กำลังแก้ไข สาขาการระหว่างประเทศ

คำเตือน: คุณมิได้ล็อกอิน สาธารณะจะเห็นเลขที่อยู่ไอพีของคุณหากคุณแก้ไข หากคุณล็อกอินหรือสร้างบัญชี การแก้ไขของคุณจะถือว่าเป็นของชื่อผู้ใช้ของคุณ ร่วมกับประโยชน์อื่น

สามารถย้อนการแก้ไขนี้กลับได้ กรุณาตรวจสอบข้อแตกต่างด้านล่างเพื่อทวนสอบว่านี่เป็นสิ่งที่คุณต้องการทำ แล้วบันทึกการเปลี่ยนแปลงด้านล่างเพื่อเสร็จสิ้นการย้อนการแก้ไขกลับ
รุ่นปัจจุบัน ข้อความของคุณ
แถว 1,854: แถว 1,854:
 
==ความมั่นคงในยุคสมัยใหม่==
 
==ความมั่นคงในยุคสมัยใหม่==
  
8.1. Traditional Threat 
 
ภายใต้ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน อาจเป็นที่สงสัยหรือยังไม่เป็นที่เข้าใจกันลึกซึ้งนักกับคำว่า "ความมั่นคงของชาติ” ในตอนนี้จะขอให้ความรู้ความเข้าใจถึงความหมายของคำนี้ ซึ่งก็มีความหมายเดียวกับ "ความมั่นคงของรัฐ” โดยที่รัฐ (State) ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ ประชากร ดินแดน รัฐบาล และอำนาจอธิปไตย หากองค์ประกอบใดไม่เข้มแข็งเพียงพอชาติก็จะขาดความมั่นคง
 
 
ในอดีต ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงของชาติมักให้ความสนใจที่ภัยคุกคามจากภายนอก โดยเฉพาะภัยคุกคามทางทหาร ด้วยเหตุนี้เมื่อกล่าวถึงความมั่นคงของชาติ ส่วนมากจึงเป็นที่เข้าใจว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการทหารหรือการสงครามโดยตรง ซึ่งอาจเป็นความจริงในอดีตมากกว่าในปัจจุบัน จากการสำรวจความหมายของความมั่นคงของชาติแบบดั้งเดิมสรุปได้ว่า หมายถึงสภาวการณ์ของชาติภายใต้การนำของรัฐบาลที่มีอำนาจอธิปไตยในการปกครองดินแดนดังกล่าวด้วยตนเอง อยู่ในสภาพที่มีความปลอดภัยจากภัยคุกคามทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นการเสี่ยงใด ๆ ความเกรงกลัว ความกังวล และความสงสัย อีกทั้งมีเสรีต่อแรงกดดันต่าง ๆ ซึ่งจะประกันให้เกิดอำนาจหน้าที่ของแต่ละส่วนภายในชาติดำเนินไปได้อย่างอิสระ นอกจากนี้ ยังต้องมีความแน่นอนไม่เปลี่ยนแปลงไปโดยง่าย มีความอดทนต่อแรงกดดันต่าง ๆ ที่มากระทบ และมีขีดความสามารถที่จะพร้อมเผชิญต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
 
 
การให้ความหมายของคำว่า "ความมั่นคงแห่งชาติ” ในแต่ละช่วงเวลาของแต่ละกลุ่มบุคคลในสังคมที่มีอุดมการณ์ครอบงำอยู่ อาจมีความหมายและองค์ประกอบที่แตกต่างกันออกไป และให้ความสำคัญต่อความมั่นคงแห่งชาติมากน้อยต่างกันไป ซึ่งโดยทั่วไปรัฐหรือชาติต้องการดำรงความเป็นอยู่ ต้องการมีเสรีภาพ (liberty) คือมีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนของตน มีอิสระต่อแรงกดดันต่าง ๆ มีความมั่นคงปลอดภัย (security) และมีความผาสุกสมบูรณ์ (wealth) การที่จะมีสิ่งเหล่านี้ได้รัฐต้องมีพลังอำนาจของชาติ (national power) ที่เข้มแข็ง หรือมีศักยภาพในหลายด้านด้วยกัน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในปกป้องผลประโยชน์ของชาติ (national interests) การสิ้นสุดของสงครามเย็นมีผลต่อแนวความคิดในการพิจารณาปัญหาความมั่นคงของชาติ จาก "สภาพแวดล้อมใหม่” ที่ความขัดแย้งในเชิงอุดมการณ์เลือนหายไป แต่กลับมีความขัดแย้งในผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของชาติ การศึกษาความมั่นคงภายใต้สถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
 
 
หากให้ความสำคัญเฉพาะเรื่องของการสงครามและการทหารเพียงอย่างเดียวจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างคับแคบและอยู่ในวงจำกัด เรื่องของความมั่นคงจึงขยายวงกว้างขวางขึ้นโดยมีมิติอื่น ๆ เช่น เศรษฐกิจ สังคม จิตวิทยา การเมือง เพิ่มเข้ามา จึงพบว่าปัญหาสิ่งแวดล้อม ผู้ลี้ภัยที่ไม่พึงประสงค์ ภาวะโลกร้อน ฯลฯ ล้วนแต่เป็นประเด็นที่อาจส่งผลทางตรงต่อความขัดแย้ง โดยผ่านกลไกการเสื่อมถอยทางเศรษฐกิจ และความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง
 
 
เมื่อจำแนกความมั่นคงออกเป็นมิติต่าง ๆ กล่าวได้ว่าประกอบด้วย ความมั่นคงทางทหาร หมายถึง ความพร้อมทางทหารเพื่อป้องกันการรุกราน ความมั่นคงทางด้านการเมือง หมายถึง การมีระบบการเมืองที่มั่นคง มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หมายถึง การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูง มีอัตราการส่งออกสูง ประชาชนมีรายได้ต่อหัวสูง และความมั่นคงทางสังคม หมายถึง คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน โดยได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง มีระบบสาธารณะสุขที่ดี ปลอดโรคภัยไข้เจ็บ และมีความอยู่ดีกินดี เป็นต้น
 
อ้างอิงโดย http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=3166&filename=index
 
 
8.2. Non-Traditional Threat
 
 
ประเด็นความมั่นคงแบบ “non-traditional” ซึ่งเน้นในเรื่องความมั่นคงของมนุษย์นับว่ามีความสำคัญยิ่ง และได้รับความสนใจจากรัฐบาลต่างๆมากขึ้นดังสะท้อนให้เห็นจากการกล่าวถึงประเด็นนี้ในสุนทรพจน์ของผู้นำต่างๆโดยเฉพาะในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ที่แต่ละประเทศมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันที่นอกเหนือไปจากประเด็นดั้งเดิม (traditional) ความมั่งคงแบบ non-traditional นี้หมายรวมถึง ปัญหาที่เกิดจากด้านสาธารณสุข การย้ายถิ่น สิ่งแวดล้อมการแข่งขันเพื่อแย่งชิงทรัพยากร อาชญากรรมข้ามชาติปัญหาโจรสลัดและปัญหาการก่อการร้ายปัญหาเหล่านี้ได้ท้าทายบทบาทของรัฐในการให้ความคุ้มกันต่อความปลอดภัยของประชาชนให้สามารถมีชีวิตอยู่อย่างปกติสุขขณะที่มีส่วนในการสร้างความตื่นตัวในกลุ่มประชาชนต่อภัยในรูปแบบใหม่นี้ซึ่งมักถูก “overshadowed” โดยภัยในรูปแบบเดิมๆ เช่น ภัยจากทางทหารภัยจากการรุกรานของต่างชาติ เป็นต้น
 
สถาบันความมั่นคงและยุทธศาสตร์ศึกษา (IDSS) ของสิงคโปร์ ร่วมกับ The Ford Foundation ได้จัดการสัมมนาเรื่อง “Non-Traditional Security in Asia” ระหว่างวันที่ 2-3 มีนาคม2549 โดยได้เชิญวิทยากรจากภูมิภาคต่างๆ จำนวน 23 คนมาร่วมเป็นวิทยากร ซึ่งได้อธิบายในรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบของภัยแบบ non-traditional ว่าอาจได้แก่ 1) ภัยจากการก่อการร้ายซึ่งได้มีความรุนแรงขึ้นนับตั้งแต่เหตุการณ์ 9/11 2) ภัยจากสิ่งแวดล้อมได้แก่ มลภาวะเป็นพิษและความล้มเหลวในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ 3) ภัยทางด้านเศรษฐกิจ เช่น วิกฤตการณ์ทางการเงิน 4) ภัยทางด้านวัฒนธรรม เช่นการรุกรานของวัฒนธรรมต่างชาติ 5) ภัยที่เกิดจากการขาดข้อมูลที่จำเป็นในสังคม 6) ภัยจากด้านการสาธารณสุข เช่นการขาดแคลนน้ำ โรคระบาด ฯลฯ 7) ภัยข้ามชาติอื่นๆ ได้แก่การลักลอบค้ายาเสพติด หรือการย้ายถิ่นของคนจำนวนมาก
 
  
อ้างอิง http://news.thaieurope.net/content/view/980/141/
 
  
  
==กฎหมายระหว่างประเทศกับประเทศไทย==
 
  
9.1.ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายภายในกับระหว่างประเทศ และกฎหมายระหว่างประเทศ
 
  
9.1.1.ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในของรัฐ
+
==กฎหมายระหว่างประเทศกับประเทศไทย==
(Relations Between International Law and Municipal Law)
+
 
+
ความเบื้องต้นใน การศึกษากฎหมายระหว่างประเทศนั้น หากละเลยไม่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและกฎหมายระว่างประเทศและ กฎหมายภายในของรัฐแล้ว จะทำให้ขาดความเข้าใจถึงลักษณะและบทบาทที่แท้จริงของกฎหมายระหว่างประเทศ ทั้งนี้ เพราะกฎหมายระหว่างประเทศมิใช่เพียงแต่วางกฎเกณฑ์เพื่อกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างบุคลต่างๆ ในกฎหมายระหว่างประเทศไม่ว่าจะเป็นรัฐ หรือองค์การระหว่างประเทศ หรือองค์ภาวะ (entity ) อื่นใดที่ถือว่าสภาพบุคคล (personality) หรือมีสถานะ (status) บาง ประการตามกฎหมายระหว่างประเทศเท่านั้น แต่กฎหมายระหว่างประเทศยังเข้าไปเกี่ยวข้องกับระบบกฎหมายภายในของรัฐต่างๆ อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสนธิสัญญาระหว่างประเทศซึ่งนับว่าเป็นบ่อเกิดของกฎหมาย ระหว่างประเทศที่มีอิทธิพลและบทบาทต่อกฎหมายภายในของรัฐมากขึ้นทุกขณะ
+
 
+
อย่าง ไรก็ดี ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในของรัฐนั้น ถูกนักกฎหมายระหว่างประเทศมองไปในแง่มุมต่างๆ กัน เช่น มองว่ากฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายในของรัฐนั้นเป็นกฎหมายคนละระบบกันและ แยกต่างหากจากกันโดยไม่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งเป็นทัศนะของกลุ่มนักกฎหมายที่สนับสนุนนทฤษีทวินิยม ( Dualism) หรือ กลุ่มนักกฎหมายที่ถือว่ากฎหมายระหว่างประทศและกฎหมายภายในเป็นระบบเดียวกัน ไม่อาจแยกออกจากกันได้ ซึ่งเป็นทัศนะของกลุ่มนักกฎหมายที่สนับสนุนทฤษฎีเอกนิยม (Monism) หรือแม้กระทั่งกลุ่มนักกฎหมายที่มิได้สนับสนุนทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งดังกล่าวข้างดต้นหากแต่ต้องการประสานทฤษฎีทั้งสองเข้าด้วยกัน
+
ทฤษฎี ดังกล่าวข้างต้นนี้ต่างก็ได้รับอิทธิพลจากปรัชญากฎหมายที่แตกต่างกันโดยที่ ไม่อาจหาข้อสรุปที่แน่นอนได้ว่าทฤษฎีใดถูกทั้งหมดหรือผิดโดยสิ้นเชิง เช่นทฤษฎีทวินิยมที่แยกกฎหมายระหว่างประเทศกุบกฎหมายภายในของรับออกจากกันก็ ได้รับอิทธิพลจากปรัชญากฎหมายของสำนักกฎหมายบ้านเมือง ( Positivism) ที่ถือว่ากฎหมายไม่ว่าจะเป็นบ่อเกิดโดยรูปแบบ (formal Sources) หรือโดยเนื้อกา (material sources) มาจากเจตจำนง (will) ของ รัฐ และระบบกฎหมายระหว่างประเทศย่อมไม่สามารถเข้าไปเกี่ยวข้องกับระบบกฎหมายภาย ในของรัฐและผูกพันรัฐได้หากรัฐไม่แสดงเจตจำนงให้ความยินยอม( (consent)
+
 
+
ในกรณีของทฤษฎีเอกนิยมโดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายที่ถือว่ากำหมายระหว่างประเทศมีลำดับศักดิ์( hierarchy) สูงกว่ากฎหมายภายในของรัฐนั้นได้รับอิทธิพลจากปรัชญากำหมายของสำนักกำหมายธรรมชาติ (natural law) ซึ่ง ถือว่ากฎหมายภายในของรัฐไม่สามารถแยกออกจากกฎหมายระหว่างประเทศได้ และในทางกลับกันกฎหมายภายในของรัฐซึ่งเกิดจากเจตจำนงของรัฐซึ่งเป็นกฎหมาย ที่มนุษย์สร้างขึ้นก็จะต้องตกอยู่ในบังคุบของกฎหมายธรรมชาติ มิใช่แยกตัวออกจากกำหมายธรรมชาติไม่ วาจะเป็นทฤษฎีใดดังกล่าวข้างต้นก็ตามต่างก็ไม่สามารถที่จะตอบคำถามาเกี่ยว กับแนวทางซึ่งรัฐต่างๆ ถือปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายเกี่ยวกับแนวทางซึ่งรัฐต่างๆ ถือปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศและ กฎหมายภายในของรัฐได้หมด เช่นเดียวกับที่ปรัชญากฎหมายซึ่งอยู่เบื้องหลังทฤษฎีดังกล่าวก็ไม่สามารถตอบ คำถามเกี่ยวกับปรัชญาพื้นฐานกฎหมายได้ทุกคำถาม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า การศึกษาถึงทฤษฎีดังกล่าวข้างต้นมีความจำเป็นในการทำความเข้าใจกำหมาย ระหว่างประเทศและความสัมพันธ์ที่กฎหมายระหว่างประทศมีต่อกฎหมายภายในของรัฐ ในทำนองเดียวกันกับที่การศึกษาปรัชญากฎหมายของสำนักความคิดต่างๆ มีความเข้าใจกฎหมายโดยภาพรวม
+
 
+
ประเทศไทยได้รับอิทธิพลทางกฎหมายจากประเทศที่ใช้ระบบ civil law และ มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ไม่ปรากฏว่ามีรัฐธรรมนูญของประเทศไทยฉบับใดกล่าวถึงสถานะของกฎหมายจารีต ประเพณีระหว่างประเทศเลยว่ากฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศจะเข้ามามีบทบาท ในฐานะที่เป็นกฎหมายภายในของประเทศได้อย่างไร ซึ่งแตกต่างจากกรณีของกฎหมายรัฐธรรมนูญของฝรั่งเศสหรือของเยอรมนีซึ่งกล่าว ถึงกฎเกณฑ์แห่งกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้น จึงทำให้เกิดคำถามว่า กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศจะเข้ามามีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายภายในของ ประเทศไทยได้หรือไม่ ในเมื่อไม่มีการกล่าวถึงจารีตประเพณีระหว่างประเทศไว้ในรัฐธรรมนูญของประเทศ ไทยฉบับใดเลย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ศาลไทยจะยอมบังคับตามกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศหรือไม่ หากมีการกล่าวอ้างกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ เช่น ในกรณีที่กงสุลของรัฐอื่นกระทำความผิดอาญาในประเทศไทยและอ้างความคุ้มกันจาก เขตอำนาจของศาลไทยตามหลักกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ ศาลไทยจำเป็นที่จะต้องบังคับตามกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ เช่นว่านั้นหรือไม่ กล่าวคือ ยอมรับการอ้างความคุ้มกันของกงสุลของรัฐอื่นเช่นว่านั้น เพราะไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายภายในของประเทศไทยบัญญัติถึงความคุ้มกันของกงสุล เหมือนกับกรณีความคุ้มกันทางทูต พ.ศ. 2527 รับรอง อยู่ หรือศาลไทยจะไม่ยอมรับการอ้างความคุ้มกันของกงสุลของรัฐอื่นและดำเนินคดีต่อ กงสุลของรัฐอื่นซึ่งกระทำความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายอาญาของไทย
+
 
+
ใน กรณีดังกล่าวข้างต้นนี้ หากศาลไทยดำเนินคดีต่อกงสุลของรัฐอื่นเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายอาญาโดยไม่ ยอมรับฟังข้ออ้างในเรื่องความคุ้มกันของกงสุลตามกฎหมายจารีตประเพณีระหว่าง ประเทศ ก็ดูจะไม่มีปัญหาสำหรับศาลซึ่งใช้บังคับกฎหมายที่มีอยู่ แต่ในขณะเดียวกันประเทศไทยอาจต้องรับผิดต่อรัฐผู้ส่งกงสุลเช่นว่านั้นในฐานะ ที่ประเทศไทยฝ่าฝืนพันธกรณีในทางระหว่างประเทศอันเกิดจากกฎหมายจารีตประเพณี ที่ว่ากงสุลจะได้รับความคุ้มกันจากเขตอำนาจทางตุลาการและทางบริหารของรัฐผู้ รับ ถึงแม้ความคุ้มกันของกงสุลจะไม่เท่ากับความคุ้มกันของตัวแทนทางทูตก็ตาม
+
 
+
ใน ทางกลับกัน หากศาลไทยยอมให้กงสุลของรัฐอื่นเช่นว่านั้นอ้างความคุ้มกันจากเขตอำนาจศาล ไทยได้ ศาลไทยคงจะต้องอธิบายและให้เหตุผลว่ากงสุขของรัฐอื่นเช่นว่านั้น สามารถอ้างความคุ้มกันจากเขตอำนาจศาลไทยได้อย่างไร ในเมื่อไม่มีกฎหมายภายในของประเทศไทยบัญญัติรับรองไว้ เหมือนกับกรณีความคุ้มกันของตัวแทนทางทูต ซึ่งมีพระราชบัญญัติว่าด้วยเอกสิทธิและความคุ้มกันทางทูต พ.ศ. 2527 รับรอง อยู่ ซึ่งคงจะเป็นการยากที่ศาลไทยจะอธิบายได้ เพราะเรื่องความคุ้มกันของกงสุลนั้นไมมีกฎหมายภายในของประเทศไทยบัญญัติ รับรองไว้ นอกจากกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ ซึ่งศาลก็ต้องอธิบายต่อไปว่าศาลไทยสามารถนำกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ เช่นว่านั้นมาปรับแก้ข้อเท็จจริงในคดีดังกล่าวนี้ได้อย่างไร
+
 
+
ในเมื่อระบบกฎหมายของไทยและกฎหมายรัฐธรรมนูญของไทยไม่เปิดช่องว่างให้ศาลไทยนำ กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศมาใช้บังคับได้โดยตรงศาลไทยจึงไม่มีอำนาจ ตามกฎหมายใดๆ ที่จะนำกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศมาปรับใช้แก่คดีได้ เพราะศาลในระบบ civil law เช่นศาลไทยนี้มีหน้าที่ใช้บังคับกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติเท่านั้น ศาลไทยไม่อาจสร้างหลักกฎหมายได้เองเหมือนกับศาลในระบบ common law ดัง นั้น หากจะย้อนไปพิจารณาปัญหาเรื่องความคุ้มกันของกงสุลของรัฐอื่นข้างต้น ศาลไทยคงไม่มีทางเลือกเป็นอื่นนอกจากวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายอาญาตามปกติ ส่วนความรับผิดในทางระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีต่อรัฐผู้ส่งกงสุลเช่นว่า นั้น ก็เป็นอีกกรณีหนึ่ง
+
 
+
ภายในhttp://tayucases.blogspot.com/2011/03/blog-post_04.htmlเป็นเนื้อหา
+
 
+
9.2.กฎหมายระหว่างประเทศที่คนไทยควรรู้
+
               
+
ในปัจจุบันความเจริญของโลกทำให้คนสามารถเดินทางติดต่อสื่อสารกันได้โดยง่ายและเป็นประจำ ทำให้รัฐต้องติดตามไปควบคุมและคุ้มครองพลเมือง ซึ่งได้แก่ ผู้มีสัญชาติของรัฐเมื่ออยู่ในต่างแดน เป็นผลให้รัฐต่างๆต้องเริ่มติดต่อกัน โดยการติดต่อได้ขยายขอบเขตไปถึงเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสังคม จึงทำให้สาระของการติดต่อครอบคลุมมากมายหลากหลายเรื่องขึ้น
+
               
+
นอกจากนี้ รัฐยังได้ร่วมมือกันทำกิจกรรมต่างๆ ที่ไม่อาจทำได้ตามลำพัง ทำให้เกิดสมาคมหรือองค์การระหว่างประเทศขึ้นและมีบทบาทสำคัญในการช่วยรักษาความเรียบร้อย รวมทั้งพัฒนาและส่งเสริมความก้าวหน้าแก่ภูมิภาคต่างๆ ในโลกเป็นอย่างมาก  ดังนั้น รัฐและองค์การที่จัดตั้งขึ้นจึงต้องตั้งกติกาเพื่อเป็นแนวทางในการติดต่อสัมพันธ์กันขึ้นมา ซึ่งได้แก่ กฎหมายระหว่างประเทศ
+
             
+
กฎหมายระหว่างประเทศเกิดจาการตกลงกันหรือจากยอมรับปฏิบัติกันโดยรัฐ และพัฒนาต่อมาโดยองค์การระหว่างประเทศทั้งหลาย
+
           
+
ปัจจุบันกฎหมายระหว่างประเทศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อสังคมโลกเป็นอย่างมากซึ่งกฎหมายระหว่างประเทศในบางเรื่องส่งผลต่อประเทศไทยด้วย ดังนั้น ในฐานะพลเมืองที่ดีของประเทศชาติและสังคมโลก เราจึงจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศในสาขาที่มีความสำคัญไว้บ้าง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศดังกล่าว โดยกฎหมายระหว่างประเทศที่ควรรู้ มีดังนี้
+
 
+
อ้างอิง https://sites.google.com/site/30885naphasfeem/home/page2
+
 
+
 
+
9.2.1. กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ
+
เป็นสาขาหนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศจากเดิมเรียกกันว่า“กฎหมายระหว่างประเทศยามสงคราม หรือ กฎหมายสงคราม” กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศมีจุดประสงค์ที่มุ่งส่งเสริมคุณค่า อันเกี่ยวกับความเป็นมนุษย์เช่นเดียวกับกฎหมายสิทธิมนุษยชน
+
           
+
กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศเริ่มต้นจากความพยายามของนายอังรีดูนังต์และคณะที่จะหาทางลดภาวะทุกข์ทรมารอันหน้าสะพรึงกลัวที่เกิดกับทหารและพลเรือน จากการาสู้รบระหว่างคู่สงคราม พวกเขาได้รณรงค์เป็นเวลานานจนรัฐต่างๆ เห็นความสำคัญของปัญหาทำให้สาระสำคัญของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศจึงเกี่ยวข้องกับเรื่องของการปกป้องคุ้มครอง และดูแลพลเรือนของประเทศคู่สงคราม เช่น ห้ามการใช้อาวุธและวิธีการสู้รบซึ่งมีลักษณะการทำลายล้างอย่างมหาศาล ก็ให้เกิดความสูญเสียโดยไม่จำเป็นหรือความทุกข์ทรมารเกินไป เช่น การใช้อาวุธเคมี การใช้อาวุธชีวภาพ อาวุธนิวเคลียร์ ห้ามกระทำการรุนแรงหรือคุมคามว่าจะทำการรุนแรงเพื่อให้ประชาชนหวากกลัว เป็นต้น
+
         
+
กล่าวได้ว่ากฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศเป็นตัวอย่างกฎหมายที่เกิดจากการตกลงร่วมกันของมนุษย์ เพื่อคุ้มครองประโยชน์และการปลอดภัยของมนุษย์จากเงื้อมมือของมนุษย์ด้วยกันอย่างแท้จริง
+
         
+
กฎหมายนี้มีความมุ่งหมาย คือ การเคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ โดยพัฒนาการของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศมีผลทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนของนานาประเทศ ในการสอดส่องดูแลเพื่อให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายเรื่องนี้สำหรับประเทศไทยเคยมีกฎหมายที่สอดคล้องกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ เช่น พระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม พุทธศักราช 2488พระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม พุทธศักราช 2488 พ.ศ. 2510 ประมวลกฎหมายอาญาทหาร มาตรา 48 เป็นต้น
+
       
+
9.2.2.กฎหมายเกี่ยวกับการค้ามนุษย์
+
+
ปัญหาการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะการค้าผู้หญิงและเด็กได้รับการตระหนักจะประชาคมโลกว่าเป็นอาชญากรรมที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เพราะเป็นการแสวงหาประโยชน์จากเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน โดยผู้เสียหายไม่ได้สมัครใจ และได้กระทำการอย่างกว้างขว้าง
+
จนเป็นกระบวนการเชื่อมโยงทั้งในประเทศระต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นภัยต่อความสงบสุขของโลกอย่างมาก
+
         
+
ในอดีตประเทศไทยเคยมีกฎหมายเพื่อเอาผิดและลงโทษการกระทำซึ่งเกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดทางเพศแก่ผู้หญิงและเด็กในลักษณะที่เป็นการค้าประเวณี กฎหมายว่าด้วยการค้าหญิงและเด็กหญิง กฎหมายสถานบริการ แต่ยังมีขอบเขตจำกัด
+
         
+
ต่อมาประเทศไทยได้ร่วมลงนามอนุสัญญาสหประเทศเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร พ.ศ. 2543 และพิธีสารเพื่อป้องกันปราบปรามและลงโทษการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะผู้หญิงและเด็ก พ.ศ. 2543 เพิ่มเติมอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร และได้ตรากฎหมายพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ขึ้นต่อมาตามลำดับ
+
         
+
นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้กำหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ขึ้น เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศ ตลอดจนการให้ความร่วมมือและประสาน
+
งานกับต่างประเทศเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และกำหนดให้มีคณะกรรมการประสานและกำกับการดำเดินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ มีหน้าที่ติดตามและจัดทำรายงานเกี่ยวกับการดำเนินการตามพัทธกรณีระหว่างประเทศและให้ความร่วมมือและประสานงานกับต่างประเทศเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เพื่อให้การบังคับใช้การหมายเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และสอดคล้องกับกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องและพัทธกรณีระหว่างประเทศ
+
 
+
9.2.3.กฎหมายว่าด้วยผู้ลี้ภัย
+
+
ปัญหาผู้ลี้ภัยเป็นประเด็นทางมนุษยธรรมที่มีกฎหมายระหว่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะถึงแม้จะมีการรับรองว่าสิทธิแสวงหาที่ลี้ภัยเป็นสิทธิมนุษยชน แต่รัฐต่างๆ ก็ยังลำบากใจเมื่อต้องกลายเป็นรัฐผู้ลี้ภัย โดยการลี้ภัยสามารถแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ
+
             
+
1.การลี้ภัยทางดินแดน (territorial asylum) หมายถึง การของลี้ภัยเพื่อเข้าไปอยู่ในดินแดนของรัฐผู้ลี้ภัย ซึ่งขึ้นกับการตัดสินใจของรัฐดินแดนว่าจะให้ลี้ภัยหรือไม่โดยพิจารณาจากพัทธกรณีในข้อตกลงระหว่างประเทศและกฎหมายภายในของรัฐนั้น
+
             
+
2.การลี้ภัยทางทูต (diplomatic asylum) การลี้ภัยที่ผู้ขอลี้ภัยเข้าไปอยู่ในสถานทูตของรัฐผู้ให้ลี้ภัย ซึ่งตั้งอยู่ในดินแดนของรัฐผู้ให้ลี้ภัย ซึ่งตั้งอยู่ในดินแดนของรัฐที่ต้องการตัวผู้ขอลี้ภัยเอง
+
         
+
ปัจจุบันสมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้จัดตั้งสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติขึ้น เพื่อคุ้มครองและแก้ปัญหาของผู้ลี้ภัยทั่วโลก รวมทั้งปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ลี้ภัย โดยเฉพาะสิทธิที่จะอาศัยอยู่อย่างปลอดภัยในประเทศอื่น เพื่อเตรียมพร้อมที่ส่งกับประเทศต้นทางตามที่ผู้ลี้ภัยต้องการ หรือเพื่อที่จะส่งไปยังประเทศที่สาม
+
         
+
ในส่วนของประเทศไทยนั้น ก็ได้ให้ความสนับสนุนช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับผู้อพยพหนีภัยเข้ามาในดินแดนไทยอย่างต่อเนื่อง ตามหลักมนุษยธรรมด้วยดีดดยให้ความคุ้นครองต่อผู้อพยพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ อาทิ การฝึกทักษาอาชีพและการศึกษาเพื่อเขาจะสามารถดำเนินชีวิตระหว่างอยู่ในพื้นที่พักพิงชั่วคราวอย่างปลอดภัย
+
อ้างอิง https://sites.google.com/site/30885naphasfeem/home/page2
+
+
9.2.4.กฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ
+
+
เป็นสาขาหนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศที่ใช้ควบคุมการดำเนินกิจกรรมของรัฐและปัจจเจกบุคคลที่อยู่ได้อำนาจรัฐ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครอง อนุรักษ์ และพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เกิดขึ้เนื่องจากความกังวลของปัญหาของนานาประเทศเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และได้มีการพัฒนาการมาอย่างต่เนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515
+
         
+
สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ เกิดขึ้นจากการทำข้อตกลงกันระหว่างรัฐต่างๆจึงให้มีรานละเอียดเป็นจำนวนมากและครอบคลุมในเรื่องต่างๆ เช่น เรื่องมลพิษทางอากาศ การลดลงของโอโชน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก เป็นต้น
+
         
+
แต่หลักการสำคัญของกฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศนั้น คือ สิ่งแวดล้อมถือเป็นสมบัติส่วนรวมของมนุษยชาติ ที่ต้องร่วมกันปกป้องและรักษา รวมทั้งต้องให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมตามกำลังความสามารถของแต่ละรัฐ
+
         
+
กฎหมายระหว่างประเทศเป็นกฎหมายที่ใช้ในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐในเบื้องต้น ปัจจุบันได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเพิ่มรายละเอียดของเนื้อหามากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการร่วมกันทำกิจกรรมระหว่างรัฐ ผ่านทางองค์การหรือสมาคมระหว่างรัฐต่างๆ ดังนั้น ในฐานะพลเมืองที่ดีของประเทศและพลโลกจึงต้องศึกษาและเรียนรู้ เพื่อทำความเข้าใจกฎหมายต่างๆ เหล่านี้ เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการดำเดินชีวิตและแนวทางการพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับมาตรฐานของโลกต่อไป
+
       
+
กล่าวโดยสรุปได้ว่า กฎหมาย คือ กฎกติกาที่สังคมตั้งขึ้นมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือควบคุมหรือจัดการระเบียบทางสังคม โดยกฎหมายได้วางแนวทางสำหรับการอยู่ร่วมกันและได้กำหนดบทบาท สิทธิ  และทำหน้าที่ของแต่ละคนในสังคมไว้ ตั้งเกิดจนตาย ซึ่งในฐานะสมาชิกของสังคมจึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจกฎหมาย ยิ่งโดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยงข้องกับตนเองและครอบครัว กฎหมายหมายแพ่งที่เกี่ยวกับนิติกรรมสัญญา กฎหมายอาญาตลอดจนกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและมีผลกระทบต่อส่วนรวมและควรรู้ เช่น กฎหมายเกี่ยวกับการรับราชการทหาร กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอาการ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายระหว่างประเทศในเรื่องต่างๆ เป็นต้น เพราะการศึกษากฎหมายดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อตนเอง สังคม ชุมชน และสังคมโลก
+
 
+
อ้างอิง https://sites.google.com/site/30885naphasfeem/7-kdhmay-rahwang-prathes-thi-khwr-ru/page3/page4
+

โปรดระลึกว่างานเขียนทั้งหมดใน คลังข้อมูลด้านรัฐศาสตร์ อาจถูกผู้เขียนอื่นแก้ไข เปลี่ยนแปลงหรือนำออก หากคุณไม่ต้องการให้งานของคุณถูกแก้ไข ก็อย่าส่งเข้ามา
นอกจากนี้ คุณยังสัญญาเราว่าคุณเขียนงานด้วยตนเอง หรือคัดลอกจากสาธารณสมบัติหรือทรัพยากรเสรีที่คล้ายกัน (ดูรายละเอียดที่ [[]]) อย่าส่งงานมีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต!

ยกเลิก | คำอธิบายการแก้ไข (เปิดหน้าต่างใหม่)