องกันภัยอันตรายจากมองโกลซึ่งกำลังขยายอำนาจลงมาใน ภูมิภาคนี้

เมื่อพญามังรายรวบรวม เมืองต่าง ๆ ในเขตทางตอนบนแถบลุ่มแม่น้ำปิงตอนบน โดยยึดครองแคว้นหริภุญชัยได้ในราว พ.ศ. 1835 พญามังรายประทับที่หริภุญชัยเพียง 2 ปี ก็พบว่าไม่เหมาะที่จะเป็นเมืองหลวงของอาณาจักร พญามังรายจึงทรงย้ายมาสร้างเวียงกุมกาม ความเหมาะสมของนครเชียงใหม่ คือตัวเมืองตั้งอยู่ระหว่างที่ราบลุ่มน้ำปิงและดอยสุเทพ พื้นที่ลาดเทจากดอยสุเทพสู่น้ำปิง ทำให้สายน้ำจากดอยสุเทพไหลมาหล่อเลี้ยงเมืองเชียงใหม่ตลอดเวลา เมืองเชียงใหม่จึงมีน้ำอุดมสมบูรณ์

การก่อตั้งเมือง เชียงใหม่หรือนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ใน พ.ศ. 1839 มีเป้าหมายเพื่อให้เป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความสืบเนื่อง ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางอาณาจักรล้านนา ทั้งทางการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ด้วยเหตุนี้จึงให้ความสำคัญต่อเมืองเชียงใหม่เป็นพิเศษ นับตั้งแต่พยายามเลือกทำเลที่ตั้ง การวางผังเมือง และการสร้างสิทธิธรรม การสร้างเมืองเชียงใหม่ถือเป็นความสำเร็จอย่างสูง เพราะเชียงใหม่ได้รับการยอมรับในฐานะศูนย์กลางดินแดนล้านนาตลอดมา ครั้นฟื้นฟูบ้านเมืองได้ในสมัยราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน พระเจ้ากาวิละซึ่งตั้งมั่นอยู่ที่เวียงป่าซาง 14 ปี ก็ยังเลือกเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางล้านนา เชียงใหม่จึงเป็นศูนย์กลางความเจริญในภาคเหนือสืบมาถึงปัจจุบัน การสร้างเมืองเชียงใหม่ พญามังรายเชิญพญางำเมืองและพ่อขุนรามคำแหงมาร่วมกันพิจาณาทำเลที่ตั้ง พญาทั้งสองก็เห็นด้วยและช่วยดูแลการสร้างเมืองเชียงใหม่ ด้วยเหตุที่พ่อขุนรามคำแหงมาร่วมสร้างเมืองเชียงใหม่ ทำให้ผังเมืองเชียงใหม่ได้รับอิทธิพลจากสุโขทัย เมื่อแรกสร้างกำแพงเมืองมีขนาดกว้าง 900 วา ยาว 1,000 วา และขุดคูน้ำกว้าง 9 วา กำแพงเมืองเชียงใหม่ปรับเปลี่ยนไปตามกาลสมัย ปัจจุบันเปลี่ยนรูปสี่เหลี่ยมยาวด้านละ 1,600 เมตร

ในสมัยอาณาจักรเป็นช่วง สร้างความเข้มแข็งอยู่ในสมัยราชวงศ์มังรายตอนต้น มีกษัตริย์ปกครอง 5 พระองค์ ได้แก่ พญามังราย พญาไชยสงคราม พญาแสนพู พญาคำฟู และพญาผายู การสร้างความเข้มแข็งในช่วงต้นนี้สรุปได้ 3 ประการ

ประการแรก การขยายอาณาเขตและสร้างความมั่นคงในอาณาจักร ในสมัยพญามังรายได้ผนวกเขลางคนครเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร เนื่องจากเขลางคนครมีความสัมพันธ์กับเมืองหริภุญชัยในฐานะบ้านพี่เมืองน้อง เมื่อยึดครองหริภุญชัยสำเร็จก็จำเป็นต้องรุกคืบต่อไปยังเขลางคนคร หลังจากนั้นความคิดขยายอาณาเขตไปยังทางด้านตะวันออกสู่เมืองพะเยาซึ่งเกิด ขึ้นในสมัยพญามังรายแล้ว แต่ติดขัดที่เป็นพระสหายกับพญางำเมือง เมืองพะเยาและเชียงใหม่มีความสัมพันธ์ฐานะเครือญาติในวงศ์ลวจังกราช เมืองพะเยาซึ่งเป็นรัฐเล็ก ต่อมาจึงถูกยึดครองสำเร็จในสมัยพญาคำฟู (พ.ศ. 1877 – 1879) การยึดครองพะเยาได้เป็นผลดีต่ออาณาจักรล้านนาเพราะนอกจากเมืองเชียงรายจะ ปลอดภัยจากพะเยาแล้ว เมืองพะเยายังเป็นฐานกาลังขยายไปสู่เมืองแพร่และเมืองน่านต่อไป ความคิดขยายอำนาจสู่เมืองแพร่มีในสมัยพญาคำฟูแต่ไม่ประสบความสำเร็จ แสดงให้เห็นว่าการรวมหัวเมืองล้านนาตะวันออก ซึ่งเป็นรัฐในหุบเขาไม่ใช่จะกระทำได้โดยง่าย เพราะกว่าจะรวมเมืองแพร่และเมืองน่านสำเร็จก็อยู่ในช่วงอาณาจักรล้านนามี ความเจริญสูงสุดในสมัยพระเจ้าติโลกราช

การสร้างความมั่นคงในเขต ทางตอนบนของอาณาจักรเด่นชัดในสมัยราชวงศ์มังรายตอนต้น ดังปรากฏว่าเมือสิ้นสมัยพญามังราย พญาไชยสงครามครองราชย์ต่อมา ได้เสด็จไปประทับที่เมืองเชียงราย ส่วนเมืองเชียงใหม่ให้โอรสครองเมืองลักษณะเช่นนี้มีสืบมาในสมัยพญาแสนพู และพญาคำฟู โดยสมัยพญาแสนพูสร้างเมืองเชียงแสนในบริเวณเมืองเงินยาง การสร้างเมืองเชียงแสนก็เพื่อป้องกันศึกทางด้านเหนือ เพราะเมืองเชียงแสนตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ใช้แม่น้ำโขงเป็นคูเมืองธรรมชาติ มีตัวเมืองกว้าง 700 วา ยาว 1,500 วา มีป้อมปราการ 8 แห่ง ที่ตั้งเมืองเชียงแสนคุมเส้นทางการคมนาคมเพราะเป็นช่องทางไปสู่เมืองต่าง ๆ เช่น เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ่ง เมืองนาย เมืองยอง เมืองเชียงแสนจึงเป็นศูนย์กลางของเมืองตอนบน หลังจากสร้างเมืองเชียงแสนแล้ว พญาแสนพูประทับที่เชียงแสนสืบต่อมาถึงสมัยพญาคำฟู สถานการณ์ทางการเมืองดีขึ้นเมื่อผนวกพะเยาเข้ากับอาณาจักรล้านนาในสมัยพญา คำฟู ส่วนเมืองเชียงตุงพญาผายูสถาปนาอำนาจอันมั่นคง โดยส่งเจ้าราชบุตรเจ็ดพันตูไปปกครองและพญาผายูสร้างความผูกพันโดยอภิเษก กับธิดาเจ้าเมืองเชียงของ การสร้างความมั่นคงเขตตอนบนมีเสถียรภาพพอสมควร ในสมัยพญาผายูจึงย้ายมาประทับที่เชียงใหม่ ให้เมืองเชียงราย เชียงแสนเป็นเมืองสำคัญทางตอนบน

ประการที่สอง การปกครองมีโครงสร้างแบ่งเป็น 3 เขต

1. บริเวณเมืองราชธานี ประกอบด้วยเมืองเชียงใหม่และลำพูน เนื่องจากทั้งสองเมืองตั้งอยู่ในแอ่งที่ราบเดียวกันและอยู่ใกล้กัน กษัตริย์จึงปกครองโดยตรง

2. บริเวณเมืองข้าหลวง อยู่ถัดจากเมืองราชธานีออกไป กษัตริย์จะแต่งตั้งข้าหลวงไปปกครอง เจ้าเมืองซึ่งเป็นข้าหลวงนี้ส่วนใหญ่เป็นเชื้อพระวงศ์ ขุนนางที่ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์ก็มีบ้าง แต่เป็นส่วนน้อย เมืองสำคัญจะปกครองโดยเจ้าเชื้อพระวงศ์ ที่ใกล้ชิด เช่น เมืองเชียงราย กษัตริย์มักส่งโอรสหรือพระอนุชาไปปกครองเมืองอุปราช เจ้าเมืองมีอำนาจสูงสุดในการจัดการภายในเมืองของตน เช่น การแต่งตั้งขุนนางตำแหน่งต่าง ๆ การจัดตั้งพันนา การค้าภายในเมือง การควบคุมกำลังไพร่ ความสัมพันธ์ระหว่างข้าหลวงและกษัตริย์เป็นเพียงความสัมพันธ์ส่วนบุคคล เมื่อเปลี่ยนรัชกาล ความสัมพันธ์ก็อาจเปลี่ยนไปด้วย

3. บริเวณเมืองประเทศราช เป็นเขตเจ้าต่างชาติต่างภาษา ปกครองตนเองตามประเพณีท้องถิ่น เมืองประเทศราชเป็นรัฐตามชายขอบล้านนา เช่น เมืองเชียงตุง เมืองนาย เมืองยอง เนื่องจากประเทศราชอยู่ห่างไกลจึงผูกพันกับเมืองราชธานีน้อยกว่าเมืองข้า หลวง ครั้นมีโอกาสเมืองประเทศราชมักแยกตนเป็นอิสระหรือไปขึ้นกับรัฐใหญ่อื่น ๆ ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองราชธานีกับเมืองประเทศราชเป็นเรื่องส่วนบุคคลที่ อาจอาศัยระบบเครือญาติหรือการเกื้อกูลกัน ภายใต้การปกครองที่อาศัยความสัมพันธ์ทางเครือญาติของรัฐ โบราณ เจ้าเมืองมักเป็นเชื้อพระวงศ์ที่กษัตริย์ส่งไปปกครองเมืองต่าง ๆ ลักษณะเช่นนี้คลี่คลายมาจากธรรมเนียมการสร้างบ้านแปลงเมือง ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงแรกเมื่อรัฐขยายตัวการปกครองแบบนี้เป็นการรวมตัวอย่าง หลวม ๆ ของเมืองต่าง ๆ ซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของอาณาจักรล้านนา เพราะลักษณะทางกายภาพอาณาจักรล้านนาเป็นรัฐในหุบเขา เมืองต่าง ๆ จะตั้งถิ่นฐานอยู่ตามหุบเขาซึ่งกระจายตัว ดังนั้นรัฐล้านนาจำเป็นต้องสร้างเสถียรภาพตลอดมา โดยให้เมืองต่าง ๆ ที่กระจายตัวตามหุบเขายอมรับอำนาจศูนย์กลาง ความพยายามจะปรับการปกครองรัฐในหุบเขาจากการใช้ระบบข้าหลวงหรือระบบเครือ ญาติ ซึ่งพึ่งพาความสัมพันธ์ส่วนบุคคลไปสู่ระบบข้าราชการที่เป็นสถาบันไม่ประสบ ความสำเร็จในล้านนา ปัญหาโครงสร้างรัฐแบบหลวม ๆ นี้เป็นข้อจำกัดอย่างอย่างหนึ่งที่นำไปสู่ความเสื่อมของอาณาจักรล้านนา

ประการที่สาม การรับวัฒนธรรมความเจริญ จากหริภุญชัย แคว้นหริภุญชัยมีความเจริญรุ่งเรืองในเขตที่ราบลุ่มน้ำปิงมาช้านาน เมื่อพญามังรายยึดครองหริภุญชัยสำเร็จ ได้นำความเจริญต่าง ๆ มาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาต่อไป เชื่อกันว่าอิทธิพลจากหริภุญชัยมีหลายอย่าง เช่น กฎหมายล้านนาอย่างมังรายศาสตร์คงรับความคิดมาจากกฎหมายธรรมศาสตร์ของมอญหริ ภุญชัย อย่างไรก็ตามหลังจากรับมาแล้ว รัฐล้านนาได้พัฒนาต่อไปมากเป็นลักษณะเฉพาะท้องถิ่น โดยเฉพาะตัวอักษรธรรมล้านนา หรือตัวเมืองมีต้นแบบมาจากอักษรมอญโบราณ ส่วนด้านศิลปวัฒนธรรมหริภุญชัยพบว่าได้รับรูปแบบสถาปัตยกรรมเจดีย์ทรงสี่ เหลี่ยม และเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม ซึ่งมักสร้างในสมัยราชวงศ์มังรายตอนต้น เช่น เจดีย์กู่คำ เวียงกุมกามรับอิทธิพลจากกู่กุด

อิทธิพลที่ชัดเจนมาก คือพระพุทธศาสนาของหริภุญชัย เพราะพระพุทธศาสนานิกายเดิมรับจากหริภุญชัยมีบทบาทในล้านนาสูง นับตั้งแต่พญามังรายยึดครองหริภุญชัย ได้รับพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทหริภุญชัย จนถึงสมัยพญากือนามีความคิดจะสถาปนานิกายรามัญวงศ์ โดยอาราธนาพระสุมนเถระจากสุโขทัยเข้ามาเผย แพร่พุทธศาสนาในล้านนา และในสมัยพญาสามฝั่งแกนได้เกิดนิกายสิงหล หรือลังกาวงศ์ใหม่มาจากลักกาอีกระลอกหนึ่ง พระพุทธศาสนาในล้านนาจึงมี 3 นิกายด้วยกัน อย่างไรก็ตามนิกายเดิมหรือนิกายพื้นเมืองที่ปริมาณพระภิกษุมากกว่านิกายอื่น พระพุทธศาสนาแนวหริภุญชัยมีบทบาทในล้านนาอย่างน้อยจนถึงสิ้นราชวงศ์มังราย

2. สมัยอาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรือง (พ.ศ. 1898 – 2068) ความ เจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนาพัฒนาการขึ้นอย่างเด่นชัดในราวกลางราชวงศ์ มังราย นับตั้งแต่สมัยพญากือนา (พ.ศ. 1898 – 1928) เป็นต้นมา และเจริญสูงสุดในสมัยพระเจ้าติโลกราชและพญาแก้วหรือพระเมืองแก้ว ซึ่งเป็นช่วงยุคทอง หลังจากนั้นอาณาจักรล้านนาก็เสื่อมลง

ตั้งแต่สมัยพญากือนา กิจการในพุทธศาสนาได้รับการสนับสนุนมาก เห็นได้จากการรับนิกายรามัญจากสุโขทัยเข้ามาเผยแผ่ในล้านนา ทรงสร้างวัดสวนดอกให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาของเมืองทางตนบน จึงมีพระสงฆ์ชาวล้านนาได้ให้ความสนใจศึกษาพระพุทธศาสนามากขึ้นตามลำดับ ซึ่งนำไปสู่การศึกษาที่ลึกซึ้ง โดยในสมัยพญาสามฝั่งแกนมีพระสงฆ์กลุ่มหนึ่งไปศึกษาพระพุทธศาสนาในลังกา แล้วกลับมาตั้งนิกายสิงหลหรือลังกาวงศ์ใหม่ มีศูนย์กลางที่วัดป่าแดงในเมืองเชียงใหม่ พระสงฆ์กลุ่มนี้ได้ไปเผยแพร่ศาสนายังเมืองต่าง ๆ ภายในอาณาจักรล้านนา ตลอดจนขยายไปถึงเชียงตุง เชียงรุ่ง สิบสองพันนา

พระสงฆ์ในนิกายรามัญและนิกายสิงหลขัดแย้ง กันในการตีความพระธรรมวินัยหลายอย่าง แต่ก็เป็นแรงผลักดันนำไปสู่การศึกษาค้นคว้า โดยเฉพาะพระสงฆ์ในนิกายสิงหลเน้นการศึกษาภาษาบาลี ทำให้ศึกษาพระธรรมได้ลึกซึ้ง ดังนั้นหลังจากการสถาปนานิกายใหม่แล้ว พระพุทธศาสนาในล้านนาเจริญเติบโตอย่างมาก โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าติโลกราชถึงสมัยพญาแก้ว ดังปรากฏการสร้างวัดวาอารามทั่วไปในล้านนาและผลจากภิกษุล้านนามีความรู้ความ สามารถสูง จึงเกิดการทำสังคายนาพระไตรปิฎกที่วัดเจ็ดยอด จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2020 สิ่งที่สำคัญในระยะนี้ คือการเขียนคัมภีร์ต่าง ๆ ทางพุทธศาสนา คัมภีร์จากล้านนาได้แพร่หลายไปสู่ดินแดนใกล้เคียง เช่น ล้านช้าง พม่า อยุธยา งานเขียนประวัติศาสตร์นิพนธ์ในล้านนาประเภทตำนาน แพร่หลายตามท้องถิ่นต่าง ๆ โดยอาศัยสำนึกประวัติศาสตร์ที่เป็นจารีตเดิม ประกอบกับได้รับอิทธิพลจากงานเขียนจากสำนักลังกาที่พระสงฆ์นำเข้ามา งานเขียนประวัติศาสตร์สกุลตำนานในยุคนี้มีมากมาย เช่น ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ พื้นเมืองน่าน ตำนานพระธาตุลำปางหลวง ตำนานมูลสาสนา จามเทวีวงศ์ และชินกาลมีปกรณ์ เป็นต้น

ผลงานวรรณกรรมพุทธศาสนาของพระสงฆ์ล้านนา ที่สำคัญได้แก่ พระโพธิรังสี แต่งจามเทวีวงศ์ และสิหิงคนิทาน รัตนปัญญาเถระ แต่งชินกาลมาลีปกรณ์ เป็นงานเขียนที่มีคุณค่าต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ล้านนา พระสิริมังคลาจารย์ แต่งวรรณกรรมหลายเรื่อง เช่น เวสสันดรทีปนี จักรวาลทีปนี สังขยาปกาสกฎีการ และมังคลัตถทีปนี พระพุทธเจ้าและพระพุทธพุกาม แต่งตำนางมูลสาสนา

นอกจากนั้นยังมีปัญญาสชาดก (ชากด 50 เรื่อง) ซึ่งไม่ปรากฏนามผู้แต่ง เข้าใจว่าในสมัยพญาแก้ว ปัญญาสชาดกเป็นงานวรรณกรรมพุทธศาสนาที่แต่งทำนองเลียนแบบชาดกในพระไตรปิฎก แต่มีเนื้อเรื่องไม่เหมือนกัน เพราะเป็นชาดกนอกไตรปิฎก ปัญญาสชาดกเป็นต้นกำเนิดของวรรณคดีไทยหลายเรื่อง เช่น สมุททโฆสชาดก (นำมาแต่งเป็นสมุทรโฆษคำฉันท์) สุธนชาดำ (นำมาแต่งเป็นบทละครเรื่องมโนราห์) ปัญญาสชาดกแพร่หลายมากไปถึงพม่า มีการแปลเป็นภาษาพม่าในสมัยพระเจ้าโพธพระยา เมื่อ พ.ศ. 2224 พ ม่าเรียกปัญญา สชาดกว่า ซิมแม่ปัณณาสชาดก (เชียงใหม่ปัณณาสชาดก)

ในช่วงสมัยรุ่งเรืองนี้พระพุทธศาสนาเจริญ ยิ่งดังปรากฏการสร้างวัดแพร่หลายทั่วไปในดินแดนล้านนา ตามหมู่บ้านต่าง ๆ ได้สร้างวัดเป็นศูนย์กลางชุมชน และตามเมืองมีวัดหนาแน่ดังพบว่า เขตเมืองเชียงใหม่มีวัดนับร้อยแห่ง ปริมาณวัดที่มากมายในยุครุ่งเรืองนั้นมีร่องรอยปรากฏเป็นวัดร้างมากมายใน ปัจจุบัน ความเจริญในพุทธศาสนายังได้สร้างถาวรวัตถุในพุทธศาสนา ซึ่งมีคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมล้านน้า วัดสำคัญ ได้แก่ วัดเจ็ดยอด วัดเจดีย์หลวง วัดพระสิงห์ วัดสวนดอก วัดบุพพาราม เป็นต้น การสร้างวัดมากมายนอกจากแสดงความเจริญในพระพุทธศาสนาแล้ว ยังสะท้อนความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของล้านนาในยุครุ่งเรืองด้วย

ในยุคเศรษฐกิจรุ่งเรือง ล้านนามีความมั่งคั่งด้วยความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ มีพัฒนาการร่วมไปกับความเจริญรุ่งเรืองโดยรวมของรัฐ เพราะพบว่านับตั้งแต่สมัยพญากือนาเป็นต้นมา การค้าระหว่างรัฐมีเครือข่ายก้าวขวางไปไกล ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ได้ สะท้อนการค้าว่ามีหมู่พ่อค้าเมืองเชียงใหม่ไปค้าขายถึงเมืองพุกาม ในยุคนั้นเมืองเชียงใหม่มีฐานะเป็นศูนย์กลางการค้าสำคัญ เพราะตำแหน่งที่ตั้งเมืองนั้นคุมเส้นทางการค้า คือ เมืองต่าง ๆ ที่อยู่ตอนบนขึ้นไป เช่น รัฐฉาน สิบสองพันนา เชียงแสนจะนำสินค้าผ่านสู่เมืองเชียงใหม่แล้วจึงผ่านไปเมื่ออื่น ๆ ที่อยู่ทางใต้และทางตะวันตก ดังนั้น จึงพบหลักฐานกล่าวถึงพ่อค้าจากทุกทิศมาค้าขายที่เชียงใหม่มีทั้งเงี้ยว ม่าน เม็ง ไทย ฮ่อ กุลา เมืองเชียงใหม่คงมีผลประโยชน์จากการเก็บภาษีสินค้าสูงทีเดียว สินค้าออกเชียงใหม่สู่ตลาดนานาชาติคือของป่า เมืองเชียงใหม่ทำหน้าที่รวบรวมสินค้าของป่าจากเมืองต่าง ๆ ทางตนบนแล้วส่งไปขายยังเมืองท่าทางตอนล่างในดินแดนกรุงศรีอยุธยาและหัวเมือง มอญ กษัตริย์มีบทบาทในการค้าของป่า โดยอาศัยการเก็บส่วยจากไพร่และให้เจ้าเมืองต่าง ๆ ในอาณาจักรส่งส่วนให้ราชธานี ด้วยพระราชอำนาจจึงออกกฎหมายบังคับให้ทุกคนในอาณาจักรนำส่วยสินค้าของป่ามา ถวาย รูปแบบการค้าของป่า คือกษัตริย์จะส่งข้าหลวงกำลับดูแลสินค้าชนิดต่าง ๆ เพราะพบตำแหน่งแสนน้ำผึ้ง ข้าหลวงดูแลการค้าส่วยน้ำผึ้ง และมีพ่อค้าจากอยุธยาเดินทางเข้าซื้อสินค้าในเมืองฮอด

ในยุคที่อาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรือง รัฐมีความเจริญทางการค้ามากและสภาพเศรษฐกิจดี จึงมีกองกำลังเข้มแข็งดังพบว่า ในยุคนี้อาณาจักรล้านนามีอำนาจสูงได้แผ่อิทธิพลออกไปอย่างกว้างขวาง เช่น เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ่ง เมืองยอง เมืองนาย เมืองน่าน และยังขยายอำนาจลงสู่ชายขอบรัฐอยุธยา ดังทำสงครามติดต่อกันหลายปีระหว่างพระเจ้าติโลกราชและพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งในครั้งนั้นทัพล้านนาสามารถยึดครองเมืองศรีสัชนาลัยได้

3. สมัยเสื่อมและอาณาจักรล้านนาล่มสลาย (พ.ศ. 2068 – 2101) ความเสื่อมของอาณาจักรล้านนาเกิดขึ้นในช่วงปลายสมัยราชวงศ์มังราย นับตั้งแต่พญาเกศเชษฐาราชขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2068 จนกระทั่งตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าใน พ.ศ. 2101 ข่วงเวลา 33 ปี ในช่วงเวลานั้นมีระยะหนึ่งที่ว่างเว้นไม่มีกษัตริย์ปกครองถึง 4 ปี (พ.ศ. 2091 – 2094) เพราะขุนนางขัดแย้งกันตกลงกันไม่ได้ว่าจะให้ใครเป็นกษัตริย์ กษัตริย์สมัยเสื่อมจะครองเมืองระยะสั้น ๆ การสิ้นรัชสมัยของกษัตริย์เกิดจากขุนนางจัดการปลงพระชนม์ หรือขุนนางปลดกษัตริย์ หรือกษัตริย์สละราชสมบัติ

ประการแรก การขยายอาณาเขตและสร้างความมั่นคงในอาณาจักร ในสมัยพญามังรายได้ผนวกเขลางคนครเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร เนื่องจากเขลางคนครมีความสัมพันธ์กับเมืองหริภุญชัยในฐานะบ้านพี่เมืองน้อง เมื่อยึดครองหริภุญชัยสำเร็จก็จำเป็นต้องรุกคืบต่อไปยังเขลางคนคร หลังจากนั้นความคิดขยายอาณาเขตไปยังทางด้านตะวันออกสู่เมืองพะเยาซึ่งเกิด ขึ้นในสมัยพญามังรายแล้ว แต่ติดขัดที่เป็นพระสหายกับพญางำเมือง เมืองพะเยาและเชียงใหม่มีความสัมพันธ์ฐานะเครือญาติในวงศ์ลวจังกราช เมืองพะเยาซึ่งเป็นรัฐเล็ก ต่อมาจึงถูกยึดครองสำเร็จในสมัยพญาคำฟู (พ.ศ. 1877 – 1879) การยึดครองพะเยาได้เป็นผลดีต่ออาณาจักรล้านนาเพราะนอกจากเมืองเชียงรายจะ ปลอดภัยจากพะเยาแล้ว เมืองพะเยายังเป็นฐานกาลังขยายไปสู่เมืองแพร่และเมืองน่านต่อไป ความคิดขยายอำนาจสู่เมืองแพร่มีในสมัยพญาคำฟูแต่ไม่ประสบความสำเร็จ แสดงให้เห็นว่าการรวมหัวเมืองล้านนาตะวันออก ซึ่งเป็นรัฐในหุบเขาไม่ใช่จะกระทำได้โดยง่าย เพราะกว่าจะรวมเมืองแพร่และเมืองน่านสำเร็จก็อยู่ในช่วงอาณาจักรล้านนามี ความเจริญสูงสุดในสมัยพระเจ้าติโลกราช

การสร้างความมั่นคงในเขต ทางตอนบนของอาณาจักรเด่นชัดในสมัยราชวงศ์มังรายตอนต้น ดังปรากฏว่าเมือสิ้นสมัยพญามังราย พญาไชยสงครามครองราชย์ต่อมา ได้เสด็จไปประทับที่เมืองเชียงราย ส่วนเมืองเชียงใหม่ให้โอรสครองเมืองลักษณะเช่นนี้มีสืบมาในสมัยพญาแสนพู และพญาคำฟู โดยสมัยพญาแสนพูสร้างเมืองเชียงแสนในบริเวณเมืองเงินยาง การสร้างเมืองเชียงแสนก็เพื่อป้องกันศึกทางด้านเหนือ เพราะเมืองเชียงแสนตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ใช้แม่น้ำโขงเป็นคูเมืองธรรมชาติ มีตัวเมืองกว้าง 700 วา ยาว 1,500 วา มีป้อมปราการ 8 แห่ง ที่ตั้งเมืองเชียงแสนคุมเส้นทางการคมนาคมเพราะเป็นช่องทางไปสู่เมืองต่าง ๆ เช่น เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ่ง เมืองนาย เมืองยอง เมืองเชียงแสนจึงเป็นศูนย์กลางของเมืองตอนบน หลังจากสร้างเมืองเชียงแสนแล้ว พญาแสนพูประทับที่เชียงแสนสืบต่อมาถึงสมัยพญาคำฟู สถานการณ์ทางการเมืองดีขึ้นเมื่อผนวกพะเยาเข้ากับอาณาจักรล้านนาในสมัยพญา คำฟู ส่วนเมืองเชียงตุงพญาผายูสถาปนาอำนาจอันมั่นคง โดยส่งเจ้าราชบุตรเจ็ดพันตูไปปกครองและพญาผายูสร้างความผูกพันโดยอภิเษก กับธิดาเจ้าเมืองเชียงของ การสร้างความมั่นคงเขตตอนบนมีเสถียรภาพพอสมควร ในสมัยพญาผายูจึงย้ายมาประทับที่เชียงใหม่ ให้เมืองเชียงราย เชียงแสนเป็นเมืองสำคัญทางตอนบน

ประการที่สอง การปกครองมีโครงสร้างแบ่งเป็น 3 เขต

1. บริเวณเมืองราชธานี ประกอบด้วยเมืองเชียงใหม่และลำพูน เนื่องจากทั้งสองเมืองตั้งอยู่ในแอ่งที่ราบเดียวกันและอยู่ใกล้กัน กษัตริย์จึงปกครองโดยตรง

2. บริเวณเมืองข้าหลวง อยู่ถัดจากเมืองราชธานีออกไป กษัตริย์จะแต่งตั้งข้าหลวงไปปกครอง เจ้าเมืองซึ่งเป็นข้าหลวงนี้ส่วนใหญ่เป็นเชื้อพระวงศ์ ขุนนางที่ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์ก็มีบ้าง แต่เป็นส่วนน้อย เมืองสำคัญจะปกครองโดยเจ้าเชื้อพระวงศ์ ที่ใกล้ชิด เช่น เมืองเชียงราย กษัตริย์มักส่งโอรสหรือพระอนุชาไปปกครองเมืองอุปราช เจ้าเมืองมีอำนาจสูงสุดในการจัดการภายในเมืองของตน เช่น การแต่งตั้งขุนนางตำแหน่งต่าง ๆ การจัดตั้งพันนา การค้าภายในเมือง การควบคุมกำลังไพร่ ความสัมพันธ์ระหว่างข้าหลวงและกษัตริย์เป็นเพียงความสัมพันธ์ส่วนบุคคล เมื่อเปลี่ยนรัชกาล ความสัมพันธ์ก็อาจเปลี่ยนไปด้วย

3. บริเวณเมืองประเทศราช เป็นเขตเจ้าต่างชาติต่างภาษา ปกครองตนเองตามประเพณีท้องถิ่น เมืองประเทศราชเป็นรัฐตามชายขอบล้านนา เช่น เมืองเชียงตุง เมืองนาย เมืองยอง เนื่องจากประเทศราชอยู่ห่างไกลจึงผูกพันกับเมืองราชธานีน้อยกว่าเมืองข้า หลวง ครั้นมีโอกาสเมืองประเทศราชมักแยกตนเป็นอิสระหรือไปขึ้นกับรัฐใหญ่อื่น ๆ ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองราชธานีกับเมืองประเทศราชเป็นเรื่องส่วนบุคคลที่ อาจอาศัยระบบเครือญาติหรือการเกื้อกูลกัน ภายใต้การปกครองที่อาศัยความสัมพันธ์ทางเครือญาติของรัฐ โบราณ เจ้าเมืองมักเป็นเชื้อพระวงศ์ที่กษัตริย์ส่งไปปกครองเมืองต่าง ๆ ลักษณะเช่นนี้คลี่คลายมาจากธรรมเนียมการสร้างบ้านแปลงเมือง ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงแรกเมื่อรัฐขยายตัวการปกครองแบบนี้เป็นการรวมตัวอย่าง หลวม ๆ ของเมืองต่าง ๆ ซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของอาณาจักรล้านนา เพราะลักษณะทางกายภาพอาณาจักรล้านนาเป็นรัฐในหุบเขา เมืองต่าง ๆ จะตั้งถิ่นฐานอยู่ตามหุบเขาซึ่งกระจายตัว ดังนั้นรัฐล้านนาจำเป็นต้องสร้างเสถียรภาพตลอดมา โดยให้เมืองต่าง ๆ ที่กระจายตัวตามหุบเขายอมรับอำนาจศูนย์กลาง ความพยายามจะปรับการปกครองรัฐในหุบเขาจากการใช้ระบบข้าหลวงหรือระบบเครือ ญาติ ซึ่งพึ่งพาความสัมพันธ์ส่วนบุคคลไปสู่ระบบข้าราชการที่เป็นสถาบันไม่ประสบ ความสำเร็จในล้านนา ปัญหาโครงสร้างรัฐแบบหลวม ๆ นี้เป็นข้อจำกัดอย่างอย่างหนึ่งที่นำไปสู่ความเสื่อมของอาณาจักรล้านนา

ประการที่สาม การรับวัฒนธรรมความเจริญ จากหริภุญชัย แคว้นหริภุญชัยมีความเจริญรุ่งเรืองในเขตที่ราบลุ่มน้ำปิงมาช้านาน เมื่อพญามังรายยึดครองหริภุญชัยสำเร็จ ได้นำความเจริญต่าง ๆ มาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาต่อไป เชื่อกันว่าอิทธิพลจากหริภุญชัยมีหลายอย่าง เช่น กฎหมายล้านนาอย่างมังรายศาสตร์คงรับความคิดมาจากกฎหมายธรรมศาสตร์ของมอญหริภุญชัย อย่างไรก็ตามหลังจากรับมาแล้ว รัฐล้านนาได้พัฒนาต่อไปมากเป็นลักษณะเฉพาะท้องถิ่น โดยเฉพาะตัวอักษรธรรมล้านนา หรือตัวเมืองมีต้นแบบมาจากอักษรมอญโบราณ ส่วนด้านศิลปวัฒนธรรมหริภุญชัยพบว่าได้รับรูปแบบสถาปัตยกรรมเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยม และเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม ซึ่งมักสร้างในสมัยราชวงศ์มังรายตอนต้น เช่น เจดีย์กู่คำ เวียงกุมกามรับอิทธิพลจากกู่กุด

อิทธิพลที่ชัดเจนมาก คือพระพุทธศาสนาของหริภุญชัย เพราะพระพุทธศาสนานิกายเดิมรับจากหริภุญชัยมีบทบาทในล้านนาสูง นับตั้งแต่พญามังรายยึดครองหริภุญชัย ได้รับพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทหริภุญชัย จนถึงสมัยพญากือนามีความคิดจะสถาปนานิกายรามัญวงศ์ โดยอาราธนาพระสุมนเถระจากสุโขทัยเข้ามาเผย แพร่พุทธศาสนาในล้านนา และในสมัยพญาสามฝั่งแกนได้เกิดนิกายสิงหล หรือลังกาวงศ์ใหม่มาจากลังกาอีกระลอกหนึ่ง พระพุทธศาสนาในล้านนาจึงมี 3 นิกายด้วยกัน อย่างไรก็ตามนิกายเดิมหรือนิกายพื้นเมืองที่ปริมาณพระภิกษุมากกว่านิกายอื่น พระพุทธศาสนาแนวหริภุญชัยมีบทบาทในล้านนาอย่างน้อยจนถึงสิ้นราชวงศ์มังราย ปัจจัยความเสื่อมสลาย เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของรัฐในหุบเขา ที่ทำให้เมืองต่าง ๆ ในอาณาจักรมีโอกาสแยกตัวเป็นอิสระ เมืองราชธานีจึงพยายามสร้างเสถียรภาพให้ศูนย์กลางมีความเข้มแข็งตลอดมา โดยกษัตริย์อาศัยการสร้างสายสัมพันธ์กับเจ้าเมืองต่าง ๆ ในระบบเครือญาติ ซึ่งระบบนี้ใช้ได้ในระยะแรก ในที่สุดเมื่อรัฐขยายขึ้นจำเป็นต้องสร้างระบบราชการที่มีประสิทธิภาพแทนที่ ระบบเครือญาติ อาณาจักรล้านนาสถาปนาระบบราชการไม่ได้ รัฐจึงอ่อนแอและเสื่อมสลายลง ในช่วงนี้สถาบันกษัตริย์อ่อนแอลง ขุนนางมีอำนาจเพิ่มพูน นอกจากนั้นขุนนางยังขัดแย้งกัน โดยแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือขุนนางเมืองราชธานีและขุนนางหัวเมือง แย่งชิงความเป็นใหญ่ ต่างสนับสนุนคนของตนเป็นกษัตริย์ ปัญหาการเมืองภายในล้านนาที่แตกแยกอ่อนแอมีผลต่อเศรษฐกิจ เพราะช่วงนั้นเศรษฐกิจตกต่ำมาก ความเสื่อภายในล้านนาเป็นปัญหาพื้นฐานสำคัญ และมีปัจจัยภายนอกคือการขยายอำนาจของราชวงศ์ตองอูเป็นตัวเร่งให้อาณาจักร ล้านนาล่มสลายลง ในพ.ศ. 2101อ้างอิงจาก http://www.openbase.in.th/node/6405