กำลังแก้ไข สาขาการระหว่างประเทศ

คำเตือน: คุณมิได้ล็อกอิน สาธารณะจะเห็นเลขที่อยู่ไอพีของคุณหากคุณแก้ไข หากคุณล็อกอินหรือสร้างบัญชี การแก้ไขของคุณจะถือว่าเป็นของชื่อผู้ใช้ของคุณ ร่วมกับประโยชน์อื่น

สามารถย้อนการแก้ไขนี้กลับได้ กรุณาตรวจสอบข้อแตกต่างด้านล่างเพื่อทวนสอบว่านี่เป็นสิ่งที่คุณต้องการทำ แล้วบันทึกการเปลี่ยนแปลงด้านล่างเพื่อเสร็จสิ้นการย้อนการแก้ไขกลับ
รุ่นปัจจุบัน ข้อความของคุณ
แถว 1,763: แถว 1,763:
 
==ความขัดแย้งระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ==
 
==ความขัดแย้งระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ==
  
7.1. ประเทศเพื่อนบ้าน
 
 
กัมพูชา : กรณีเขาพระวิหาร
 
  
ความสัมพันธ์และความขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชา
 
  
ในที่นี้จะกล่าวถึงประเด็นทั้งความสัมพันธ์และความขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชา เนื่องจากมีความเกี่ยวเนื่องกัน ซึ่งจะทำให้เห็นภาพของความขัดแย้งได้อย่างชัดเจน และแม้ว่าทั้งไทยและกัมพูชาจะมีความขัดแย้งกัน แต่ก็สามารถจัดการกับความขัดแย้งได้โดยอาศัยกรอบความร่วมมือต่าง ๆ เป็นพลังขับเคลื่อนความสัมพันธ์ระหว่างกัน
 
  
การวิเคราะห์ความขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชา
 
  
ความสัมพันธ์และความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชาบนพื้นฐานทางประวัติศาสตร์และลัทธิชาตินิยม
 
  
ปัญหาความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชาในปัจจุบันนั้นมีรากฐานเกิดมาจากความเป็นมาทางประวัติศาสตร์และลัทธิชาตินิยมเป็นหลัก ปัญหาประการแรกของประเทศทั้งสองนั้นเกิดจากการขีดแบ่งเส้นแดนโดยจักรวรรดินิยม ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมระหว่างไทยอีสานใต้และกัมพูชาแล้ว จะเห็นได้ว่าดินแดนทั้งสองต่างก็เป็นดินแดนที่มีวัฒนธรรมแบบเดียวกัน มีลักษณะทางชาติพันธุ์เป็นกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน แต่ดินแดนทั้งสองส่วนต้องแยกจากกันเพราะวิธีคิดการแบ่งเขตแดนแบบรัฐชาติ (Nation State) สมัยใหม่ตามแบบที่จักรวรรดินิยมตะวันตกพึงปรารถนาให้เป็น หรือกล่าวได้ว่าเป็นการแบ่งเขตแดนเพื่อการจัดการผลประโยชน์เหนือดินแดนของจักรวรรดินิยมตะวันตกนั่นเอง
+
==ความมั่นคงในยุคสมัยใหม่==
  
ทั้งนี้ เมื่อมองย้อนไปในอดีตก็จะเห็นถึงความสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างไทยอีสานใต้และกัมพูชาบนพื้นที่ความขัดแย้งในปัจจุบัน คือ พื้นที่บริเวณปราสาทเขาพระวิหาร ปราสาทเขาพระวิหารซึ่งพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 แห่งอาณาจักรขอมได้สร้างเทวสถานบนเทือกเขาพนมดงรัก (เพี๊ยะนมดงเร็ก) เพื่อให้ชาวเขมรสูง (อีสานใต้) และชาวเขมรต่ำ (กัมพูชา) ได้สักการะเทวสถานแห่งนี้ร่วมกัน อันแสดงให้เห็นถึงความเป็นกลุ่มชนเดียวกัน และความผูกพันทั้งในอดีตและปัจจุบันของดินแดนทั้งสอง ซึ่งในปัจจุบันดินแดนดังกล่าวกลับเป็นกรณีพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชาที่ต่างฝ่ายต่างยึดถือเขตแดนและกฎเกณฑ์ที่ตะวันตกได้กำหนดเอาไว้ มิได้มองถึงวัตถุประสงค์ของผู้สร้างปราสาทเขาพระวิหารที่มีเจตนาให้ดินแดนเขมรทั้งสองฝั่งได้ใช้ประโยชน์ (การสักการบูชาร่วมกัน) อีกทั้งรัฐไทยและรัฐกัมพูชาสมัยใหม่ยังมองข้ามบริบททางวัฒนธรรมที่เป็นวัฒนธรรมชุดเดียวกันของดินแดนทั้งสอง ทำให้ทั้งสองฝ่ายยึดถือแต่ผลประโยชน์แห่งชาติ(National Interest) บนเส้นแบ่งเขตแดนตามแบบชุมชนในจินตนาการ (Imagine Community) ส่งผลให้ความขัดแย้งระหว่างกันเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
 
  
ปัญหาอีกประการ คือ การศึกษาประวัติศาสตร์ของไทยได้ถูกหล่อหลอมจากกระบวนการ ตำรา และแบบเรียนภายใต้อุดมการณ์แบบชาตินิยมที่ประกอบสร้างให้เราเกลียดพม่า กลัวญวน และดูหมิ่นเขมรซึ่งหากหันไปมองประวัติศาสตร์ก็จะเห็นได้ว่าสยามในอดีตนั้นก็เป็นเพียงดินแดนของคนเถื่อนเท่านั้นในขณะที่ขอมเป็นดินแดนอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังจะเห็นได้จากภาพแกะสลักนูนต่ำ "เสียมกุก" หรือ นี่เหล่าคนสยาม (กองทัพสยาม) บริเวณระเบียงรายรอบปราสาทนครวัด ซึ่งเป็นภาพที่บรรยายถึงในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ได้เกณฑ์ไพร่พลในดินแดนรัฐบรรณาการของพระองค์ที่หนึ่งในนั้น คือ เสียม สยำ หรือ สยาม นั่นเอง จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ข้างต้นแสดงให้เห็นว่าแบบเรียนที่เน้นศักดิ์ศรีและยิ่งใหญ่ของชาติเกินความเป็นจริงโดยไม่ย้อนไปมองบริบททางประวัติศาสตร์ ย่อมจะเกิดผลเชิงลบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในปัจจุบัน ต้องไม่ลืมนึกถึงกฎเกณฑ์วัฏจักรทางประวัติศาสตร์ที่อาณาจักรใดก็ตามมีจุดสูงสุดก็ย่อมจะต้องตกต่ำลงเป็นธรรมดา ปัจจุบันเราอาจจะเหนือกว่าเขาแต่ในอดีตเขาก็เคยเหนือกว่าเราเช่นกัน
 
  
ปัญหาอีกส่วนหนึ่งของความเป็นชาตินิยมแบบคลั่งชาติภายใต้กระบวนการสร้างแบบคู่ตรงข้าม (Binary Opposition) ทำให้ชาติของเราดูดีงาม และเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณธรรมแต่ในขณะเดียวกันก็สร้างภาพให้ชาติอื่นกลายเป็นศัตรูถาวรที่มีแต่ความเลวร้ายหรือต่ำต้อยกว่าเรา ดังจะเห็นได้จากรัฐไทยนั้นติดอยู่กับบ่วงวาทะกรรมว่าอยุธยานั้นถูกหงสาวดีเป็นศัตรูถาวรที่รุกรานเผาบ้านเมืองและปล้นสะดมนานหลายร้อยปี แต่หากมองดูที่ประวัติศาสตร์ระหว่างไทยกับกัมพูชา จะเห็นได้ว่าช่วงความรุ่งเรืองของอยุธยานั้นเป็นช่วงที่กัมพูชาหรือกัมโพชเสื่อมถอยลง เมื่ออยุธยามีอำนาจที่เข้มแข็งก็ได้มีการขยายอำนาจรุกรานดินแดนที่อ่อนแอกว่าเช่นกัน ดังเห็นจากการขยายอำนาจครั้งสำคัญในรัชสมัยของพระบรมราชาที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา แห่งอาณาจักรอยุธยา ซึ่งการขยายขอบขัณฑสีมารุกรานกัมพูชาในครั้งนั้นอยุธยาได้ทำการเผาและปล้นสะดมอาณาจักรกัมพูชา เช่นเดียวกับที่อยุธยาถูกหงสาวดีกระทำในกาลต่อมา หรือจะเป็นเมื่อครั้งพระนเรศวร ที่พระองค์ทรงพักจากศึกหงสาวดีแล้วไปทำสงครามสั่งสอนกัมพูชา โดยในสงครามครั้งนั้นอยุธยาได้ทำการเทครัวและกวาดต้อนชาวเขมรเพื่อไปเป็นแรงงานให้แก่อยุธยาเป็นจำนวนมาก หรือจะเป็นในรัชสมัยของพระเจ้าตากสินหลังจากการปราบดาภิเษกเถลิงราชสมบัติเป็นการสำเร็จ พระองค์ก็มีพระราชประสงค์ที่จะเผยแพร่บุญโพธิสมภารไปสู่ราชอาณาจักรกัมพูชา ขณะเดียวกันก็ทรงหาหนทางที่จะต้องการนำตัวกษัตริย์กัมพูชามาลงโทษ เนื่องมาจากการปฏิเสธที่จะส่งบรรณาการสู่ธนบุรี ทำให้พระเจ้าตากสินได้ยกทัพเข้าตีกัมพูชาหลายต่อหลายครั้ง จนในปี พ.ศ. 2315 กองทัพสยามได้เผากรุงพนมเปญ และได้สถาปนานักองค์เองให้เป็นกษัตริย์หุ่นเชิดของธนบุรีหลังจากนั้นอีกเจ็ดปี
 
  
ในขณะที่ไทยมองกัมพูชาในฐานะที่ต่ำต้อยกว่าและตกเป็นเบี้ยล่างมาโดยตลอด กัมพูชาเองก็ประกอบสร้างให้ไทยเป็นศัตรูถาวรของกัมพูชาเช่นกัน อันเป็นผลมาจากเมื่อสยามในอดีตมีความเข้มแข็งเป็นปึกแผ่นขึ้นมาคราใด สยามก็จะต้องรุกรานกัมพูชาทุกครั้งเช่นกัน เห็นได้ว่าการรุกรานขยายอาณาดินแดนของรัฐจารีต ในอดีตนั้นเป็นกฎของสัจนิยม (Realism) ที่ว่าสถานะของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐนั้นเป็นสภาวะอนาธิปไตย (Anarchy) ที่ไม่มีกฎเกณฑ์อันใดมาควบคุมพฤติการณ์ระหว่างรัฐ นอกจากนี้ สงครามยังคงเป็นความชอบธรรมที่แต่ละรัฐสามารถนำมาเป็นเครื่องมือทางการเมืองโดยไม่ขัดกับหลักประเพณีระหว่างประเทศในอดีต หากไทยและกัมพูชาเข้าใจถึงเกณฑ์ความสัมพันธ์ของรัฐจารีตดั้งเดิมและไม่ใช้ประวัติศาสตร์มาเป็นเครื่องมือสร้างกระแสชาตินิยมของประเทศทั้งสองความขัดแย้งของทั้งสองประเทศ คงจะไม่ทวีความรุนแรงอย่างในปัจจุบัน
 
 
ถึงแม้ว่าข้อดีของการใช้ความเป็นชาตินิยมสร้างชาติอื่นให้เป็นศัตรูถาวรจะมีอยู่ที่เป็นการสร้างอุดมการณ์ต่อต้านศัตรูเพื่อสร้างความสามัคคีในชาติได้ แต่หากพิจารณาถึงบริบทของการเมืองระหว่างประเทศในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า สงครามที่เป็นการรบมิใช่สงครามหลักในเวทีระหว่างประเทศอีกต่อไป สงครามเศรษฐกิจกลับเข้ามามีบทบาทหลักที่ผลักให้เกิดนโยบายและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศขึ้น ประกอบกับเขตแดนของรัฐแบบเวสต์ฟาเลีย (Westfalia) ที่ชาติตะวันตกเคยแบ่งเขตแดนให้กับทั่วโลก เริ่มจะมีผลสะเทือนจากโลกาภิวัตน์ (Globalization) ที่ตะวันตกสร้างนี้ได้ลดทอนคุณค่าทางเขตแดนแบบรัฐชาติลง นอกจากนี้ ตะวันตกก็ยังผลักกระแสการบูรณาการ (Integration) ระหว่างประเทศที่มีต้นแบบจากสหภาพยุโรป (European Union: EU) กลายมาเป็นสงครามในการรวมกลุ่มประเทศที่เป้าหมายในการรวมกลุ่มประเทศให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งเชิงลึกและเชิงกว้าง ทั้งนี้ เพื่อเป้าหมายการต่อสู้ในสงครามทางเศรษฐกิจระหว่างแต่ละกลุ่มประเทศ ซึ่งลักษณะของการบูรณาการในภูมิภาคนั้นจะมีลักษณะที่สร้างความเป็นหนึ่งเดียวในภูมิภาคโดยมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานอย่างเสรี จะเห็นได้ว่าสหภาพยุโรปนั้นมีลักษณะเป็นองค์กรเหนือรัฐ (Supranational Organization) ที่มีความเข้มแข็งมีทั้งสภาแห่งยุโรป (European Parliament) ศาลแห่งยุโรป (European Court) สกุลเงินยุโรป (EURO) และธนาคารกลางแห่งยุโรป (Central Bank of European) โดยมีนโยบายเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปที่เป็นเอกภาพ และในอนาคตสหภาพยุโรปก็กำลังดำเนินการสร้างความเป็นเอกภาพทางการเมืองเช่นกัน กล่าวได้ว่าแนวทางการบูรณาการภายในกลุ่มระหว่างประเทศนั้นเป็นการลดทอนอธิปไตย เขตแดน และความเป็นรัฐชาติลงนั่นเอง
 
 
ในกรณีของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชานั้นทั้งสองประเทศต่างก็เป็นสมาชิกของอาเซียน (ASEAN) ที่กำลังเดินหน้าตามตัวแบบอย่างสหภาพยุโรปโดยที่ในปี พ.ศ. 2558 อาเซียนต้องก้าวเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ซึ่งก็หมายความว่าไทย กัมพูชา และอาเซียนก็กำลังตามกระแสของสงครามทางเศรษฐกิจและการบูรณาการระหว่างประเทศ ดังนั้น เป้าหมายของอาเซียนในอนาคต คือ ไปสู่การสร้างความเป็นเอกภาพของประชาคมอย่างแท้จริง ที่อธิปไตยเขตแดน และความเป็นชาติย่อมจะถูกลดทอนลง เมื่อสถานการณ์ของการเมืองระหว่างประเทศเริ่มเปลี่ยนไป อัตลักษณ์ภายในภาคีของอาเซียนเองก็จะต้องตรียมพร้อมเพื่อไปสู่ความร่วมมือที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น ด้วยการลดข้อจำกัดในการสร้างความเป็นศัตรูถาวรภายใต้กระแสชาตินิยม เมื่อใดก็ตามที่ต่างฝ่ายต่างเดินหน้าใช้ประโยชน์จากประวัติศาสตร์ และความล้าหลังคลั่งชาติก็ย่อมจะสร้างความขัดแย้งระหว่างกันและกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
 
 
เมื่อความเป็นหนึ่งเดียวแบบประชาคมกำลังจะเกิดขึ้นในอาเซียน คำถามก็คือ การสร้างกระแสชาตินิยมบนพื้นฐานความแค้นในเชิงประวัติศาสตร์มีความจำเป็นอยู่ไหม ทั้งนี้ ไทยและกัมพูชาต้องทบทวนว่าทั้งสองประเทศจะยินยอมติดอยู่กับกับดักของลัทธิชาตินิยมและประวัติศาสตร์อยู่หรือไม่ หรือจะเลือกเดินไปสู่หนทางของความร่วมมือที่จะเกื้อกูลกันเพื่อต่อสู้ในสงครามทางเศรษฐกิจบนเวทีระหว่างประเทศที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบันความสัมพันธ์และความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชาภายใต้ผลประโยชน์แห่งชาติและการเมืองระหว่างประเทศ
 
 
สำหรับการเมืองในประเทศไทยนั้น หลายปีที่ผ่านมามีความปั่นป่วนและขาดเสถียรภาพอยู่พอสมควรอันมาจาก Colors Politics หากมองถึงปมแห่งปัญหาของการเมืองของไทยนั้นเกิดจากที่ประชาธิปไตยแบบตะวันออกของไทยยังให้ความสำคัญตลอดมาว่าการเลือกตั้ง คือ หัวใจสำคัญของประชาธิปไตย แต่แท้จริงแล้วการเลือกตั้งนั้นเป็นเพียงกระบวนการสรรหาตัวแทนในระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น ประกอบกับการเลือกตั้งในไทยยังยึดโยงอยู่กับทุน และระบบอุปถัมภ์ ซึ่งโดยแท้จริงแล้วเราต้อง มีความเข้าใจว่าประชาธิปไตยต้องไม่ใช่แค่เพียงการเลือกตั้ง แต่ต้องเป็นประชาธิปไตยโดยวิถีชีวิตที่ต้องยอมรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น และรับฟังเสียงจากคนส่วนน้อย ซึ่งสังคมประชาธิปไตยที่พึงปรารถนาต้องเป็นสังคมประชาธิปไตยแบบถกแถลง (Deliberate Democracy) ที่อยู่บนพื้นฐานของเหตุผลและการแลกเปลี่ยนความคิดกันกันอย่างสร้างสรรค์ กล่าวได้ว่าประชาธิปไตยไทยในปัจจุบันจึงเป็นประชาธิปไตยแบบอัตตาธิปไตยผสานกับธนาธิปไตยที่ขับเคลื่อนไปด้วยอวิชชาและมิจฉาทิฐิ
 
 
แม้ว่าเสถียรภาพทางการเมืองของกัมพูชาจะมีอยู่สูง เนื่องมาจากรัฐบาลพรรคประชาชนกัมพูชาที่นำโดยนายกรัฐมนตรีฮุนเซนสามารถกุมเสียงส่วนใหญ่ในการเลือกตั้งของกัมพูชาได้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พรรคประชาชนกัมพูชาได้เข้าสู่การเป็นพรรคการเมืองที่มีลักษณะโดดเด่นเพียงพรรคเดียว (One Dominant Party System) โดยมีพรรคฟุนซินเปคและพรรคสมรังสีเป็นพรรคฝ่ายค้านที่ได้รับการเลือกตั้งเพียงไม่กี่ที่นั่ง กล่าวได้ว่านายกรัฐมนตรีฮุนเซนสามารถใช้อำนาจและกลไกของรัฐผสานกับการใช้กุศโลบายทางเศรษฐกิจ ในการควบคุมฐานเสียงและการลงคะแนนเลือกตั้งได้อย่างมีประสิทธิภาพเสมอมา หากมองลักษณะทางการเมืองของกัมพูชาถึงแม้ว่ากัมพูชานั้นจะมีการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยก็ตาม แต่จากการควบคุมจากรัฐบาลทุกองคาพยพ ไม่ว่าจะเป็น พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ NGO และสื่อมวลชน ย่อมสะท้อนให้เห็นถึง ความเป็นประชาธิปไตยแบบอำนาจนิยม (Authoritarian Democracy) ของกัมพูชา
 
 
จากลักษณะของการเมืองภายในของประเทศทั้งสองเห็นได้ว่า ทั้งไทยและกัมพูชาต่างก็เป็นประเทศประชาธิปไตย (แบบเอเชีย) เคยมีคำกล่าวของฝ่ายเสรีนิยม (Liberalism) ว่าประเทศในระบอบประชาธิปไตยจะไม่ทำสงครามกัน แต่ในกรณีของความสัมพันธ์ไทยและกัมพูชานั้นทั้งสองต่างก็ตั้งผลประโยชน์หลักแห่งชาติ (National Interest) ไว้ที่เป้าหมายเดียวกัน การนิยามถึงผลประโยชน์หลักแห่งชาติหรือผลประโยชน์ที่จะสูญเสียไปไม่ได้ไว้ที่ตำแหน่งเดียวกัน อาจส่งผลต่อความขัดแย้งหากการเจรจาประนีประนอมนั้นดำเนินการมิได้ ย่อมอาจนำไปสู่ความรุนแรงและสงครามในที่สุด ซึ่งผลประโยชน์หลักของทั้งไทยและกัมพูชาก็คือ ปัญหาปราสาทพระวิหารและพื้นที่ทับซ้อนกับปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล แต่ปัญหาที่ทำให้ความขัดแย้งระหว่างประเทศทั้งสองลุกลามจนไม่มีทีท่าว่าความขัดแย้งดังกล่าวจะยุติลงได้ ก็คือปัญหาปราสาทเขาพระวิหาร ที่รัฐบาลทั้งสองฝ่ายให้คุณค่าว่าเป็นผลประโยชน์หลักที่จะสูญเสียไปไม่ได้
 
 
หากมองไปที่คำตัดสินศาลโลก (International Court of Justice) ที่ทั้งไทยและกัมพูชาต่างก็มีความยินยอม (Consent) เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมระหว่างประเทศ ดังนั้น คำพิพากษาที่มีความชัดเจนอยู่ว่า ตัวปราสาทพระวิหารตกเป็นดินแดนอธิปไตยของกัมพูชาแน่นอน และพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตรบนเขาพระวิหารก็เป็นดินแดนของไทยอย่างแน่นอนเช่นกัน ซึ่งประเด็นปัญหา เขาพระวิหารจะไม่สามารถสร้างความขัดแย้งอย่างในปัจจุบันได้หากทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายกัมพูชา ไม่นำการเมืองภายในประเทศไปเกี่ยวโยงกับการเมืองระหว่างประเทศ โดยทั้งสองฝ่ายได้ใช้ประเด็นปราสาทเขาพระวิหารมาสร้างผลประโยชน์แก่การเมืองภายในประเทศ ซึ่งฝ่ายไทยนั้นเห็นได้จากกรณีที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ใช้กรณีเขาพระวิหารมาปลุกกระแสชาตินิยมเพื่อปลุกระดมมวลชนในการเข้าร่วมต่อต้านรัฐบาลพรรคพลังประชาชนในขณะนั้น โดยพันธมิตรได้ใช้การรณรงค์ที่ว่า "ทวงคืนปราสาทเขาพระวิหาร" แทนที่จะเป็น "รักษาดินแดน 4.6 ตารางกิโลเมตรบริเวณเขาพระวิหาร" อาจเป็นไปได้ว่าคำว่าทวงคืนปราสาทเขาพระวิหารนั้นง่ายกว่าการสื่อสารกับมวลชนในที่ชุมนุม แต่ก็เป็นการมิควรเป็นอย่างยิ่งที่จะยัดเยียดข้อมูลที่ไม่ถูกต้องแก่ประชาชน เพราะการให้ข้อมูลในลักษณะดังกล่าวนอกจากจะมีปัญหาด้านข้อเท็จจริงแล้ว ปัญหาที่สำคัญที่สุดก็คือการสร้างความชิงชังให้แก่ประชาชนชาวไทยที่มีต่อประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา ซ้ำเติมความชิงชังแบบคลั่งชาติให้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น
 
 
สำหรับในกรณีของกัมพูชาภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีฮุนเซนนั้น มีความใกล้ชิดกับเวียดนามเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากในช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 ได้รับเลือกจากเวียดนามเพื่อเป็นผู้นำกองทัพปฏิวัติต่อต้านเขมรแดง จนสามารถยึดกรุงพนมเปญได้ในปี พ.ศ. 2522 และสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาขึ้น โดยมีเวียดนามหนุนหลัง ซึ่งในตอนนั้นฮุนเซนได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ประกอบกับภรรยาของฮุนเซนมีเชื้อสายเวียดนาม ยิ่งทำให้ฮุนเซนมีความแนบแน่นกับเวียดนามยิ่งขึ้น ดั้งนั้น จะเห็นได้ว่า ครั้งใดที่ฮุนเซนต้องการใช้กระแสชาตินิยมเพื่อสร้างความนิยมทางการเมือง เขาจะใช้ประเด็นชาตินิยมสร้างไทยให้เป็นศัตรูถาวรขึ้นมาทุกครั้ง ทั้งที่จากประวัติศาสตร์นั้นกัมพูชาก็ถูกเวียดนามรุกรานไม่น้อยไปกว่าไทยหรือสยามในอดีต เห็นได้จากกรณีของกบ สุวนันท์ ที่ทั้งรัฐบาลกัมพูชาและสื่อมวลชนที่ถูกควบคุมโดยรัฐ ได้โหมกระพือกระแสชาตินิยมว่า นักแสดงไทยกล่าวคำ ดูถูกชาวกัมพูชาจนเกิดความเกลียดชังชาวไทยจนเกิดการเผาสถานเอกอัครทูตไทยในกรุงพนมเปญ ที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องมาจากฮุนเซนและพรรคประชาชนกัมพูชากำลังลงสู่สนามเลือกตั้งทั่วไปของกัมพูชา จึงต้องใช้กระแสชาตินิยมสร้างไทยในภาพของศัตรูถาวรเพื่อต้องการเสียงสนับสนุนฮุนเซนและพรรคประชาชนกัมพูชา
 
 
ในประเด็นของเขาพระวิหารที่กลายมาเป็นประเด็นความขัดแย้งอย่างรุนแรงในปัจจุบัน ก็มีเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนการพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชา กล่าวคือ บริเวณชายแดนกัมพูชา-เวียดนาม แถบจังหวัดสวายเรียงของกัมพูชา เวียดนามได้ปักหลักเขตแดนล้ำเข้ามาในเขตแดนของกัมพูชาโดยนายสม รังสี ผู้นำพรรคฝ่ายค้านกัมพูชาได้เปิดโปงกรณีดังกล่าว จนนายกรัฐมนตรีฮุนเซนต้องเบี่ยงเบนประเด็นความขัดแย้งกับเวียดนามมาสู่ความต้องการรักษาอธิปไตยเหนือเขตแดนเขาพระวิหารจากไทย พร้อมกับเคลื่อนกองทัพสู่ชายแดน ส่งผลให้กองทัพไทยต้องเพิ่มกำลังพลตรึงชายแดนบริเวณเขาพระวิหารเช่นกัน ทำให้เกิดสภาวะล่อแหลม (Dilemma) ระหว่างไทยและกัมพูชา จนความขัดแย้งบนพื้นฐานความคลั่งชาติของประเทศทั้งสองได้ขยายตัวไปสู่ประชาชนทุกระดับ
 
 
กรณีเขาพระวิหารนั้นหากทั้งสองประเทศไม่นำประเด็นการเมืองภายใน ประเทศเชื่อมโยงกับการเมืองระหว่างประเทศที่ขับเคลื่อนไปด้วยความเป็นชาตินิยม แล้วหันมามองถึงผลประโยชน์ของชาติร่วมกันบนพื้นฐานของความร่วมมือของประเทศทั้งสอง ก็จะทำให้ปัญหาเขาพระวิหารจะแปรสภาพจากวิกฤตกลายเป็นโอกาสของทั้งสองฝ่าย เพราะทั้งสองฝ่ายจะได้ผลประโยชน์ร่วมกันจากการจัดสรรผลประโยชน์ร่วมกันในบริเวณเขาพระวิหาร ต้องไม่ลืมว่าทางกัมพูชานั้นได้ครอบครองเพียงแค่ตัวปราสาท แต่บริเวณโดยรอบที่ประกอบไปด้วย เทวสถาน ปรางค์คู่ บันไดนาค และสระคราวนั้น อยู่ภายใต้การครอบครองไทย เหมือนกับที่ศาสตราจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ได้กล่าวว่า "ปราสาทพระวิหารที่ไร้องค์ประกอบโดยรอบ ก็เหมือนกับโครงกระดูกที่ไร้เนื้อหนัง"[1] นอกจากนี้หากมองไปที่ทรัพยากรทางประวัติศาสตร์และสังคมวัฒนธรรมที่ทั้งสองประเทศมีร่วมกัน ไทยมีปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินพนมรุ้ง ฯลฯ กัมพูชามีพระนคร นครวัด ฯลฯ โดยทั้งสองประเทศได้มีส่วนร่วมในการการจัดการมรดกโลกเขา พระวิหารร่วมกัน หากทั้งสองฝ่ายผลักดันความร่วมมือดังกล่าวให้เกิดขึ้นได้ ทั้งไทยและกัมพูชาจะมี Package การท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมขอมโบราณที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวเป็นอย่างยิ่ง กลายเป็นผลประโยชน์บนความร่วมมือระหว่างกันที่ประเมินค่ามิได้ ทั้งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและผลประโยชน์จากการขจัดความขัดแย้งระหว่างกัน
 
เมื่อมองไปที่ความขัดแย้งของไทยและกัมพูชานั้น ส่วนหนึ่งต้องมองไปที่บทบาทและท่าทีของเวียดนามที่พยามช่วงชิงความเป็นเจ้าในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป (Mainland Southeast Asia) จากไทยโดยการดำเนินนโยบายต่างประเทศของเวียดนามในระดับภูมิภาค ถึงแม้ว่าบทบาทในองค์การภูมิภาค อาทิเช่น อาเซียน ของเวียดนามจะมีบทบาทที่โดดเด่นไม่เท่ากับไทย แต่หากมองแยกไปเฉพาะส่วนย่อยในภูมิภาคอย่างอินโดจีน ก็จะเห็นถึงบทบาทความเป็นผู้นำที่ชัดเจนของเวียดนามที่มีเหนือลาวและกัมพูชา ซึ่งตรงจุดนี้ก็ต้องยอมรับว่าบทบาทการนำของเวียดนามคือผู้นำของอินโดจีนอย่างแท้จริงที่เป็นเช่นนี้ก็เป็นเพราะสายสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับลาวและกัมพูชาอันมีมาตั้งแต่สมัยสงครามเย็น กล่าวได้ว่าเวียดนามได้ดำเนินนโยบายสร้างตนให้เป็น แกนล้อ (Hub) และสร้างให้กัมพูชากับลาวเป็นซี่ล้อ (Spokes) ได้อย่างต่อเนื่องและยาวนาน ประกอบด้วยความใกล้ชิดและสายสัมพันธ์อันดีของฮุนเซนกับเวียดนามยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกัมพูชาและเวียดนามนับวันก็ยิ่งจะมีความแนบแน่นยิ่งขึ้น ซึ่งหมายถึงว่าในทางกลับกันความสัมพันธ์ระหว่างกัมพูชาและไทยก็ย่อมจะถดถอยลงจากยุทธศาสตร์การครองความเป็นเจ้าในอินโดจีนของเวียดนาม
 
 
ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชา
 
 
ปัจจุบัน ไทย-กัมพูชาแม้จะมีความขัดแย้งกัน แต่ความสัมพันธ์ยังคงดำเนินไปบนพื้นฐานของความเข้าอก เข้าใจกัน โดยมีกรอบความร่วมมือต่าง ๆ เป็นพลังขับเคลื่อนความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน ทั้งนี้ ไทยและกัมพูชามีความสัมพันธ์ทวิภาคีหลายฉบับ ได้แก่
 
 
คณะกรรมการว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-กัมพูชา (Joint Commission: JC) โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วมทำหน้าที่ดูแลความสัมพันธ์ ทวิภาคีในภาพรวม มีการประชุมประจำปี
 
 
คณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee: GBC) โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วม ทำหน้าที่ดูแลส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงบริเวณชายแดนของทั้งสองประเทศ
 
 
คณะกรรมการรักษาความสงบเรียบร้อยบริเวณชายแดน (Border Keeping Committee: BPKC) มีผู้บัญชาการทหารสูงสุดของทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม ทำหน้าที่กำกับการปฏิบัติให้เป็นตามนโยบายของคณะกรรมการชายแดนทั่วไป
 
 
คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (Joint Boundary Committee: JBC) ที่ปรึกษาว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธานฝ่ายไทย และทำหน้าที่ระดับสูง ตัวแทนนายกรัฐมนตรีกัมพูชาเป็นประธานฝ่ายกัมพูชา ทำหน้าที่กำกับดูแลภารกิจ การสำรวจ ปักปัน และแก้ปัญหาเขตแดนทางบก
 
 
คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค (Regional Border Committee: RBC) มีแม่ทัพภาคในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ของทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วม เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและแก้ปัญหาความสงบเรียบร้อยบริเวณชายแดน และความร่วมมือระดับท้องถิ่นทั้งสองฝ่าย มีการประชุมปกติปีละ 2 ครั้ง
 
 
คณะกรรมการการค้าร่วม (Joint Trade Committee: JCT) มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วม ทำหน้าที่ส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือทางการค้าระหว่างกัน
 
 
นอกจากนี้ ไทยกับกัมพูชามีการตกลงร่วมภายใต้กรอบความร่วมมือทางการค้าและการลงทุน คือ กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี – เจ้าพระยา - แม่โขง (ACMECS) โดยได้มีการดำเนินโครงการทวิภาคีที่มีโครงการร่วมในสาขาการอำนวยความสะดวกทางด้านการค้าและการลงทุนจำนวนทั้งสิ้น 18 โครงการ เช่น การศึกษาการจัดตั้งตลาดกลางเพื่อค้าส่งและส่งออกในกัมพูชา การจัดงานแสดงสินค้า ความตกลงการอำนวยความสะดวกทางการค้าโดยให้บริการเบ็ดเสร็จที่ด่านชายแดนไทย-กัมพูชา เป็นต้น นอกจากนี้ จากยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ACMECS ยังมีแผนปฏิบัติการอื่น ๆ อาทิ โครงการ Contract Farming โดยจังหวัดนำร่องในการจัดทำ Contract Farming ได้แก่ จันทบุรี-พระตะบอง/ไพลิน และยังมีโครงการเมืองคู่แฝด (Sister Cities) ซึ่งเป็นการดำเนินงานเพื่อพัฒนาพื้นที่ระหว่างไทยกับเพื่อนบ้านให้เป็นเมืองเชื่อมโยงระหว่างกัน เป็นรากฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรม การค้า การท่องเที่ยว สนับสนุนการย้ายฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรมจากไทยไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
 
 
สำหรับกรอบความร่วมมือ GMS (Greater Mekong Subregion) ไทยกับกัมพูชาได้ดำเนินโครงการร่วมกัน ได้แก่ การพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor) เชื่อมโยงไทย กัมพูชาและเวียดนาม การอำนวยความสะดวกการผ่านแดนของคนและสินค้าระหว่างไทย-กัมพูชา ส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูป Package Tour โดยจะเน้นตามแนวพื้นที่เศรษฐกิจ ตลอดจนดำเนินการ GMS Single Visa เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวทั้งนี้ จะเห็นได้ว่ามูลค่าการค้าของการส่งออกสินค้าจากไทยไปยังกัมพูชามีมูลค่าสูงกว่ามูลค่าการนำสินค้าเข้าของไทย ซึ่งการส่งออกสินค้าจากไทยไปยังกัมพูชาส่วนใหญ่จะใช้การขนส่งทางถนนเป็นหลัก ทำให้ภาครัฐทั้งไทย-กัมพูชาได้ให้การสนับสนุนการขนส่งทางถนนเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับการพัฒนาการขนส่งรูปแบบอื่น โดยมีแนวคิดที่ว่าระบบถนนเป็นบริการขนส่งพื้นฐานที่ให้ความสะดวกรวดเร็วและเป็นการขนส่งให้ถึงจุดหมายปลายทางโดยตรง อีกทั้งการขนส่งทางถนนเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับการขนส่งในช่วงสั้น ๆ อย่างไรก็ดี จากกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามแดน (ASEAN Frame work Agreement for the facilitation of Inter-State Transport) และความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Great Mekong Subregion Cross-Border Transport Agreement) ทำให้ภาครัฐทั้งไทยและกัมพูชาได้ประสานงานและร่วมมือกันในการลดอุปสรรคต่างๆ และลดค่าใช้จ่าย ในการขนส่งสินค้าผ่านเส้นทางผ่านแดน และให้ความสำคัญอย่างจริงจังในการทำงานร่วมกับสมาคมที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางถนน แก้ไขปัญหาเรื่องรถวิ่งเที่ยวเปล่าเพื่อลดต้นทุนการขนส่งของสินค้า
 
 
อ้างอิงโดย http://122.155.9.68/talad/index.php/cambodia/overview-kh/social/173-2010-09
 
 
๗.๒. ประเทศมหาอำนาจ
 
 
ความขัดแย้งไทย-อเมริกาหลัง คสช. มาเป็นรัฐบาล
 
 
นายเกล็น ทาวน์เซนด์ เดวีส์ อดีตผู้แทนพิเศษด้านนโยบายเกาหลีเหนือระหว่างพ.ศ.2555–2557ผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยได้เข้าให้คำแถลงต่อคณะกรรมาธิการฝ่ายกิจการต่างประเทศของวุฒิสภา
 
 
คำแถลงนี้ถูกเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยผู้ถูกเสนอชื่อเข้ารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตฯกล่าวถึงประเทศไทยว่า
 
 
“ประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาธำรงมิตรภาพร่วมกันมายาวนาน,ไทยเป็นหนึ่งในพันธมิตรคู่สนธิสัญญาที่เก่าแก่ที่สุดของสหรัฐอเมริกาในเอเชีย”
 
“แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจำเป็นต้องจำกัดความสัมพันธ์บางด้านกับไทยหลังเหตุการณ์รัฐประหารโดยทหารเมื่อเดือนพ.ค.2557ความสัมพันธ์ทวิภาคีนี้ยังคงกว้างขวางและก่อประโยชน์อย่างยิ่งแก่ทั้งสองประเทศอย่างที่ความสัมพันธ์อื่นน้อยนักจะเทียบเคียงได้” ซึ่งนายเดวีส์ชี้ว่าการระงับความช่วยเหลือบางประการนี้จะดำเนินต่อไปจนกว่าไทยจะมีการบริหารประเทศโดยรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยเมื่อเป็นเช่นนั้นจึงจะนำไปสู่ความสัมพันธ์อย่างเต็มรูปแบบ
 
 
“ตลอดทศวรรษที่ผ่านมาความแตกแยกทางการเมืองภายในประเทศไทยถลำลึกลงไปอย่างมาก,นำไปสู่การแบ่งขั้วไม่เพียงระดับการเมืองเท่านั้นแต่ยังแผ่ขยายไปถึงสังคมไทยโดยรวมอีกด้วย” พร้อมเน้นย้ำว่าสหรัฐฯยึดมั่นสนับสนุนหลักประชาธิปไตยและไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใดในความขัดแย้งนี้
 
 
“การที่สหรัฐฯเรียกร้องให้ไทยกลับไปมีรัฐบาลพลเรือนคืนสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยและเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจังซึ่งรวมถึงเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมอย่างสงบนั้นมิได้หมายความว่าสหรัฐฯมุ่งเจาะจงสนับสนุนพิมพ์เขียวรัฐธรรมนูญหรือการเมืองประเด็นใดโดยเฉพาะ,สิ่งเหล่านั้นเป็นคำถามที่คนไทยต้องตัดสินใจโดยผ่านกระบวนการทางการเมืองที่ครอบคลุมอันเอื้อต่อการอภิปรายที่เปิดกว้างและตรงไปตรงมาเกี่ยวกับอนาคตทางการเมืองของประเทศหากผมได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการให้ดำรงตำแหน่งผมจะดำเนินงานสานต่อในการสนับสนุนปณิธานด้านประชาธิปไตยของประชาชนชาวไทย”
 
นายเดวีส์ระบุว่านับตั้งแต่เหตุการณ์รัฐประหาร สหรัฐฯเน้นย้ำผ่านทั้งเวทีสาธารณะและการเจรจาส่วนตัวถึงข้อกังวล “เกี่ยวกับการที่การปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทยได้หยุดชะงักลง”รวมถึงการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบของพลเมือง
 
 
ด้านความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพสหรัฐฯและกองทัพไทยนั้นนายเดวี่ส์ชี้สหรัฐฯยังคงยึดมั่นในการรักษาพันธมิตรด้านความมั่นคง“ด้วยตระหนักถึงผลประโยชน์เชิงยุทธศาสตร์ในระยะยาวของเรา”และประวัติศาสตร์การต่อสู้ร่วมกันของสองประเทศไม่ว่าจะในสงครามเวียดนามและสงครามเกาหลีทั้งการฝึกซ้อมกิจกรรมความร่วมมือต่างๆอาทิการฝึกคอบร้าโกลด์ที่ถือเป็นการฝึกซ้อมทางทหารระดับพหุภาคีที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย
 
อดีตผู้แทนพิเศษด้านนโยบายเกาหลีเหนือแถลงถึงความสัมพันธ์หลากหลายด้านของสองประเทศไม่ว่าจะเป็นการค้า,วัฒนธรรม,กิจการมนุษยธรรม,และความร่วมมือผ่านองค์กรพหุภาคีต่าง ๆ ในภูมิภาค
 
ก่อนทิ้งท้ายว่า “เราก็หวังจะเห็นไทยหวนคืนสู่ระบอบประชาธิปไตยเพื่อความพยายามร่วมกันระหว่างประเทศเราทั้งสองจะดำเนินก้าวหน้าได้อย่างเต็มวิสัยสหรัฐฯเชื่อว่าราชอาณาจักรไทยจะสามารถสร้างความปรองดอง สถาปนาประชาธิปไตย และเติมเต็มโชคชะตาบนหน้าประวัติศาสตร์ในฐานะชาติที่ยิ่งใหญ่และเสรี”
 
โดยหลังจากสิ้นสุดการแถลงดังกล่าวแล้วคณะกรรมาธิการฯจำเป็นต้องกำหนดวันลงมติรับรองตำแหน่งก่อนส่งเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาสหรัฐอเมริกา ซึ่งยังไม่ทราบกำหนดเวลาแน่ชัด
 
 
อ้างอิงโดย:http://thainewstip.blogspot.com/2015/06/blog-post_24.html
 
 
 
==ความมั่นคงในยุคสมัยใหม่==
 
 
8.1. Traditional Threat 
 
ภายใต้ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน อาจเป็นที่สงสัยหรือยังไม่เป็นที่เข้าใจกันลึกซึ้งนักกับคำว่า "ความมั่นคงของชาติ” ในตอนนี้จะขอให้ความรู้ความเข้าใจถึงความหมายของคำนี้ ซึ่งก็มีความหมายเดียวกับ "ความมั่นคงของรัฐ” โดยที่รัฐ (State) ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ ประชากร ดินแดน รัฐบาล และอำนาจอธิปไตย หากองค์ประกอบใดไม่เข้มแข็งเพียงพอชาติก็จะขาดความมั่นคง
 
 
ในอดีต ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงของชาติมักให้ความสนใจที่ภัยคุกคามจากภายนอก โดยเฉพาะภัยคุกคามทางทหาร ด้วยเหตุนี้เมื่อกล่าวถึงความมั่นคงของชาติ ส่วนมากจึงเป็นที่เข้าใจว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการทหารหรือการสงครามโดยตรง ซึ่งอาจเป็นความจริงในอดีตมากกว่าในปัจจุบัน จากการสำรวจความหมายของความมั่นคงของชาติแบบดั้งเดิมสรุปได้ว่า หมายถึงสภาวการณ์ของชาติภายใต้การนำของรัฐบาลที่มีอำนาจอธิปไตยในการปกครองดินแดนดังกล่าวด้วยตนเอง อยู่ในสภาพที่มีความปลอดภัยจากภัยคุกคามทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นการเสี่ยงใด ๆ ความเกรงกลัว ความกังวล และความสงสัย อีกทั้งมีเสรีต่อแรงกดดันต่าง ๆ ซึ่งจะประกันให้เกิดอำนาจหน้าที่ของแต่ละส่วนภายในชาติดำเนินไปได้อย่างอิสระ นอกจากนี้ ยังต้องมีความแน่นอนไม่เปลี่ยนแปลงไปโดยง่าย มีความอดทนต่อแรงกดดันต่าง ๆ ที่มากระทบ และมีขีดความสามารถที่จะพร้อมเผชิญต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
 
 
การให้ความหมายของคำว่า "ความมั่นคงแห่งชาติ” ในแต่ละช่วงเวลาของแต่ละกลุ่มบุคคลในสังคมที่มีอุดมการณ์ครอบงำอยู่ อาจมีความหมายและองค์ประกอบที่แตกต่างกันออกไป และให้ความสำคัญต่อความมั่นคงแห่งชาติมากน้อยต่างกันไป ซึ่งโดยทั่วไปรัฐหรือชาติต้องการดำรงความเป็นอยู่ ต้องการมีเสรีภาพ (liberty) คือมีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนของตน มีอิสระต่อแรงกดดันต่าง ๆ มีความมั่นคงปลอดภัย (security) และมีความผาสุกสมบูรณ์ (wealth) การที่จะมีสิ่งเหล่านี้ได้รัฐต้องมีพลังอำนาจของชาติ (national power) ที่เข้มแข็ง หรือมีศักยภาพในหลายด้านด้วยกัน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในปกป้องผลประโยชน์ของชาติ (national interests) การสิ้นสุดของสงครามเย็นมีผลต่อแนวความคิดในการพิจารณาปัญหาความมั่นคงของชาติ จาก "สภาพแวดล้อมใหม่” ที่ความขัดแย้งในเชิงอุดมการณ์เลือนหายไป แต่กลับมีความขัดแย้งในผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของชาติ การศึกษาความมั่นคงภายใต้สถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
 
 
หากให้ความสำคัญเฉพาะเรื่องของการสงครามและการทหารเพียงอย่างเดียวจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างคับแคบและอยู่ในวงจำกัด เรื่องของความมั่นคงจึงขยายวงกว้างขวางขึ้นโดยมีมิติอื่น ๆ เช่น เศรษฐกิจ สังคม จิตวิทยา การเมือง เพิ่มเข้ามา จึงพบว่าปัญหาสิ่งแวดล้อม ผู้ลี้ภัยที่ไม่พึงประสงค์ ภาวะโลกร้อน ฯลฯ ล้วนแต่เป็นประเด็นที่อาจส่งผลทางตรงต่อความขัดแย้ง โดยผ่านกลไกการเสื่อมถอยทางเศรษฐกิจ และความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง
 
 
เมื่อจำแนกความมั่นคงออกเป็นมิติต่าง ๆ กล่าวได้ว่าประกอบด้วย ความมั่นคงทางทหาร หมายถึง ความพร้อมทางทหารเพื่อป้องกันการรุกราน ความมั่นคงทางด้านการเมือง หมายถึง การมีระบบการเมืองที่มั่นคง มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หมายถึง การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูง มีอัตราการส่งออกสูง ประชาชนมีรายได้ต่อหัวสูง และความมั่นคงทางสังคม หมายถึง คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน โดยได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง มีระบบสาธารณะสุขที่ดี ปลอดโรคภัยไข้เจ็บ และมีความอยู่ดีกินดี เป็นต้น
 
อ้างอิงโดย http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=3166&filename=index
 
 
8.2. Non-Traditional Threat
 
 
ประเด็นความมั่นคงแบบ “non-traditional” ซึ่งเน้นในเรื่องความมั่นคงของมนุษย์นับว่ามีความสำคัญยิ่ง และได้รับความสนใจจากรัฐบาลต่างๆมากขึ้นดังสะท้อนให้เห็นจากการกล่าวถึงประเด็นนี้ในสุนทรพจน์ของผู้นำต่างๆโดยเฉพาะในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ที่แต่ละประเทศมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันที่นอกเหนือไปจากประเด็นดั้งเดิม (traditional) ความมั่งคงแบบ non-traditional นี้หมายรวมถึง ปัญหาที่เกิดจากด้านสาธารณสุข การย้ายถิ่น สิ่งแวดล้อมการแข่งขันเพื่อแย่งชิงทรัพยากร อาชญากรรมข้ามชาติปัญหาโจรสลัดและปัญหาการก่อการร้ายปัญหาเหล่านี้ได้ท้าทายบทบาทของรัฐในการให้ความคุ้มกันต่อความปลอดภัยของประชาชนให้สามารถมีชีวิตอยู่อย่างปกติสุขขณะที่มีส่วนในการสร้างความตื่นตัวในกลุ่มประชาชนต่อภัยในรูปแบบใหม่นี้ซึ่งมักถูก “overshadowed” โดยภัยในรูปแบบเดิมๆ เช่น ภัยจากทางทหารภัยจากการรุกรานของต่างชาติ เป็นต้น
 
สถาบันความมั่นคงและยุทธศาสตร์ศึกษา (IDSS) ของสิงคโปร์ ร่วมกับ The Ford Foundation ได้จัดการสัมมนาเรื่อง “Non-Traditional Security in Asia” ระหว่างวันที่ 2-3 มีนาคม2549 โดยได้เชิญวิทยากรจากภูมิภาคต่างๆ จำนวน 23 คนมาร่วมเป็นวิทยากร ซึ่งได้อธิบายในรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบของภัยแบบ non-traditional ว่าอาจได้แก่ 1) ภัยจากการก่อการร้ายซึ่งได้มีความรุนแรงขึ้นนับตั้งแต่เหตุการณ์ 9/11 2) ภัยจากสิ่งแวดล้อมได้แก่ มลภาวะเป็นพิษและความล้มเหลวในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ 3) ภัยทางด้านเศรษฐกิจ เช่น วิกฤตการณ์ทางการเงิน 4) ภัยทางด้านวัฒนธรรม เช่นการรุกรานของวัฒนธรรมต่างชาติ 5) ภัยที่เกิดจากการขาดข้อมูลที่จำเป็นในสังคม 6) ภัยจากด้านการสาธารณสุข เช่นการขาดแคลนน้ำ โรคระบาด ฯลฯ 7) ภัยข้ามชาติอื่นๆ ได้แก่การลักลอบค้ายาเสพติด หรือการย้ายถิ่นของคนจำนวนมาก
 
 
อ้างอิง http://news.thaieurope.net/content/view/980/141/
 
  
  
 
==กฎหมายระหว่างประเทศกับประเทศไทย==
 
==กฎหมายระหว่างประเทศกับประเทศไทย==
 
9.1.ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายภายในกับระหว่างประเทศ และกฎหมายระหว่างประเทศ
 
 
9.1.1.ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในของรัฐ
 
(Relations Between International Law and Municipal Law)
 
 
ความเบื้องต้นใน การศึกษากฎหมายระหว่างประเทศนั้น หากละเลยไม่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและกฎหมายระว่างประเทศและ กฎหมายภายในของรัฐแล้ว จะทำให้ขาดความเข้าใจถึงลักษณะและบทบาทที่แท้จริงของกฎหมายระหว่างประเทศ ทั้งนี้ เพราะกฎหมายระหว่างประเทศมิใช่เพียงแต่วางกฎเกณฑ์เพื่อกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างบุคลต่างๆ ในกฎหมายระหว่างประเทศไม่ว่าจะเป็นรัฐ หรือองค์การระหว่างประเทศ หรือองค์ภาวะ (entity ) อื่นใดที่ถือว่าสภาพบุคคล (personality) หรือมีสถานะ (status) บาง ประการตามกฎหมายระหว่างประเทศเท่านั้น แต่กฎหมายระหว่างประเทศยังเข้าไปเกี่ยวข้องกับระบบกฎหมายภายในของรัฐต่างๆ อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสนธิสัญญาระหว่างประเทศซึ่งนับว่าเป็นบ่อเกิดของกฎหมาย ระหว่างประเทศที่มีอิทธิพลและบทบาทต่อกฎหมายภายในของรัฐมากขึ้นทุกขณะ
 
 
อย่าง ไรก็ดี ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในของรัฐนั้น ถูกนักกฎหมายระหว่างประเทศมองไปในแง่มุมต่างๆ กัน เช่น มองว่ากฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายในของรัฐนั้นเป็นกฎหมายคนละระบบกันและ แยกต่างหากจากกันโดยไม่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งเป็นทัศนะของกลุ่มนักกฎหมายที่สนับสนุนนทฤษีทวินิยม ( Dualism) หรือ กลุ่มนักกฎหมายที่ถือว่ากฎหมายระหว่างประทศและกฎหมายภายในเป็นระบบเดียวกัน ไม่อาจแยกออกจากกันได้ ซึ่งเป็นทัศนะของกลุ่มนักกฎหมายที่สนับสนุนทฤษฎีเอกนิยม (Monism) หรือแม้กระทั่งกลุ่มนักกฎหมายที่มิได้สนับสนุนทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งดังกล่าวข้างดต้นหากแต่ต้องการประสานทฤษฎีทั้งสองเข้าด้วยกัน
 
ทฤษฎี ดังกล่าวข้างต้นนี้ต่างก็ได้รับอิทธิพลจากปรัชญากฎหมายที่แตกต่างกันโดยที่ ไม่อาจหาข้อสรุปที่แน่นอนได้ว่าทฤษฎีใดถูกทั้งหมดหรือผิดโดยสิ้นเชิง เช่นทฤษฎีทวินิยมที่แยกกฎหมายระหว่างประเทศกุบกฎหมายภายในของรับออกจากกันก็ ได้รับอิทธิพลจากปรัชญากฎหมายของสำนักกฎหมายบ้านเมือง ( Positivism) ที่ถือว่ากฎหมายไม่ว่าจะเป็นบ่อเกิดโดยรูปแบบ (formal Sources) หรือโดยเนื้อกา (material sources) มาจากเจตจำนง (will) ของ รัฐ และระบบกฎหมายระหว่างประเทศย่อมไม่สามารถเข้าไปเกี่ยวข้องกับระบบกฎหมายภาย ในของรัฐและผูกพันรัฐได้หากรัฐไม่แสดงเจตจำนงให้ความยินยอม( (consent)
 
 
ในกรณีของทฤษฎีเอกนิยมโดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายที่ถือว่ากำหมายระหว่างประเทศมีลำดับศักดิ์( hierarchy) สูงกว่ากฎหมายภายในของรัฐนั้นได้รับอิทธิพลจากปรัชญากำหมายของสำนักกำหมายธรรมชาติ (natural law) ซึ่ง ถือว่ากฎหมายภายในของรัฐไม่สามารถแยกออกจากกฎหมายระหว่างประเทศได้ และในทางกลับกันกฎหมายภายในของรัฐซึ่งเกิดจากเจตจำนงของรัฐซึ่งเป็นกฎหมาย ที่มนุษย์สร้างขึ้นก็จะต้องตกอยู่ในบังคุบของกฎหมายธรรมชาติ มิใช่แยกตัวออกจากกำหมายธรรมชาติไม่ วาจะเป็นทฤษฎีใดดังกล่าวข้างต้นก็ตามต่างก็ไม่สามารถที่จะตอบคำถามาเกี่ยว กับแนวทางซึ่งรัฐต่างๆ ถือปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายเกี่ยวกับแนวทางซึ่งรัฐต่างๆ ถือปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศและ กฎหมายภายในของรัฐได้หมด เช่นเดียวกับที่ปรัชญากฎหมายซึ่งอยู่เบื้องหลังทฤษฎีดังกล่าวก็ไม่สามารถตอบ คำถามเกี่ยวกับปรัชญาพื้นฐานกฎหมายได้ทุกคำถาม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า การศึกษาถึงทฤษฎีดังกล่าวข้างต้นมีความจำเป็นในการทำความเข้าใจกำหมาย ระหว่างประเทศและความสัมพันธ์ที่กฎหมายระหว่างประทศมีต่อกฎหมายภายในของรัฐ ในทำนองเดียวกันกับที่การศึกษาปรัชญากฎหมายของสำนักความคิดต่างๆ มีความเข้าใจกฎหมายโดยภาพรวม
 
 
ประเทศไทยได้รับอิทธิพลทางกฎหมายจากประเทศที่ใช้ระบบ civil law และ มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ไม่ปรากฏว่ามีรัฐธรรมนูญของประเทศไทยฉบับใดกล่าวถึงสถานะของกฎหมายจารีต ประเพณีระหว่างประเทศเลยว่ากฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศจะเข้ามามีบทบาท ในฐานะที่เป็นกฎหมายภายในของประเทศได้อย่างไร ซึ่งแตกต่างจากกรณีของกฎหมายรัฐธรรมนูญของฝรั่งเศสหรือของเยอรมนีซึ่งกล่าว ถึงกฎเกณฑ์แห่งกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้น จึงทำให้เกิดคำถามว่า กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศจะเข้ามามีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายภายในของ ประเทศไทยได้หรือไม่ ในเมื่อไม่มีการกล่าวถึงจารีตประเพณีระหว่างประเทศไว้ในรัฐธรรมนูญของประเทศ ไทยฉบับใดเลย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ศาลไทยจะยอมบังคับตามกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศหรือไม่ หากมีการกล่าวอ้างกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ เช่น ในกรณีที่กงสุลของรัฐอื่นกระทำความผิดอาญาในประเทศไทยและอ้างความคุ้มกันจาก เขตอำนาจของศาลไทยตามหลักกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ ศาลไทยจำเป็นที่จะต้องบังคับตามกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ เช่นว่านั้นหรือไม่ กล่าวคือ ยอมรับการอ้างความคุ้มกันของกงสุลของรัฐอื่นเช่นว่านั้น เพราะไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายภายในของประเทศไทยบัญญัติถึงความคุ้มกันของกงสุล เหมือนกับกรณีความคุ้มกันทางทูต พ.ศ. 2527 รับรอง อยู่ หรือศาลไทยจะไม่ยอมรับการอ้างความคุ้มกันของกงสุลของรัฐอื่นและดำเนินคดีต่อ กงสุลของรัฐอื่นซึ่งกระทำความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายอาญาของไทย
 
 
ใน กรณีดังกล่าวข้างต้นนี้ หากศาลไทยดำเนินคดีต่อกงสุลของรัฐอื่นเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายอาญาโดยไม่ ยอมรับฟังข้ออ้างในเรื่องความคุ้มกันของกงสุลตามกฎหมายจารีตประเพณีระหว่าง ประเทศ ก็ดูจะไม่มีปัญหาสำหรับศาลซึ่งใช้บังคับกฎหมายที่มีอยู่ แต่ในขณะเดียวกันประเทศไทยอาจต้องรับผิดต่อรัฐผู้ส่งกงสุลเช่นว่านั้นในฐานะ ที่ประเทศไทยฝ่าฝืนพันธกรณีในทางระหว่างประเทศอันเกิดจากกฎหมายจารีตประเพณี ที่ว่ากงสุลจะได้รับความคุ้มกันจากเขตอำนาจทางตุลาการและทางบริหารของรัฐผู้ รับ ถึงแม้ความคุ้มกันของกงสุลจะไม่เท่ากับความคุ้มกันของตัวแทนทางทูตก็ตาม
 
 
ใน ทางกลับกัน หากศาลไทยยอมให้กงสุลของรัฐอื่นเช่นว่านั้นอ้างความคุ้มกันจากเขตอำนาจศาล ไทยได้ ศาลไทยคงจะต้องอธิบายและให้เหตุผลว่ากงสุขของรัฐอื่นเช่นว่านั้น สามารถอ้างความคุ้มกันจากเขตอำนาจศาลไทยได้อย่างไร ในเมื่อไม่มีกฎหมายภายในของประเทศไทยบัญญัติรับรองไว้ เหมือนกับกรณีความคุ้มกันของตัวแทนทางทูต ซึ่งมีพระราชบัญญัติว่าด้วยเอกสิทธิและความคุ้มกันทางทูต พ.ศ. 2527 รับรอง อยู่ ซึ่งคงจะเป็นการยากที่ศาลไทยจะอธิบายได้ เพราะเรื่องความคุ้มกันของกงสุลนั้นไมมีกฎหมายภายในของประเทศไทยบัญญัติ รับรองไว้ นอกจากกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ ซึ่งศาลก็ต้องอธิบายต่อไปว่าศาลไทยสามารถนำกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ เช่นว่านั้นมาปรับแก้ข้อเท็จจริงในคดีดังกล่าวนี้ได้อย่างไร
 
 
ในเมื่อระบบกฎหมายของไทยและกฎหมายรัฐธรรมนูญของไทยไม่เปิดช่องว่างให้ศาลไทยนำ กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศมาใช้บังคับได้โดยตรงศาลไทยจึงไม่มีอำนาจ ตามกฎหมายใดๆ ที่จะนำกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศมาปรับใช้แก่คดีได้ เพราะศาลในระบบ civil law เช่นศาลไทยนี้มีหน้าที่ใช้บังคับกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติเท่านั้น ศาลไทยไม่อาจสร้างหลักกฎหมายได้เองเหมือนกับศาลในระบบ common law ดัง นั้น หากจะย้อนไปพิจารณาปัญหาเรื่องความคุ้มกันของกงสุลของรัฐอื่นข้างต้น ศาลไทยคงไม่มีทางเลือกเป็นอื่นนอกจากวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายอาญาตามปกติ ส่วนความรับผิดในทางระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีต่อรัฐผู้ส่งกงสุลเช่นว่า นั้น ก็เป็นอีกกรณีหนึ่ง
 
 
ภายในhttp://tayucases.blogspot.com/2011/03/blog-post_04.htmlเป็นเนื้อหา
 
 
9.2.กฎหมายระหว่างประเทศที่คนไทยควรรู้
 
               
 
ในปัจจุบันความเจริญของโลกทำให้คนสามารถเดินทางติดต่อสื่อสารกันได้โดยง่ายและเป็นประจำ ทำให้รัฐต้องติดตามไปควบคุมและคุ้มครองพลเมือง ซึ่งได้แก่ ผู้มีสัญชาติของรัฐเมื่ออยู่ในต่างแดน เป็นผลให้รัฐต่างๆต้องเริ่มติดต่อกัน โดยการติดต่อได้ขยายขอบเขตไปถึงเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสังคม จึงทำให้สาระของการติดต่อครอบคลุมมากมายหลากหลายเรื่องขึ้น
 
               
 
นอกจากนี้ รัฐยังได้ร่วมมือกันทำกิจกรรมต่างๆ ที่ไม่อาจทำได้ตามลำพัง ทำให้เกิดสมาคมหรือองค์การระหว่างประเทศขึ้นและมีบทบาทสำคัญในการช่วยรักษาความเรียบร้อย รวมทั้งพัฒนาและส่งเสริมความก้าวหน้าแก่ภูมิภาคต่างๆ ในโลกเป็นอย่างมาก  ดังนั้น รัฐและองค์การที่จัดตั้งขึ้นจึงต้องตั้งกติกาเพื่อเป็นแนวทางในการติดต่อสัมพันธ์กันขึ้นมา ซึ่งได้แก่ กฎหมายระหว่างประเทศ
 
             
 
กฎหมายระหว่างประเทศเกิดจาการตกลงกันหรือจากยอมรับปฏิบัติกันโดยรัฐ และพัฒนาต่อมาโดยองค์การระหว่างประเทศทั้งหลาย
 
           
 
ปัจจุบันกฎหมายระหว่างประเทศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อสังคมโลกเป็นอย่างมากซึ่งกฎหมายระหว่างประเทศในบางเรื่องส่งผลต่อประเทศไทยด้วย ดังนั้น ในฐานะพลเมืองที่ดีของประเทศชาติและสังคมโลก เราจึงจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศในสาขาที่มีความสำคัญไว้บ้าง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศดังกล่าว โดยกฎหมายระหว่างประเทศที่ควรรู้ มีดังนี้
 
 
อ้างอิง https://sites.google.com/site/30885naphasfeem/home/page2
 
 
 
9.2.1. กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ
 
เป็นสาขาหนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศจากเดิมเรียกกันว่า“กฎหมายระหว่างประเทศยามสงคราม หรือ กฎหมายสงคราม” กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศมีจุดประสงค์ที่มุ่งส่งเสริมคุณค่า อันเกี่ยวกับความเป็นมนุษย์เช่นเดียวกับกฎหมายสิทธิมนุษยชน
 
           
 
กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศเริ่มต้นจากความพยายามของนายอังรีดูนังต์และคณะที่จะหาทางลดภาวะทุกข์ทรมารอันหน้าสะพรึงกลัวที่เกิดกับทหารและพลเรือน จากการาสู้รบระหว่างคู่สงคราม พวกเขาได้รณรงค์เป็นเวลานานจนรัฐต่างๆ เห็นความสำคัญของปัญหาทำให้สาระสำคัญของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศจึงเกี่ยวข้องกับเรื่องของการปกป้องคุ้มครอง และดูแลพลเรือนของประเทศคู่สงคราม เช่น ห้ามการใช้อาวุธและวิธีการสู้รบซึ่งมีลักษณะการทำลายล้างอย่างมหาศาล ก็ให้เกิดความสูญเสียโดยไม่จำเป็นหรือความทุกข์ทรมารเกินไป เช่น การใช้อาวุธเคมี การใช้อาวุธชีวภาพ อาวุธนิวเคลียร์ ห้ามกระทำการรุนแรงหรือคุมคามว่าจะทำการรุนแรงเพื่อให้ประชาชนหวากกลัว เป็นต้น
 
         
 
กล่าวได้ว่ากฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศเป็นตัวอย่างกฎหมายที่เกิดจากการตกลงร่วมกันของมนุษย์ เพื่อคุ้มครองประโยชน์และการปลอดภัยของมนุษย์จากเงื้อมมือของมนุษย์ด้วยกันอย่างแท้จริง
 
         
 
กฎหมายนี้มีความมุ่งหมาย คือ การเคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ โดยพัฒนาการของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศมีผลทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนของนานาประเทศ ในการสอดส่องดูแลเพื่อให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายเรื่องนี้สำหรับประเทศไทยเคยมีกฎหมายที่สอดคล้องกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ เช่น พระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม พุทธศักราช 2488พระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม พุทธศักราช 2488 พ.ศ. 2510 ประมวลกฎหมายอาญาทหาร มาตรา 48 เป็นต้น
 
       
 
9.2.2.กฎหมายเกี่ยวกับการค้ามนุษย์
 
 
ปัญหาการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะการค้าผู้หญิงและเด็กได้รับการตระหนักจะประชาคมโลกว่าเป็นอาชญากรรมที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เพราะเป็นการแสวงหาประโยชน์จากเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน โดยผู้เสียหายไม่ได้สมัครใจ และได้กระทำการอย่างกว้างขว้าง
 
จนเป็นกระบวนการเชื่อมโยงทั้งในประเทศระต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นภัยต่อความสงบสุขของโลกอย่างมาก
 
         
 
ในอดีตประเทศไทยเคยมีกฎหมายเพื่อเอาผิดและลงโทษการกระทำซึ่งเกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดทางเพศแก่ผู้หญิงและเด็กในลักษณะที่เป็นการค้าประเวณี กฎหมายว่าด้วยการค้าหญิงและเด็กหญิง กฎหมายสถานบริการ แต่ยังมีขอบเขตจำกัด
 
         
 
ต่อมาประเทศไทยได้ร่วมลงนามอนุสัญญาสหประเทศเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร พ.ศ. 2543 และพิธีสารเพื่อป้องกันปราบปรามและลงโทษการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะผู้หญิงและเด็ก พ.ศ. 2543 เพิ่มเติมอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร และได้ตรากฎหมายพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ขึ้นต่อมาตามลำดับ
 
         
 
นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้กำหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ขึ้น เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศ ตลอดจนการให้ความร่วมมือและประสาน
 
งานกับต่างประเทศเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และกำหนดให้มีคณะกรรมการประสานและกำกับการดำเดินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ มีหน้าที่ติดตามและจัดทำรายงานเกี่ยวกับการดำเนินการตามพัทธกรณีระหว่างประเทศและให้ความร่วมมือและประสานงานกับต่างประเทศเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เพื่อให้การบังคับใช้การหมายเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และสอดคล้องกับกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องและพัทธกรณีระหว่างประเทศ
 
 
9.2.3.กฎหมายว่าด้วยผู้ลี้ภัย
 
 
ปัญหาผู้ลี้ภัยเป็นประเด็นทางมนุษยธรรมที่มีกฎหมายระหว่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะถึงแม้จะมีการรับรองว่าสิทธิแสวงหาที่ลี้ภัยเป็นสิทธิมนุษยชน แต่รัฐต่างๆ ก็ยังลำบากใจเมื่อต้องกลายเป็นรัฐผู้ลี้ภัย โดยการลี้ภัยสามารถแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ
 
             
 
1.การลี้ภัยทางดินแดน (territorial asylum) หมายถึง การของลี้ภัยเพื่อเข้าไปอยู่ในดินแดนของรัฐผู้ลี้ภัย ซึ่งขึ้นกับการตัดสินใจของรัฐดินแดนว่าจะให้ลี้ภัยหรือไม่โดยพิจารณาจากพัทธกรณีในข้อตกลงระหว่างประเทศและกฎหมายภายในของรัฐนั้น
 
             
 
2.การลี้ภัยทางทูต (diplomatic asylum) การลี้ภัยที่ผู้ขอลี้ภัยเข้าไปอยู่ในสถานทูตของรัฐผู้ให้ลี้ภัย ซึ่งตั้งอยู่ในดินแดนของรัฐผู้ให้ลี้ภัย ซึ่งตั้งอยู่ในดินแดนของรัฐที่ต้องการตัวผู้ขอลี้ภัยเอง
 
         
 
ปัจจุบันสมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้จัดตั้งสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติขึ้น เพื่อคุ้มครองและแก้ปัญหาของผู้ลี้ภัยทั่วโลก รวมทั้งปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ลี้ภัย โดยเฉพาะสิทธิที่จะอาศัยอยู่อย่างปลอดภัยในประเทศอื่น เพื่อเตรียมพร้อมที่ส่งกับประเทศต้นทางตามที่ผู้ลี้ภัยต้องการ หรือเพื่อที่จะส่งไปยังประเทศที่สาม
 
         
 
ในส่วนของประเทศไทยนั้น ก็ได้ให้ความสนับสนุนช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับผู้อพยพหนีภัยเข้ามาในดินแดนไทยอย่างต่อเนื่อง ตามหลักมนุษยธรรมด้วยดีดดยให้ความคุ้นครองต่อผู้อพยพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ อาทิ การฝึกทักษาอาชีพและการศึกษาเพื่อเขาจะสามารถดำเนินชีวิตระหว่างอยู่ในพื้นที่พักพิงชั่วคราวอย่างปลอดภัย
 
อ้างอิง https://sites.google.com/site/30885naphasfeem/home/page2
 
 
9.2.4.กฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ
 
 
เป็นสาขาหนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศที่ใช้ควบคุมการดำเนินกิจกรรมของรัฐและปัจจเจกบุคคลที่อยู่ได้อำนาจรัฐ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครอง อนุรักษ์ และพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เกิดขึ้เนื่องจากความกังวลของปัญหาของนานาประเทศเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และได้มีการพัฒนาการมาอย่างต่เนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515
 
         
 
สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ เกิดขึ้นจากการทำข้อตกลงกันระหว่างรัฐต่างๆจึงให้มีรานละเอียดเป็นจำนวนมากและครอบคลุมในเรื่องต่างๆ เช่น เรื่องมลพิษทางอากาศ การลดลงของโอโชน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก เป็นต้น
 
         
 
แต่หลักการสำคัญของกฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศนั้น คือ สิ่งแวดล้อมถือเป็นสมบัติส่วนรวมของมนุษยชาติ ที่ต้องร่วมกันปกป้องและรักษา รวมทั้งต้องให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมตามกำลังความสามารถของแต่ละรัฐ
 
         
 
กฎหมายระหว่างประเทศเป็นกฎหมายที่ใช้ในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐในเบื้องต้น ปัจจุบันได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเพิ่มรายละเอียดของเนื้อหามากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการร่วมกันทำกิจกรรมระหว่างรัฐ ผ่านทางองค์การหรือสมาคมระหว่างรัฐต่างๆ ดังนั้น ในฐานะพลเมืองที่ดีของประเทศและพลโลกจึงต้องศึกษาและเรียนรู้ เพื่อทำความเข้าใจกฎหมายต่างๆ เหล่านี้ เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการดำเดินชีวิตและแนวทางการพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับมาตรฐานของโลกต่อไป
 
       
 
กล่าวโดยสรุปได้ว่า กฎหมาย คือ กฎกติกาที่สังคมตั้งขึ้นมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือควบคุมหรือจัดการระเบียบทางสังคม โดยกฎหมายได้วางแนวทางสำหรับการอยู่ร่วมกันและได้กำหนดบทบาท สิทธิ  และทำหน้าที่ของแต่ละคนในสังคมไว้ ตั้งเกิดจนตาย ซึ่งในฐานะสมาชิกของสังคมจึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจกฎหมาย ยิ่งโดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยงข้องกับตนเองและครอบครัว กฎหมายหมายแพ่งที่เกี่ยวกับนิติกรรมสัญญา กฎหมายอาญาตลอดจนกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและมีผลกระทบต่อส่วนรวมและควรรู้ เช่น กฎหมายเกี่ยวกับการรับราชการทหาร กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอาการ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายระหว่างประเทศในเรื่องต่างๆ เป็นต้น เพราะการศึกษากฎหมายดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อตนเอง สังคม ชุมชน และสังคมโลก
 
 
อ้างอิง https://sites.google.com/site/30885naphasfeem/7-kdhmay-rahwang-prathes-thi-khwr-ru/page3/page4
 

โปรดระลึกว่างานเขียนทั้งหมดใน คลังข้อมูลด้านรัฐศาสตร์ อาจถูกผู้เขียนอื่นแก้ไข เปลี่ยนแปลงหรือนำออก หากคุณไม่ต้องการให้งานของคุณถูกแก้ไข ก็อย่าส่งเข้ามา
นอกจากนี้ คุณยังสัญญาเราว่าคุณเขียนงานด้วยตนเอง หรือคัดลอกจากสาธารณสมบัติหรือทรัพยากรเสรีที่คล้ายกัน (ดูรายละเอียดที่ [[]]) อย่าส่งงานมีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต!

ยกเลิก | คำอธิบายการแก้ไข (เปิดหน้าต่างใหม่)