กำลังแก้ไข แม่แบบ:สาขาบริหารรัฐกิจ

คำเตือน: คุณมิได้ล็อกอิน สาธารณะจะเห็นเลขที่อยู่ไอพีของคุณหากคุณแก้ไข หากคุณล็อกอินหรือสร้างบัญชี การแก้ไขของคุณจะถือว่าเป็นของชื่อผู้ใช้ของคุณ ร่วมกับประโยชน์อื่น

สามารถย้อนการแก้ไขนี้กลับได้ กรุณาตรวจสอบข้อแตกต่างด้านล่างเพื่อทวนสอบว่านี่เป็นสิ่งที่คุณต้องการทำ แล้วบันทึกการเปลี่ยนแปลงด้านล่างเพื่อเสร็จสิ้นการย้อนการแก้ไขกลับ
รุ่นปัจจุบัน ข้อความของคุณ
แถว 482: แถว 482:
 
5) การนำผลที่ได้จากการประเมินไปประกอบการพิจารณาตอบแทนความดีความชอบแก่ผู้ปฏิบัติงาน
 
5) การนำผลที่ได้จากการประเมินไปประกอบการพิจารณาตอบแทนความดีความชอบแก่ผู้ปฏิบัติงาน
  
นอกจากนี้ ระบบการบริหารผลการปฏิบัติงานยังเป็นกระบวนการที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ปฏิบัติงาน ในการผลักดันผลการปฏิบัติราชการให้สูงขึ้น และสอดคล้องกับทิศทาง เป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของส่วนราชการ โดยมีการนำตัวชี้วัดผลงานหลัก (Key Performance Indicators - KPIs) มาใช้เป็นเครื่องมือกำหนดเป้าหมายการทำงานของบุคคลร่วมกัน ซึ่งผู้บังคับบัญชาสามารถติดตามผลการปฏิบัติงาน หาแนวทางในการพัฒนาผู้ปฏิบัติงาน และประเมินผลการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดผลงานหลักที่กำหนดนั้นๆ เพื่อจะได้ให้สิ่งจูงใจสำหรับการเสริมสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงานที่มีผลการปฏิบัติราชการดี เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ซึ่งระบบการบริหารผลการปฏิบัติงานประกอบด้วยขั้นตอนหลักดังแผนภาพ
+
          นอกจากนี้ ระบบการบริหารผลการปฏิบัติงานยังเป็นกระบวนการที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ปฏิบัติงาน ในการผลักดันผลการปฏิบัติราชการให้สูงขึ้น และสอดคล้องกับทิศทาง เป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของส่วนราชการ โดยมีการนำตัวชี้วัดผลงานหลัก (Key Performance Indicators - KPIs) มาใช้เป็นเครื่องมือกำหนดเป้าหมายการทำงานของบุคคลร่วมกัน ซึ่งผู้บังคับบัญชาสามารถติดตามผลการปฏิบัติงาน หาแนวทางในการพัฒนาผู้ปฏิบัติงาน และประเมินผลการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดผลงานหลักที่กำหนดนั้นๆ เพื่อจะได้ให้สิ่งจูงใจสำหรับการเสริมสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงานที่มีผลการปฏิบัติราชการดี เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ซึ่งระบบการบริหารผลการปฏิบัติงานประกอบด้วยขั้นตอนหลักดังแผนภาพ
 
กระบวนการบริหารผลการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลัก ดังนี้
 
กระบวนการบริหารผลการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลัก ดังนี้
 
 
แถว 565: แถว 565:
 
ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ. ได้ส่งเสริมสนับสนุน และผลักดันให้ส่วนราชการเห็นความสำคัญของการพัฒนาข้าราชการตามกรอบ ยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าราชการพลเรือน ที่มุ่งเน้นพัฒนาข้าราชการ โดยยึดหลักสมรรถนt(Competency) และพัฒนาขีดความสามารถ (Capability) เพื่อให้ข้าราชการเป็นผู้ปฏิบัติงานที่ทรงความรู้ (Knowledge Worker) สามารถปฏิบัติงานภายใต้การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และระบบบริหารจัดการ ภาครัฐแนวใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง สามารถพัฒนางานในหน้าที่อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ นักบริหารทุกระดับ มีศักยภาพในการเป็นผู้นำการบริหารราชการยุคใหม่ เพื่อให้ภาคราชการมีขีดความสามารถและมาตรฐานการปฏิบัติงานในระดับสูงเทียบ เท่าเกณฑ์สากล
 
ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ. ได้ส่งเสริมสนับสนุน และผลักดันให้ส่วนราชการเห็นความสำคัญของการพัฒนาข้าราชการตามกรอบ ยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าราชการพลเรือน ที่มุ่งเน้นพัฒนาข้าราชการ โดยยึดหลักสมรรถนt(Competency) และพัฒนาขีดความสามารถ (Capability) เพื่อให้ข้าราชการเป็นผู้ปฏิบัติงานที่ทรงความรู้ (Knowledge Worker) สามารถปฏิบัติงานภายใต้การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และระบบบริหารจัดการ ภาครัฐแนวใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง สามารถพัฒนางานในหน้าที่อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ นักบริหารทุกระดับ มีศักยภาพในการเป็นผู้นำการบริหารราชการยุคใหม่ เพื่อให้ภาคราชการมีขีดความสามารถและมาตรฐานการปฏิบัติงานในระดับสูงเทียบ เท่าเกณฑ์สากล
 
              
 
              
การพัฒนาข้าราชการในปัจจุบันมุ่งเน้นการพัฒนาข้าราชการโดยยึดหลักสมรรถนะ (Competency) และการพัฒนาขีดความสามารถ (Capability) เพื่อให้ข้าราชการเป็นผู้ปฏิบัติงานที่ทรงความรู้ (Knowledge Worker) สามารถปฏิบัติงานภายใต้หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และระบบบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง สามารถพัฒนางานในหน้าที่อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ โดยการพัฒนาที่เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง
+
การพัฒนาข้าราชการในปัจจุบันมุ่งเน้นการพัฒนาข้าราชการโดยยึดหลักสมรรถนะ (Competency) และการพัฒนาขีดความสามารถ (Capability) เพื่อให้ข้าราชการเป็นผู้ปฏิบัติงานที่ทรงความรู้ (Knowledge Worker) สามารถปฏิบัติงานภายใต้หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และระบบบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง สามารถพัฒนางานในหน้าที่อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ โดยการพัฒนาที่เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง
 
                
 
                
 
สำนักงาน ก.พ. มีบทบาทเป็นผู้เสนอแนะ กำกับดูแล และให้คำปรึกษาแก่ส่วนราชการในการดำเนินงานฝึกอบรม พัฒนา จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าราชการพลเรือนขึ้น ขณะเดียวกัน ก็ได้จัดทำหลักสูตรการฝึกอบรม พัฒนา ที่มีรูปแบบหลากหลาย อาทิ การจัดหลักสูตรในห้องเรียน การจัดหลักสูตรฝึกอบรมทางไกล การฝึกอบรมด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ
 
สำนักงาน ก.พ. มีบทบาทเป็นผู้เสนอแนะ กำกับดูแล และให้คำปรึกษาแก่ส่วนราชการในการดำเนินงานฝึกอบรม พัฒนา จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าราชการพลเรือนขึ้น ขณะเดียวกัน ก็ได้จัดทำหลักสูตรการฝึกอบรม พัฒนา ที่มีรูปแบบหลากหลาย อาทิ การจัดหลักสูตรในห้องเรียน การจัดหลักสูตรฝึกอบรมทางไกล การฝึกอบรมด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ
แถว 1,144: แถว 1,144:
  
 
๏ อย่าลืมล้างมือทุกครั้งให้สะอาดการหมั่นล้างมือบ่อยๆเพื่อเป็นการเสริมสุขลักษณะนิสัยที่ดีในการใช้ชีวิตอย่างปลอดภัยห่างไกลจากเชื้อโรคต่างๆ
 
๏ อย่าลืมล้างมือทุกครั้งให้สะอาดการหมั่นล้างมือบ่อยๆเพื่อเป็นการเสริมสุขลักษณะนิสัยที่ดีในการใช้ชีวิตอย่างปลอดภัยห่างไกลจากเชื้อโรคต่างๆ
 
 
1.2 คุณลักษณะพิเศษของภัยพิบัติ
 
1.) ภัยหลักก่อให้เกิดภัยอื่นที่ตามมา (Compound Hazard)
 
นั่นคือเวลาที่ภัยเกิดขึ้นนั้นสามารถที่จะก่อให้เกิดภัยประเภทอื่นตามมาซึ่งในบางครั้งภัยที่เกิดตามมานั้นรุนแรงยิ่งกว่าหรือในบางครั้งภัยที่ตามมานั้นจะต้องใช้วิธีการในการจัดการที่ตรงข้ามกับภัยแรกเช่นการเกิดแผ่นดินไหวและเกิดสึนามิตามมาดังที่เราทราบว่าในการเกิดแผ่นดินไหวในทะเลที่ใกล้กับแผ่นดินนั้นสร้างความเสียหายให้กับอาคารบ้านเรือนได้เมื่อเราอพยพคนออกมาได้ปลอดภัยอยู่นอกอาคารหากมีสึนามิเกิดขึ้นต้องหาทางอพยพคนออกจากที่โล่งบริเวณใกล้ชายหาดกลับขึ้นที่สูงและผลจากสึนามิอาจทำให้เกิดโรคระบาดขึ้นได้หากไม่มีการจัดการที่ดีจะเห็นได้ว่าความเข้าใจในลักษณะพิเศษข้อนี้ของท้องถิ่นจะช่วยให้สามารถรับมือกับการขยายตัวของภัยด้วยตัวภัยเดิมและการเกิดขึ้นของภัยต่อเนื่องอีกด้วย
 
 
2.) ภัยพิบัติสามารถเพิ่มความรุนแรงได้หากระดับของความอ่อนไหวของชุมชนมีสูง (Level of Community Vulnerability)
 
นั่นคือหน่วยงานท้องถิ่นต้องมีความเข้าใจในมิติทางกายภาพและมิติทางสังคมของพื้นที่และชุมชนเพราะหากพื้นที่มีความเสี่ยงต่อภัยสูงการปรึกษาหารือกับภาคส่วนต่างๆในการป้องกันและเตรียมรับมือจะต้องมีรายละเอียดเชิงโครงสร้างเข้ามาเกี่ยวข้องและมิติทางด้านสังคมคือจำนวนกลุ่มคนที่ถือว่าอ่อนไหวต่อภัยอันได้แก่เด็กสตรีและคนชราอันจะทำให้แผนในการอพยพหรือการจัดปัจจัยในการจัดการที่หลบภัยและการฟื้นฟูแตกต่างกันออกไป
 
 
3.) ภัยพิบัติสามารถขยายผลสู่พื้นที่ต่างๆในวงกว้างและเป็นพื้นที่ที่ข้ามเขตการปกครองของหน่วยงาน (Cross Juridiction)
 
ดังนั้นในการวางแผนหรือกำหนดมาตรการในการจัดการภัยพิบัตินั้นต้องทำร่วมกับหน่วยงานหลักของพื้นที่ข้างเคียงเสมอทั้งในกรณีของการขยายตัวของภัยและกรณีที่ต้องการกำลังเสริมจากพื้นที่ข้างเคียง
 
 
4.) ภัยพิบัติไม่มีความแน่น่อน (Uncertainty)
 
กล่าวคือภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากภัยต่างๆนั้นอาจมีรูปแบบที่ไม่ซ้ำเดิมอาจมีความรุนแรงที่มากขึ้นและมีความถี่สูงขึ้นและอาจเกิดขึ้นในเงื่อนไขเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นพายุนอกฤดูหรือการเกิดแผ่นดินไหวกลางดึกหรือการเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิในระดับที่รุนแรงแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนคุณลักษณะข้อนี้จะส่งผลให้หน่วยงานท้องถิ่นจะต้องปรับปรุงมาตรการรับมือตลอดเวลาเพื่อให้ทันสมัยต่อองค์ความรู้ที่เปลี่ยนแปลงและเพื่อให้ทันต่อความผันผวนของสถานการณ์
 
 
5.) ภัยพิบัติจะก่อให้เกิดความโกลาหล (Chaos)
 
 
เพราะในสถานการณ์ที่ไม่ปรกติอย่างเช่นในภัยพิบัตินั้นจะมีผู้ได้รับบาดเจ็บได้รับความเสียหายมากมายหลายกลุ่มประกอบกับผู้ที่เข้าจัดการให้ความช่วยเหลือก็จะมากหน้าหลายตาเช่นเดียวกันดังนั้นความซับซ้อนและสับสนในการปฏิบัติการจะสูงทั้งในด้านกายภาพที่ผิดปรกติจนอาจไม่สามารถระบบตำแหน่งแห่งที่ได้มีอุปสรรคทางด้านพื้นที่เช่นสะพานขาดดินถล่มน้ำท่วมทางสัญจรและยังมีจำนวนหน่วยงานทรัพยากรของบริจาคและเจ้าหน้าที่จำนวนมากอันสามารถก่อให้เกิดความวุ่นวายได้ในที่สุด
 
 
1.3 กระบวนการจัดการภัยพิบัติ
 
 
1. )การดำเนินการก่อนเกิดภัยเพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากสาธารณภัย (mitigation and preparedness)
 
 
การให้ความรู้เรื่องภัยและการปฏิบัติตนด้วยการฝึกอบรมและสื่อชนิดต่างๆการวิเคราะห์ความเสี่ยงของแต่ละภัยและแต่ละพื้นที่การจัดทำแบบจำลองสถานการณ์การจัดทำแผนที่อพยพการระบุพื้นที่ปลอดภัยและการจัดทำแผนการจัดการหลบภัยการฝึกซ้อมรูปแบบต่างๆในการอพยพการเตือนภัยและการอพยพก่อนการเกิดภัย
 
ในการจัดการภัยพิบัตินั้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเอาใจใส่ขั้นตอนก่อนเกิดภัยให้มากที่สุดด้วยเหตุว่าหากความสามารถและศักยภาพของท้องถิ่นในการรับมือมีสูงผลกระทบจะสามารถลดลงได้อย่างเห็นได้ชัดเช่นดังที่จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันพยายามให้ความรู้และเตรียมพร้อมในเรื่องสึนามิและพายุก็จะส่งผลให้การปลูกสร้างอาคารและการสังเกตภัยช่วยให้ความเสียหายและความสูญเสียลดลงได้ซึ่งเครื่องมือในการเตรียมพร้อมก่อนเกิดภัยพิบัติมีดังนี้
 
 
๏ การให้ความรู้เรื่องภัยและการปฏิบัติตนด้วยการฝึกอบรมและสื่อชนิดต่างๆองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่โดยตรงในการจัดการเรื่องความรู้และฝึกอบรมทักษะเรื่องภัยพิบัติ
 
 
๏ การวิเคราะห์ความเสี่ยงของแต่ละภัยและแต่ละพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความสามารถในการวิเคราะห์และประมินความเสี่ยงของพื้นที่ของตนเองต่อภัยประเภทต่างๆเพราะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำแผนและควบคุมบัญชาการสถานการณ์ในพื้นที่
 
 
๏ การจัดทำแบบจำลองสถานการณ์การจัดทำแผนที่อพยพสืบเนื่องจากการวิเคราะห์ความเสี่ยงข้างต้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีข้อมูลของความเสี่ยงต่อภัยแต่ละประเภทตามลำดับความสำคัญและรุนแรงทั้งนี้มาตรการที่นำออกใช้ก็เพื่อรับมือกับสถานการณ์นั้นๆหากแต่ว่าต้องนำมาวางแผนดำเนินการต่อซึ่งเครื่องมือที่สำคัญคือการทำแบบจำลองสถานการณ์และการทำแผนอพยพด้วยเหตุว่าถึงแม้จะมีมาตรการในการจัดการกับความเสี่ยงให้ส่งผลกระทบให้น้อยลงก็ไม่ได้หมายความว่าสถานการณ์ที่รุนแรงจะไม่เกิดขึ้นดังนั้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรจะดำเนินการดังนี้
 
 
๏ การฝึกซ้อมรูปแบบต่างๆในการอพยพการจัดการภัยพิบัติมีความพิเศษกว่าการจัดการสาธารณะในรูปแบบอื่นตรงที่สามารถมีการวิเคราะห์ความเสี่ยงและใช้เป็นฐานในการสร้างแบบจำลองสถานการณ์แล้วนำมาทำการฝึกซ้อมก่อนล่วงหน้าซึ่งจะช่วยทำให้การจัดการด้านนี้นั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นแต่สิ่งหนึ่งที่เป็นข้อควรระวังของการฝึกซ้อมคือเมื่อใดก็ตามที่การฝึกซ้อมตามแบบจำลองสถานการณ์นั้นมีการนำเอาภาคสาธารณะคือประชาชนเข้ามีส่วนในการฝึกซ้อมไม่ว่าจะเป็นการซ้อมประเภทใดต้องมีการแจ้งล่วงหน้าเป็นระยะเวลาหนึ่งเสมอเพราะอันตรายที่จะเกิดจากความไม่รู้ว่ามีการซ้อมสถานการณ์นั้นมากเกิน
 
กว่าที่หน่วยงานใดจะรับผิดชอบได้เช่นการเกิดอุบัติเหตุจากความตระหนกสตรีคลอดก่อนกำหนดหรือการที่ผู้สูงอายุในท้องที่อื่นเห็นหรือรับฟังข่าวแล้วไม่ทราบว่าคือการซ้อมอาจจะช็อกได้เพราะเป็นห่วงญาติในพื้นที่ที่มีการซ้อมส่วนข้อควรจำของการฝึกซ้อมคือการฝึกซ้อมนั้นเพื่อถ่ายทอดความรู้เรื่องความเสี่ยงต่อภัยในพื้นที่ตลอดจนการปฏิบัติตนที่ถูกต้องตามสถานการณ์รวมทั้งการสร้างความคุ้นเคยในการอพยพหลบภัยเพราะในภาวะที่ตระหนกและคับขันนั้นประชาชนมักจะสับสนและไม่มีสติความคุ้นเคยในการฝึกซ้อมจะช่วยให้สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ได้เป็นระบบมากขึ้นการฝึกซ้อมมีหลายรูปแบบตัวอย่าง
 
 
๏ การเตือนภัยอย่างเป็นระบบการเตือนภัยอย่างเป็นระบบ
 
 
๏ การอพยพก่อนการเกิดภัยในการอพยพนั้นมีทั้ง 1) การอพยพหนีภัยแบบทันทีและ 2) การ
 
อพยพหนีภัยแบบที่มีเวลาเตือนล่วงหน้าซึ่งการหนีภัยทั้งสองแบบแตกต่างกันไปตามภัยที่เกิดเพราะภัยบางประเภทเช่นแผ่นดินไหวนั้นเกิดขึ้นในทันทีไม่สามารถเตือนล่วงหน้าได้อย่างที่สามารถมีเวลาในการอพยพเหมือนดังเช่นสึนามิพายุต่างๆซึ่งจะทำให้การดำเนินการอพยพแตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นกับทิศทางการอพยพที่มีความสัมพันธ์กับประเภทของภัยพิบัติด้วยเช่น
 
 
- ในกรณีไฟไหม้เรามักใช้การอพยพในแนวนอนคือพยายามให้ประชาชนออกจากพื้นที่ในแนวราบ
 
 
-ในกรณีสึนามิจะใช้การอพยพในแนวดิ่งคือให้ประชาชนเคลื่อนที่ขึ้นที่สูง
 
 
- ในกรณีแผ่นดินไหวหากอาคารมีความมั่นคงแข็งแรงสามารถใช้การอพยพแบบอยู่กับที่คือไม่ต้องออกจากพื้นที่แต่ต้องระวังหาที่กำบังไม่ให้สิ่งของตกมาทับข้อควรพิจารณาในการอพยพ
 
 
2.) การดำเนินการระหว่างเกิดภัย (Disaster and EmergencyResponse) เป็นการดำเนินการในสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆโดยระดมทรัพยากรที่มีอยู่เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยเครื่องมือ : การระบุหน่วยงานหลักและหน่วยประสานงานการใช้ระบบการบัญชาการการอยพยพระหว่างสถานการณ์การติดต่อสื่อสารด้วยช่องทางต่างๆการเคลื่อนย้ายทรัพยากรการจัดการจราจรการจัดทีมการให้ความช่วยเหลือและการจัดการในพื้นที่หลบภัย เป็นการดำเนินการในสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆโดยระดมทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งในด้านกำลังคนและปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีพในภาวะไม่ปรกติในการเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยซึ่งในขั้นตอนนี้นั้นถือได้ว่าเป็นการจัดการภาวะฉุกเฉินและเป็นการจัดการที่มีความยากลำบากมากเพราะต้องอาศัยความเป็นมืออาชีพในการเข้าให้ความช่วยเหลือกู้ชีพในสภาวะทางกายภาพที่เปลี่ยนแปลงไปจนบางครั้งถึงกับไม่เหลือเค้าโครงเดิมที่เคบพบเห็นมาอีกทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ช่วยเหลือเองก็ต้องคำนึงถีงความปลอดภัยของทีมงานของตนและตัวเองเช่นเดียวกันเพราะหากเจ้าหน้าที่ที่เข้าให้ความช่วยเหลือไม่สามารถปฏิบัติงานได้ผู้ที่รอรับความช่วยเหลือก็จะได้รับอันตรายเช่นเดียวกันดังนั้นเครื่องมือที่ช่วยให้การดำเนินการระหว่างเกิดภัยที่มีความคับขันของภายภาพเวลาและเงื่อนไขความเป็นตายของผู้ประสบภัยเป็นเดิมพันมีประสิทธิภาพมากขึ้นมีดังนี้
 
 
๏ การทำความเข้าใจต่อนโยบายและแผนปฏิบัติการต่างๆ
 
 
๏ การใช้ระบบการบัญชาการ
 
 
๏ การระบุหน่วยงานหลักและหน่วยประสานงาน
 
 
๏ การประเมินสถานการณ์และการเข้ากู้ภัย
 
 
๏ การอพยพระหว่างสถานการณ์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรที่จะตระหนักถึงประชาชนที่อาจจะไม่ได้รับคำเตือนอพยพล่วงหน้าหรืออาจจะไม่ยอมอพยพในช่วงแรกๆทำให้หน่วยงานต้องทำการอพยพเพิ่มเติมในระหว่างที่ภัยพิบัติกำลังเกิดขึ้นอยู่หรือแม้แต่การอพยพในแบบทันทีเพราะภัยที่เกิดขึ้นเป็นแบบที่ไม่สามารถเตือนล่วงหน้าได้การอพยพในระหว่างสถานการณ์นั้นมีความยากลำบากเป็นอย่างยิ่งเพราสถานการณ์ไม่คงที่และอาจเกิดความเสียหายทางกายภาพอย่างมากและส่งผลต่อเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการอพยพแต่เนื่องจากหน่วยท้องถิ่นนั้นมีความชำนาญการและคุ้นเคยต่อตำแหน่งของประชาชนและที่หลบภัยมากกว่าการเข้าปฏิบัติการโดยองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นจึงน่าจะได้ประสิทธิผลที่สูงกว่าดังนั้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเองก็ควรที่จะมีกำลังคนที่มีความรู้ความชำนาญและมีอุปกรณ์ในการให้ความช่วยเหลือในการอพยพที่ครบครัน
 
 
๏ การติดต่อสื่อสารด้วยช่องทางต่างๆภายใต้ความซับซ้อนของสถานการณ์และความฉุกเฉินของการเข้าให้ความช่วยเหลือประชาชนและเจ้าหน้าที่ต่างก็พยายามที่จะใช้ช่องทางการสื่อสารด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันแต่ความต้องการในการใช้ช่องทางการสื่อสารที่มากขึ้นกว่าเดิมในห้วงเวลาอันจำกัดนั้นจะส่งผลให้ช่องทางการสื่อสารหลักล้มเหลวในทันทีอย่างเช่นในเหตุการณ์สึนามิโทรศัพท์มือถือไม่สามารถใช้ได้วิทยุสื่อสาร VHF ก็มีผู้เข้าใช้จำนวนมากจนยุ่งเหยิงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องเตรียมอุปกรณ์ในการสื่อสารหลักและสำรองให้กับเจ้าหน้าที่อย่างครบถ้วนมีการตรวจตราเครื่องมือเหล่านี้ให้สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเสมอๆเพราะในการปฏิบัติงานด้านภัยพิบัตินั้นต้องการการประสานงานที่รวดเร็วมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างทั่วถึงและไม่มีการขาดหายอีกทั้งการทำงานกับภัยพิบัตินั้นมีตัวแปรเรื่องพื้นที่ทางกายภาพอยู่ตลอดเวลาการสื่อสารเพื่อปรับปรุงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและเพื่อทำให้การแยกกันทำงานในแต่ละพื้นที่สามารถประสานงานและช่วยเหลือเกื้อกูลกันได้อย่างดี
 
 
๏ การจัดการจราจรและการเคลื่อนย้ายทรัพยากรในภัยพิบัติการวางแผนการจราจรทั้งในเส้นทางหลักเส้นทางรองพาหนะหลักและพาหนะสำรองเป็นกระบวนการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดเพราะในเวลาดำเนินงานนั้นทรัพยากรจะต้องมีการเคลื่อนย้ายตลอดเวลารวมทั้งการสร้างระบบการรับส่งผู้ป่วยจากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเรียนรู้การส่งต่อผู้ป่วยว่ามีกระบวนการหรือมีข้อมูลหลักใดที่ต้องนำส่งไปด้วยการจัดส่งของบริจาคหรือถุงยังชีพที่ไม่สามารถจัดส่งได้โดยเส้นทางปรกตินั้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องวางระบบการรับส่งทางอากาศหรือการตั้งจุดช่วยเหลือเคลื่อนที่ขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกและแจกจ่ายอย่างทั่วถึง
 
 
๏ การทำงานกับสื่อศาสตร์ด้านการจัดการภัยพิบัติไม่ได้ให้แนวทางแต่เฉพาะว่าสื่อต้องการอะไรระหว่างการเกิดสถานการณ์หากแต่ยังแนะนำการเล่นบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นและองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นในการจัดการสื่อไว้ด้วย
 
 
๏ การจัดการในพื้นที่หลบภัย
 
 
๏ การติดตามประเมินความเสียหาย
 
 
๏ การฟื้นฟูบูรณะทางกายภาพและจิตใจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเข้าสำรวจพื้นที่ที่เกิดความเสียหาย
 
ร่วมกับหน่วยงานต่างๆในการทำความสะอาดและประเมินความปลอดภัยในการกลับเข้าอยู่อาศัยในพื้นที่และดำเนินการให้ความช่วยเหลือในการจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์วัสดุในการซ่อมแซมให้กับประชาชนในกรณีที่ความเสียหายไม่มากจนเกินไปนักหรือถ้าในกรณีความเสียหายมีสูงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรเป็นผู้ประสานในการขอความช่วยเหลือการได้รับการชดเชยช่วยเหลือหรือแม้แต่กระทั่งการบูรณะใหม่ทั้งหมดเช่นการสร้างบ้านน็อคดาวน์หรือการให้ความช่วยเหลือจากหน่วยงานของทหารช่างและทหารพัฒนาในการสร้างบ้านที่มีความปลอดภัยและสามารถต้านทานภัยได้ในระดับที่สูงขึ้นช่วยให้ประชาชนอยู่กับสถานการณ์เหล่านี้ได้ในส่วนของการฟื้นฟูสภาพจิตใจของประชาชนและเจ้าหน้าที่นั้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินการได้ทั้งในฐานะตัวกลางประสานงานให้นักสังคมสงเคราะห์และนักจิตวิทยาเข้าพูดคุยและเยียวยาผู้ประสบภัยทั้งนี้ด้วยเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นจะรู้ข้อมูลของผู้ประสบภัยรู้ภาวะทางด้านจิตใจของชุมชนและจะเป็นผู้ที่ผู้ประสบภัยไว้วางใจที่จะพูดคุยกับบุคลากรทางการแพทย์ที่พามาหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเองจะทำหน้าที่ในการพูดคุยและเยียวยาผู้ประสบภัยเองก็ย่อมทำได้หรือแม้แต่การให้กำลังใจและสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่เพื่อให้เกิดขวัญและกำลังใจในการทำงานให้ความช่วยเหลือประชาชนโดยสามารถเริ่มจากการไต่ถามสำรวจข้อมูลความต้องการของประชาชนในชุมชนในการดำเนินการฟื้นฟู
 
 
๏ การระบุร่องรอยภัยพิบัติงานการระบุร่องรอยภัยพิบัตินี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้จากบทเรียนของการเกิดขึ้นของภัยพิบัติว่าส่งผลกระทบในระดับใดมีรูปแบบอย่างไรสร้างความเสียหายในด้านใดและขนาดไหนการระบุร่อบรอยของภัยพิบัติมีประโยชน์มากต่อการจัดทำการวิเคราะห์ความเสี่ยงและวางมาตรการในการจัดการในครั้งต่อไปทั้งนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานที่รู้จักพื้นที่มากที่สุดและต้องเป็นผู้ที่ออกสำรวจพื้นที่เพื่อประเมินความเสียหายในเบื้องต้นอยู่แล้วซึ่งการระบุร่องรอยเป็นงานที่ต้องดำเนินการภายหลังจากการเกิดภัยอย่างรวดเร็วเพราะหากทิ้งเวลาเนิ่นนานไปเมื่อประชาชนกลับเข้าสู่พื้นที่และเริ่มดำเนินชีวิตแบบปรกติร่องรอยของภัยพิบัติจะถูกรบกวนและลบเลือนไปจากกิจกรรมของชุมชนการได้มาซึ่งข้อมูลร่องรอยนี้จะช่วยให้ท้องถิ่นมีความเข้าใจในภัยที่ต้องเผชิญได้ดีมากขึ้นและสามารถดำเนินการประเมินความเสี่ยงที่ต่อเนื่องไปต่อไป
 
 
๏ การจัดการเรื่องของบริจาคภายหลังจากเหตุการณ์ผ่านพ้นไปเราจะพบปัญหาหลักประการหนึ่งที่ปรากฏให้เห็นอยู่เสมอนั่นคือปัญหาการจัดการกับสิ่งของและเงินบริจาคโดยปัญหามีทั้งในมิติของความโปร่งใสในการจัดการแจกจ่ายของและเงินบริจาคและมิติของความวุ่นวายไม่เป็นระบบของการแจกจ่ายจนของบริจาคบางส่วนเน่าเสียและกองรวมกันอยู่อย่างไม่มีใครใส่ใจในการดำเนินการจัดการกับสิ่งของและเงินบริจาคตรงลงมายังท้องถิ่นนั้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือผู้แทนในระดับพื้นที่เช่นผู้ใหญ่บ้านจะต้องมีบทบาทในการประสานการแจกจ่ายด้วยการที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในระดับต่างๆต้องทำหน้าที่เสมือนจุดศูนย์กลางของการจัดเก็บและแจกจ่ายผ่านไปยังผู้แทนพื้นที่ในการกระจายสู่ครัวเรือนต่อไปหากเป็นกังวลในประเด็นของความเสมอภาคและทั่วถึงให้จัดกำลังอาสาสมัครร่วมไปกับการแจกจ่ายเพื่อช่วยให้มีการตรวจสอบไปในตัว
 
 
๏ การสร้างชุมชนสามารถฟื้นคืนจากภัย เป้าหมายสูงสุดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการจัดการภัยพิบัติในพื้นที่คือการสร้างให้ชุมชนมีความรู้ความสามารถความเข้าใจพร้อมรับมือภัยพิบัติและจัดการตนเองให้ฟื้นคืนจากผลกระทบของภัยได้อย่างรวดเร็วทั้งนี้ต้องอาศัยเครื่องมือที่กล่าวมาในทุกขั้นตอนและหลักการพัฒนาขีดความสามารถที่นำเสนอในส่วนถัดไป
 
ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่: คู่มือการจัดการภัยพิบัติท้องถิ่นที่มา : http://www.flood.rmutt.ac.th/?wpfb_dl=180
 
 
==การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม==
 
 
2.1 ความหมายของการจัดการธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
 
 
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมายถึง การดำเนินงานต่อทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในด้านการจัดหา การเก็บรักษา การซ่อมแซม การใช้อย่างประหยัดและการสงวนรักษาเพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมนั้น สามารถเอื้ออำนวยประโยชน์แก่มวลมนุษย์ได้ใช้ตลอดไป อย่างไม่ขาดแคลน หรือมีปัญหาใดๆหรืออาจจะหมายถึง กระบวนการจัดการแผนงาน หรือกิจกรรมในการจัดสรร และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เพื่อสนองความต้องการในระดับต่างๆของมนุษย์ และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาคือ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยยึดหลักการอนุรักษ์ ด้วยการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างฉลาดประหยัด และก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
 
 
 
2.2 แนวความคิดในการจัดการธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
 
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีแนวความคิดหลักในการดำเนินงานดังนี้คือ
 
 
1.) มุ่งหวังให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ประกอบกันอยู่ในระบบธรรมชาติมีศักยภาพ ที่สามารถให้ผลิตผลได้อย่างยั่งยืน ถาวร และมั่นคง คือมุ่งหวังให้เกิดความเพิ่มพูนภายในระบบ ที่จะนำมาใช้ได้โดยไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้นๆ
 
 
2.) ต้องมีการจัดองค์ประกอบภายในระบบธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมหรือระบบนิเวศให้มี ชนิด ปริมาณและสัดส่วนของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมแต่ละชนิดเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานตามธรรมชาติเพื่อให้อยู่ในภาวะสมดุลของธรรมชาติ
 
 
3.) ต้องยึดหลักการของอนุรักษ์วิทยาเป็นพื้นฐานโดยจะต้องมีการรักษา สงวน ปรับปรุง ซ่อมแซม และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติในทุกสภาพ ทั้งในสภาพที่ดีตามธรรมชาติ ในสภาพที่กำลังมีการใช้และในสภาพที่ทรุดโทรมร่อยหรอ
 
 
4.) กำหนดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนในการควบคุม และกำจัดของเสียมิให้เกิดขึ้นภายในระบบธรรมชาติรวมไปถึงการนำของเสียนั้นๆกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างต่อเนื่อง
 
 
5.) ต้องกำหนดแนวทางในการจัดการ เพื่อให้คุณภาพชีวิตของมนุษย์ดีขึ้น โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมในแต่ละสถานที่และแต่ละสถานการณ์
 
 
จากแนวคิดดังกล่าว เนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมนั้น มีหลายชนิด และแต่ละชนิด ก็มีคุณสมบัติ และเอกลักษณ์ที่เฉพาะตัวดังนั้น เพื่อให้การจัดการสามารถบรรลุเป้าหมายของแนวคิด จึงควรกำหนดหลักการจัดการหรือแนวทางการจัดการให้สอดคล้องกับชนิดคุณสมบัติ และเอกลักษณ์เฉพาะอย่างของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมนั้นๆ ดังนี้
 
 
ทรัพยากรหมุนเวียน หรือทรัพยากรที่ใช้ไม่หมดสิ้น
 
 
เป็นทรัพยากรที่มีอยู่ในธรรมชาติอย่างมากมาย อาทิเช่น แสงอาทิตย์ อากาศ และน้ำในวัฏจักรทรัพยากรประเภทนี้ มีความจำเป็นต่อร่างกายมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอย่างอื่นถ้าขาดแคลน หรือมีสิ่งเจือปน ทั้งที่เป็นพิษ และไม่เป็นพิษก็จะมีผลต่อการเจริญเติบโต และศักยภาพในการผลิตของทรัพยากรธรรมชาตินั้น
 
การจัดการจะต้องควบคุมการกระทำที่จะมีผลเสียหรือเกิดสิ่งเจือปนต่อทรัพยากรธรรมชาติ ต้องควบคุม และป้องกันมิให้เกิดปัญหามลพิษจากขบวนการผลิต ทั้งการเกษตร อุตสาหกรรมที่จะมีผลต่อทรัพยากรประเภทนี้ รวมทั้งการให้การศึกษาแก่ประชาชนทั้งผลดี-ผลเสียของการปนเปื้อน วิธีการควบคุม แลป้องกันรวมทั้งต้องมีกฎหมายควบคุมการกระทำที่จะมีผลต่อทรัพยากรธรรมชาติประเภทนี้ด้วย
 
 
 
ทรัพยากรทดแทนได้
 
 
เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้ว สามารถฟื้นคืนสภาพได้ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาวซึ่งได้แก่ ป่าไม้ มนุษย์ สัตว์ป่า พืช ดิน และน้ำ ทรัพยากรประเภทนี้มักจะมีมาก และจำเป็นอย่างยิ่งต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆมนุษย์ต้องการใช้ทรัพยากรนี้ตลอดเวลา เพื่อปัจจัยสี่การเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติชนิดนี้หรือการนำมาใช้ประโยชน์ ควรนำมาใช้เฉพาะส่วนที่เพิ่มพูนเท่านั้นหรืออีกนัยหนึ่งแนวคิดนี้ถือว่า ฐานของทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่เปรียบเสมือนต้นทุน ที่ ะได้รับผลกำไร หรือดอกเบี้ยรายปี โดยส่วนกำไรหรือดอกเบี้ยนี้ก็คือส่วนที่เราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้นั่นเอง
 
 
การจัดการจะต้องจัดให้ระบบธรรมชาติมีองค์ประกอบภายในที่มีชนิด และปริมาณที่ได้สัดส่วนกัน การใช้ต้องใช้เฉพาะส่วนที่เพิ่มพูนและต้องควบคุม และป้องกันให้สต๊อกหรือฐานของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมนั้นๆ มีศักยภาพ หรือความสามารถในการให้ผลิตผลหรือส่วนเพิ่มพูนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งในการใช้ หรือการผลิตของทรัพยากรธรรมชาตินั้นจะต้องใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และยึดหลักทางการอนุรักษ์วิทยาด้วย
 
 
 
ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป
 
 
เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วจะหมดไป ไม่สามารถเกิดขึ้นมาทดแทนได้ หรือถ้าจะเกิดขึ้นมาทดแทนได้ก็ต้องใช้เวลานานมาก และมักเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจซึ่งได้แก่ น้ำมัน ปิโตรเลียมก๊าซธรรมชาติและสินแร่การจัดการทรัพยากรประเภทนี้จะต้องเน้นการประหยัด และพยายามไม่ให้เกิดการสูญเสีย ต้องใช้ตามความจำเป็นหรือถ้าสามารถใช้วัสดุอื่นแทนได้ ก็ควรนำมาใช้แทนรวมทั้งต้องนำส่วนที่เสียแล้ว กลับมาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าต่อไป
 
 
2.3 กลยุทธ์ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
 
 
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะต้องมีแนวทางและมาตรการต่างๆที่ต้องดำเนินการให้สอดคล้องกันไปซึ่งขึ้นกับสถานภาพของปัญหาที่เกิดขึ้น และเป็นอยู่ในขณะนั้นแนวทาง และมาตรการดังกล่าว จะมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด หรือมีทุกลักษณะประกอบกัน ดังนี้
 
 
• การรักษาและฟื้นฟู เพื่อการปรับปรุงแก้ไขทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่ประสบปัญหา หรือถูกทำลายไปแล้ว โดยจะต้องเร่งแก้ไข สงวนรักษามิให้เกิดความเสื่อมโทรมมากยิ่งขึ้น และขณะเดียวกัน จะต้องฟื้นฟูสภาพ
 
แวดล้อมที่เสียไปให้กลับฟื้นคืนสภาพ
 
 
• การป้องกันโดยการควบคุมการดำเนินงาน และการพัฒนาต่างๆให้มีการป้องกันการทำลายสภาพแวดล้อม หรือให้มีการกำจัดสารมลพิษต่างๆด้วยการวางแผนป้องกันตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการ
 
 
• การส่งเสริมโดยการให้การศึกษา ความรู้ และความเข้าใจ ต่อประชาชนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในระบบทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมหรือระบบนิเวศ เพื่อให้เกิดจิตสำนึกทางด้านสิ่งแวดล้อมและมีความคิดที่จะร่วมรับผิดชอบในการป้องกัน และรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่
 
 
2.4 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
 
 
2.4.1 กฎหมาย
 
 
เครื่องมือที่สำคัญประการหนึ่งที่จะมีผลทำให้การจัดการหรือการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมประสบผลสำเร็จก็คือ กฎหมายทั้งนี้เพราะต้องอาศัยกฎหมาย เพื่อการกำหนดนโยบายการจัดการให้การดำเนินงานเป็นไปตามหลักความสมดุลของธรรมชาติมีความสอดคล้องกับการกำหนดอำนาจหน้าที่ วิธีการประสานงานขององค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้อง และในขณะเดียวกัน ก็เป็นเครื่องมือในการควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปตามระเบียบ และข้อกำหนดอย่างชัดเจนด้วยเดิมทีประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงเพียงฉบับเดียว ที่ครอบคลุมเรื่องการแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือ พระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมฉบับที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๑๘ และฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๒๑ แต่พระราชบัญญัติฯ ฉบับนี้มิได้มีกลไกที่เป็นระบบ ที่จะช่วยให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายและแผนที่ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ไปสู่ภาคปฏิบัติที่ได้ผลขาดความต่อเนื่องในการติดตามตรวจสอบโครงการ ที่ได้ดำเนินงานไปแล้วขาดอำนาจในการลงโทษ และการบังคับใช้มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดและประเด็นที่สำคัญก็คือไม่มีการกำหนดความรับผิดชอบของผู้ทำลายสิ่งแวดล้อมที่จะต้องรับภาระในการแก้ไข นอกจากนั้นยังไม่เปิดโอกาสให้มีการจัดทำเครือข่ายการทำงานด้านการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่จะช่วยให้มีการผนึกกำลังระหว่างภาครัฐบาลเอกชน และองค์กรเอกชนอย่างมีระบบ รวมทั้งยังไม่ได้มีการกระจายอำนาจออกไปสู่ส่วนภูมิภาค และท้องถิ่นให้เพียงพอด้วย
 
 
ปัจจุบันมีการตราพระราชบัญญัติขึ้นใหม่เพื่อใช้เป็นกฎหมาย ที่จะเอื้ออำนวยต่อการควบคุมและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นคือ พระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งพระราชบัญญัติฯ ฉบับนี้ ได้มีผลทำให้เกิดมาตรการการดำเนินงานต่างๆ อาทิเช่น การปรับองค์กรให้มีเอกภาพ ทั้งในการกำหนดนโยบาย และแผนการส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมการควบคุมมลพิษ การกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมออกสู่จังหวัด และท้องถิ่น การกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมและมาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิดการพิจารณา และติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ทั้งก่อนและหลังโครงการพัฒนา การกำหนดสิทธิ และหน้าที่ตามกฎหมายของประชาชนและเอกชน ที่จะมีส่วนร่วมในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การนำมาตรการด้านการเงินการคลังมาใช้เป็นมาตรการเสริมเพื่อให้เป็นแรงจูงใจ และมาตรการบังคับให้ส่วนราชการท้องถิ่น องค์กรเอกชน และภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ภายใต้หลักการ "ผู้ก่อให้เกิดมลพิษต้องมีหน้าที่เสียค่าใช้จ่าย" การกำหนดหรือจำแนกพื้นที่ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเร่งด่วน เพื่อการคุ้มครองอนุรักษ์และควบคุมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีการกำหนดความรับผิดชอบทางแพ่ง การต้องชดใช้ค่าเสียหายหรือสินไหมทดแทนกรณีทำให้เกิดการแพร่กระจายมลพิษ และการเพิ่มบทลงโทษในการไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบที่กำหนดขึ้นด้วยทั้งในรูปของการปรับและการระวางโทษจำคุกเป็นต้น
 
นอกจากนี้แล้วยังมีกฎหมายฉบับอื่นๆซึ่งมีบทบัญญัติบางมาตรา ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมอีกหลายฉบับ อาทิเช่น พระราชบัญญัติโรงงาน ๒๕๓๕พระราชบัญญัติสาธารณสุข ๒๕๓๕ พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย ๒๕๓๕พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๑๐ พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. ๒๕๑๘พระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. ๒๕๒๐ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๐๓พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๓ พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๐๗ เป็นต้น รวมทั้งยังมีประกาศกระทรวง กฎกระทรวง ระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง กับสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยความตามมาตราในพระราชบัญญัติต่างๆ
 
 
2.4.2 องค์กรเพื่อการบริหารงานการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
 
จากการที่ได้มีการตราพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ ขึ้นใหม่ได้มีผลทำให้มีการปรับอำนาจหน้าที่ และองค์ประกอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติขึ้นใหม่โดยมีลักษณะเป็นคณะรัฐมนตรีด้านสิ่งแวดล้อม มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทน จากภาคเอกชนร่วมเป็นกรรมการด้วย โดยมีปลัด กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เป็นกรรมการและเลขานุการ ซึ่งจะมีผลทำให้การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นนอกจากนี้ยังได้มีการ ปรับปรุงและจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมขึ้น ภายใต้ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ๓ หน่วยงาน คือ สำนักงานนโยบายและ แผนสิ่งแวดล้อมกรมควบคุมมลพิษ และกรม ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
 
 
• สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม: มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ในการจัดทำนโยบาย และแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ให้สอดคล้องกับนโยบายด้านต่างๆของประเทศ การจัดทำแผนการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมและประสานการจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม ในระดับจังหวัดการประสานการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม การเสนอแนะแนวนโยบาย แนวทาง และการประสานการบริหาร งานการจัดการกองทุนสิ่งแวดล้อมรวมทั้งการ ติดตามตรวจสอบและการจัดทำรายงานสถานการณ์ คุณภาพสิ่งแวดล้อมการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่ง แวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากกิจกรรมหรือโครงการของภาครัฐ หรือเอกชน การประสานงานด้านสิ่งแวดล้อมในส่วนภูมิภาคและการกำหนดท่าที แนวทาง และประสานความร่วมมือรวมทั้งการ เข้าร่วมในพันธกรณีด้านสิ่งแวดล้อมระหว่าง ประเทศ
 
 
• กรมควบคุมมลพิษ : มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ในการจัดทำนโยบาย และแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ด้านการควบคุมมลพิษการกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม และมาตรฐานควบคุมมลพิษ จากแหล่งกำเนิดการจัดทำแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม และมาตรการในการควบคุม ป้องกัน แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากภาวะมลพิษ การพัฒนาระบบ รูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการคุณภาพน้ำ อากาศระดับเสียง สารอันตราย และกากของเสียรวมทั้งการดำเนินการเกี่ยวกับการรับเรื่องราวร้อง ทุกข์ด้านมลพิษ
 
 
• กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม: มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ในด้านการส่งเสริมเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ด้านสิ่งแวดล้อมการจัดทำระบบข้อมูลข้อสนเทศ ด้านสิ่งแวดล้อมรวมทั้งการให้ความรู้ ด้านสิ่งแวดล้อม แก่หน่วยงานของภาครัฐ และภาคเอกชน
 
นอกจากนี้สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม ยังได้มีการจัดตั้งสำนักงานสิ่งแวดล้อมในระดับภูมิภาคขึ้น เพื่อเป็นศูนย์ประสานงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในระดับภูมิภาครวมทั้งเป็นที่ปรึกษาทางวิชาการ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นด้วยโดยในปัจจุบันมีสำนักงานสิ่งแวดล้อมภูมิภาคอยู่ ๔ สำนักงาน คือสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคใต้ ที่จังหวัดสงขลา สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดขอนแก่น สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคตะวันออก
 
 
2.4.3 กองทุนสิ่งแวดล้อม
 
 
กลไกพื้นฐานประการหนึ่งที่จะทำนโยบายและแผน ไปสู่การปฏิบัติอย่างได้ผลเป็นรูปธรรมก็คือการให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ ดังนั้นในปัจจุบันจึงได้มีการจัดตั้งกองทุนสิ่งแวดล้อมขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักของการจัดตั้งกองทุน คือการให้มีเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการกู้ยืม และ/หรือร่วมลงทุนสำหรับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน เพื่อนำไปใช้ในการก่อสร้างและดำเนินการระบบบำบัดน้ำเสียรวม หรือระบบกำจัดของเสียรวม ของทางราชการในระดับท้องถิ่น หรือส่วนราชการอื่น ที่เกี่ยวข้อง ที่มีแผนปฏิบัติการที่ชัดเจน การบริหารกองทุนเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกองทุนสิ่งแวดล้อม ซึ่งมี ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่ง แวดล้อม เป็นประธานฯ และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
 
กองทุนสิ่งแวดล้อมได้จัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ๒๕๓๕ โดยรัฐได้จัดสรรเงินงบประมาณให้เป็นเงินทุนหมุนเวียนเบื้องต้น ๕๐๐ ล้านบาทเงินสมทบจากองทุนน้ำมัน ๔,๕๐๐ ล้านบาทและต่อมาในปี ๒๕๓๖ และ ๒๕๓๗ ได้รับการจัดสรรเงินจากเงินงบประมาณแผ่นดินอีกปีละ๕๐๐ ล้านบาท
 
 
 
2.4.4 การวางแผนพัฒนาสิ่งแวดล้อมในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
 
 
 
ประเทศไทยได้เริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๔ แต่การวางแผนพัฒนาในระยะแรกๆ ยังไม่ให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมมากนัก โดยในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑ (๒๕๐๔ - ๒๕๐๙) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๒ (๒๕๑๐ - ๒๕๑๔) และแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๓ (๒๕๑๕ - ๒๕๑๙)ได้เน้นการระดมใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติโดยขาดการวางแผนการจัดการที่เหมาะสม ขาดการคำนึงถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อม จนในช่วงของปลายแผนพัฒนาฯฉบับที่ ๓ ได้ปรากฏให้เห็นชัดถึงปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรหลักของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ป่าไม้ ดินแหล่งน้ำ และแร่ธาตุ รวมทั้งได้เริ่มมีการแพร่กระจายของมลพิษ ทั้งมลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ เสียง กากของเสีย และสารอันตรายดังนั้น ประเทศไทยจึงได้เริ่มให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมมา ตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่๔ เป็นต้นมา
 
 
• แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๔ (๒๕๒๐ -๒๕๒๔): กำหนดแนวทางการฟื้นฟูบูรณะ ทรัพยากรที่ถูกทำลาย และมีสภาพเสื่อมโทรมการกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างๆไว้ในแผนพัฒนาด้านต่างๆและได้ให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังขึ้นโดยได้มีการจัดทำนโยบายและมาตรการการ พัฒนาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ๒๕๒๔ ขึ้นตามพระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๑๘
 
 
• แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๕ (๒๕๒๕ -๒๕๒๙) : กำหนดแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยการนำนโยบายและมาตรการการพัฒนาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติที่ได้จัดทำขึ้นมาเป็นกรอบในการกำหนดแนวทางมีการกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม กำหนดให้โครงการพัฒนาของรัฐขนาดใหญ่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมรวมทั้งมีการจัดทำแผนการจัดการสิ่งแวดล้อมระดับพื้นที่ เช่นการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาการจัดการสิ่งแวดล้อมบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกการวางแผนการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาภาคใต้ตอนบน
 
 
• แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๖ (๒๕๓๐ -๒๕๓๔): ได้มีการปรับทิศทาง และแนวคิดในการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใหม่โดยการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติทุกประเภท ซึ่งได้แก่ ทรัพยากรที่ดินทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรแหล่งน้ำ ทรัพยากรประมง และทรัพยากรธรณีและการจัดการมลพิษ มาไว้ในแผนเดียวกัน ภายใต้ชื่อแผนพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมโดยให้ความสำคัญในเรื่องของการปรับปรุงการบริหารและการจัดการให้มีประสิทธิภาพอย่างเป็น ระบบและสนับสนุนให้มีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อให้มีการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติ มาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และไม่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษ และที่สำคัญคือเน้นการส่งเสริมให้ประชาชน องค์กร และหน่วยงานในระดับท้องถิ่นมีการวางแผนการจัดการ และการกำหนดแผนปฏิบัติการในพื้นที่ร่วมกับส่วนกลางอย่างมีระบบโดยเฉพาะการกำหนดให้มีการจัดทำแผนพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับ จังหวัดทั่วประเทศ
 
 
• แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๗ (๒๕๓๕ -๒๕๓๙) : การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยังคงเป็นการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องโดยการสนับสนุนองค์กรเอกชน ประชาชน ทั้งในส่วนกลาง และส่วนท้องถิ่นให้เข้ามามีบทบาท ในการกำหนดนโยบาย และแผนการจัดการการเร่งรัดการดำเนินงาน ตามแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่แล้วการจัดตั้งระบบข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ให้เป็นระบบเดียวกันเพื่อใช้ในการวางแผน การนำมาตรการด้านการเงินการคลัง มาช่วยในการจัดการและการเร่งรัดการออกกฎหมาย เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติตลอดจนการนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการควบคุมและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
 
 
2.4.5 การกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม
 
 
การพัฒนาด้านต่างๆจะต้องมีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดผลิตผลตามความต้องการ แต่ในขณะเดียวกันก็จะมีของเสียเป็นสารมลพิษเกิดขึ้นด้วย ซึ่งในทางปฏิบัตินั้นธรรมชาติมีขีดความสามารถในการรองรับของเสียได้เพียงบางส่วนและประกอบกับเราก็ไม่สามารถที่จะป้องกันไม่ให้เกิดหรือแก้ไขปัญหาภาวะมลพิษให้หมดสิ้นไปได้ทั้งหมดด้วยดังนั้นการควบคุมภาวะมลพิษของประเทศไทยจึงใช้วิธีการกำหนดมาตรฐานเป็นสำคัญ การ กำหนดมาตรฐานนี้เป็นมาตรการโดยตรงที่สามารถควบคุมแหล่งกำเนิดมลพิษ และเป็นเกณฑ์เบื้องต้นสำหรับการจัดการควบคุมปัญหา ภาวะมลพิษเพื่อให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมาตรฐานขั้นต่ำที่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศและระดับความต้องการ ของคุณภาพชีวิต รวมทั้งยังเป็นมาตรการหนึ่งที่ช่วยให้สามารถกำหนดนโยบายที่ถูกต้อง เพื่อการพัฒนาและป้องกันการเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม ให้สามารถดำเนินการได้อย่างหมาะ
 
 
การกำหนดมาตรฐาน โดยทั่วไปจะทำได้สองลักษณะคือ การกำหนดมาตรฐานจากแหล่งกำเนิด หรือมาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิด (Emission Standard) และการกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม (Ambient Standard)
 
 
• มาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิด (Emission Standard) เป็นมาตรฐานมลพิษในสิ่งแวดล้อม โดยทั่วไป มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ได้มีการประกาศใช้แล้ว อาทิเช่น มาตรฐานคุณภาพน้ำ ในแหล่งน้ำผิวดินที่ไม่ใช่ทะเล มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง มาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งมาตรฐานคุณภาพน้ำบาดาล ที่จะใช้บริโภค มาตรฐานคุณภาพน้ำดื่มและมาตรฐานคุณภาพอากาศ ในบรรยากาศ เป็นต้น
 
 
• มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม (Ambient Standard) เป็นมาตรฐานมลพิษจากแหล่งกำเนิด หรือกิจกรรมต่างๆมาตรฐานที่ได้มีการประกาศใช้แล้ว อาทิเช่น มาตรฐานคุณภาพอากาศเสียที่ระบายออกจากท่อไอเสียของรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือกลมาตรฐานคุณภาพอากาศเสีย ที่ระบายออกจากโรงงาน มาตรฐานระดับเสียงของรถยนต์รถจักรยานยนต์ และเรือกล และมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคารบางประเภท และบางขนาด เป็นต้น
 
มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม และมาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิดเหล่านี้ เป็นกลยุทธ์หนึ่งของการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ เมื่อมีการบังคับใช้อย่างเข้มงวด เสมอภาคกันและต่อเนื่อง รวมทั้งจะต้องได้รับความร่วมมือจากเจ้าของโครงการ หรือนักลงทุน ผู้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เป็นสำคัญด้วย
 
 
 
นอกจากนี้เพื่อให้การใช้มาตรฐานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการสนับสนุนการกระจายอำนาจ ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ๒๕๓๕ยังได้มีการกำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ในเขตควบคุมมลพิษซึ่งเป็นพื้นที่มีปัญหาสิ่งแวดล้อมวิกฤต มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดมาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิดให้สูงกว่ามาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิดที่กำหนดไว้แล้วได้
 
 
2.4.6 มาตรการจูงใจในการอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมปัจจุบันปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้น จำเป็นจะต้องได้รับความร่วมมือในการดำเนินงานแก้ไข ทั้งในภาครัฐบาล ผู้ประกอบการและ ประชาชนโดยทั่วไป ดังนั้น แนวทางการจัดการ หรือแนวทางการอนุรักษ์จึงต้องเข้าไป แทรกแซงอยู่ในพฤติกรรมของผู้ใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดังกล่าวโดยการสร้างแรงจูงใจทางด้านเศรษฐกิจขึ้นซึ่งวิธีนี้จะทำให้การอนุรักษ์เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเพราะจะเป็นการให้ความเป็นธรรม ในการกระจายต้นทุน และผลประโยชน์ในการอนุรักษ์ และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยวิธีการต่างๆซึ่งได้แก่
 
 
การกำหนดมาตรการที่จะช่วยให้ราษฎร ในระดับท้องถิ่นได้รับผลประโยชน์จากการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมนั้นโดยการนำรายได้จากการบริหาร และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติมาจัดสรรและนำกลับไปพัฒนาชุมชน และคุณภาพชีวิตของราษฎรในท้องถิ่นให้ดีขึ้นอาทิเช่น การจัดสรรผลประโยชน์จากการดำเนินงานด้านป่าไม้โดยการเก็บภาษีผลกำไรในธุรกิจป่าไม้ และนำไปใช้ในโครงการพัฒนาชนบทหรือการนำค่าธรรมเนียมการเข้าไปใช้พื้นที่คุ้มครองไปใช้ในการป้องกันรักษาทรัพยากรและการจัดการพื้นที่คุ้มครองในแต่ละแห่งเป็นต้น
 
 
การลดอัตราอากรสำหรับเครื่องจักร วัสดุและอุปกรณ์ ที่ใช้ในการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมเนื่องจากปัจจุบันได้มีการพัฒนาเครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อใช้ในการรักษา หรือควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อมขึ้นมาก ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้เครื่องจักร วัสดุและอุปกรณ์เหล่านี้ ซึ่งจะเป็นการช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นได้ทางหนึ่ง กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๗สิงหาคม ๒๕๒๕ จึงได้กำหนดแนวนโยบายด้านการลดอัตราอากรศุลกากร หลักเกณฑ์เงื่อนไขในการลดอัตราอากรศุลกากร สำหรับเครื่องจักรวัสดุอุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงานหรือที่รักษาสิ่งแวดล้อมขึ้น โดยให้เรียกเก็บอัตราอากรเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของอัตราปกติหรือเหลือร้อยละ๕ แล้วแต่อย่างไหนจะต่ำกว่า รวมทั้งได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาเครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ มาตรฐาน ตลอดจนการอนุมัติรายการเครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ที่สมควรได้รับสิทธิพิเศษทางด้านภาษีอากรด้วย
 
เครื่องจักรวัสดุ และอุปกรณ์ ที่รักษาสิ่งแวดล้อม ที่อยู่ในข่ายได้รับการลดอัตราอากรจะต้องเป็นชนิดและประเภท ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย อากาศเสียขจัดกากของเสียของขยะ ใช้ลด หรือป้องกันเสียงรบกวนจากต้นกำเนิดในกิจการอุตสาหกรรม อาทิเช่น แผ่นหมุนชีวภาพ อุปกรณ์ในการกำจัด คราบน้ำมันเครื่องบีบตะกอน เครื่องเติมอากาศ อุปกรณ์ครอบเสียง เครื่องดักฝุ่นผ้ากรองฝุ่น หรือถุงกรองฝุ่น สารเคมีที่ช่วยในการจับตะกอน ของอากาศเสียเครื่องกำจัดไอกรด รวมทั้ง วัสดุ/อุปกรณ์ที่ใช้ในการวิจัย วิเคราะห์ตรวจวัด และติดตามผล เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมการริเริ่มลดอัตราอากรศุลกากรของเครื่องจักรวัสดุ และอุปกรณ์ ที่ใช้ในการรักษาสิ่งแวดล้อม ดังกล่าวนี้นับเป็นแนวคิดที่เหมาะสมกับโครงสร้าง ของประเทศกำลังพัฒนา เช่น ประเทศไทยซึ่งจำเป็นต้องเร่งรัดการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ทั้งนี้เพราะเป็นมาตรการการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่เป็นสิ่งจูงใจ และสร้างความกระตือรือร้นให้แก่ภาครัฐบาลและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง
 
 
การนำมาตรการการลดหย่อนภาษีรายได้ ตามประมวลรัษฎากรมาใช้ เพื่อสนับสนุนและคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันกระทรวงการคลัง ได้กำหนดให้รายจ่ายเพื่อสาธารณประโยชน์ สามารถนำมาหักภาษีรายได้ ในส่วนที่ไม่เกินร้อยละ ๒ของกำไสุทธิได้ ซึ่งถือได้ว่า เป็นวิธีการหนึ่งที่จะสนับสนุนให้การจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อมมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นรายจ่ายเพื่อกิจการสาธารณประโยชน์ดังกล่าว ได้แก่ รายจ่ายที่จ่ายให้แก่หรือเพื่อกิจการต่างๆ
 
 
2.4.7 การประชาสัมพันธ์และสิ่งแวดล้อมศึกษา
 
การป้องกันและแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรม ของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นนั้นปัจจุบันสามารถกระทำได้หลายวิธีทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ การออกกฎหมายควบคุม และอีกหลายๆ วิธี ดังกล่าวข้างต้นแต่วิธีการที่เป็นที่ยอมรับว่า เป็นมาตรการเสริมที่จะช่วยให้การดำเนินงานแก้ไขและป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและให้ผลในระยะยาวก็คือ การสร้างจิตสำนึกให้เกิดขึ้นในตัวของประชาชนทุกคนโดยเฉพาะผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการใช้ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมวิธีการที่จะสร้างจิตสำนึกให้เกิดขึ้นได้วิธีหนึ่งก็คือ การให้การศึกษาและการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข่าวสาร ข้อมูล ทางด้านสิ่งแวดล้อมให้ประชาชนได้รู้ และเข้าใจถึงอันตรายของสิ่งแวดล้อมและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อตนเอง และตระหนักถึงคุณค่าและคุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่มีต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์
 
 
1) การให้การศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ
 
 
โดยการกำหนดหลักสูตรวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษาในลักษณะสอดแทรกในหมวดวิชาการต่างๆ ทั้งในระดับประถม และมัธยมศึกษารวมทั้งอุดมศึกษา ด้วยการมุ่งเน้นในด้านการมีบทบาทและความสำนึกรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม ที่ทุก
 
คนจะต้องร่วมกันและในขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยต่างๆก็ได้ดำเนินการผลิตบัณฑิตทางด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการกำลังคนทางด้านสิ่งแวดล้อมด้วยส่วนการให้การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมนอกระบบนั้น หน่วยงานทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน ได้จัดให้มีการเผยแพร่ความรู้ ข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อมเป็นประจำ โดยการใช้สื่อทั้งทางวิทยุ โทรทัศน์หนังสือพิมพ์ และวารสารต่างๆ รวมทั้งการจัดให้มีกิจกรรมด้านต่างๆ เช่นการฝึกอบรม การประชุม สัมมนาและการจัดนิทรรศการด้านสิ่งแวดล้อมเนื่องในวันสำคัญๆ เช่นวันสิ่งแวดล้อมโลก วันสิ่งแวดล้อมไทย สัปดาห์อนามัยสิ่งแวดล้อมสัปดาห์ตาวิเศษ เป็นต้น นอกจากนี้ โรงเรียน และสถาบันการศึกษาต่างๆยังได้มีการสนับสนุน การจัดตั้งชมรมอนุรักษ์ขึ้นเป็นการภายในรวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม ในรูปแบบต่างๆ ด้วย
 
 
2) การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข่าวสารและการรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อม
 
 
ปัจจุบันการประชาสัมพันธ์ และรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อกระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกแก่ประชาชนโดยทั่วไปนั้นมีการดำเนินงานในรูปแบบต่างๆ ทั้งการสร้างสื่อซึ่งได้แก่ สปอตทีวี สารคดี การผลิตโสตทัศนูปกรณ์ และสิ่งพิมพ์ต่างๆ รวมทั้งการเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชนทั้งด้านหนังสือพิมพ์ วิทยุโทรทัศน์ ทั้งนี้โดยให้ความสำคัญใน ๒ ประเด็นคือ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการป้องกันแก้ไขปัญหาภาวะมลพิษ
 
 
• การสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ การอบรมผู้นำเยาวชน เพื่อการพิทักษ์ทรัพยากรในท้องถิ่นโครงการอีสานเขียว โครงการวันต้นไม้แห่งชาติเป็นต้น
 
 
• การสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะมลพิษ เนื่องจากปัญหามลพิษเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในย่านอุตสาหกรรม และในเมืองหลักเป็นส่วนใหญ่การสร้างจิตสำนึก จึงเน้นกลุ่มเป้าหมาย ที่ผู้ประกอบกิจการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คนงาน และประชาชนในเมืองโดยการรณรงค์จะเป็นการผสมผสานวิธีการในหลายรูปแบบ ทั้งการจัดการฝึกอบรมสัมมนา การประชุมเชิงปฏิบัติการ นิทรรศการ และกิจกรรมพิเศษเพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วน ร่วม เช่น การประกวดบทความ ภาพวาดสำหรับเยาวชน เรียงความ การแข่งขันตอบ ปัญหาผ่านสื่อมวลชน เป็นต้น
 
เนื่องจากการสร้างจิตสำนึกแก่ประชาชนโดยทั่วไปนั้นเป็นความพยายามที่จะปรับพฤติกรรมของมนุษย์ในทิศทางที่เสริมสร้างการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการแก้ไข ป้องกันปัญหาภาวะมลพิษซึ่งมักจะขัดกับพฤติกรรมที่เคยชินของประชาชนในสังคมปัจจุบัน รวมทั้งยังจำเป็นต้องมีการเสียสละเวลาและผลประโยชน์ ส่วนตนเพื่อส่วนรวมด้วยจึงเป็นการดำเนินงาน ที่ต้องการความละเอียดอ่อน และต้องใช้ระยะเวลารวมทั้งต้องมีการวางแผนที่เหมาะสม เพื่อให้เข้า ถึงประชาชนจึงจะทำให้เกิดผลบรรจุถึงเป้า หมายที่กำหนดไว้
 
 
ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ :
 
 
1. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ที่มา:http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=19&chap=1&page=t19-1-infodetail06.html
 

โปรดระลึกว่างานเขียนทั้งหมดใน คลังข้อมูลด้านรัฐศาสตร์ อาจถูกผู้เขียนอื่นแก้ไข เปลี่ยนแปลงหรือนำออก หากคุณไม่ต้องการให้งานของคุณถูกแก้ไข ก็อย่าส่งเข้ามา
นอกจากนี้ คุณยังสัญญาเราว่าคุณเขียนงานด้วยตนเอง หรือคัดลอกจากสาธารณสมบัติหรือทรัพยากรเสรีที่คล้ายกัน (ดูรายละเอียดที่ [[]]) อย่าส่งงานมีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต!

ยกเลิก | คำอธิบายการแก้ไข (เปิดหน้าต่างใหม่)