ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สาขาการระหว่างประเทศ"

จาก คลังข้อมูลด้านรัฐศาสตร์
(สร้างหน้าด้วย " ==ความหมายและตัวแสดงในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ== ==ปร...")
 
แถว 2: แถว 2:
 
==ความหมายและตัวแสดงในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ==
 
==ความหมายและตัวแสดงในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ==
  
 +
1.1.นิยามความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
 +
 +
ได้มีผู้ให้นิยามและความหมายของ “ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” (International Relation) ไว้มากมายต่าง ๆ กัน พอที่จะยกตัวอย่างได้ดังนี้
 +
 +
สแตนลีย์  ฮอฟมานน์  (Stanley Haffmann)  ให้คำนิยามว่า  “วิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมุ่งศึกษา ปัจจัย และกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อนโยบายต่างประเทศและอำนาจของหน่วยพื้นฐานต่าง ๆ ในโลก”
 +
 +
แมตธิเสน (Matthiesen) กล่าวว่า “ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้นเหมือนคำว่า กิจกรรมระหว่างประเทศ และกลุ่มของความสัมพันธ์ทุกชนิดที่ข้ามเขตแดนรัฐ ไม่ว่าจะเป็นทางกฎหมาย การเมือง ที่มีลักษณะเป็นส่วนบุคคลหรือเป็นทางการหรืออย่างอื่นใดก็ตาม ตลอดจน พฤติกรรมของมนุษย์ทุกอย่างที่มีต้นกำเนิดอยู่ในพรมแดนข้างหนึ่งของรัฐ โดยมีผลกระทบต่อพฤติกรรมของมนุษย์ที่อยู่อีกด้านหนึ่งของพรมแดน”
 +
 +
ศาสตราจารย์ คาร์ล ดับเบิลยู ดอยทช์ (Karl W. Deutsch) กล่าวว่า “ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นคำที่บ่งถึงพฤติกรรมทั้งหลายของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในข้างหนึ่งของเส้นเขตแดนของประเทศ และมีผลสะท้อนต่อพฤติกรรมของมนุษย์ในอีกข้างหนึ่งของเส้นเขตแดนนั้น”
 +
 +
จากหนังสือ Webster’s third New International Dictionary กล่าวว่า International Relations a branch of political science concerned with relations between political units of national rank and dealing primarily with foreign policies, the organization and function of governmental agencies concerned with foreign policy, and factors as geography and economics underlying foreign policy
 +
 +
จากความหมายของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าโดยรวมแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็น “การแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามพรมแดนของประเทศในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยที่การแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ดังกล่าวอาจเกิดขึ้นโดยรัฐหรือตัวแสดงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่รัฐและการกระทำดังกล่าวส่งผลถึงความร่วมมือ หรือความขัดแย้งระหว่างประเทศต่าง ๆ ในโลก” ดังนั้น อาจสรุปได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะพิจารณากิจกรรมดังกล่าวในประเด็นต่อไปนี้
 +
 +
1. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หมายถึง การแลกเปลี่ยน เช่น แลกเปลี่ยนสินค้า เทคโนโลยี บุคลากร บริการ ฯลฯ หรือปฏิสัมพันธ์ คือการประพฤติปฏิบัติต่อกันในลักษณะต่าง ๆ เช่น การโฆษณาโจมตีซึ่งกันและกัน การปะทะกันด้วยกำลังอาวุธ การร่วมมือกันพัฒนา เป็นต้น
 +
 +
2. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเกิดขึ้นข้ามพรมแดนของรัฐ ในแง่นี้เป็นการพิจารณากิจกรรมระหว่างประเทศในปัจจุบัน คือ ในสมัยที่รัฐชาติ (หรือประเทศอธิปไตย) เป็นตัวแสดงสำคัญในเวทีระหว่างประเทศ แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่า ผู้สนใจความสัมพันธ์ระหว่างประเทศละเลยความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามกลุ่มสังคมซึ่งมิใช่รัฐอธิปไตย เพียงแต่ความสนใจในกิจกรรมปัจจุบันมีประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาของโลกมากกว่าความสนใจเรื่องราวในอดีตที่ผ่านมาเป็นระยะเวลายาวนาน
 +
 +
3. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอาจเป็นเรื่องที่กระทำโดยบุคคล กลุ่มบุคคล รัฐ องค์การระหว่างประเทศ หรือตัวแสดงอื่น ๆ ในเวทีระหว่างประเทศก็ได้ แต่ผู้สนใจความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะมุ่งความสนใจเฉพาะความสัมพันธ์ซึ่งมีผลกระทบต่อกิจการของโลกหรือของรัฐต่าง ๆ เป็นสำคัญ ตัวอย่างเช่น คนไทยยิงคนลาวตายด้วยสาเหตุส่วนตัว  หรือรัฐบาลสหรัฐอเมริกาจับกุมคนต่างชาติซึ่งลอบค้ายาเสพติด เป็นต้น เป็นตัวอย่างความสัมพันธ์ซึ่งเกิดขึ้นข้ามขอบเขตพรมแดนรัฐ แต่เนื่องจากตัวอย่างดังกล่าวนี้เป็นเหตุการณ์ซึ่งมิได้ก่อผลกระทบกระเทือนต่อรัฐอื่น ๆ หรือมิได้กระทบกระเทือนกิจการของโลกอย่างมาก จึงมิใช่ประเด็นที่สนใจนัก ในทางตรงกันข้าม หากการกระทำที่เกิดข้ามเขตพรมแดนรัฐมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หรือต่อสังคมโลกโดยทั่วไป ก็เป็นเรื่องที่นักวิชาการให้ความสนใจศึกษา ตัวอย่างเช่น กรณีที่มีการยิงปืนจากสถานทูตลิเบียในกรุงลอนดอนจนทำให้ตำรวจหญิงอังกฤษผู้หนึ่งเสียชีวิตตอนต้นปี ค.ศ.๑๙๘๔ นับเป็นกรณีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศซึ่งพึงสนใจ เพราะกระทบกระเทือนความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ (จนถึงกับมีการตัดความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่าง๒ ประเทศในระยะเวลาต่อมา) นอกจากนี้ยังมีกรณีตัวอย่างอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก เช่น กรณีนักก่อวินาศกรรมเกาหลีเหนือวางระเบิดสังหารเจ้าหน้าที่เกาหลีใต้ในประเทศพม่า เมื่อต้นปี ค.ศ.๑๙๘๔ หรือกรณีกลุ่มชนในอิหร่านจับนักการทูตสหรัฐอเมริกาในอิหร่านเป็นตัวประกัน เป็นต้น
 +
 +
4. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือและความขัดแย้งระหว่างประเทศ  ประเด็นความขัดแย้งและความร่วมมือระหว่างประเทศนี้เป็นเรื่องที่ผู้สนใจความสัมพันธ์ระหว่างประเทศพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ เพราะเป็นเรื่องที่กระทบกระเทือนการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นปกติสุขในสังคมโลก
 +
 +
ดังนั้น ถึงแม้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะเกิดขึ้นมากมาย และครอบคลุมเหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง แต่ในทางปฏิบัติ นักวิชาการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมักจะเลือกสนใจเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นข้ามขอบเขตพรมแดนรัฐซึ่งมีความสำคัญ คือที่กระทบต่อความร่วมมือและความขัดแย้งเป็นหลัก
  
 +
อ้างอิง  http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:WFVsRPvmaPIJ:58.97.114.34:8881/academic/images/stories/1_kwarm_mun_kong/3_politic/1_inter/21311-4.doc+&cd=4&hl=th&ct=clnk&gl=th(หน้า 1-3)
  
 +
1.2. ตัวแสดงในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
 +
         
 +
1.2.1. ตัวแสดงที่เป็นรัฐ
 +
         
 +
เมื่อจักรวรรดิโรมันเสื่อมสลาย ดินแดนในทวีปยุโรปแยกออกเป็นแว่นแคว้นต่างๆ ที่เป็นอิสระต่อกัน เช่น อิตาลีแบ่งออกเป็นรัฐลอมบาร์ดี โรมานญา ทัสคานี เนเปิล ซีซีลี รัฐสันตะปาปา ฯลฯ เยอรมนีแยกออกเป็นรัฐแซกซอน ฟรังโกเนีย บาวาเรีย ชวาเบน ไมเซน ฯลฯ ฝรั่งเศสแยกออกเป็นรัฐบูร์กอญ กาสกอญ ตูลูส โพรวองส์ ฯลฯ เช่นเดียวกับสเปนและยุโรปตะวันออก เป็นสภาพที่อำนาจการเมืองกระจัดกระจายไม่รวมศูนย์ดังสมัยจักรวรรดิโรมัน
 +
           
 +
จากนั้นการปกครองค่อยๆ พัฒนาเป็นระบบฟิลดัล (Feudal system) กับศาสนจักรโรมันคาทอลิก
 +
           
 +
ศาสนจักรโรมันคาทอลิกเป็นองค์กรเดียวที่มีโครงสร้างทางอำนาจเข้มแข็ง บาทหลวงกระจายอยู่ทุกหนแห่ง ทุกแว่นแคว้น เป็นที่พึ่งของประชาชนท่ามกลางสภาวะสงคราม ความทุกข์ยากลำบากต่างๆ
 +
           
 +
ในปี ค.ศ.800 เกิดเหตุการณ์สำคัญคือ หลังจากพระเจ้าชาร์เลอมาญแห่งชนชาติฟรังก์ชนะสงครามสามารถรวมดินแดนฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลีภาคเหนือและยุโรปตะวันตกทั้งหมด กลายเป็นอาณาจักรใหญ่ พระเจ้าชาร์เลอมาญได้ให้สันตะปาปาเลโอที่ 3 สวมมงกุฎจักรพรรดิ เป็นการยอมรับสิทธิอำนาจของประมุขศาสนาเหนือประมุขอาณาจักรฝ่ายโลก
 +
           
 +
ค.ศ.962 สันตะปาปาโยอันเนสที่ 12 สวมมุงกุฎให้พระเจ้าออตโตที่ 1 และประกาศให้อาณาจักรของพระเจ้าออตโตที่ 1 เป็น “จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์” อำนาจของศาสนจักรจึงครอบคลุมสูงสุดทั้งทางธรรมกับทางโลก ประมุขคนใดที่ไม่เชื่อฟังหรือไม่ยอมรับอำนาจของสันตะปาปา อาจถูกประกาศบัพพาชนียกรรม (excommunication) ไล่ออกจากการเป็นศาสนิกชน ทำให้ประมุขขาดความน่าเชื่อถือ ขุนนางอาจก่อการยึดอำนาจ
 +
           
 +
ในระดับรากหญ้า บาทหลวงกระจายอยู่ในทุกเมือง มีอิทธิพลต่อประชาชนตั้งแต่เกิดจนตาย มีบทบาทด้านการศึกษา กิจกรรทางสังคม โบสถ์และธรณีสงฆ์เป็นอิสระจากอำนาจเจ้าเมือง ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี มีข้าพระหรือผู้ใช้แรงงานในบังคับบัญชาของโบสถ์ เมื่อเวลาผ่านไปโบสถ์ร่ำรวย มีอิทธิพลมากขึ้นทุกที
 +
           
 +
ดังนั้น ในยุคกลาง (ค.ศ.500-1500) ศาสนจักรโรมันคาทอลิกมีอิทธิพลอำนาจทั้งฝ่ายโลกและทางธรรม บาทหลวงทั้งหมดขึ้นตรงต่อสันตะปาปา กษัตริย์บางองค์เมื่อขึ้นครองราชย์ต้องได้รับการสวมมงกุฎจากสันตะปาปา ในบางแง่อาจตีความว่าเกิดสภาพอำนาจซ้อนอำนาจ
 +
 +
           
 +
แต่อำนาจของศาสนจักรโรมันคาทอลิกเริ่มเสื่อมด้วยเหตุผลหลายประการ ได้แก่ มีการซื้อขายใบไถ่บาป เป็นความเชื่อที่ว่าการซื้อใบไถ่บาปจะช่วยให้ผู้ตายได้ขึ้นสวรรค์ บาทหลวงเท่านั้นที่สามารถเป็นคนกลางเชื่อมระหว่างผู้เชื่อกับพระเจ้า ศาสนิกชนบางส่วนต้องการฟื้นฟูศาสนา เมื่อได้ศึกษาพระคริสต์ธรรมคัมภีร์ (Bible) ก็ยิ่งรู้ว่าหลักข้อเชื่อ แนวประพฤติปฏิบัติหลายอย่างไม่ถูกต้อง ตีความพระคัมภีร์ผิดเพี้ยน การประดิษฐ์เครื่องพิมพ์สมัยใหม่และแปลเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย เป็นอีกเหตุที่ทำให้หลายคนได้อ่านพระคัมภีร์โดยตรง (เดิมนั้นผู้เชื่อจะฟังคำสอนผ่านบาทหลวงเป็นหลัก) พระคริสต์ธรรมคัมภีร์แพร่กระจายอย่างกว้างขวาง (ทุกวันนี้พระคัมภีร์ยังเป็นหนังสือที่ตีพิมพ์มากที่สุดในโลก) บาทหลวงไม่เป็นผู้ผูกขาดตีความอีกต่อไป
 +
 +
               
 +
ความเจริญก้าวหน้าของศิลปะวิทยาการแขนงต่างๆ เป็นอีกเหตุผลสำคัญ นักวิทยาศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักคิดหลายคนค้นพบความรู้และแนวคิดที่ขัดแย้งกับคำสอนของศาสนจักร
 +
                เช่น นักดาราศาสตร์ค้นพบว่าพระเจ้าไม่ได้สร้างโลกให้เป็นศูนย์กลางจักรวาล โลกเป็นเพียงดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะ
 +
                นักปรัชญาการเมือง นิกโคโล มาเคียเวลลี (Niccolo Machiavelli, 1469-1527) โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes, 1588-1679) สนับสนุนให้เจ้าผู้ปกครองมีอำนาจเหนือทุกฝ่าย รวมทั้งศาสนจักร
 +
                ความเจริญก้าวหน้าของศิลปะวิทยาการที่ขัดแย้งกับหลักศาสนา เป็นอีกเหตุที่สั่นคลอนสิทธิอำนาจของศาสนจักร
 +
 
 +
ความขัดแย้งอันเนื่องจากความเชื่องทางศาสนา ความต้องการปฏิรูป ได้ขยายตัวและเชื่อมโยงกับอาณาจักรฝ่ายโลก เกิดสงครามระหว่างแว่นแคว้นที่ยังยึดมั่นศาสนาจักรกับฝ่ายต่อต้านหลายครั้ง สงครามครั้งสุดท้ายคือ สงคราม 30 ปี (Thirty Years War, 1618-1648) จบลงด้วยการลงนามสนธิสัญญาเวสฟาเลีย (Treaty of Westphalia) ในปี 1648 พร้อมกับเกิด “รัฐสมัยใหม่” (modern state) ผู้ครองรัฐต่างๆ สามารถกำหนดนิกายศาสนาด้วยตนเอง ไม่จำต้องขึ้นกับศาสนจักรอีกต่อไป เป็นการยุติอำนาจฝ่ายโลกของคริสตจักรโรมันคาทอลิกที่มีมาตั้งแต่ยุโรปสมัยกลาง
 +
       
 +
ผู้ปกครองหรือศูนย์กลางอำนาจของรัฐ จึงมี/ใช้อำนาจสูงสุดภายในขอบเขตรัฐหรือดินแดนของอิทธิพลของตน คำว่าอธิปไตย (Sovereignty) ในสมัยนั้นจึงมีความมุ่งหมายสำคัญที่ว่าผู้ปกครองฝ่ายโลกหรือกษัตริย์ได้แยกตัวตนออกจากอำนาจของสันตะปาปา รัฐที่ยึดมั่นหลักการนี้จะไม่มีระบบ 2 ผู้นำ คือ ผู้นำศาสนากับผู้ปกครองฝ่ายโลกที่ทับซ้อนกัน ผู้ปกครองฝ่ายโลกมีอำนาจสูงสุดในขอบเขตอิทธิพลทางการเมืองของตน (หรือขอบเขตประเทศหรือดินแดนของตนนั่นเอง) เว้นแต่บางเมืองบางรัฐที่ยังคงอยู่ใต้อิทธิพลของศาสนจักรต่ออีกระยะหนึ่ง
 +
           
 +
ข้อตกลงสันติภาพเวสฟาเลียยังเป็นที่มาของหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของอีกฝ่าย เขตแดนกลายเป็นเรื่องสำคัญยิ่งกว่าอดีต เพราะผู้ปกครองแต่ละคนมีอำนาจสูงสุดเหนือดินแดน รวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างในดินแดนนั้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นประชากร ทรัพยากรต่างๆ
 +
 +
อ้างอิงจาก  http://www.chanchaivision.com/2014/12/Modern-State-Primary-Actor-141228.html
 +
 +
1.2.2.ตัวแสดงที่มิใช่รัฐ (Non State Actor)
 +
           
 +
ตัวแสดงที่มิใช่รัฐ (non-state actor) ที่มีบทบาทเด่นในปัจจุบัน
 +
           
 +
o “องค์การระหว่างประเทศ” เช่น สหประชาชาติ
 +
           
 +
o บรรษัทข้ามชาติ (Multinational Corporations: MNCs)
 +
           
 +
อำนาจของ MNCs บางครั้ง บางแห่ง มีมากกว่าที่คิด เช่น บรรษัทยาของสหรัฐฯ มีอิทธิพลต่อนโยบายต่างประเทศสหรัฐฯ ด้วยการบีบให้ประเทศกำลังพัฒนาลงนามป้องกันสิทธิบัตรยา หรือบรรษัทข้ามชาติสหรัฐฯ บีบให้ประเทศต่างหันมาสนับสนุนเปิดประเทศเพื่อการค้าเสรี
 +
           
 +
ดังนั้น เท่ากับว่า MNCs เหล่านี้ชักใยประเทศสหรัฐฯ ให้มีนโยบายหรือดำเนินนโยบายต่างประเทศต่อประเทศอื่นๆ เพื่อเอื้อประโยชน์ของ “MNCs”
 +
            เท่ากับว่า ในบางแง่มุม MNCs เหล่านี้มีอำนาจมากกว่าประเทศสหรัฐฯ เสียอีก
 +
 +
• กรณีตัวอย่าง บรรษัทน้ำมัน
 +
           
 +
เจ้าพ่อในวงการน้ำมันมีท่าทีใคร่จะย้อน เวลากลับไปก่อนที่จะมีกระแสคลื่นยึดกิจการน้ำมันมาเป็นของชาติ ในปี ค.ศ.๑๙๗๐ เมื่อบรรดายักษ์ใหญ่ในวงการน้ำมันโลกอันได้รับขนานนามว่า"เจ็ดศรีพี่น้อง (Seven Sisters) ถูกขับออกจาก ตะวันออกกลางและ ละตินอเมริกา "เจ็ดศรีพี่น้อง" นี้ได้แก่ เอ็กซ์ซอน (Exxon), กัล์ฟ (Gulf), เท็กซาโก้ (Texaco), โมบิล (Mobil), โซคอล (Socal) หรือเชฟรอน (Chevron), บี.พี. (B.P.), และเชลล์ (Shell), ๕ บริษัทแรกเป็นบริษัทใหญ่ของสหรัฐ ฯ ถัดมาก็เป็นบริษัทของจักรภพอังกฤษ สุดท้ายก็ได้แก่แองโกล-ดัทช์ (Anglo - Dutch) "เจ็ดศรีพี่น้อง" นี้แหละครอบงำกิจการน้ำมัน ของโลกที่พวกเราทั้งหลายอยู่ภายใต้การครอบงำ ของน้ำมันด้วยกันทั้งนั้น
 +
           
 +
การที่ประเทศสหรัฐฯ ที่มีนโยบายเข้มงวดในการรักษาการมีอิทธิพลเหนือดินแดนตะวันออกกลางที่อุดมด้วยน้ำมัน ถ้ามองในแง่ตัวแสดงรัฐคือสหรัฐฯต้องการผลประโยชน์ด้านพลังงานจากตะวันออกลาง และถ้ามองในแง่ตัวแสดงบรรษัทข้ามชาติ การที่รัฐอเมริกันใช้นโยบายและใช้ทรัพยากรมหาศาลเพื่อรักษาอิทธิพลเหนือตะวันออกลางก็คือเพื่อให้บรรษัทน้ำมันข้ามชาติสามารถประกอบกิจการต่อไปโดยราบรื่น
 +
 +
 +
Non State Actor ที่เป็นองค์การนอกภาครัฐที่ทำงานไม่แสวงผลกำไร (non-governmental organisations - NGOs) ปัจจุบันส่วนใหญ่ทำงานส่งเสริมสิทธิมนุษยชน การศึกษาวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และหลายแห่งเกี่ยวข้องกับศาสนา ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับเงินสนับสนุนส่วนหนึ่งจากภาคเอกชน
 +
 +
ในปี 2007 มีเอ็นจีโอในสหรัฐฯ กว่า 2 ล้านองค์กร อินเดียราว 1 ล้านองค์กร ในรัสเซีย 4 แสน
 +
           
 +
เอ็นจีโอบางแห่งไม่ได้ทำงานเพื่อประชาชนจริง แต่เป็นเอ็นจีโอของรัฐบาลหรือบริษัทเอกชน เอ็นจีโอที่ส่งเสริมประชาธิปไตยบางแห่งของสหรัฐฯ ถูกบางประเทศมองว่าเป็นเครื่องมือของรัฐบาลอเมริกันเพื่อล้มล้างหรือบ่อนทำลายรัฐบาลของประเทศเหล่านั้น
 +
เอ็นจีโอส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีผลต่อนโยบายของรัฐบาล แต่บางเอ็นจีโอมีผลต่อนโยบายของรัฐบาลค่อนข้างมาก เช่น องค์การเฝ้าระวังปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน (Human Rights Watch), องค์การนิรโทษกรรมสากล (Amnesty International) and Oxfam กลุ่มกรีนพีซ (Greenpeace) ทำหน้าที่รณรงค์ เรียกร้อง ประท้วงและกดดันรัฐบาลประเทศต่างๆในเรื่องของสันติภาพและสิ่งแวดล้อม กลุ่มแพทย์ไร้พรมแดน (Doctors Without Borders)
 +
 +
 +
Non State Actor ที่เป็นกลุ่มแนวคิดหรือองค์กรศาสนา
 +
 +
เช่น Al Qaeda, Hezbollah ซึ่งบางครั้งถูกชาติตะวันตกระบุว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการก่อการร้ายระหว่างประเทศ (Terrorist) โดยเฉพาะภายหลังเหตุการณ์เครื่องบินชนอาคารแฝดเวิร์ลเทรด เซ็นเตอร์ ประเทศสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 หรือเรียกว่าเหตุการณ์ 911
 +
 +
 +
1.2.3. ตัวแสดงที่มิใช่รัฐอื่นๆ
 +
           
 +
เช่น ปัจเจกบุคคล อดีตรองประธานาธิบดี อัล กอร์ แห่งสหรัฐฯ แสดงบทบาท คือ การรณรงค์เรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมโลก โดยเฉพาะภาวะโลกร้อน
 +
           
 +
ข้อสังเกต คือ อัล กอร์ รณรงค์กับคนส่วนใหญ่ทั่วโลก ไม่เฉพาะกับคนอเมริกัน มีกิจกรรมต่อเนื่อง เป็นที่โดดเด่นในสื่อกับวิชาวิชาการ สาขาการระหว่างประเทศ อัล กอร์ ไม่ได้ไปในนามของอดีตรองประธานาธิบดี แต่ไปในนามบุคคลธรรมดาที่สนใจรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อม เหมือนนักเคลื่อนไหว (activist) คนหนึ่ง นายอัล กอร์ ได้สร้างภาพยนตร์สารคดี "An Inconvenient Truth”นำเสนอความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติเอาไว้อย่างน่าสนใจ
 +
         
 +
ผลการสำรวจของ “Pew” พบว่า คนส่วนใหญ่จาก 47 ประเทศทั่วโลก เป็นว่า ปัญหามลภาวะ (pollution) และปัญหาสิ่งแวดล้อม (environmental problems) เป็นภัยคุกคามที่สำคัญที่สุดของโลก ไม่ใช่เรื่องการก่อการร้าย หรืออาวุธนิวเคลียร์
 +
           
 +
อินเตอร์เน็ตที่เชื่อมโยงผู้ใช้ทั่วโลก ส่งผลทำให้แต่ละปัจเจกบุคคลมีอิทธิพล ปัจเจกบุคคลสามารถส่งผ่านความคิดความเห็นของเขาแก่ทุกคนที่เข้าไปสัมพันธ์ด้วยผ่านอินเตอร์เน็ต
 +
 +
อ้างอิง : http://www.chanchaivision.com/2012/06/3.html
  
 
==ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ==
 
==ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ==

รุ่นปรับปรุงเมื่อ 05:31, 16 สิงหาคม 2559

ความหมายและตัวแสดงในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

1.1.นิยามความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ได้มีผู้ให้นิยามและความหมายของ “ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” (International Relation) ไว้มากมายต่าง ๆ กัน พอที่จะยกตัวอย่างได้ดังนี้

สแตนลีย์ ฮอฟมานน์ (Stanley Haffmann) ให้คำนิยามว่า “วิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมุ่งศึกษา ปัจจัย และกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อนโยบายต่างประเทศและอำนาจของหน่วยพื้นฐานต่าง ๆ ในโลก”

แมตธิเสน (Matthiesen) กล่าวว่า “ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้นเหมือนคำว่า กิจกรรมระหว่างประเทศ และกลุ่มของความสัมพันธ์ทุกชนิดที่ข้ามเขตแดนรัฐ ไม่ว่าจะเป็นทางกฎหมาย การเมือง ที่มีลักษณะเป็นส่วนบุคคลหรือเป็นทางการหรืออย่างอื่นใดก็ตาม ตลอดจน พฤติกรรมของมนุษย์ทุกอย่างที่มีต้นกำเนิดอยู่ในพรมแดนข้างหนึ่งของรัฐ โดยมีผลกระทบต่อพฤติกรรมของมนุษย์ที่อยู่อีกด้านหนึ่งของพรมแดน”

ศาสตราจารย์ คาร์ล ดับเบิลยู ดอยทช์ (Karl W. Deutsch) กล่าวว่า “ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นคำที่บ่งถึงพฤติกรรมทั้งหลายของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในข้างหนึ่งของเส้นเขตแดนของประเทศ และมีผลสะท้อนต่อพฤติกรรมของมนุษย์ในอีกข้างหนึ่งของเส้นเขตแดนนั้น”

จากหนังสือ Webster’s third New International Dictionary กล่าวว่า International Relations a branch of political science concerned with relations between political units of national rank and dealing primarily with foreign policies, the organization and function of governmental agencies concerned with foreign policy, and factors as geography and economics underlying foreign policy

จากความหมายของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าโดยรวมแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็น “การแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามพรมแดนของประเทศในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยที่การแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ดังกล่าวอาจเกิดขึ้นโดยรัฐหรือตัวแสดงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่รัฐและการกระทำดังกล่าวส่งผลถึงความร่วมมือ หรือความขัดแย้งระหว่างประเทศต่าง ๆ ในโลก” ดังนั้น อาจสรุปได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะพิจารณากิจกรรมดังกล่าวในประเด็นต่อไปนี้

1. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หมายถึง การแลกเปลี่ยน เช่น แลกเปลี่ยนสินค้า เทคโนโลยี บุคลากร บริการ ฯลฯ หรือปฏิสัมพันธ์ คือการประพฤติปฏิบัติต่อกันในลักษณะต่าง ๆ เช่น การโฆษณาโจมตีซึ่งกันและกัน การปะทะกันด้วยกำลังอาวุธ การร่วมมือกันพัฒนา เป็นต้น

2. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเกิดขึ้นข้ามพรมแดนของรัฐ ในแง่นี้เป็นการพิจารณากิจกรรมระหว่างประเทศในปัจจุบัน คือ ในสมัยที่รัฐชาติ (หรือประเทศอธิปไตย) เป็นตัวแสดงสำคัญในเวทีระหว่างประเทศ แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่า ผู้สนใจความสัมพันธ์ระหว่างประเทศละเลยความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามกลุ่มสังคมซึ่งมิใช่รัฐอธิปไตย เพียงแต่ความสนใจในกิจกรรมปัจจุบันมีประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาของโลกมากกว่าความสนใจเรื่องราวในอดีตที่ผ่านมาเป็นระยะเวลายาวนาน

3. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอาจเป็นเรื่องที่กระทำโดยบุคคล กลุ่มบุคคล รัฐ องค์การระหว่างประเทศ หรือตัวแสดงอื่น ๆ ในเวทีระหว่างประเทศก็ได้ แต่ผู้สนใจความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะมุ่งความสนใจเฉพาะความสัมพันธ์ซึ่งมีผลกระทบต่อกิจการของโลกหรือของรัฐต่าง ๆ เป็นสำคัญ ตัวอย่างเช่น คนไทยยิงคนลาวตายด้วยสาเหตุส่วนตัว หรือรัฐบาลสหรัฐอเมริกาจับกุมคนต่างชาติซึ่งลอบค้ายาเสพติด เป็นต้น เป็นตัวอย่างความสัมพันธ์ซึ่งเกิดขึ้นข้ามขอบเขตพรมแดนรัฐ แต่เนื่องจากตัวอย่างดังกล่าวนี้เป็นเหตุการณ์ซึ่งมิได้ก่อผลกระทบกระเทือนต่อรัฐอื่น ๆ หรือมิได้กระทบกระเทือนกิจการของโลกอย่างมาก จึงมิใช่ประเด็นที่สนใจนัก ในทางตรงกันข้าม หากการกระทำที่เกิดข้ามเขตพรมแดนรัฐมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หรือต่อสังคมโลกโดยทั่วไป ก็เป็นเรื่องที่นักวิชาการให้ความสนใจศึกษา ตัวอย่างเช่น กรณีที่มีการยิงปืนจากสถานทูตลิเบียในกรุงลอนดอนจนทำให้ตำรวจหญิงอังกฤษผู้หนึ่งเสียชีวิตตอนต้นปี ค.ศ.๑๙๘๔ นับเป็นกรณีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศซึ่งพึงสนใจ เพราะกระทบกระเทือนความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ (จนถึงกับมีการตัดความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่าง๒ ประเทศในระยะเวลาต่อมา) นอกจากนี้ยังมีกรณีตัวอย่างอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก เช่น กรณีนักก่อวินาศกรรมเกาหลีเหนือวางระเบิดสังหารเจ้าหน้าที่เกาหลีใต้ในประเทศพม่า เมื่อต้นปี ค.ศ.๑๙๘๔ หรือกรณีกลุ่มชนในอิหร่านจับนักการทูตสหรัฐอเมริกาในอิหร่านเป็นตัวประกัน เป็นต้น

4. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือและความขัดแย้งระหว่างประเทศ ประเด็นความขัดแย้งและความร่วมมือระหว่างประเทศนี้เป็นเรื่องที่ผู้สนใจความสัมพันธ์ระหว่างประเทศพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ เพราะเป็นเรื่องที่กระทบกระเทือนการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นปกติสุขในสังคมโลก

ดังนั้น ถึงแม้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะเกิดขึ้นมากมาย และครอบคลุมเหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง แต่ในทางปฏิบัติ นักวิชาการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมักจะเลือกสนใจเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นข้ามขอบเขตพรมแดนรัฐซึ่งมีความสำคัญ คือที่กระทบต่อความร่วมมือและความขัดแย้งเป็นหลัก

อ้างอิง http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:WFVsRPvmaPIJ:58.97.114.34:8881/academic/images/stories/1_kwarm_mun_kong/3_politic/1_inter/21311-4.doc+&cd=4&hl=th&ct=clnk&gl=th(หน้า 1-3)

1.2. ตัวแสดงในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

1.2.1. ตัวแสดงที่เป็นรัฐ

เมื่อจักรวรรดิโรมันเสื่อมสลาย ดินแดนในทวีปยุโรปแยกออกเป็นแว่นแคว้นต่างๆ ที่เป็นอิสระต่อกัน เช่น อิตาลีแบ่งออกเป็นรัฐลอมบาร์ดี โรมานญา ทัสคานี เนเปิล ซีซีลี รัฐสันตะปาปา ฯลฯ เยอรมนีแยกออกเป็นรัฐแซกซอน ฟรังโกเนีย บาวาเรีย ชวาเบน ไมเซน ฯลฯ ฝรั่งเศสแยกออกเป็นรัฐบูร์กอญ กาสกอญ ตูลูส โพรวองส์ ฯลฯ เช่นเดียวกับสเปนและยุโรปตะวันออก เป็นสภาพที่อำนาจการเมืองกระจัดกระจายไม่รวมศูนย์ดังสมัยจักรวรรดิโรมัน
           

จากนั้นการปกครองค่อยๆ พัฒนาเป็นระบบฟิลดัล (Feudal system) กับศาสนจักรโรมันคาทอลิก

ศาสนจักรโรมันคาทอลิกเป็นองค์กรเดียวที่มีโครงสร้างทางอำนาจเข้มแข็ง บาทหลวงกระจายอยู่ทุกหนแห่ง ทุกแว่นแคว้น เป็นที่พึ่งของประชาชนท่ามกลางสภาวะสงคราม ความทุกข์ยากลำบากต่างๆ

ในปี ค.ศ.800 เกิดเหตุการณ์สำคัญคือ หลังจากพระเจ้าชาร์เลอมาญแห่งชนชาติฟรังก์ชนะสงครามสามารถรวมดินแดนฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลีภาคเหนือและยุโรปตะวันตกทั้งหมด กลายเป็นอาณาจักรใหญ่ พระเจ้าชาร์เลอมาญได้ให้สันตะปาปาเลโอที่ 3 สวมมงกุฎจักรพรรดิ เป็นการยอมรับสิทธิอำนาจของประมุขศาสนาเหนือประมุขอาณาจักรฝ่ายโลก

ค.ศ.962 สันตะปาปาโยอันเนสที่ 12 สวมมุงกุฎให้พระเจ้าออตโตที่ 1 และประกาศให้อาณาจักรของพระเจ้าออตโตที่ 1 เป็น “จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์” อำนาจของศาสนจักรจึงครอบคลุมสูงสุดทั้งทางธรรมกับทางโลก ประมุขคนใดที่ไม่เชื่อฟังหรือไม่ยอมรับอำนาจของสันตะปาปา อาจถูกประกาศบัพพาชนียกรรม (excommunication) ไล่ออกจากการเป็นศาสนิกชน ทำให้ประมุขขาดความน่าเชื่อถือ ขุนนางอาจก่อการยึดอำนาจ

ในระดับรากหญ้า บาทหลวงกระจายอยู่ในทุกเมือง มีอิทธิพลต่อประชาชนตั้งแต่เกิดจนตาย มีบทบาทด้านการศึกษา กิจกรรทางสังคม โบสถ์และธรณีสงฆ์เป็นอิสระจากอำนาจเจ้าเมือง ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี มีข้าพระหรือผู้ใช้แรงงานในบังคับบัญชาของโบสถ์ เมื่อเวลาผ่านไปโบสถ์ร่ำรวย มีอิทธิพลมากขึ้นทุกที

ดังนั้น ในยุคกลาง (ค.ศ.500-1500) ศาสนจักรโรมันคาทอลิกมีอิทธิพลอำนาจทั้งฝ่ายโลกและทางธรรม บาทหลวงทั้งหมดขึ้นตรงต่อสันตะปาปา กษัตริย์บางองค์เมื่อขึ้นครองราชย์ต้องได้รับการสวมมงกุฎจากสันตะปาปา ในบางแง่อาจตีความว่าเกิดสภาพอำนาจซ้อนอำนาจ


แต่อำนาจของศาสนจักรโรมันคาทอลิกเริ่มเสื่อมด้วยเหตุผลหลายประการ ได้แก่ มีการซื้อขายใบไถ่บาป เป็นความเชื่อที่ว่าการซื้อใบไถ่บาปจะช่วยให้ผู้ตายได้ขึ้นสวรรค์ บาทหลวงเท่านั้นที่สามารถเป็นคนกลางเชื่อมระหว่างผู้เชื่อกับพระเจ้า ศาสนิกชนบางส่วนต้องการฟื้นฟูศาสนา เมื่อได้ศึกษาพระคริสต์ธรรมคัมภีร์ (Bible) ก็ยิ่งรู้ว่าหลักข้อเชื่อ แนวประพฤติปฏิบัติหลายอย่างไม่ถูกต้อง ตีความพระคัมภีร์ผิดเพี้ยน การประดิษฐ์เครื่องพิมพ์สมัยใหม่และแปลเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย เป็นอีกเหตุที่ทำให้หลายคนได้อ่านพระคัมภีร์โดยตรง (เดิมนั้นผู้เชื่อจะฟังคำสอนผ่านบาทหลวงเป็นหลัก) พระคริสต์ธรรมคัมภีร์แพร่กระจายอย่างกว้างขวาง (ทุกวันนี้พระคัมภีร์ยังเป็นหนังสือที่ตีพิมพ์มากที่สุดในโลก) บาทหลวงไม่เป็นผู้ผูกขาดตีความอีกต่อไป


ความเจริญก้าวหน้าของศิลปะวิทยาการแขนงต่างๆ เป็นอีกเหตุผลสำคัญ นักวิทยาศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักคิดหลายคนค้นพบความรู้และแนวคิดที่ขัดแย้งกับคำสอนของศาสนจักร

                เช่น นักดาราศาสตร์ค้นพบว่าพระเจ้าไม่ได้สร้างโลกให้เป็นศูนย์กลางจักรวาล โลกเป็นเพียงดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะ
                นักปรัชญาการเมือง นิกโคโล มาเคียเวลลี (Niccolo Machiavelli, 1469-1527) โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes, 1588-1679) สนับสนุนให้เจ้าผู้ปกครองมีอำนาจเหนือทุกฝ่าย รวมทั้งศาสนจักร
                ความเจริญก้าวหน้าของศิลปะวิทยาการที่ขัดแย้งกับหลักศาสนา เป็นอีกเหตุที่สั่นคลอนสิทธิอำนาจของศาสนจักร
  

ความขัดแย้งอันเนื่องจากความเชื่องทางศาสนา ความต้องการปฏิรูป ได้ขยายตัวและเชื่อมโยงกับอาณาจักรฝ่ายโลก เกิดสงครามระหว่างแว่นแคว้นที่ยังยึดมั่นศาสนาจักรกับฝ่ายต่อต้านหลายครั้ง สงครามครั้งสุดท้ายคือ สงคราม 30 ปี (Thirty Years War, 1618-1648) จบลงด้วยการลงนามสนธิสัญญาเวสฟาเลีย (Treaty of Westphalia) ในปี 1648 พร้อมกับเกิด “รัฐสมัยใหม่” (modern state) ผู้ครองรัฐต่างๆ สามารถกำหนดนิกายศาสนาด้วยตนเอง ไม่จำต้องขึ้นกับศาสนจักรอีกต่อไป เป็นการยุติอำนาจฝ่ายโลกของคริสตจักรโรมันคาทอลิกที่มีมาตั้งแต่ยุโรปสมัยกลาง

ผู้ปกครองหรือศูนย์กลางอำนาจของรัฐ จึงมี/ใช้อำนาจสูงสุดภายในขอบเขตรัฐหรือดินแดนของอิทธิพลของตน คำว่าอธิปไตย (Sovereignty) ในสมัยนั้นจึงมีความมุ่งหมายสำคัญที่ว่าผู้ปกครองฝ่ายโลกหรือกษัตริย์ได้แยกตัวตนออกจากอำนาจของสันตะปาปา รัฐที่ยึดมั่นหลักการนี้จะไม่มีระบบ 2 ผู้นำ คือ ผู้นำศาสนากับผู้ปกครองฝ่ายโลกที่ทับซ้อนกัน ผู้ปกครองฝ่ายโลกมีอำนาจสูงสุดในขอบเขตอิทธิพลทางการเมืองของตน (หรือขอบเขตประเทศหรือดินแดนของตนนั่นเอง) เว้นแต่บางเมืองบางรัฐที่ยังคงอยู่ใต้อิทธิพลของศาสนจักรต่ออีกระยะหนึ่ง

ข้อตกลงสันติภาพเวสฟาเลียยังเป็นที่มาของหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของอีกฝ่าย เขตแดนกลายเป็นเรื่องสำคัญยิ่งกว่าอดีต เพราะผู้ปกครองแต่ละคนมีอำนาจสูงสุดเหนือดินแดน รวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างในดินแดนนั้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นประชากร ทรัพยากรต่างๆ

อ้างอิงจาก http://www.chanchaivision.com/2014/12/Modern-State-Primary-Actor-141228.html

1.2.2.ตัวแสดงที่มิใช่รัฐ (Non State Actor)

ตัวแสดงที่มิใช่รัฐ (non-state actor) ที่มีบทบาทเด่นในปัจจุบัน

o “องค์การระหว่างประเทศ” เช่น สหประชาชาติ

o บรรษัทข้ามชาติ (Multinational Corporations: MNCs)

อำนาจของ MNCs บางครั้ง บางแห่ง มีมากกว่าที่คิด เช่น บรรษัทยาของสหรัฐฯ มีอิทธิพลต่อนโยบายต่างประเทศสหรัฐฯ ด้วยการบีบให้ประเทศกำลังพัฒนาลงนามป้องกันสิทธิบัตรยา หรือบรรษัทข้ามชาติสหรัฐฯ บีบให้ประเทศต่างหันมาสนับสนุนเปิดประเทศเพื่อการค้าเสรี

ดังนั้น เท่ากับว่า MNCs เหล่านี้ชักใยประเทศสหรัฐฯ ให้มีนโยบายหรือดำเนินนโยบายต่างประเทศต่อประเทศอื่นๆ เพื่อเอื้อประโยชน์ของ “MNCs”

           เท่ากับว่า ในบางแง่มุม MNCs เหล่านี้มีอำนาจมากกว่าประเทศสหรัฐฯ เสียอีก

• กรณีตัวอย่าง บรรษัทน้ำมัน

เจ้าพ่อในวงการน้ำมันมีท่าทีใคร่จะย้อน เวลากลับไปก่อนที่จะมีกระแสคลื่นยึดกิจการน้ำมันมาเป็นของชาติ ในปี ค.ศ.๑๙๗๐ เมื่อบรรดายักษ์ใหญ่ในวงการน้ำมันโลกอันได้รับขนานนามว่า"เจ็ดศรีพี่น้อง (Seven Sisters) ถูกขับออกจาก ตะวันออกกลางและ ละตินอเมริกา "เจ็ดศรีพี่น้อง" นี้ได้แก่ เอ็กซ์ซอน (Exxon), กัล์ฟ (Gulf), เท็กซาโก้ (Texaco), โมบิล (Mobil), โซคอล (Socal) หรือเชฟรอน (Chevron), บี.พี. (B.P.), และเชลล์ (Shell), ๕ บริษัทแรกเป็นบริษัทใหญ่ของสหรัฐ ฯ ถัดมาก็เป็นบริษัทของจักรภพอังกฤษ สุดท้ายก็ได้แก่แองโกล-ดัทช์ (Anglo - Dutch) "เจ็ดศรีพี่น้อง" นี้แหละครอบงำกิจการน้ำมัน ของโลกที่พวกเราทั้งหลายอยู่ภายใต้การครอบงำ ของน้ำมันด้วยกันทั้งนั้น

การที่ประเทศสหรัฐฯ ที่มีนโยบายเข้มงวดในการรักษาการมีอิทธิพลเหนือดินแดนตะวันออกกลางที่อุดมด้วยน้ำมัน ถ้ามองในแง่ตัวแสดงรัฐคือสหรัฐฯต้องการผลประโยชน์ด้านพลังงานจากตะวันออกลาง และถ้ามองในแง่ตัวแสดงบรรษัทข้ามชาติ การที่รัฐอเมริกันใช้นโยบายและใช้ทรัพยากรมหาศาลเพื่อรักษาอิทธิพลเหนือตะวันออกลางก็คือเพื่อให้บรรษัทน้ำมันข้ามชาติสามารถประกอบกิจการต่อไปโดยราบรื่น


Non State Actor ที่เป็นองค์การนอกภาครัฐที่ทำงานไม่แสวงผลกำไร (non-governmental organisations - NGOs) ปัจจุบันส่วนใหญ่ทำงานส่งเสริมสิทธิมนุษยชน การศึกษาวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และหลายแห่งเกี่ยวข้องกับศาสนา ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับเงินสนับสนุนส่วนหนึ่งจากภาคเอกชน

ในปี 2007 มีเอ็นจีโอในสหรัฐฯ กว่า 2 ล้านองค์กร อินเดียราว 1 ล้านองค์กร ในรัสเซีย 4 แสน

เอ็นจีโอบางแห่งไม่ได้ทำงานเพื่อประชาชนจริง แต่เป็นเอ็นจีโอของรัฐบาลหรือบริษัทเอกชน เอ็นจีโอที่ส่งเสริมประชาธิปไตยบางแห่งของสหรัฐฯ ถูกบางประเทศมองว่าเป็นเครื่องมือของรัฐบาลอเมริกันเพื่อล้มล้างหรือบ่อนทำลายรัฐบาลของประเทศเหล่านั้น เอ็นจีโอส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีผลต่อนโยบายของรัฐบาล แต่บางเอ็นจีโอมีผลต่อนโยบายของรัฐบาลค่อนข้างมาก เช่น องค์การเฝ้าระวังปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน (Human Rights Watch), องค์การนิรโทษกรรมสากล (Amnesty International) and Oxfam กลุ่มกรีนพีซ (Greenpeace) ทำหน้าที่รณรงค์ เรียกร้อง ประท้วงและกดดันรัฐบาลประเทศต่างๆในเรื่องของสันติภาพและสิ่งแวดล้อม กลุ่มแพทย์ไร้พรมแดน (Doctors Without Borders)


Non State Actor ที่เป็นกลุ่มแนวคิดหรือองค์กรศาสนา

เช่น Al Qaeda, Hezbollah ซึ่งบางครั้งถูกชาติตะวันตกระบุว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการก่อการร้ายระหว่างประเทศ (Terrorist) โดยเฉพาะภายหลังเหตุการณ์เครื่องบินชนอาคารแฝดเวิร์ลเทรด เซ็นเตอร์ ประเทศสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 หรือเรียกว่าเหตุการณ์ 911


1.2.3. ตัวแสดงที่มิใช่รัฐอื่นๆ

เช่น ปัจเจกบุคคล อดีตรองประธานาธิบดี อัล กอร์ แห่งสหรัฐฯ แสดงบทบาท คือ การรณรงค์เรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมโลก โดยเฉพาะภาวะโลกร้อน

ข้อสังเกต คือ อัล กอร์ รณรงค์กับคนส่วนใหญ่ทั่วโลก ไม่เฉพาะกับคนอเมริกัน มีกิจกรรมต่อเนื่อง เป็นที่โดดเด่นในสื่อกับวิชาวิชาการ สาขาการระหว่างประเทศ อัล กอร์ ไม่ได้ไปในนามของอดีตรองประธานาธิบดี แต่ไปในนามบุคคลธรรมดาที่สนใจรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อม เหมือนนักเคลื่อนไหว (activist) คนหนึ่ง นายอัล กอร์ ได้สร้างภาพยนตร์สารคดี "An Inconvenient Truth”นำเสนอความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติเอาไว้อย่างน่าสนใจ

ผลการสำรวจของ “Pew” พบว่า คนส่วนใหญ่จาก 47 ประเทศทั่วโลก เป็นว่า ปัญหามลภาวะ (pollution) และปัญหาสิ่งแวดล้อม (environmental problems) เป็นภัยคุกคามที่สำคัญที่สุดของโลก ไม่ใช่เรื่องการก่อการร้าย หรืออาวุธนิวเคลียร์

อินเตอร์เน็ตที่เชื่อมโยงผู้ใช้ทั่วโลก ส่งผลทำให้แต่ละปัจเจกบุคคลมีอิทธิพล ปัจเจกบุคคลสามารถส่งผ่านความคิดความเห็นของเขาแก่ทุกคนที่เข้าไปสัมพันธ์ด้วยผ่านอินเตอร์เน็ต

อ้างอิง : http://www.chanchaivision.com/2012/06/3.html

ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยและการเมืองระหว่างประเทศ

นโยบายต่างประเทศของไทย

องค์กรระหว่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศ

การค้าระหว่างประเทศกับประเทศไทย

ความขัดแย้งระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ

ความมั่นคงในยุคสมัยใหม่

กฎหมายระหว่างประเทศกับประเทศไทย