กำลังแก้ไข สาขาการระหว่างประเทศ

คำเตือน: คุณมิได้ล็อกอิน สาธารณะจะเห็นเลขที่อยู่ไอพีของคุณหากคุณแก้ไข หากคุณล็อกอินหรือสร้างบัญชี การแก้ไขของคุณจะถือว่าเป็นของชื่อผู้ใช้ของคุณ ร่วมกับประโยชน์อื่น

สามารถย้อนการแก้ไขนี้กลับได้ กรุณาตรวจสอบข้อแตกต่างด้านล่างเพื่อทวนสอบว่านี่เป็นสิ่งที่คุณต้องการทำ แล้วบันทึกการเปลี่ยนแปลงด้านล่างเพื่อเสร็จสิ้นการย้อนการแก้ไขกลับ
รุ่นปัจจุบัน ข้อความของคุณ
แถว 1,261: แถว 1,261:
  
 
อ้างอิงโดย http://megaclever.blogspot.com/2008/07/blog-post_2651.html
 
อ้างอิงโดย http://megaclever.blogspot.com/2008/07/blog-post_2651.html
 +
  
  
 
==องค์กรระหว่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศ==
 
==องค์กรระหว่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศ==
  
5.1. หน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ
 
  
5.1.1.จัดประชุมปรึกษาหารือระหว่าง "รัฐ"
 
 
 
5.1.2. วางกฎเกณฑ์ต่างเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง "รัฐ"
 
 
5.1.3. จัดสรรทรัพยากร (resource allocation)
 
  
5.1.4. เสนอการใช้วิธีป้องกันร่วมกัน (collective defence)
 
  
5.1.5. เสนอการใช้วิธีปฏิบัติการรักษาสันติภาพ
 
 
5.1.6. ส่งเสริมความร่วมมือเฉพาะด้านในด้านต่าง ๆ
 
 
5.2. ความร่วมมือกับประเทศต่างๆ
 
 
5.2.1. ความร่วมมือแบบทวิภาคี
 
 
ก.ความร่วมมือทวิภาคี
 
 
ความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น
 
 
รัฐบาลญี่ปุ่นการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศไทยในโครงการด้านต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตามสาขาการพัฒนา Development Issues ดังกล่าวข้างต้น เช่น การพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม การพัฒนาเพื่อสังคมที่ยั่งยืน การจัดการภัยพิบัติ การจัดการสิ่งแวดล้อม เป็นต้น รูปแบบการดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือแบบทวิภาคี ในปัจจุบันประกอบด้วย
 
ความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น
 
 
๑. โครงการความร่วมมือทางวิชาการ
 
     
 
๒. โครงการร่วมมือทางวิชาการเพื่อการวางแผนพัฒนาที่ผ่านมาความร่วมมือระหว่างไทย–ฝรั่งเศสในกรอบทวิภาคี มีกว่า ๓๐ โครงการ ซึ่งเป็นโครงการด้านเกษตร การพัฒนาพื้นที่ดิน สาธารณสุข การศึกษา วัฒนธรรม การโยธา เทคโนโลยี/นวัตกรรม  เป็นต้น ปัจจุบันมีโครงการที่ on–going  กว่า ๑๐ โครงการ โดยแต่ละโครงการจะมีลักษณะการร่วมดำเนินงานของหน่วยงาน/สถาบันศึกษาของไทย เช่น ม.มหิดล ม.เกษตร  จุฬาฯ สถาบันพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ม.เชียงใหม่  โดยมี Institute of Research for Development  (IRD) สำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ (EFEO) สถาบัน CIRAD เป็น implementing ฝ่ายฝรั่งเศส ซึ่งในแต่ละโครงการหน่วยงานไทยจะร่วมสมทบงบประมาณด้วย และหลายโครงการที่ สพร.จะร่วมสบทบงบประมาณด้วยเช่นกัน
 
ความร่วมมือไทย-ฝรั่งเศส
 
     
 
๑. Impact Assessment of Planting Rubber–trees
 
 
๒. Optimization of HIV prevention and treatment
 
ในปี ๒๕๔๔ (๒๐๐๑) รัฐบาลเยอรมันได้ปรับนโยบายและกลยุทธ์ความร่วมมือกับไทย โดยได้พัฒนาไปเป็นรูปของแผนงาน (Programme Approach) ซึ่งเน้นการดำเนินงานในลักษณะหุ้นส่วนความร่วมมือ (Partnership) และเน้นในสาขาหลัก คือ การปฏิรูปเศรษฐกิจและการพัฒนาระบบเศรษฐกิจแบบตลาด โดยอยู่ภายใต้กรอบแผนงานส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Enhancing the Competitiveness of SMEs by Improving the Sector of Business Development Services and Introducing Eco-efficiency in Industry) หรือเรียกโดยย่อว่า Programme for Enterprise Competitiveness (PEC)
 
ความร่วมมือไทย-เยอรมนี  ลำดับ โครงการ DICP โครงการ IMEE โครงการ SCP4LCE
 
 
รัฐบาลเดนมาร์กโดย  DANIDA ภายใต้กระทรวงการต่างประเทศได้ให้ความช่วยเหลือไทยในการดำเนินโครงการด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ตั้งแต่ปี ๒๕๓๗ แต่เมื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของไทยดีขึ้น จำนวนโครงการความช่วยเหลือได้ลดลงตามลำดับ รัฐบาลเดนมาร์กได้ยุติความร่วมมือทวิภาคีด้านสิ่งแวดล้อมทั้งหมดนับแต่ปี ๒๕๕๒ โดยทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันพัฒนารูปแบบความร่วมมือไปสู่ความร่วมมือแบบไตรภาคี (Trilateral Cooperation) เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ
 
 
ความร่วมมือไทย-เดนมาร์ก
 
 
ความร่วมมือภายใต้กรอบอาเซียน (ASEAN Project) เป็นโครงการความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมของอาเซียนซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเยอรมันภายใต้ German Support of the ASEAN Initiative for Environmentally Sustainable Cities ซึ่ง BMZ ได้มอบหมายให้ GIZ (เปลี่ยนชื่อจาก GTZ เป็น GIZ ตั้งแต่เดือน ม.ค. ๒๕๕๔) เป็นหน่วยงานดำเนินงานโครงการประกอบด้วย ๒ โครงการ ได้แก่
 
ความร่วมมือในกรอบอาเซียน
 
 
1. Clean Air for Smaller Cities in the ASEAN Region
 
 
2. Sustainable Port Development in the ASEAN Region
 
ปัจจุบันเดนมาร์กได้ยุติการให้ความช่วยเหลือในกรอบทวิภาคีแก่ไทยแล้ว และทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันพัฒนารูปแบบความร่วมมือไปสู่ความร่วมมือแบบไตรภาคี (Trilateral Cooperation) เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ
 
 
5.2.2. ความร่วมมือแบบพหุภาคี
 
ก.ความร่วมมือไตรภาคี
 
 
ญี่ปุ่น
 
 
ปัจจุบันประเทศไทยมีระดับการพัฒนาที่สูงขึ้น ความต้องการในเชิงวิชาการจากประเทศญี่ปุ่นลดน้อยลง และไทยมีศักยภาพที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ได้มากขึ้นจึงได้เริ่มดำเนินงานความร่วมมือแบบหุ้นส่วนกับญี่ปุ่นในแบบไตรภาคี ในการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ อาทิ การจัดหลักสูตรฝึกอบรมประเทศที่สาม (Third Country Training Programme – TCTP) ในประเทศไทยให้แก่ผู้รับทุนจากประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ ในเอเชียและแอฟริกา โดยไทยและญี่ปุ่นร่วมกันสนับสนุนงบประมาณ และดำเนินการจัดการฝึกอบรมโดยหน่วยงานไทย มี จำนวนปีละ ๘ หลักสูตร ในสาขาสาธารณสุข ส่งเสริมการปลูกป่า การพัฒนาระบบไฟฟ้า การป้องกันการค้ามนุษย์และฟื้นฟูผู้ตกเป็นเหยื่อ การจัดการสิ่งแวดล้อม/ทรัพยากรน้ำ การแปรรูปอาหาร มาตรวิทยา สาธารณสุขในการป้องกันโรคมาลาเรีย และการป้องกัน HIV/AIDS
 
 
ความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น
 
 
 
๑. โครงการ Programme Concerning the Mitigation and Relief Efforts
 
 
 
๒. โครงการ Non-Project Grant Aid (NPGA)
 
 
สาธารณรัฐฝรั่งเศส
 
 
ไทย และฝรั่งเศสได้ลงนามแผนปฏิบัติการร่วมเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๗ เพื่อกระชับความสัมพันธ์และขยายความร่วมมือ รวมถึงความร่วมมือไตรภาคีเพื่อการพัฒนาในระดับภูมิภาค โดยเฉพาะอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ในเบื้องต้นทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะร่วมมือกันใน ๓ สาขา คือ กาศึกษา/อาชีวศึกษา เกษตร และสาธารณสุข (เน้น HIV/AIDS มาลาเรีย วัณโรค โรคติดต่ออื่น ๆ) และอาจรวมถึงการคมนาคม เทคโนโลยีดาวเทียม/อวกาศ ยาเสพติด สินเชื่อขนาดย่อม ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ ได้มีการลงนามในแผนปฏิบัติการร่วมฯ ฉบับที่ ๒ (ปี ๒๕๕๓ – ๒๕๕๗) ระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และกิจการยุโรปฝรั่งเศส
 
 
เยอรมนี
 
 
ความร่วมมือไตรภาคีที่สองประเทศจะร่วมมือกันเพื่อให้ความร่วมมือแก่ประเทศที่สามโดยเน้นประเทศเพื่อนบ้านของไทย โดยได้มีการลงนามใน Memorandum of Understanding between the Ministry of Foreign Affairs of the Kingdom of Thailand and the Federal Ministry for Economic Cooperation and Development of the Federal Republic of Germany regarding Joint Development Cooperation with Third Countries through a “Partnership Programme” เพื่อดำเนินงานร่วมกันในลักษณะความเป็นหุ้นส่วน
 
 
ความร่วมมือไทย-เยอรมนี
 
 
ไทย-เยอรมนี-สปป.ลาว ความร่วมมือไตรภาคี
 
 
ไทย-เยอรมนี-กัมพูชา ความร่วมมือไตรภาคี
 
 
ทย-เยอรมนี-เวียดนาม
 
 
๑. Strengthening National Good Agicutural Practices(GAP)
 
E-Book Community-Managed Livelihood Improvement Project (Rural Sanitation Improvement and Hygiene Promotion Project) Advanced Technical Services for SME in Selected Industrial Sectors of Vietnam Project
 
 
๒.  2.1 Nam Xong Sub-River Basin Management Project
 
 
2.2 Nam Xong Sub-River Basin Managemet Project (Discovery)-1
 
 
2.3 Nam Xong Sub-River Basin Management Project (Discovery)-2 Strengthening Cooperatives andSMEs in Central Vietnam
 
 
 
ข.ความร่วมมือหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนากับองค์การระหว่างประเทศ
 
 
๑. ความร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ
 
 
๒. ความร่วมมือกับธนาคารพัฒนาเอเซีย (Asian Development Bank: ADB)
 
 
ความร่วมมือกับสำนักเลขาธิการเเผนโคลัมโบ (The Colombo Plan Secretariat: CPS)
 
 
ความร่วมมือกับสำนักเลขาธิการเเผนโคลัมโบ (The Colombo Plan Secretariat: CPS) สำนักเลขาธิการเเผนโคลัมโบได้ขอความร่วมมือรัฐบาลไทย จัดหลักสูตรฝึกอบรมด้านสิ่งเเวดล้อมให้ เเก่ประเทศสมาชิกเเผนโคลัมโบ ดังนั้น ในปี ๒๕๕๒กระทรวงการต่างประเทศ โดย สพร. จึงได้จัดสรรทุนฝึกอบรมระยะสั้น จำนวน ๒ หลักสูตร ณ มหาวิทยาลัยมหิดลโดยสำนักเลขาธิการเเผนโคลัมโบรับผิดชอบค่าเดินทางระหว่างประเทศให้เเก่ผู้รับทุน ส่วน สพร. รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดฝึกอบรมเเละค่าใช้จ่ายของผู้รับทุน
 
 
ค.ความร่วมมือด้านอาสาสมัคร
 
 
ความร่วมมือด้านอาสาสมัคร
 
           
 
ความร่วมมือด้านอาสาสมัครมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในระดับรากหญ้าระหว่างอาสาสมัครและผู้ร่วมงานไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือในลักษณะหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลหรือองค์กรต่างประเทศ สพร. ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานกลางในการประสานและบริหารความร่วมมือด้านอาสาสมัครต่างประเทศต่อเนื่องมาเป็นเวลาถึง ๔๐ ปี นับตั้งแต่หน่วยอาสาสมัครอังกฤษได้เริ่มเข้ามาปฏิบัติงานเป็นหน่วยงานแรกใน พ.ศ. ๒๕๐๔ นอกจากนี้ยังมีโครงการอาสาสมัครสหประชาชาติ หน่วยอาสาสมัครออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ เเละอาสาสมัครอเมริกัน  อาสาสมัครญี่ปุ่น อาสาสมัครเกาหลี อาสาสมัครเยอรมัน
 
  
  
 
==การค้าระหว่างประเทศกับประเทศไทย==
 
==การค้าระหว่างประเทศกับประเทศไทย==
  
6.1. กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ
 
  
6.1.1. ไทย-สหรัฐอเมริกา
 
  
เขตการค้าเสรีระหว่างประเทศ
 
  
กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ :
 
 
ไทย-สหรัฐฯ
 
 
ได้ลงนามกรอบความตกลงด้านการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Framework Agreement : TIFA) เมื่อเดือนตุลาคม 2545 ซึ่งกรอบความตกลงนี้จะเป็นเวทีในการแก้ไขปัญหาการค้าและการลงทุน ตลอดจนการให้ความร่วมมือช่วยเหลือและเมื่อมีความคืบหน้าก็จะเป็นหนทางไปสู่การจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างกัน ในการร่วมคณะนายกรัฐมนตรีเยือนสหรัฐฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้หารือกับ USTR เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2546 ณ สำนักงาน USTR  โดยทั้งสองฝ่ายได้หารือถึงความคืบหน้าในการดำเนินงานภายใต้ TIFA เพื่อเตรียมพร้อมให้ผู้นำไทยและสหรัฐฯ แถลงความเป็นไปได้ในการเจรจาเขตการค้าเสรี (FTA) ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ในระหว่างการประชุมผู้นำเอเปคในเดือนตุลาคม 2546 โดยสหรัฐฯ ได้ระบุประเด็นที่ต้องการให้ไทยแก้ไข คือการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และศุลกากร (Customs Valuations) ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะร่วมกันเตรียมการ เพื่อปูทางสู่การเจรจา FTA ต่อไป โดยจะมีการประสานงานอย่างใกล้ชิดระหว่างเจ้าหน้าที่ทั้งสองฝ่าย และคาดว่าจะสามารถเริ่มการเจรจาได้ประมาณเดือนเมษายน 2547 ทั้งนี้ สหรัฐฯ ได้เสนอแผนงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาและด้านศุลกากรให้ฝ่ายไทยพิจารณา เพื่อปูทางสู่การเจรจา FTA ไทย-สหรัฐฯ และทั้งสองฝ่ายได้ตกลงให้มีการหารือผ่าน VDO Conference ในเรื่องดังกล่าวด้วย
 
 
6.1.2.ไทย-อินเดีย
 
 
เขตการค้าเสรีระหว่างประเทศ
 
 
กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ :
 
 
การจัดทำเขตการค้าเสรีไทย – อินเดีย
 
 
ความเป็นมา
 
 
1.ประเทศไทยและอินเดียมีความพยายามในการสร้างความร่วมมือทางการค้าและการ 
 
ลงทุนโดยทางประเทศไทยได้มีการเยือนอินเดียอย่างเป็นทางการหลายครั้ง ได้แก่ การเยี่ยมเยียนอย่างเป็นทางการของรัฐมนตรีต่างประเทศของไทยในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2544  และการเยี่ยมเยียนอย่างเป็นทางการของ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2544 และเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545  หลังจากนั้นได้มีการริเริ่มให้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีในเดือนเมษายน พ.ศ. 2545 ได้มีการประชุมคณะทำงานร่วมครั้งที่ 1 ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย ในระหว่างการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าอินเดีย-ไทย (Joint Trade Committee: JTC) ครั้งที่ 10 ที่จัดขึ้นวันที่ 10 - 11 กันยายน พ.ศ. 2544  ที่ประชุมลงความเห็นให้มีการจัดทำรายงานการศึกษาโดยคณะทำงานร่วม เพื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างอินเดีย-ไทย
 
 
2.ผลการศึกษาการจัดทำเขตการค้าเสรีไทย – อินเดีย สรุปได้ ดังนี้
 
 
2.1.อุตสาหกรรมที่คาดว่าไทยจะเข้าตลาดอินเดียได้มากขึ้นภายหลังการจัด
 
ทำเขตการค้าเสรี ได้แก่ น้ำตาล สิ่งทอ เครื่องหนัง เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์พลาสติกและยางพารา ยานยนต์และส่วนประกอบ และอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
 
 
2.2.อุตสาหกรรมที่คาดว่าอินเดียจะเข้าตลาดไทยได้มากขึ้นภายหลังการจัด
 
ทำเขตการค้าเสรี ได้แก่ สินแร่ เครื่องนุ่งห่ม ผลิตภัณฑ์โลหะ และผลิตภัณฑ์อาหารทะเล
 
 
2.3.การจัดทำเขตการค้าเสรีไทย – อินเดีย จะก่อให้เกิดประโยชน์ในการ
 
ขยายความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนเพิ่มขึ้นทั้งสองฝ่ายและควรให้เริ่มเจรจาจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีไทย - อินเดียต่อไป 
 
 
ข้อมูลพื้นฐาน
 
 
1. ปริมาณการค้ารวม  ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา (2541 - 2545) การค้ารวมมีมูลค่าเฉลี่ย 994 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2545 มีมูลค่าการค้ารวม 1,184.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2544 ร้อยละ 2.6 โดยไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้า 357.4 ล้านเหรียญสหรัฐ การค้าระหว่างไทยและอินเดียมีปริมาณไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับศักยภาพ
 
 
2. การส่งออก  ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา (2541 - 2545) การส่งออกมีมูลค่าเฉลี่ย 406.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2545 มีมูลค่า 413.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากปี 2544 ร้อยละ 14.3 โดยส่วนใหญ่ส่งออกสินค้าที่ใช้ในอุตสาหกรรมไปยังอินเดีย ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องยนต์
 
สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ  เม็ดพลาสติก  เคมีภัณฑ์  อัญมณีและเครื่องประดับ  เหล็กและเหล็กกล้า  เครื่องจักรกล  ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์  สิ่งทออื่นๆ 
 
 
3. การนำเข้า  ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา (2541 - 2545) การนำเข้ามีมูลค่าเฉลี่ย 587.9 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2545 มีมูลค่า 771.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2544 ร้อยละ 14.9 โดยส่วนใหญ่ไทยนำเข้าวัตถุดิบและสินค้ากึ่งสำเร็จรูป ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่ง ทองคำ เคมีภัณฑ์ สินแร่โลหะ เหล็กและเหล็กกล้า กากน้ำมันพืช กุ้งสด น้ำมันสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เครื่องจักรในอุตสาหกรรม เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ   
 
 
4. โอกาสในการขยายการค้า 
 
   
 
4.1 จำนวนประชากรในอินเดียกว่า 1,000 ล้านคนเมื่อเทียบกับมูลค่าการค้ารวมของ
 
สองประเทศน้อยมากคือประมาณ 1,100 ล้านเหรียญสหรัฐ อีกทั้งรสนิยมของตลาดระดับกลางและระดับ
 
สูงซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของไทยต้องการสินค้าที่มีคุณภาพซึ่งอินเดียไม่มีขีดความสามารถในการผลิตปัจจุบันกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวนิยมซื้อของผ่าน modern retail mall ที่เริ่มมีแล้วในอินเดีย
 
 
 
4.2 อินเดียดำเนินนโยบายปฏิรูปทางเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2534 โดยหันมาใช้ระบบเศรษฐกิจการตลาดแทนและพยายามเปิดเสรีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยการลดภาษีนำเข้าและยกเลิกระบบจำกัดการนำเข้าตามพันธกรณีของ WTO รัฐบาลอินเดียได้ประกาศ พ.ร.บ. งบประมาณฉบับใหม่ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 เมษายน 2546 ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจไทยมากขึ้นโดยการลดอัตราภาษีนำเข้ากลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไทยมีศักยภาพในการส่งออก  เช่น น้ำหอม เครื่องหอม สบู่ ขนมหวาน น้ำอัดลม และวัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมบางสาขา เช่น อุปกรณ์และส่วนประกอบยานยนต์ เครื่องปรับอากาศ กระดาษ คอมพิวเตอร์  การลดภาษีศุลกากรลดลงจากเดิมเฉลี่ยที่ร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 25 อีกทั้ง ยังลดภาษีสรรพสามิตลงทำให้ความต้องการภายในประเทศเพิ่มขึ้น
 
 
4.3  จากการคาดการณ์ของกระทรวงการคลังอินเดียในปีงบประมาณ 2002 – 2003 จะมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจร้อยละ 6.3 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.4 ในปีก่อน
 
การดำเนินการของ กศ.
 
 
1. การร่วมพิจารณากลุ่มสินค้าที่จะนำมาพิจารณาลดภาษีในสิ่งที่จะต้องเริ่มดำเนินการก่อน  (Early Harvest) โดยมีแนวทางว่าสินค้าที่ไทยจะเสนอปรับลดอัตราอากรใน Early Harvest จะต้องเป็นสินค้าที่ไทยมีศักยภาพในการแข่งขันทางการค้ากับประเทศอินเดียและไทยจะต้องได้รับประโยชน์ในการปรับลดอัตราอากรของสินค้าเหล่านั้นในปัจจุบันหรือมีแนวโน้มในอนาคต
 
 
2.การร่วมพิจารณารูปแบบการปรับลดภาษีใน Early Harvest โดยมีจุดยืนที่ว่ากรอบระยะเวลาไม่ควรเกิน 3 ปี และลดลงเหลือร้อยละ 0 ทั้งสองฝ่ายเมื่อถึงเวลาที่กำหนด
 
 
3. การร่วมพิจารณาเรื่องกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าซึ่งในภาพรวมภาคอุตสาหกรรมไทยรับได้ในหลักการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ (1) Wholly Obtained  (2) Local Content ร้อยละ 40 (3) Substantial Transformation พิกัดศุลกากร 6 หลัก
 
 
ข้อคิดเห็น
 
 
1. การส่งออกสินค้าไทยไปยังอินเดียในปัจจุบันเผชิญปัญหาการส่งออกในเรื่องการตั้งกำแพงภาษีที่สูงและมาตรการที่มิใช่ภาษีของอินเดีย ซึ่งการทำ FTA จะทำให้อัตราภาษีการนำเข้าและมาตรการที่มิใช่ภาษีของอินเดียลดน้อยลง จะทำให้สินค้าจากไทยเข้าสู่ตลาดอินเดียได้มากขึ้น
 
 
2. การขาดข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับอินเดีย กฎระเบียบ และช่องทางการตลาด ซึ่งแต่เดิมภาคอุตสาหกรรมขาดข้อมูลที่ถูกต้องจึงไม่กล้าที่จะเข้าไปลงทุนในตลาดอินเดีย แต่เมื่อมี FTA ไทย – อินเดีย จะสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างภาครัฐและเอกชนทั้งสองฝ่าย เกิดการสร้างเครือข่ายข้อมูลทั้งทางด้านการค้า การลงทุน รวมทั้งรับรู้ข้อมูล ข่าวสาร การตลาด และกฎระเบียบต่างๆ มากขึ้น
 
 
3. หากพิจารณาอุตสาหกรรมในภาพรวมแล้ว พบว่า ถึงแม้ว่าอินเดียมีวัตถุดิบในประเทศ
 
จำนวนมาก แต่หากพิจารณาการได้เปรียบในด้านราคาแล้ว ไทยอาจจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่าในการผลิตสินค้าในชั้นนี้อันเนื่องมาจากไทยมีเทคโนโลยีที่สูงกว่า คุณภาพของฝีมือแรงงาน ตลอดจนการประหยัดต่อสัดส่วน (Economy of Scale) แต่เมื่อมีการทำ FTA ของสองฝ่ายแล้วจะก่อให้เกิดการเกื้อกูลกันในทางการค้าและการใช้ทรัพยากรร่วมกันอันส่งผลประโยชน์ทั้งสองประเทศ 
 
 
4. การพิจารณาเรื่องกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าภายหลังการลงนามของนายกรัฐมนตรีทั้งสองฝ่าย จะมีการพิจารณาในรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงการจำแนกพิกัดของในแต่ละสินค้าในพิกัด 4 หลัก และร้อยละ Local Content ที่มีแหล่งกำเนิดร่วมกัน ซึ่งหากขาดความละเอียดรอบคอบในการพิจารณาอาจจะกลายเป็นอุปสรรคทางการค้าซึ่งกันและกัน จึงจำเป็นที่ภาครัฐและภาคเอกชนจะต้องปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อให้เกิดการขยายการค้าตรงตามเป้าประสงค์ในการจัดทำ FTA ที่แท้จริง
 
 
สถานะปัจจุบัน
 
 
การประชุม JNG ได้จัดการประชุมไปแล้วทั้งสิ้น 6 ครั้ง โดยล่าสุดเป็นการประชุมครั้งที่ 6 จัดขึ้นที่โรงแรมอโนมา กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 30 กันยายน – 1 ตุลาคม 2546 และสามารถสรุปผลสำเร็จในประเด็นที่คั่งค้างได้ทุกประเด็น อาทิ รายการสินค้าใน Early Harvest  รูปแบบการปรับลดภาษี  และกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Rules of Origin : ROO)  ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
 
 
1.รายการสินค้าใน Early Harvest ทั้งสองฝ่ายมีการหารือถึงรายการสินค้าและ
 
ได้เห็นชอบร่วมกันในการลดสินค้า (Common List) จำนวน 83 รายการ ครอบคลุมรายการสินค้าผลไม้ 
 
อลูมิเนียม  เหล็กและเหล็กกล้า  เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ  ชิ้นส่วนยานยนต์  และเครื่องจักรกล  โดยมีมูลค่าการค้ารวมประมาณร้อยละ 7 ของมูลค่าการค้ารวม
 
 
2. รูปแบบการลดภาษี (Tariff Reduction Modality) ในรายการ Early Harvest 
 
เห็นควรให้มีการเริ่มการลดภาษีจริงในวันที่ 1 มีนาคม 2547 และสิ้นสุดในวันที่ 1 มีนาคม
 
2549 ใช้รูปแบบ Margin of Preference (MOP) ซึ่งจะเป็นการลดภาษีในรูปแบบ percentage โดยแบ่งเป็นร้อยละ 50 75 และ 100 ในวันที่ 1 มีนาคม 2547 1 มีนาคม 2548 และ 1 มีนาคม 2549 ตามลำดับ และในที่สุดแล้วจะลดลงเหลือร้อยละ 0 ตามกรอบเวลาที่กำหนด
 
 
3. กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Rules of Origin : ROO)
 
 
แนวทางของ ROO มีดังนี้
 
 
3.1 สินค้าที่ผลิตขึ้นโดยใช้วัตถุดิบภายในประเทศทั้งหมด (Wholly Obtained)
 
 
3.2. สินค้าที่ผลิตหรือชิ้นส่วนนำเข้าโดยผ่านการแปรสภาพที่มากเพียงพอ
 
(Substantial Transformation)  คือการใช้เกณฑ์การผลิตที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการจำแนกประเภทพิกัด  4 หลักตามข้อเสนอของฝ่ายอินเดีย และใช้เกณฑ์อัตราส่วนวัสดุที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศคู่ค้า (Local Content) ให้ถือสัดส่วนร้อยละ 40 ของราคา FOB ของสินค้า และ Operations Defined and Substantial Manufacturing Defined ขึ้นมาเพื่อป้องกันการลักลอบสินค้าจากประเทศที่ 3 
 
โดยอินเดียแจ้งว่าอุตสาหกรรมอินเดียสามารถทำตามแนวทาง ROO ได้ทั้งสิ้น แต่ได้เปิดช่องว่าหากอุตสาหกรรมหนึ่งอุตสาหกรรมใดของไทยไม่สามารถทำตาม ROO ข้างต้นได้ให้ส่งรายละเอียดมาให้อินเดียภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2546 เพื่ออินเดียจะพิจารณาลดหย่อน ROO ให้สอดคล้องกับอุตสาหกรรมนั้นๆ ของไทย ซึ่งจะมีการประชุม ROO Expert Group ในเรื่องดังกล่าวในเดือนพฤศจิกายน 2546 ณ ประเทศอินเดีย
 
 
4. ได้มีการลงนาม FTA Thai – India ของทั้งสองฝ่ายเรียบร้อยแล้ว
 
 
6.1.3. ไทย-จีน
 
 
เขตการค้าเสรีระหว่างประเทศ
 
 
กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ :
 
 
การจัดทำเขตการค้าเสรีไทย-จีน
 
 
ภูมิหลัง
 
 
1. การเจรจาจัดตั้งเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2002 โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 กรอบ
 
คือ 1) กรอบภูมิภาค ซึ่งอยู่ภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน โดยมีไทยเป็นหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายอาเซียน ครอบคลุมการเปิดเสรีสินค้า บริการ การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ 2) กรอบทวิภาคี เขตการค้าเสรีไทย-จีน ซึ่งดำเนินการภายใต้กรอบการค้าเสรี อาเซียน-จีน โดยเร่งให้มีผลการเปิดเสรีที่เร็วกว่ากรอบ  อาเซียน-จีน  ทั้งนี้ การเจรจาของทั้ง 2 กรอบดำเนินการในลักษณะคู่ขนานกันไป
 
เขตการค้าเสรี ไทย-จีน
 
 
2.ในโอกาสการเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนระหว่างวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2546
 
ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้หารือกับนายจู หรงจี เกี่ยวกับการเร่งเปิดเสรีการค้าระหว่าง ไทย-จีน โดยฝ่ายไทยได้ขอทราบท่าทีของจีนต่อข้อเสนอของไทยที่น่าจะมีกาารดำเนินการด้านการค้าเสรีในส่วนของไทยกับจีนขึ้นมาก่อน เนื่องจากมีความพร้อมสูงกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค โดยอาจเริ่มจากผัก ผลไม้ ก่อน แล้วค่อยๆ ขยายไปสู่สินค้าอื่นๆ ที่ทั้งสองฝ่ายมีความพร้อมร่วมกันต่อไป ซึ่งฝ่ายจีนโดยนายกรัฐมนตรีจู หรงจี ให้ทัศนะว่า ยังมีอาเซียนหลายประเทศที่ยังหวาดระแวงต่อท่าทีของจีนเกรงว่าหากจีนกับไทยดำเนินการกันในกรอบทวิภาคี ยิ่งจะทำให้จีนถูกประเทศเพื่อนบ้านหวาดระแวงมากขึ้น เพื่อความสบายใจของทุกฝ่ายจึงขอให้นำการลดภาษีศุลกากรระหว่างกันเหลือร้อยละ 0 สำหรับสินค้าผักและผลไม้บรรจุเข้าใน Early Harvest    ภายใต้กรอบใหญ่ของเขตการค้าเสรี อาเซียน-จีน
 
 
3.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ซึ่งได้ร่วมเดินทางไปเยือนจีน ได้หารือกับนาย Wei Jianguo รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการค้าต่างประเทศและความร่วมมือทางเศรษฐกิจของจีน(MOFTEC) เกี่ยวกับแนวทางดำเนินการตามที่ผู้นำสองฝ่ายตกลงกัน และได้มอบหมายให้หน้าที่ระดับสูงเจรจาในรายละเอียดต่อไป
 
 
4.เมื่อวันที่ 25-28 กุมภาพันธ์ 2546 กระทรวงพาณิชย์ได้เสนอร่างความตกลงยกเลิกภาษีสินค้าผักและ ผลไม้ ซึ่งเป็นความตกลงพิเศษเฉพาะระหว่างไทยกับจีน แต่อยู่ภายใต้กรอบการทำ FTA อาเซียน-จีน (ตาม Framework Agreement ที่ผู้นำประเทศอาเซียนได้ลงนามกันเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545 และในปี 2546/2547 ได้มีการเจรจาในรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดตั้ง FTA) ให้ฝ่ายจีนพิจารณา ซึ่งจีนไม่ขัดข้องในหลักการ แต่เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าว จีนอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนคณะผู้บริหาร จึงขอเวลาเพื่อพิจารณาตอบกลับ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้มีหนังสือเร่งรัดฝ่ายจีนไปด้วยแล้ว
 
 
5.กระทรวงพาณิชย์ได้จัดประชุมคณะกรรมการเตรียมความพร้อมเขตการค้าเสรี เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2546 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน ซึ่งในส่วนของการเตรียมความพร้อมสำรับการเปิดเสรี ผัก-ผลไม้ ที่ประชุมมีมติให้ตั้งคณะทำงานและให้ภาคเอกชนเป็นแกนนำหรือร่วมกันกับหน่วยงานของภาครัฐที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการตลาดและการส่งเสริมการส่งออกสู่ตลาดจีน
 
สถานะปัจจุบัน
 
 
 
ขณะนี้อยู่ในการพิจารณาในเรื่อง Modality ในการลดภาษีภายใต้ Normal Track  ซึ่งในท่าทีของประเทศไทยเห็นควรให้ใช้รายการสินค้า 60% โดยหากมีรายการใดที่คิดว่าเป็น Sensitive Products ให้ย้ายไปอยู่ใน Sensitive List ส่วนรายการใน Sensitive List เห็นควรเป็นรายการสินค้า 40% ที่ยังไม่ได้ปรับลดเป็น 0% แต่หากมีรายการใดไม่จำเป็นต้องจัดไว้ใน Sensitive List ให้ย้ายไปอยู่ใน Normal List
 
 
6.อัตราภาษีในแต่ละกลุ่มและระยะเวลาในการปรับลดภาษีที่เป็นท่าทีของฝ่ายไทย
 
 
ประเภท อัตราสุดท้าย ระยะเวลาการดำเนินงาน
 
 
Early Harvest 0% 3 ปี
 
 
Normal Track 0 – 5% 7 – 10 ปี
 
 
Sensitive 5 – 30% 10 ปี
 
 
7.ในท่าทีของ อก. ควรยืนยันท่าทีดังข้อ 8 – 9 และควรพิจารณาเพิ่มเติมมาตรกันกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTBs) รวมทั้งเตรียมความพร้อมในด้านการกำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรมเพื่อการป้องกันสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานจากจีนเข้ามาทะลักในประเทศไทย
 
 
8.การประชุม ASEAN – China ครั้งต่อไปจะเป็นครั้งที่ 8 แต่ยังไม่มีกำหนดการที่แน่นอน โดยจะคุยถึงเรื่อง Modality การปรับลดอัตราภาษีของสินค้าใน Normal Track
 
 
 
6.1.4.ไทย-บาห์เรน
 
 
เขตการค้าเสรีระหว่างประเทศ
 
 
การจัดทำเขตการค้าเสรีไทย – บาห์เรน
 
 
ภูมิหลัง
 
 
1. วัตถุประสงค์ในการจัดทำ CEP กับบาห์เรน คือ การใช้บาห์เรนเป็น Gateway ในการกระจายสินค้าของประเทศไทยเข้าสู่กลุ่มประเทศคณะมนตรีความมั่นคงอาหรับ (Gulf Cooperation Council - GCC) อันประกอบด้วย บาห์เรน คูเวต โอมาน กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ นอกจากนี้ ไทยยังได้เปรียบในการเปิดตลาดบริการกับบาห์เรนและการลงทุนในการจัดตั้ง Islamic Bank
 
 
 
2. กรอบความตกลงการเป็นพันธมิตรทางเศรษฐกิจ (Framework Agreement) ไทยและบาห์เรน  ได้มีการลงนามร่วมกันใน Framework Agreement โดยมีใจความครอบคลุมเนื้อหาอย่างกว้างขวางในเรื่องการลดภาษีสินค้า การเปิดเสรีการค้าบริการและการลงทุน ความร่วมมือทางเศรษฐกิจสาขาต่างๆ เช่น สาขาพลังงาน การเงิน การธนาคาร การผลิต การประกันภัย การประมง ตลอดจนการยอมรับร่วมในมาตรฐานสินค้าระหว่างกัน ซึ่ง Framework Agreement ฉบับนี้ได้รับความเห็นชอบใน ครม. ของฝ่ายไทยแล้ว และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2545 โดยผู้ลงนามฝ่ายไทยคือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (ดร.อดิศัย โพธารามิก)  และฝ่ายบาห์เรนคือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและเศรษฐกิจแห่งชาติ (อับดุลลา ฮัสซัน    ซาอิฟ) 
 
ความคืบหน้า  ได้มีการประชุมคณะทำงานด้านเทคนิค ไทย – บาห์เรน ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 18 – 20 กุมภาพันธ์ 2546  ณ กรุงมานามาร์ ประเทศบาห์เรน โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
 
 
(1) ฝ่ายไทยและบาห์เรนได้เห็นชอบร่วมกันในการปรับลดอัตราภาษีจำนวน 626  รายการ (รหัสศุลกากร 6 หลัก) โดยปรับลดให้เหลือร้อยละ 0 จำนวน 419 รายการ และร้อยละ 3 จำนวน 207 รายการ โดยสินค้า 626 รายการ (เอกสารแนบ 2) มีมูลค่าการค้ารวมของทั้งสองประเทศ 2,696 ล้านบาท (64.2 ล้านเหรียญสหรัฐ) (คิดเป็นร้อยละ 71.4) ในจำนวนนี้มูลค่าที่ไทยส่งออกไปยังบาห์เรน 1,109      ล้านบาท (26.4 ล้านเหรียญสหรัฐ) และไทยนำเข้าจากบาห์เรน 1,587 ล้านบาท (37.8 ล้านเหรียญสหรัฐ)
 
 
(2) เรื่องกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Rules of Origin) ได้เห็นชอบที่จะใช้ Rules of Origin เดียวกับ AFTA ตามที่ฝ่ายไทยเสนอคือใช้ Local Content ร้อยละ 40  อย่างไรก็ตาม ฝ่ายบาห์เรนขอไปพิจารณาเพิ่มเติมในขั้นตอนการออกใบรับรอง FORM D ให้กับสินค้าไทยที่จะส่งไปยังบาห์เรน และจะแจ้งให้ฝ่ายไทยทราบต่อไป
 
   
 
สถานะปัจจุบัน  ได้มีการลงนามใน CEP ของทั้งสองประเทศแล้ว
 
 
6.1.5. ไทย-เปรู
 
 
ไทย-เปรู
 
 
ทั้งสองฝ่ายจะจัดทำกรอบความตกลงเพื่อเป็นพื้นฐานในการจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-เปรู โดยครอบคลุมในเรื่องการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน รวมทั้งความร่วมมือด้านอื่นๆ ได้แก่การขนส่ง และการท่องเที่ยว ซึ่ง
 
1) ได้มีการหารือระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสไทย-เปรู รวม 2 ครั้ง 2) การศึกษาเบื้องต้น กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้ศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการจัดทำ FTA ระหว่างไทย-เปรู โดยเปรียบเทียบภาพรวมทางเศรษฐกิจ การค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน การขนส่ง และเขตการค้าเสรี ของทั้งสองประเทศ สรุปได้ว่าการเปิดเสรีจะไม่ทำให้ไทยเสียประโยชน์ และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบในทุกสาขาที่ศึกษา 3) การจัดทำกรอบความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น มีสาระสำคัญ ดังนี้ 3.1) วัตถุประสงค์เพื่อเปิดเสรีและส่งเสริมการค้าสินค้า บริการ รวมทั้งการลงทุนระหว่างประเทศ และอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการระหว่างเขตแดนของทั้งสองประเทศ 3.2) ทั้งสองฝ่ายจะลดหรือยกเลิกภาษีศุลกากร และลดอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีสำหรับสินค้าภายในปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) 3.3) จะเปิดเสรีการค้าบริการ อำนวยความสะดวกด้านการลงทุนและให้ความคุ้มครองการลงทุนระหว่างกัน 3.4) ขยายความร่วมมือในสาขาอื่นๆ โดยเริ่มจากความตกลงที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน เช่น ในด้านการท่องเที่ยว และการขนส่ง เป็นต้น 3.5) ให้มีความโปร่งใสของข้อมูลทั้งกฎหมาย กฎระเบียบและข้อมูลทางเศรษฐกิจ 3.6) จัดตั้งคณะกรรมการเจรจาเปรู-ไทย (Peru-Thailand Negotiation Committee) 3.7) เริ่มเจรจารายละเอียดการเปิดเสรีภายในมกราคม ค.ศ. 2004 (พ.ศ. 2547) เป็นอย่างช้าและให้เสร็จสิ้นในปี 2005 4) ทั้งสองฝ่ายตกลงรับร่างกรอบความตกลงฯ กันได้แล้ว และจะมีการลงนามความตกลงฯระหว่างการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกที่เมืองแคนคูน ประเทศเม็กซิโก ในเดือนกันยายน 2546
 
 
6.1.6.ไทย-ญี่ปุ่น
 
 
กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดไทย-ญี่ปุ่น
 
 
Japan-Thailand Closer Economic Partnership (JTEP)
 
 
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงอุตสาหกรรม
 
 
ภูมิหลัง
 
 
1. ในการเยือนไทยของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเมื่อเดือนมกราคม 2545 ผู้นำไทยและญี่ปุ่นได้ย้ำ  ความเห็นชอบเรื่องการส่งเสริมความร่วมมือหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดไทย-ญี่ปุ่น (Closer Economic Partnership : CEP) ภายใต้กรอบความร่วมมือหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดไทย-ญี่ปุ่น เพื่อผลักดันความร่วมมือที่ครอบคลุมรอบด้าน ทั้งด้านการค้า การลงทุน อุตสาหกรรม และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์รวมทั้งการจัดทำข้อตกลงการค้าเสรี (FTA)
 
 
2.  เดือนกุมภาพันธ์ 2546 นายMakio Miyagawa ผู้อำนวยการกองนโยบายภูมิภาค กระทรวง  ต่างประเทศญี่ปุ่นเดินทางมาเยือนไทยและเสนอให้ไทยพิจารณาใช้เอกสารข้อตกลงที่ญี่ปุ่นจัดทำกับประเทศสิงคโปร์เพื่อส่งเสริมการค้าเสรี (Agreement between Japan and the Republic of Singapore for New – Age Economic Partnership) เป็นตัวอย่างในการจัดทำ CEP ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น โดยขอให้มีความครอบคลุมในทุกเรื่อง ไม่เฉพาะด้านการค้าเท่านั้น
 
 
3.  เมื่อ 12  เมษายน 2546 นายกรัฐมนตรีไทยกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้หารือระหว่างการเข้าร่วมการประชุม Boaao Forum for Asia ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน และย้ำความเห็นชอบในการจัดตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อศึกษาความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดไทย-ญี่ปุ่น โดยขอให้นำเอาความร่วมมือ  ทางเศรษฐกิจระหว่างญี่ปุ่นกับสิงคโปร์ (Japan-Singapore New – Age Economic Partnership : JSEPA) เป็นตัวอย่างในการจัดทำข้อตกลงระหว่างไทยกับญี่ปุ่น โดยอาจพิจารณาสาขาที่เป็นปัญหาน้อยที่สุดก่อน
 
 
4.  ที่ประชุมหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 9 ซึ่งจัดขึ้น ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเดือนกรกฎาคม 2545 เห็นชอบให้มีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อจัดทำความตกลง CEP ไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Closer Partnership : JTEP) เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างพันธมิตรทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-ญี่ปุ่น
 
 
5.  คณะทำงาน JTEP มีนาย Makio Miyagawa ผู้อำนวยการกองนโยบายภูมิภาค กระทรวง    ต่างประเทศญี่ปุ่นเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนญี่ปุ่น และนายพิศาล มาณวพัฒน์ เอกอัครราชทูตประจำกระทรวงการต่างประเทศเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทย และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะผู้แทนทั้งสองฝ่าย
 
 
6.  คณะทำงานฯ ได้ดำเนินงานเพื่อจัดเตรียม substantive groundwork สำหรับการเจรจาจัดทำความตกลง JTEP รวมทั้งการจัดตั้งเขตการค้าเสรี (FTA) ที่จะมีการเจรจาอย่างเป็นทางการต่อไป โดยญี่ปุ่นมุ่งหวังที่จะให้การเจรจามีผลเป็นการเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกันในระดับที่ใกล้เคียงกับที่ญี่ปุ่นได้ทำความตกลงกับสิงคโปร์และขยายความร่วมมือกับเศรษฐกิจไทยในทุกด้าน  ทั้งนี้ทั้งสองฝ่ายเห็นต้องกันว่าการดำเนินงานควรอยู่บนพื้นฐานการปฏิบัติต่างตอบแทนและผลประโยชน์ร่วมกัน
 
การดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงอุตสาหกรรม
 
 
7.  สาระสำคัญของความตกลง JSEPA ประกอบด้วยบทต่างๆ รวม 22 บท และกระทรวงอุตสาหกรรมได้รับมอบหมายเกี่ยวกับความร่วมมืออุตสาหกรรมด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และความร่วมมือด้านการยอมรับร่วม(MRA) โดยได้ดำเนินงานพิจารณายกร่างเนื้อหาสาระทั้งสองสาขาความร่วมมือที่จะบรรจุไว้ในความตกลง JTEP ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เป็น  หน่วยงานหลักในการจัดประชุมและเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหารือและยกร่างเนื้อหา อาทิ ข้อบท (Chapter) และมาตราต่างๆ ตามสาขาที่รับผิดชอบ
 
 
8.  สศอ. ดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาจัดเตรียมแนวทางในการเจรจากับประเทศญี่ปุ่นตามแนวร่างข้อตกลง JSEPA ตามที่ฝ่ายญี่ปุ่นเสนอ โดยได้มีการพิจารณาเปลี่ยนแปลง  แก้ไข และเพิ่มเติมส่วนของ Article โดยดำเนินการบนพื้นฐานปฏิบัติการต่างตอบแทนและการรับผลประโยชน์ร่วม (Mutual Benefit) 
 
 
9.  ความร่วมมือด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สศอ. ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เสนอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมไทย-ญี่ปุ่นด้าน SMEs (Joint Committee on SMEs) ซึ่งญี่ปุ่นเห็นด้วยตามข้อเสนอดังกล่าว โดยทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันพิจารณาความ  ร่วมมือและกิจกรรมหลักด้าน SMES ที่จะบรรจุไว้ในข้อตกลงเพื่อการปฏิบัติ (Implementing Agreement) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานร่วมกันต่อไป
 
 
10.  ความร่วมมือด้านการยอมรับร่วม (Mutual Recognition/Standard and Conformance)  สศอ. ร่วมกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเสนอให้ญี่ปุ่นพิจารณายอมรับมาตรฐานร่วมกันในการตรวจสอบสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (MRA on Testing Report) ซึ่งญี่ปุ่นมีข้อกังวลเกี่ยวกับกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานของไทย แต่เห็นชอบในหลักการที่จะดำเนินความ  ร่วมมือดังกล่าว โดยทั้งสองประเทศต้องร่วมกันศึกษาในรายละเอียดและขั้นตอนการดำเนินงานต่อไป โดยฝ่ายญี่ปุ่นเห็นถึงความสำคัญในการดำเนินความร่วมมือด้าน MRA กับไทย แต่เนื่องจากความแตกต่างเรื่องระบบ วิธีการรับรองและความสามารถของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงทำให้ญี่ปุ่นยังไม่สามารถจัดทำ MRA กับไทยในลักษณะเดียวกับที่ทำกับประเทศสิงคโปร์ภายใต้กรอบ JSEPA ได้
 
 
11.  คณะทำงาน JTEP จัดประชุมรวมทั้งสิ้น 5 ครั้ง ครั้งสุดท้ายประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดขึ้น  เมื่อวันที่ 19-21 พฤษภาคม 2546 ณ กระทรวงการต่างประเทศ โดยทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันจัดทำสรุปผล  การประชุมคณะทำงานฯ เพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศ โดยในวันที่ 4-7 มิถุนายน 2546    ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร มีกำหนดเดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่น ซึ่งอาจเป็นโอกาสที่นายก  รัฐมนตรีทั้งสองจะประกาศเปิดเจรจาอย่างเป็นทางการ และอาจกำหนดให้การเจรจาทำความตกลงเสร็จสิ้นภายในเดือนธันวาคม ศกนี้
 
ข้อสังเกต
 
 
12.  แม้ว่าคณะทำงาน JTEP ดำเนินการคืบหน้าไปมากในการเตรียมการเจรจาและกระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่นได้พยายามผลักดันให้มีการเปิดเจรจากับไทยอย่างเต็มที่ แต่การเปิดเจรจาจัดทำความตกลง JTEP ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นยังประสบปัญหา เนื่องจากกระทรวงเกษตรและประมงของญี่ปุ่นยังคัดค้านเนื่องจากการจัดทำความตกลงกับไทยจะทำให้ญี่ปุ่นต้องเปิดตลาดสินค้าเกษตร ซึ่งจะทำให้ญี่ปุ่นต้อง    ลดภาษีสินค้าเกษตรบางส่วนสู่ระดับ 0% ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ไม่ต้องการให้มีผลกระทบใดๆ ต่อภาคเกษตรของญี่ปุ่น จึงพยายามชะลอการเปิดเจรจากับไทย
 
 
13.  กระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่นซึ่งพยายามผลักดันให้มีการเปิดเจรจากับไทยโดยเร็วนั้น เห็นว่าเนื่องจากกระทรวงเกษตรฯ ญี่ปุ่นได้ระบุว่าในการค้าสินค้ากับไทย สินค้าเกษตรที่สำคัญและเป็นสินค้า  อ่อนไหวมี  4 รายการได้แก่ ข้าว น้ำตาล เนื้อไก่ และแป้งสตาร์ช โดยข้าวเป็นสินค้าที่มีความอ่อนไหว    ทางการเมืองมากที่สุด  จึงเสนออย่างไม่เป็นทางการเพื่อหาทางออกเพื่อให้มีการเปิดเจรจาว่าขอให้ฝ่ายไทย  ตกลงว่าจะไม่เรียกร้องให้ญี่ปุ่นลด/เลิกภาษีศุลกากรที่เก็บจากการนำเข้าสินค้า 4 รายการดังกล่าวเพื่อเป็นทางออกให้กระทรวงเกษตรฯ ญี่ปุ่น ยอมรับได้
 
 
14.  ข้อเสนอดังกล่าวถือเป็นการตั้งเงื่อนไขสำหรับการเปิดเจรจาจัดทำความตกลง JTEP กับไทยโดยเป็นการขอให้ไทยสละผลประโยชน์บางส่วนที่ควรได้รับจากญี่ปุ่น โดยมูลค่าการส่งออกสินค้า 4 รายการในปี 2545  รวมทั้งสิ้น 602.5 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 21.95% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรไทยไปญี่ปุ่น หรือ 6.02% ของมูลค่าการส่งออกรวมของไทยไปญี่ปุ่น
 
 
ความคืบหน้า
 
 
15.  หลังจากการพบและหารือกันของนายกรัฐมนตรีไทยและนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2546 ณ ประเทศญี่ปุ่น ทั้งสองฝ่ายไม่ได้ประกาศเริ่มต้นกระบวนการเจรจาอย่างเป็นทางการ    โดยฝ่ายญี่ปุ่นเสนอให้มีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นผลกระทบในสินค้าเกษตร และทั้งสองฝ่ายเห็นชอบในการจัดตั้งคณะเฉพาะกิจความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement: JTEPA Task Force) ซึ่งมีองค์ประกอบของผู้เข้าร่วมการประชุมที่กว้างขวางมากยิ่งขึ้น เช่น นักวิชาการ แนวร่วมภาคการเกษตร และภาคเอกชน เพื่อหารือในการจัดทำความตกลงไทย-ญี่ปุ่นต่อไป
 
 
16.  การประชุม JTEPA Task Force ครั้งที่ 1 มีขึ้นระหว่างวันที่ 22-24 กรกฎาคม 2546  ณ ประเทศญี่ปุ่น  และครั้งที่ 2  ระหว่างวันที่  24 – 27  สิงหาคม  2546  ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันต่อ ในประเด็นความร่วมมืออุตสาหกรรม โดยได้หารือในรายละเอียดและแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือด้าน MRA โดยฝ่ายไทยพยายามผลักดันให้ภาครัฐของญี่ปุ่นเข้ามามีบทบาทในการดำเนินความร่วมมือด้าน MRA ให้มากยิ่งขึ้น  และได้เสนอการใช้มาตรฐานระหว่างประเทศ ซึ่งได้แก่ ISO/IEC 17025 เป็นมาตรฐานกลางในการดำเนินความร่วมมือ  ซึ่งญี่ปุ่นเห็นชอบด้วยในหลักการในเบื้องต้น และจะนำข้อเสนอดังกล่าวกลับไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
 
 
17.  หลังจากการประชุมดังกล่าว ญี่ปุ่นได้ประสานส่ง Non-Paper ชี้แจงถึงระเบียบและขั้นตอนของญี่ปุ่นในการนำเข้าสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งเสนอขอให้ไทยยอมรับรูปแบบการจัดทำ Test Report ตามมาตรฐานของประเทศญี่ปุ่น  ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวเป็นแนวทางปกติที่ภาคเอกชนไทยดำเนินการอยู่โดยไม่ต้องทำความตกลง JTEP ก็ได้ หากไทยยอมรับข้อเสนอดังกล่าว จะทำให้ไทยต้องแก้กฎหมาย
 
ภายใน เพื่อรองรับผลประโยชน์ของญี่ปุ่นเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งความพยามยามของไทยในการผลักดันให้มีการใช้มาตรฐานระหว่างประเทศนั้น จะทำให้ทั้งสองประเทศมีสถานะอยู่ในระดับที่เท่าเทียมและบรรลุผลประโยชน์ร่วมกัน (Mutual Benefit)
 
 
18.  การประชุม JTEPA Task Force ครั้งที่ 3  มีขึ้นระหว่างวันที่ 4-6 พฤศจิกายน 2546 ที่จังหวัดฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น การประชุมครั้งนี้ฝ่ายญี่ปุ่นไม่ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญด้าน MRA เข้าร่วมด้วย อย่างไรก็ดีหลังการประชุมฝ่ายไทยได้ประสานส่งข้อมูลเพิ่มเติ่มเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกในการยอมรับ Test Report ตามรูปแบบที่ไทยเสนอ ส่วนความตกลงเรื่อง SMEs เนื่องจากสามารถตกลงเรื่องการจัดตั้ง Joint Committee on Smes ได้แล้ว จึงหารือเกี่ยวกับการจัดทำรายงานผลการประชุมเพื่อส่งเรื่องสู่กระบวนการเจรจาต่อไป
 
 
19.  นอกจากความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมใน 2 ประเด็นข้างต้นแล้ว กระทรวงอุตสาหกรรมยังเข้าร่วมหารือในเรื่องกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Rule of Origin) ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ให้ความเห็นชอบกับหลักเกณฑ์การแบ่งกลุ่มสินค้าในการพิจารณาแหล่งกำเนิด 3 ประเภท ได้แก่สินค้าที่กำเนิดหรือผลิตโดยใช้วัตถุดิบในประเทศทั้งหมด (Wholly Obtain) สินค้าที่ผลิตโดยใช้วัตถุดิบนำเข้าที่มีการเปลี่ยนแปลง/แปรรูปอย่างมีนัยสำคัญ (Substantial Transformation/Chang in Tariff Clarification-CTC) และหลักการใช้มูลค่าเพิ่ม (value Added) โดยภายใต้การได้แหล่งกำเนิดสินค้าแบบ Substantial Transformation/Chang in Tariff Clarification-CTC นั้น ไทยเสนอให้ใช้ Harmonized Code ในระดับ 6 หลักเป็นเกณฑ์ในการเปลี่ยนแปลง/แปรรูปอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อให้ได้แหล่งกำเนิดสินค้าตามหลักเกณฑ์ขององค์การศุลากรโลก ในขณะที่ญี่ปุ่นเสนอการใช้ Harmonized Code ระดับ 4 หลัก ส่วนเรื่องการกำหนดสัดส่วนมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ที่เกิดจากกระบวนการผลิตที่จะทำให้ได้รับการรับรองแหล่งกำเนิดสินค้านั้น ไทยเสนอการใช้สัดส่วนวัตถุดิบที่ผลิตในประเทศ 40% ของราคา F.O.B ส่วนญี่ปุ่นเสนอที่ 60% วึ่งข้อถกเถียงดังกล่าวจะนำไปหารือในขั้นตอนการเจรจา (Negotiation Phase) ต่อไป
 
 
20.  การประชุม JTEPA Task Force ครั้งที่ 3 นี้คาดว่าจะเป็นการประชุมครั้งสุดท้ายก่อนที่ทั้งสองประเทศจะเริ่มขั้นตอนการเจรจาอย่างเป็นทางการในต้นปีหน้าต่อไป
 
กองเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ
 
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
 
 
6.1.7.ไทย-บังกลาเทศ
 
 
การลดภาษีศุลกากรให้แก่บังกลาเทศ
 
 
ภูมิหลัง
 
 
1. ในการหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีของไทยกับบังกลาเทศ เมื่อวันที่ 8 – 10 กรกฎาคม 2545 นายก รัฐมนตรีของบังกลาเทศขอให้ฝ่ายไทยพิจารณา Duty Free Access กับสินค้าบังกลาเทศที่ส่งมาขายในไทยจำนวน 231 รายการ ได้แก่ ปอกระเจาและผลิตภัณฑ์ปอ หนังและผลิตภัณฑ์หนัง อาหารแช่เย็นและแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์เวชกรรม และพืช ผัก ผลไม้แปรรูป เป็นต้น
 
 
2. มีการหารือในรายการสินค้าดังกล่าวกับภาคราชการและเอกชนที่เกี่ยวข้องในการพิจารณารายการสินค้า 231 รายการข้างต้น และผลการพิจารณาว่าสามารถลดอัตราภาษีให้กับบังกลาเทศได้ จำนวน 128  รายการ โดยได้นำเสนอ ครม. เพื่อมอบหมายให้กระทรวงการคลังออกประกาศลดภาษีให้แก่บังกลาเทศ      เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2546
 
 
3. กระทรวงการคลังได้ตรวจสอบรายการสินค้าทั้ง 128 รายการพบว่า มีจำนวน 41 รายการ ได้แก่  ปอกระเจา อาหารทะเลแช่เย็นและแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม จึงไม้เห็นควรที่จะปรับลดอัตราภาษีจำนวน 41 รายการดังกล่าว ต่อมากระทรวงพาณิชย์ได้แจ้งข้อเท็จจริงว่าสินค้าจำนวน 41 รายการนั้น มีการนำเข้าจากบังกลาเทศเฉพาะกุ้งแช่เย็นแช่แข็ง มูลค่าเพียง 9.7 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี และเป็นวัตถุดิบที่นำเข้ามาเพื่อการผลิตและการส่งออกจึงไม่น่าจะมีผลกระทบกับผู้ประกอบการไทย และเห็นควรให้ลดภาษีจำนวน 128 รายการให้แกบังกลาเทศตามที่ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้แจ้งแก่ประธานาธิบดีบังกลาเทศแล้ว
 
สถานะขณะนั้น
 
 
คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบในการปรับลดภาษีให้บังกลาเทศไปแล้วเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2546 จำนวน 128 รายการ และถูกจัดว่าเป็น First Phase
 
 
สถานะปัจจุบัน
 
อยู่ขณะการพิจารณาลดภาษีศุลกากรให้แก่สินค้าบังกลาเทศใน Second Phase ซึ่งครอบคลุม 10 ประเภทสินค้า ได้แก่ รองเท้า สายไฟ เครื่องสำอาง อาหารปรุงแต่ง เฟอร์นิเจอร์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก หม้อแปลงไฟฟ้า เคหะสิ่งทอ ชา และ Zipper ซึ่งท่าทีของ สศอ. คือสามารถปรับลดภาษีให้ได้ทั้งหมดโดยปรับให้ลดลงเหลือร้อยละ 5 เท่ากับ AFTA แต่ข้อตั้งข้อสังเกตุในเรื่อง 1. ความปลอดภัยของผู้บริโภค 2. กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า
 
 
6.2. กรอบความร่วมมือของ ASEAN กับประเทศคู่เจรจาต่าง ๆ
 
 
6.2.1.อาเซียน-จีน
 
 
อาเซียน-จีน
 
 
กรอบความร่วมมือนี้ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2546 ทั้งนี้ในด้านการค้าสินค้า (Trade in Goods) มีการลดภาษีแบ่งเป็น 3 ประเภท โดยใช้ Applied MFN ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2546 เป็นเกณฑ์ดังนี้
 
 
1. การลดภาษีสินค้ากลุ่มแรก (Early Harvest Programme for Trade in Goods) ครอบคลุมสินค้าเกษตรในตอนที่ 01-08 มีกรอบระยะเวลา 3 ปี สำหรับสมาชิกเดิม 6 ประเทศและจีน ดังนี้
 
 
ปี 2547 ปี 2548 ปี 2549
 
 
อัตราภาษีมากกว่า 15%   10%     5%     0%
 
 
อัตราภาษี 5%-15%     5%     0%                 0%
 
 
อัตราภาษีน้อยกว่า 5%     0%     0%     0%
 
 
2. การลดภาษีปกติ (Normal Track) กำหนดกรอบให้เริ่มลดภาษีตั้งแต่ 1 มกราคม 2548 จนถึง 2553 สำหรับอาเซียนเดิม 6 ประเทศและจีน ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาจัดทำแนวทางการลดภาษี (Modality) โดยให้ระยะเวลาเพื่อเจรจาจัดทำจนถึง 30 มิถุนายน 2547
 
 
3. การลดภาษีสินค้าอ่อนไหว (Sensitive Track) กำลังอยู่ระหว่างการเจรจากำหนดแนวทางการลดภาษี
 
นอกจากนี้ ได้มีการลงนามในความตกลงเร่งลดภาษีสินค้าผักและผลไม้ระหว่างไทย-จีน เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2546 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีสาระสำคัญครอบคลุมเรื่องการลดภาษีสินค้าผักและผลไม้ทุกรายการตามพิกัดศุลกากร ตอนที่ 07-08 (116 รายการ ตามพิกัดศุลกากร 6 หลัก) ให้เหลือ 0% ภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2546
 
ผลจากการลงนาม ช่วยให้เกิดการขยายการค้าในสินค้าพืช ผัก และผลไม้ ระหว่างกัน และวางแนวทางสำหรับการเปิดเสรีในสินค้าอื่น ๆ ระหว่างไทยและจีน โดยต่อไปทั้งสองฝ่ายสามารถจะเจรจาเพื่อขยายขอบเขตของสินค้าที่จะนำมาเร่งลดภาษีสู่การจัดทำเขตการค้าเสรี ไทย-จีนอย่างสมบูรณ์ในที่สุด ซึ่งเป็นนโยบายด้านการค้าระหว่างประเทศที่สำคัญของรัฐบาลไทย
 
สถานะล่าสุด
 
 
1. การลดภาษีสินค้ากลุ่มอื่น อยู่ระหว่างการเจรจา โดยในขณะนี้อาเซียนเดิม 6 ประเทศกับจีน สามารถตกลงในเบื้องต้นต่อรูปแบบการลดภาษี (Modality) ที่จะเป็นกรอบการลดภาษีสินค้า Normal Track สำหรับ Sensitive Track อาเซียนและจีนอยู่ระหว่างการแลกเปลี่ยนรายการสินค้าและจำกัดไม่ให้มีรายการสินค้ามากเกินไป โดยกำหนดเจรจาให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2547
 
 
2. การค้าบริการ อยู่ระหว่างเจรจาในส่วนของ Early Harvest Programme ด้านการค้าบริการ การจัดทำร่างความตกลงฯ และรูปแบบการเจรจาเปิดตลาดการค้าบริการ โดยกำหนดให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน 2547
 
 
3. การลงทุน อยู่ระหว่างหารือหลักการ ทั่วไปของความตกลงด้านการลงทุนและการแลกเปลี่ยน Negative List ระหว่างอาเซียน-จีน
 
 
4. แหล่งกำเนิดสินค้า (Rule of Origin ) อยู่ระหว่างการหารือเรื่องการกำหนดสัดส่วนวัตถุดิบภายในประเทศ และการพิจารณาข้อเสนอเกี่ยวกับวิธีพิจารณาแหล่งกำเนิดสินค้าบางรายการ  ทั้งนี้ คณะเจรจาอาเซียน-จีน จะรายงานผล
 
 
การเจรจาเสนอผู้นำอาเซียน-จีน ในเดือนตุลาคม 2546 นี้
 
 
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทย
 
 
1. ผลกระทบในระยะสั้น : AFTA อาจทำให้รัฐบาลสูญเสียรายได้ส่วนหนึ่งจากอัตราภาษีนำเข้าที่ลดลงและทำให้อุตสาหกรรมที่มีความสามารถในการผลิตต่ำและไม่มีความสามารถในเชิงแข่งขันได้รับผลกระทบ อาทิ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่เพิ่มเริ่มก่อตั้ง อาจเสียเปรียบในการแข่งขันกับสิงคโปร์ซึ่งประกอบการมานานแล้ว  นอกจากนี้ อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ไทยเสียเปรียบด้านวัตถุดิบจะมีปัญหาการแข่งขันกับมาเลเซียและอินโดนีเซีย รวมทั้งสินค้าสำเร็จรูปที่มีการลดภาษีใน AFTA แล้วแต่เป็นสินค้าที่ต้องอาศัยวัตถุดิบนำเข้าจากนอกอาเซียน ซึ่งไทยมีอัตราภาษีนำเข้าในระดับสูง เช่น วัตถุดิบของเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วัสดุสำหรับผลิตเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
 
 
2. ผลประโยชน์ในระยะยาว :  AFTA จะส่งประโยชน์ต่อประเทศไทยดังนี้
 
 
- การลดภาษีของอาเซียนจะทำให้สินค้าที่ไทยส่งออกไปอาเซียนมีราคาถูกและสามารถแข่งขันกับประเทศนอกกลุ่มได้
 
 
- การลดภาษีของไทยจะทำให้มีการนำเข้าวัตถุดิบ และสินค้ากึ่งสำเร็จรูปจากอาเซียนในราคาถูก ซึ่งจะมีผลต่อการลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออก
 
 
- ผู้บริโภคสามารถบริโภคสินค้าอุปโภค บริโภค ในราคาถูกลง
 
 
- การขยายฐานตลาดจะทำให้อาเซียนเกิดการประหยัดต่อขนาด (Economics of scale) และได้รับประโยชน์จากหลักการได้เปรียบอันเป็นปัจจัยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ
 
 
- การแข่งขันกันภายในอาเซียนจะทำให้เกิดการปรับปรุงประสิทธิภาพและพัฒนาเทคโนโลยี
 
 
- การขยายการนำเข้าและการส่งออกภายในอาเซียน จะทำให้ประเทศไทยลดการพึ่งพาการค้ากับกลุ่มอื่นลดลง
 
 
ทั้งนี้ เมื่อมองภาพเศรษฐกิจโดยรวมแล้ว ไทยและอาเซียนต่างก็จะได้รับประโยชน์จาก AFTA แต่จะมากน้อยกว่ากันนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัวของภาครัฐและภาคเอกชนในแต่ละประเทศ ทั้งนี้ นับแต่มีการก่อตั้ง AFTA เป็นต้นมา การค้าระหว่างไทยและอาเซียนขยายตัวขึ้นมากและมูลค่าการส่งออกสินค้าจากไทยไปยังอาเซียนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
 
 
6.2.2. อาเซียน-อินเดีย
 
 
อาเซียน-อินเดีย
 
 
คณะทำงานว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนและอินเดีย (ASEAN-India Economic Linkages Task Force) อยู่ระหว่างการพิจารณาจัดทำ Draft Framework Agreement on Economic Cooperation between ASEAN and India ซึ่งรวมทั้ง Early Harvest Package ประกอบด้วยสินค้าที่จะตกลงกันลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 ภายในปี 2549 และจะนำ Draft Framework Agreement ดังกล่าวส่งให้ที่ประชุม SEOM-India พิจารณาก่อนเสนอต่อที่ประชุม AEM-India ครั้งที่ 2 เพื่อพิจารณา และนำเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียน-อินเดีย ครั้งที่ 2 เพื่อให้ผู้นำลงนามภายในสิ้นปี 2546 การศึกษาถึงแนวทางในการเชื่อมโยงอินเดียเข้ากับเขตการค้าเสรีอาเซียน  ซึ่งผู้เชี่ยวชาญ ของทั้งสองฝ่ายกำลังดำเนินการศึกษาอยู่นั้น สามารถใช้เป็นแนวทางในการขยายความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างกันได้ต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ ความพยายามที่จะจัดทำความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอินเดียกับสิงคโปร์ที่มุ่งจะก้าวไปสู่การค้าเสรี ระหว่างอินเดีย - สิงคโปร์    จะเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ต้องหันไปกระชับความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดียมากยิ่งขึ้น
 
ปัจจุบัน ประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ และอินเดีย มีฉันทามติในการลดภาษีสินค้า จำนวน 116 รายการ ส่วนเรื่อง Rules of Origin และ Modality ในการปรับลดภาษียังไม่มีการตกลงกัน
 
 
6.2.3. อาเซียน-ญี่ปุ่น
 
 
อาเซียน-ญี่ปุ่น
 
 
ผู้นำอาเซียนและญี่ปุ่นได้ลงนามใน Joint Declaration on ASEAN-Japan Comprehensive Economic Partnership : AJCEP (ตามแนวทางข้อเสนอแนะของ Expert Group) ในการประชุมผู้นำอาเซียน-ญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2545 ณ กรุงพนมเปญ และเห็นชอบให้มีการตั้งคณะกรรมการความร่วมมือพันธมิตรทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่น (ASEAN-Japan Committee on Comprehensive Economic Partnership : AJCCEP) เพื่อจัดทำ Comprehensive Economic Partnership Framework และนำเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น ในเดือนตุลาคม 2546 เพื่อให้ผู้นำลงนามใน CEP Framework ปัจจุบันคณะกรรมการฯ อยู่ระหว่างการพิจารณาร่าง Framework ที่ฝ่ายอาเซียนและญี่ปุ่นได้เสนอ ซึ่งมีสาระสำคัญ อาทิ แนวทางการจัดตั้ง AJCEP ขอบเขตการเปิดเสรี และความร่วมมือในด้านต่างๆรวมทั้งความเชื่อมโยงระหว่าง FTA ภายใต้ AJCEP นี้ กับระดับทวิภาคี (ไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ เริ่มเจรจาหารือกับญี่ปุ่น)
 
 
6.2.4. อาเซียน-สหรัฐอเมริกา
 
 
อาเซียน-สหรัฐอเมริกา
 
 
ที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ครั้งที่ 34 ที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี 2543 จึงได้เสนอให้รื้อฟื้นการประชุมหารือระหว่างรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนกับผู้แทนการค้าของสหรัฐฯ (AEM-USTR Consultations) ขึ้นใหม่ ซึ่งเป็นผลให้ได้มีการประชุม AEM-USTR Consultations อีกครั้งหนึ่ง ที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนเมษายน 2545 โดยทั้งสองฝ่ายได้เห็นพ้องที่จะจัดทำแผนงานความร่วมมือระหว่างกันที่ครอบคลุมถึงการค้า การลงทุน การเกษตร การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการเสริมสร้างขีดความสามารถ การอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน ทรัพย์สินทางปัญญา มาตรฐานสินค้า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ศุลกากร วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นต้น
 
 
ปริมาณการค้า ในปี 2543 สหรัฐฯ นำเข้าสินค้าจากอาเซียน 87,945 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเท่ากับร้อยละ 7.2 ของปริมาณการนำเข้าทั้งหมดของสหรัฐฯ และส่งออกสินค้าไปยังอาเซียน 47,139 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเท่ากับร้อยละ 6.3 ของปริมาณการส่งออก ทั้งหมดของสหรัฐฯ โดยอาเซียนเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ามาโดยตลอด (แนวโน้มการได้เปรียบดุลการค้าของอาเซียนลดลง โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2544 สหรัฐฯ นำเข้าจากอาเซียนลดลง แต่ส่งออกไปยังอาเซียนเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา) สินค้าที่สหรัฐฯ นำเข้าจากอาเซียน ได้แก่ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องใช้สำนักงาน และเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ เป็นต้น ส่วนสินค้าที่สหรัฐฯ ส่งออกไปยังอาเซียน ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องบินและส่วนประกอบ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เครื่องใช้สำนักงาน เป็นต้น
 
ปริมาณการลงทุน ในปี 2543 ในส่วนของอาเซียน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ไทยและมาเลเซียเป็นแหล่งลงทุน 4 อันดับแรกของสหรัฐฯ ด้วยมูลค่า 2,690, 1,182, 539 และ 260 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ
 
ในระหว่างการประชุม AEM-USTR Consultations ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2545 USABC ได้ริเริ่มที่จะให้มีการศึกษาถึงความเหมาะสมของการจัดตั้งเขตการค้าเสรีสหรัฐฯ-อาเซียน
 
สถานะล่าสุด
 
 
การหารือระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐฯ กับผู้นำอาเซียน 7 ประเทศ ได้มีขึ้นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2545 สหรัฐฯ พร้อมที่จะร่วมมือทางเศรษฐกิจกับอาเซียนภายใต้ข้อเสนอ Enterprise for ASEAN Initiative (EAI) อันมีเป้าหมายที่จะนำไปสู่การจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างสหรัฐฯ กับสมาชิกอาเซียนเป็นรายประเทศต่อไป
 
สรุปความสัมพันธ์อาเซียน-สหรัฐฯ
 
 
ความสัมพันธ์คู่เจรจาอาเซียน-สหรัฐฯ ในอดีตที่ผ่านมามีความราบรื่น แต่โครงการ    ความร่วมมือเพื่อการพัฒนายังมีอยู่ค่อนข้างน้อย โดยสหรัฐฯ เน้นความร่วมมือและความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาในระดับทวิภาคีมากกว่าที่จะร่วมมือกับอาเซียนในฐานะกลุ่มประเทศ อย่างไรก็ตาม ภายหลังเหตุการณ์ก่อการร้ายในสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 สหรัฐฯ ได้แสดงให้เห็นถึงความสนใจที่ให้แก่ภูมิภาคนี้เพิ่มมากขึ้น ทั้งในด้านความร่วมมือเพื่อการต่อต้านการก่อการร้ายและความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจอื่นๆ
 
 
6.2.5. อาเซียน-ออสเตรเลีย
 
 
อาเซียน-ออสเตรเลีย
 
 
ออสเตรเลียเป็นประเทศแรกที่สถาปนาความสัมพันธ์กับอาเซียนในปี 2517(1974) โดยมีความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ มีมูลค่าการค้าระหว่างอาเซียนและออสเตรเลียขยายตัวอย่างรวดเร็วหลังจากทั้งสองฝ่ายลงนามใน MOU on ASEAN-Australia Trade Cooperation เมื่อปี 2519 การขยายตัวด้านการค้ายังส่งผลให้การลงทุนของทั้งสองฝ่ายขยายตัวอย่างมาก    อย่างไรก็ดี  อาเซียนยังมีอุปสรรคเกี่ยวกับมาตรการกีดกันการค้าที่มิใช่มาตรการด้านภาษีศุลการกรของออสเตรเลีย อาทิ การต่อต้านการทุ่มตลาด มาตรฐานสินค้าที่ยังแตกต่างกัน และปัญหาด้านสุขอนามัยของสินค้า  (SPS) อาเซียนและออสเตรเลียมีความร่วมมือในกรอบ AFTA-CER ซึ่งกำลังพัฒนาให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้นคือ AFTA-CER Closer Economic Partnership : CEP  ซึ่งที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ จะลงนาม Ministerial Declaration on the AFTA-CER Closer Economic Partnership ในเดือนกันยายน 2545 ที่บรูไนฯ  ความร่วมมือในกรอบ AFTA-CER CEP จะเน้น 5 ด้านคือ (1) Trade and Investment facilitation  (2) Capacity Building  (3) Trade and Investment Promotion  (4) New Economy และ (5) ด้านอื่นๆ ที่สามารถร่วมมือกันได้ในอนาคต อาเซียนและออสเตรเลียมีความร่วมมือด้านการเงินการคลังในกรอบ Manila Framework Groupซึ่งเริ่มในปี 2540 และมีการประชุมแล้วรวม 7 ครั้ง  และในกรอบ Executive Meeting of East Asia -Pacific Central Banks (EMEAP)
 
 
สถานะปัจจุบัน
 
 
ในช่วงกลางปี 2001 อาเซียนและออสเตรเลียเกิดการขัดแย้งในเรื่องคุณสมบัติการรับเงินช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา (ODA) โดยออสเตรเลียต้องการใช้หลักการของ OECD ซึ่งทำให้สิงคโปร์และบรูไนฯ ไม่ได้รับความช่วยเหลืออย่างเต็มรูปแบบในโครงการ AADCP ในขณะที่ฝ่ายอาเซียนยืนยันหลักการไม่เลือกประติบัติ (Non-Discrimination) ผลจากความขัดแย้งดังกล่าวทำให้ต้องยุติกิจกรรมต่าง ๆ ในขั้นเตรียมการของโครงการ AADCP ไปก่อนจนกว่าจะหาทางออกในเรื่องดังกล่าวได้ 
 
 
จากการหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างทั้งสองฝ่ายในการประชุม Joint Planning Committee (JPC) สำหรับโครงการ AAECP ครั้งที่ 10 ระหว่างวันที่ 7-8 มิถุนายน 2001 ที่กรุงแคนเบอร์รา มีข้อเสนอให้มีการร่วมรับภาระเฉพาะในส่วนของการเดินทางมาร่วมกิจกรรมในโครงการต่างๆ ในสัดส่วนออสเตรเลีย 80: อาเซียน 20  ซึ่งต่อมาสามารถตกลงกันได้ในรายละเอียดตามหลักการนี้
 
 
6.2.6. อาเซียน-แคนาดา
 
 
อาเซียน-แคนาดา
 
ความสัมพันธ์อาเซียน-แคนาดา ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี 2520 มีความร่วมมือดำเนินไปอย่างใกล้ชิดทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และความร่วมมือด้านการพัฒนา  ในปี 2524  ทั้งสองฝ่ายลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ  (ASEAN -Canada  Economic  Cooperation  Agreement) อาเซียนและแคนาดาจึงได้ตกลงปรับปรุงความตกลงดังกล่าวขึ้นในปี ๒๕๓๖ โดยให้มีการก่อตั้งสภาธุรกิจอาเซียน-แคนาดา (ASEAN-Canada Business Council : ACBC)  ขึ้นมาเพื่อเป็นกลไกส่งเสริมและหาลู่ทางในการขยายความสัมพันธ์ระหว่างภาคเอกชนของทั้งสองฝ่าย 
 
 
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน
 
 
แคนาดาได้ให้ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจอย่างแข็งขันต่อข้อเรียกร้องของประเทศสมาชิกอาเซียนในกรอบกลุ่มความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจในเอเชียและแปซิฟิก  (APEC)  และองค์การการค้าโลก (WTO) ตลอดมา  การค้าระหว่างอาเซียนกับแคนาดา ปริมาณการค้าขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มูลค่าการค้าดังกล่าวยังเป็นสัดส่วนที่น้อย มีมูลค่าไม่ถึงร้อยละ 1 (0.7) เมื่อเทียบกับมูลค่าการค้าที่อาเซียนมีกับทั่วโลก (ลดลงร้อยละ 0.11 จากปีก่อนหน้านี้) นอกจากนี้ ความพยายามที่จะขยายการค้าระหว่างกันให้มากขึ้นยังไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากแคนาดาได้อ้างอุปสรรคทางการค้าที่มีต่อกันว่า อาเซียนมีระบบภาษีที่ซ้ำซ้อนและยุ่งยากและมีปัญหาแรงงานบ่อย ส่วนอาเซียนเห็นว่าแคนาดามีกฎระเบียบที่เข้มงวดเกินไปเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดสินค้า อนามัยของสินค้า ประเภทอาหาร การเข้าตลาด  และการให้สิทธิพิเศษทางการค้าที่แตกต่างกันแก่ประเทศกำลังพัฒนา
 
 
สถานะล่าสุด
 
 
อาเซียนและแคนาดาจัดการประชุมคณะทำงานอาเซียน-แคนาดา ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 5-7  มีนาคม 2545 ที่กรุงพนมเปญ โดยเป็นผลมาจากการประชุมรัฐมนตรีอาเซียน-แคนาดา ครั้งที่ 33 ที่กรุงเทพฯ เมื่อปี 2543 ซึ่งเห็นพ้องให้มีการหารือระดับสูงอย่างไม่เป็นทางการระหว่างอาเซียน-แคนาดา เพื่อพิจารณาหาทางรื้อฟื้นการประชุม ACJCC โดยมีผลการประชุมว่าทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้ในประเด็นเดียวคือ เห็นชอบในหลักการแนวทางความร่วมมือในอนาคตในลักษณะหุ้นส่วนที่ให้อาเซียนมีส่วนร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการความร่วมมือในอนาคตไม่เกินร้อยละ 20 โดยรวมถึง in kind contribution ด้วย โดยฝ่ายแคนาดาจะจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding – MOU) ฉบับใหม่สำหรับโครงการความร่วมมือในภูมิภาค (Regional Training  Program – RTP) บนพื้นฐานของหลักการข้างต้น แล้วเสนอให้อาเซียนพิจารณาให้ข้อคิดเห็น  และเห็นชอบให้จัดการประชุม ACJCC ครั้งที่ 12 หลังจากที่การจัดทำ MOU ข้างต้นแล้วเสร็จ โดยรูปแบบการจัดการประชุมและกลไกการดำเนินการประชุมที่เหมาะสมจะต้องได้รับความเห็นชอบจากทั้งสองฝ่ายก่อนด้วย
 
 
6.2.7. อาเซียน-สหภาพยุโรป
 
 
ความสัมพันธ์อาเซียน-สหภาพยุโรป
 
 
นโยบายของอาเซียนในการดำเนินความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับสหภาพฯจะคล้ายคลึงกับนโยบายที่ดำเนินกับประเทศคู่เจรจาที่สำคัญอื่นๆ เช่น สหรัฐฯและญี่ปุ่น คือ          เพื่อปรับปรุงการเข้าสู่ตลาดสหภาพฯสำหรับสินค้าจากอาเซียน และเพื่อดึงดูดการลงทุนจากสหภาพฯ มายังอาเซียน  ส่วนนโยบายของสหภาพฯในการดำเนินความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจอาเซียนเป็นไปตามมติของคณะมนตรียุโรปว่าด้วยความร่วมมือทางการเงินและเศรษฐกิจกับประเทศกำลังพัฒนา ในเอเชียและละตินอเมริกาปี 2535  ซึ่งกำหนดวัตถุประสงค์ของความร่วมมือทางเศรษฐกิจ 3 ประการ คือ  1) เพื่อส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน 2) เพื่อใช้ประโยชน์จากความเจริญเติบโตของการค้าระหว่างกัน และ 3) เสริมสร้างบทบาทของนักธุรกิจและเทคโนโลยี
 
 
ในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนนั้น สหภาพฯ ได้ให้ความช่วยเหลือแก่อาเซียนในโครงการที่สำคัญ คือ ASEAN-EC Industrial Standards and Quality Assurance Programme และ ASEAN-EC Patents and Trademarks Programme  ส่วนการส่งเสริมบทบาทของนักธุรกิจและเทคโนโลยีนั้น  สหภาพฯ ได้ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีของสหภาพฯ  โดยผ่านศูนย์ภูมิภาคต่าง ๆ รวมทั้ง Business Information Centres สำหรับโครงการที่สำคัญเพื่อช่วยส่งเสริมการค้าและการลงทุน ได้แก่ Asia-Invest,  ASEAN-EU Partenariat  นอกจากนั้นสหภาพฯ ยังได้  จัดตั้ง European Community Investment Partners (ECIP) เพื่อให้เงินกู้สำหรับโครงการในอาเซียน ที่เป็นลักษณะร่วมลงทุนระหว่างนักลงทุนของภูมิภาคทั้งสอง และการให้เงินกู้สำหรับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ผ่าน European Investment Bank (EIB) ซึ่งที่ผ่านมา สหภาพฯ  ได้ให้เงินกู้สำหรับโครงการก๊าซธรรมชาติในไทย อินโดนีเซีย และโครงการขยายสนามบินในฟิลิปปินส์ 
 
 
โดยรวมแล้วนับว่าสหภาพยุโรปได้ให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา แก่อาเซียนเป็นจำนวนมาก โดยแต่เดิมฝ่ายสหภาพฯ จะออกค่าใช้จ่ายสนับสนุนโครงการเกือบทั้งหมด    แต่ในปัจจุบัน สหภาพฯ กำหนดให้อาเซียนร่วมออกค่าใช้จ่ายด้วยในสัดส่วน 20% ทั้งนี้ โครงการความร่วมมือส่วนหนึ่งเป็นการดำเนินการในระดับภูมิภาค อาทิ โครงการฝึกอบรมหรือการจัดตั้งศูนย์ความร่วมมือเฉพาะสาขาที่ประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถเข้าร่วมได้ทุกประเทศ แต่โครงการบางส่วนเป็นการดำเนินงานกับอาเซียนเป็นรายประเทศตามความสมัครใจ และยังมีโครงการอีกส่วนหนึ่งที่  สหภาพฯ ให้ความช่วยเหลือในกรอบ EU-Asia ที่รวมถึงอาเซียนด้วย
 
โดยที่อาเซียนมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่ายเริ่มเปลี่ยนจากลักษณะ "ผู้ให้-ผู้รับ" (donor-recipient) มาเป็น "หุ้นส่วนเพื่อความ ก้าวหน้า" (partnership for progress) เน้นความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (economic cooperation) มากขึ้น
 
 
ความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุน สหภาพยุโรปยังคงเป็นคู่ค้าที่สำคัญของอาเซียน และจัดอยู่ในลำดับ 3 รองลงจากญี่ปุ่นและสหรัฐฯ การให้  สิทธิพิเศษทางการค้า (GSP) ของสหภาพฯ เป็นมาตรการสำคัญในการส่งเสริมการค้า
 
 
ในด้านการลงทุน สหภาพฯ ลงทุนในอาเซียนมากเป็นอันดับที่ 3 รองจากญี่ปุ่นและฮ่องกง โดยในปี 2539 สหภาพฯ ได้ลงทุนในอาเซียนเป็นมูลค่า 6.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แล้วลดลงในช่วงที่อาเซียนประสบกับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี 2540-2541 จากนั้นได้เริ่มเพิ่มการ  ลงทุนในอาเซียนอีกเป็นมูลค่า 4.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2542 และในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 สหภาพฯ ลงทุนในอาเซียนเพียง 252 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
 
 
6.2.8. อาเซียน-นิวซีแลนด์
 
 
อาเซียน-นิวซีแลนด์
 
 
ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียน-นิวซีแลนด์ความสัมพันธ์ดำเนินไปด้วยดี มีการลดกฎระเบียบและข้อกีดกันทางการค้า อาเซียน พยายามเพิ่มลู่ทางการเข้าสู่ตลาดนิวซีแลนด์ของสินค้าส่งออกจากอาเซียนให้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากถึงแม้นิวซีแลนด์จะเป็นตลาดที่ไม่ใหญ่นัก แต่เมื่อรวมกำลังซื้อกับออสเตรเลียก็จะเป็นตลาดที่น่าสนใจ
 
สำหรับดุลการค้า นิวซีแลนด์เป็นฝ่ายได้ดุลการค้าในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา (2540-2544) ยกเว้นในปี 2542 ซึ่งนิวซีแลนด์ขาดดุลการค้ากับอาเซียน 55 ล้านเหรียฐสหรัฐ  สินค้าที่นิวซีแลนด์  นำเข้าจากอาเซียนประกอบด้วย น้ำมันดิบ โทรทัศน์สี วิทยุ เครื่องเล่นเทปและวิดีโอ ส่วนสินค้าที่นิวซีแลนด์ส่งออกมายังอาเซียนคือ ผลิตภัณฑ์นม กระดาษและเยื่อกระดาษ เนื้อแช่แข็งและผัก อุปสรรคการค้าที่สำคัญคือ มาตรฐานด้านสุขอนามัย (SPS) สำหรับการนำเข้าสินค้าพืชและสัตว์ ซึ่งนิวซีแลนด์กำหนดสูงกว่ามาตรฐาน
 
 
นอกจากนั้น ยังมีความพยายามที่จะเชื่อมโยง ASEAN Free Trade Area (AFTA) กับ Closer Economic Relations (CER) ของออสเตรเลียกับนิวซีแลนด์ ซึ่งมีความคืบหน้าด้วยดี  โดยปัจจุบันกำลังมีการศึกษาแนวทางการจัดทำความร่วมมือระหว่าง ASEAN-CER ในรูปแบบ Closer Economic Partnership: CEP แทนการจัดตั้งเขตการค้าเสรี  ความร่วมมือในกรอบ AFTA-CER CEP จะเน้น 5 ด้านคือ (1) Trade and Investment facilitation  (2) Capacity Building  (3) Trade and Investment Promotion  (4) New Economy  และ (5) ด้านอื่นๆ ที่สามารถร่วมมือกันได้ในอนาคต
 
 
6.2.9. อาเซียน-ปากีสถาน
 
 
อาเซียน-ปากีสถาน
 
 
ความสัมพันธ์คู่เจรจาเฉพาะด้านอาเซียน-ปากีสถาน (ASEAN-Pakistan Sectoral Dialogue) ได้มีผลอย่างสมบูรณ์ตามหนังสือแลกเปลี่ยน  ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีต่างประเทศปากีสถานและเลขาธิการอาเซียน เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม และ    27 มิถุนายน 2540(1997) ตามลำดับ ประกอบด้วย 8 สาขาความร่วมมือ คือ การค้า อุตสาหกรรม ลงทุน สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ยาเสพติด การท่องเที่ยวและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยในฝ่ายอาเซียนมีสำนักเลขาธิการอาเซียนเป็นผู้ประสานงาน  ประเทศสมาชิกอาเซียน สำนักเลขาธิการ และหน่วยงานต่าง ๆ ของอาเซียน  รวมทั้ง SEOM และ COST มิได้แสดงความสนใจในศักยภาพทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของปากีสถาน ด้วยเหตุนี้  อาเซียนจึงไม่มีความกระตือรือร้นที่จะริเริ่มความร่วมมือเพื่อการพัฒนากับปากีสถาน สำหรับการที่    ปากีสถานประสงค์จะขอยกสถานะขึ้นเป็นคู่เจรจาเต็มรูปแบบนั้น อาเซียนเห็นควรคงสถานะปัจจุบันไว้อีกระยะหนึ่ง จนกว่าทั้งสองฝ่ายจะมีกิจกรรมความร่วมมือระหว่างกันมากกว่านี้      และเห็นว่า ยังไม่ควรรับปากีสถานเข้าเป็นสมาชิก (ASEAN Regional Forum: ARF) เนื่องจากเกรงว่า จะมีการนำเอาปัญหาในเอเชียใต้เข้ามาสู่ ARF ในส่วนของ SEOM นับแต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการระหว่างอาเซียนกับปากีสถาน ยังมิได้เคยหารือกันถึงลู่ทางในการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับปากีสถาน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการไม่ให้  ความสำคัญต่อตลาดปากีสถานและความไม่กระตือรือร้นของ SEOM ในการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้ากับปากีสถานได้เคลื่อนไหวสถาปนาความสัมพันธ์อย่างจริงจังกับอาเซียน    ภายหลังจากที่ผู้นำอาเซียนเห็นชอบให้อินเดียเป็นประเทศคู่เจรจาเต็มรูปแบบของอาเซียนเมื่อปี 2538 ซึ่งส่งผลให้อินเดียได้รับเชิญให้เข้าร่วมประชุม (Post Ministerial Conferences: PMCs) และ ARF โดยในทันทีหลังจากได้รับสถานะคู่เจรจาเฉพาะด้าน ปากีสถานได้พยายามเร่งเร้าอาเซียนในทุกวิถีทางเพื่อให้ยกสถานะขึ้นเป็นคู่เจรจาเต็มรูปแบบในโอกาสแรก ซึ่งเรื่องนี้เป็นที่เข้าใจว่า เป้าหมายหลักของปากีสถานอยู่ที่การเข้าเป็นสมาชิก ARF เช่นเดียวกับอินเดีย
 
 
6.2.10. อาเซียน-รัสเซีย
 
 
อาเซียน-รัสเซีย
 
 
อาเซียน-รัสเซียมีความสัมพันธ์ ด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน ปริมาณการค้าระหว่างอาเซียนกับรัสเซียยังมีปริมาณน้อย (ประมาณร้อยละ 0.3 ของปริมาณการส่งออกรวมของ  อาเซียน) ในชั้นนี้ อาเซียนโดย Senior Economic Officials Meeting (SEOM) ได้เห็นชอบร่าง TOR เพื่อจัดตั้งคณะทำงาน  อาเซียน -รัสเซีย ว่าด้วยความร่วมมือด้านการค้าและเศรษฐกิจ ซึ่งฝ่ายรัสเซียเสนอที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะทำงานฯ ครั้งแรก ณ กรุงมอสโก ระหว่างวันที่ 19-20 เดือนกันยายน 2545
 
 
สถานะล่าสุด
 
 
ที่ประชุม JPMC ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 15-16 พฤศจิกายน 2544(2001)      ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันยกร่างแผนงานเพื่อเป็นกรอบการดำเนินความร่วมมือระหว่างกัน ทั้งนี้ แผนงานดังกล่าว  มุ่งเน้นความร่วมมือด้านการค้าและเศรษฐกิจโดยกำหนดให้มีการรับรอง TOR จัดตั้งคณะทำงานฯ และดำเนินการจัดประชุมครั้งแรกขึ้นในปี 2545(2002) ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะมุ่งเน้นโครงการขนาดเล็กที่เสนอโดยสำนักเลขาธิการอาเซียน ด้านการศึกษาจะเน้นโครงการจัดสัมมนาอธิการบดีมหาวิทยาลัยอาเซียน-รัสเซีย ด้านคมนาคมจะเน้นการศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายและปรับปรุงเส้นทางคมนาคมที่มีอยู่เพื่อเชื่อมสองภูมิภาคเข้าด้วยกัน รวมทั้งการศึกษาถึงรูปแบบและแหล่งเงินที่จะใช้สนับสนุนโครงการความร่วมมือระหว่างกัน
 
ที่ประชุมอาเซียน-รัสเซีย SOM ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 4-5 เมษายน 2545 ณ กรุงมอสโก ทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบที่จะร่วมกันพิจารณาจัดทำร่าง Pacific Concord และร่วมกันเสนอให้ที่ประชุม ARF พิจารณาต่อไป
 
  
  
 
==ความขัดแย้งระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ==
 
==ความขัดแย้งระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ==
  
7.1. ประเทศเพื่อนบ้าน
 
 
กัมพูชา : กรณีเขาพระวิหาร
 
  
ความสัมพันธ์และความขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชา
 
  
ในที่นี้จะกล่าวถึงประเด็นทั้งความสัมพันธ์และความขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชา เนื่องจากมีความเกี่ยวเนื่องกัน ซึ่งจะทำให้เห็นภาพของความขัดแย้งได้อย่างชัดเจน และแม้ว่าทั้งไทยและกัมพูชาจะมีความขัดแย้งกัน แต่ก็สามารถจัดการกับความขัดแย้งได้โดยอาศัยกรอบความร่วมมือต่าง ๆ เป็นพลังขับเคลื่อนความสัมพันธ์ระหว่างกัน
 
  
การวิเคราะห์ความขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชา
 
  
ความสัมพันธ์และความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชาบนพื้นฐานทางประวัติศาสตร์และลัทธิชาตินิยม
 
  
ปัญหาความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชาในปัจจุบันนั้นมีรากฐานเกิดมาจากความเป็นมาทางประวัติศาสตร์และลัทธิชาตินิยมเป็นหลัก ปัญหาประการแรกของประเทศทั้งสองนั้นเกิดจากการขีดแบ่งเส้นแดนโดยจักรวรรดินิยม ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมระหว่างไทยอีสานใต้และกัมพูชาแล้ว จะเห็นได้ว่าดินแดนทั้งสองต่างก็เป็นดินแดนที่มีวัฒนธรรมแบบเดียวกัน มีลักษณะทางชาติพันธุ์เป็นกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน แต่ดินแดนทั้งสองส่วนต้องแยกจากกันเพราะวิธีคิดการแบ่งเขตแดนแบบรัฐชาติ (Nation State) สมัยใหม่ตามแบบที่จักรวรรดินิยมตะวันตกพึงปรารถนาให้เป็น หรือกล่าวได้ว่าเป็นการแบ่งเขตแดนเพื่อการจัดการผลประโยชน์เหนือดินแดนของจักรวรรดินิยมตะวันตกนั่นเอง
+
==ความมั่นคงในยุคสมัยใหม่==
  
ทั้งนี้ เมื่อมองย้อนไปในอดีตก็จะเห็นถึงความสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างไทยอีสานใต้และกัมพูชาบนพื้นที่ความขัดแย้งในปัจจุบัน คือ พื้นที่บริเวณปราสาทเขาพระวิหาร ปราสาทเขาพระวิหารซึ่งพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 แห่งอาณาจักรขอมได้สร้างเทวสถานบนเทือกเขาพนมดงรัก (เพี๊ยะนมดงเร็ก) เพื่อให้ชาวเขมรสูง (อีสานใต้) และชาวเขมรต่ำ (กัมพูชา) ได้สักการะเทวสถานแห่งนี้ร่วมกัน อันแสดงให้เห็นถึงความเป็นกลุ่มชนเดียวกัน และความผูกพันทั้งในอดีตและปัจจุบันของดินแดนทั้งสอง ซึ่งในปัจจุบันดินแดนดังกล่าวกลับเป็นกรณีพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชาที่ต่างฝ่ายต่างยึดถือเขตแดนและกฎเกณฑ์ที่ตะวันตกได้กำหนดเอาไว้ มิได้มองถึงวัตถุประสงค์ของผู้สร้างปราสาทเขาพระวิหารที่มีเจตนาให้ดินแดนเขมรทั้งสองฝั่งได้ใช้ประโยชน์ (การสักการบูชาร่วมกัน) อีกทั้งรัฐไทยและรัฐกัมพูชาสมัยใหม่ยังมองข้ามบริบททางวัฒนธรรมที่เป็นวัฒนธรรมชุดเดียวกันของดินแดนทั้งสอง ทำให้ทั้งสองฝ่ายยึดถือแต่ผลประโยชน์แห่งชาติ(National Interest) บนเส้นแบ่งเขตแดนตามแบบชุมชนในจินตนาการ (Imagine Community) ส่งผลให้ความขัดแย้งระหว่างกันเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
 
  
ปัญหาอีกประการ คือ การศึกษาประวัติศาสตร์ของไทยได้ถูกหล่อหลอมจากกระบวนการ ตำรา และแบบเรียนภายใต้อุดมการณ์แบบชาตินิยมที่ประกอบสร้างให้เราเกลียดพม่า กลัวญวน และดูหมิ่นเขมรซึ่งหากหันไปมองประวัติศาสตร์ก็จะเห็นได้ว่าสยามในอดีตนั้นก็เป็นเพียงดินแดนของคนเถื่อนเท่านั้นในขณะที่ขอมเป็นดินแดนอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังจะเห็นได้จากภาพแกะสลักนูนต่ำ "เสียมกุก" หรือ นี่เหล่าคนสยาม (กองทัพสยาม) บริเวณระเบียงรายรอบปราสาทนครวัด ซึ่งเป็นภาพที่บรรยายถึงในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ได้เกณฑ์ไพร่พลในดินแดนรัฐบรรณาการของพระองค์ที่หนึ่งในนั้น คือ เสียม สยำ หรือ สยาม นั่นเอง จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ข้างต้นแสดงให้เห็นว่าแบบเรียนที่เน้นศักดิ์ศรีและยิ่งใหญ่ของชาติเกินความเป็นจริงโดยไม่ย้อนไปมองบริบททางประวัติศาสตร์ ย่อมจะเกิดผลเชิงลบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในปัจจุบัน ต้องไม่ลืมนึกถึงกฎเกณฑ์วัฏจักรทางประวัติศาสตร์ที่อาณาจักรใดก็ตามมีจุดสูงสุดก็ย่อมจะต้องตกต่ำลงเป็นธรรมดา ปัจจุบันเราอาจจะเหนือกว่าเขาแต่ในอดีตเขาก็เคยเหนือกว่าเราเช่นกัน
 
  
ปัญหาอีกส่วนหนึ่งของความเป็นชาตินิยมแบบคลั่งชาติภายใต้กระบวนการสร้างแบบคู่ตรงข้าม (Binary Opposition) ทำให้ชาติของเราดูดีงาม และเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณธรรมแต่ในขณะเดียวกันก็สร้างภาพให้ชาติอื่นกลายเป็นศัตรูถาวรที่มีแต่ความเลวร้ายหรือต่ำต้อยกว่าเรา ดังจะเห็นได้จากรัฐไทยนั้นติดอยู่กับบ่วงวาทะกรรมว่าอยุธยานั้นถูกหงสาวดีเป็นศัตรูถาวรที่รุกรานเผาบ้านเมืองและปล้นสะดมนานหลายร้อยปี แต่หากมองดูที่ประวัติศาสตร์ระหว่างไทยกับกัมพูชา จะเห็นได้ว่าช่วงความรุ่งเรืองของอยุธยานั้นเป็นช่วงที่กัมพูชาหรือกัมโพชเสื่อมถอยลง เมื่ออยุธยามีอำนาจที่เข้มแข็งก็ได้มีการขยายอำนาจรุกรานดินแดนที่อ่อนแอกว่าเช่นกัน ดังเห็นจากการขยายอำนาจครั้งสำคัญในรัชสมัยของพระบรมราชาที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา แห่งอาณาจักรอยุธยา ซึ่งการขยายขอบขัณฑสีมารุกรานกัมพูชาในครั้งนั้นอยุธยาได้ทำการเผาและปล้นสะดมอาณาจักรกัมพูชา เช่นเดียวกับที่อยุธยาถูกหงสาวดีกระทำในกาลต่อมา หรือจะเป็นเมื่อครั้งพระนเรศวร ที่พระองค์ทรงพักจากศึกหงสาวดีแล้วไปทำสงครามสั่งสอนกัมพูชา โดยในสงครามครั้งนั้นอยุธยาได้ทำการเทครัวและกวาดต้อนชาวเขมรเพื่อไปเป็นแรงงานให้แก่อยุธยาเป็นจำนวนมาก หรือจะเป็นในรัชสมัยของพระเจ้าตากสินหลังจากการปราบดาภิเษกเถลิงราชสมบัติเป็นการสำเร็จ พระองค์ก็มีพระราชประสงค์ที่จะเผยแพร่บุญโพธิสมภารไปสู่ราชอาณาจักรกัมพูชา ขณะเดียวกันก็ทรงหาหนทางที่จะต้องการนำตัวกษัตริย์กัมพูชามาลงโทษ เนื่องมาจากการปฏิเสธที่จะส่งบรรณาการสู่ธนบุรี ทำให้พระเจ้าตากสินได้ยกทัพเข้าตีกัมพูชาหลายต่อหลายครั้ง จนในปี พ.ศ. 2315 กองทัพสยามได้เผากรุงพนมเปญ และได้สถาปนานักองค์เองให้เป็นกษัตริย์หุ่นเชิดของธนบุรีหลังจากนั้นอีกเจ็ดปี
 
  
ในขณะที่ไทยมองกัมพูชาในฐานะที่ต่ำต้อยกว่าและตกเป็นเบี้ยล่างมาโดยตลอด กัมพูชาเองก็ประกอบสร้างให้ไทยเป็นศัตรูถาวรของกัมพูชาเช่นกัน อันเป็นผลมาจากเมื่อสยามในอดีตมีความเข้มแข็งเป็นปึกแผ่นขึ้นมาคราใด สยามก็จะต้องรุกรานกัมพูชาทุกครั้งเช่นกัน เห็นได้ว่าการรุกรานขยายอาณาดินแดนของรัฐจารีต ในอดีตนั้นเป็นกฎของสัจนิยม (Realism) ที่ว่าสถานะของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐนั้นเป็นสภาวะอนาธิปไตย (Anarchy) ที่ไม่มีกฎเกณฑ์อันใดมาควบคุมพฤติการณ์ระหว่างรัฐ นอกจากนี้ สงครามยังคงเป็นความชอบธรรมที่แต่ละรัฐสามารถนำมาเป็นเครื่องมือทางการเมืองโดยไม่ขัดกับหลักประเพณีระหว่างประเทศในอดีต หากไทยและกัมพูชาเข้าใจถึงเกณฑ์ความสัมพันธ์ของรัฐจารีตดั้งเดิมและไม่ใช้ประวัติศาสตร์มาเป็นเครื่องมือสร้างกระแสชาตินิยมของประเทศทั้งสองความขัดแย้งของทั้งสองประเทศ คงจะไม่ทวีความรุนแรงอย่างในปัจจุบัน
 
 
ถึงแม้ว่าข้อดีของการใช้ความเป็นชาตินิยมสร้างชาติอื่นให้เป็นศัตรูถาวรจะมีอยู่ที่เป็นการสร้างอุดมการณ์ต่อต้านศัตรูเพื่อสร้างความสามัคคีในชาติได้ แต่หากพิจารณาถึงบริบทของการเมืองระหว่างประเทศในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า สงครามที่เป็นการรบมิใช่สงครามหลักในเวทีระหว่างประเทศอีกต่อไป สงครามเศรษฐกิจกลับเข้ามามีบทบาทหลักที่ผลักให้เกิดนโยบายและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศขึ้น ประกอบกับเขตแดนของรัฐแบบเวสต์ฟาเลีย (Westfalia) ที่ชาติตะวันตกเคยแบ่งเขตแดนให้กับทั่วโลก เริ่มจะมีผลสะเทือนจากโลกาภิวัตน์ (Globalization) ที่ตะวันตกสร้างนี้ได้ลดทอนคุณค่าทางเขตแดนแบบรัฐชาติลง นอกจากนี้ ตะวันตกก็ยังผลักกระแสการบูรณาการ (Integration) ระหว่างประเทศที่มีต้นแบบจากสหภาพยุโรป (European Union: EU) กลายมาเป็นสงครามในการรวมกลุ่มประเทศที่เป้าหมายในการรวมกลุ่มประเทศให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งเชิงลึกและเชิงกว้าง ทั้งนี้ เพื่อเป้าหมายการต่อสู้ในสงครามทางเศรษฐกิจระหว่างแต่ละกลุ่มประเทศ ซึ่งลักษณะของการบูรณาการในภูมิภาคนั้นจะมีลักษณะที่สร้างความเป็นหนึ่งเดียวในภูมิภาคโดยมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานอย่างเสรี จะเห็นได้ว่าสหภาพยุโรปนั้นมีลักษณะเป็นองค์กรเหนือรัฐ (Supranational Organization) ที่มีความเข้มแข็งมีทั้งสภาแห่งยุโรป (European Parliament) ศาลแห่งยุโรป (European Court) สกุลเงินยุโรป (EURO) และธนาคารกลางแห่งยุโรป (Central Bank of European) โดยมีนโยบายเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปที่เป็นเอกภาพ และในอนาคตสหภาพยุโรปก็กำลังดำเนินการสร้างความเป็นเอกภาพทางการเมืองเช่นกัน กล่าวได้ว่าแนวทางการบูรณาการภายในกลุ่มระหว่างประเทศนั้นเป็นการลดทอนอธิปไตย เขตแดน และความเป็นรัฐชาติลงนั่นเอง
 
 
ในกรณีของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชานั้นทั้งสองประเทศต่างก็เป็นสมาชิกของอาเซียน (ASEAN) ที่กำลังเดินหน้าตามตัวแบบอย่างสหภาพยุโรปโดยที่ในปี พ.ศ. 2558 อาเซียนต้องก้าวเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ซึ่งก็หมายความว่าไทย กัมพูชา และอาเซียนก็กำลังตามกระแสของสงครามทางเศรษฐกิจและการบูรณาการระหว่างประเทศ ดังนั้น เป้าหมายของอาเซียนในอนาคต คือ ไปสู่การสร้างความเป็นเอกภาพของประชาคมอย่างแท้จริง ที่อธิปไตยเขตแดน และความเป็นชาติย่อมจะถูกลดทอนลง เมื่อสถานการณ์ของการเมืองระหว่างประเทศเริ่มเปลี่ยนไป อัตลักษณ์ภายในภาคีของอาเซียนเองก็จะต้องตรียมพร้อมเพื่อไปสู่ความร่วมมือที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น ด้วยการลดข้อจำกัดในการสร้างความเป็นศัตรูถาวรภายใต้กระแสชาตินิยม เมื่อใดก็ตามที่ต่างฝ่ายต่างเดินหน้าใช้ประโยชน์จากประวัติศาสตร์ และความล้าหลังคลั่งชาติก็ย่อมจะสร้างความขัดแย้งระหว่างกันและกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
 
 
เมื่อความเป็นหนึ่งเดียวแบบประชาคมกำลังจะเกิดขึ้นในอาเซียน คำถามก็คือ การสร้างกระแสชาตินิยมบนพื้นฐานความแค้นในเชิงประวัติศาสตร์มีความจำเป็นอยู่ไหม ทั้งนี้ ไทยและกัมพูชาต้องทบทวนว่าทั้งสองประเทศจะยินยอมติดอยู่กับกับดักของลัทธิชาตินิยมและประวัติศาสตร์อยู่หรือไม่ หรือจะเลือกเดินไปสู่หนทางของความร่วมมือที่จะเกื้อกูลกันเพื่อต่อสู้ในสงครามทางเศรษฐกิจบนเวทีระหว่างประเทศที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบันความสัมพันธ์และความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชาภายใต้ผลประโยชน์แห่งชาติและการเมืองระหว่างประเทศ
 
 
สำหรับการเมืองในประเทศไทยนั้น หลายปีที่ผ่านมามีความปั่นป่วนและขาดเสถียรภาพอยู่พอสมควรอันมาจาก Colors Politics หากมองถึงปมแห่งปัญหาของการเมืองของไทยนั้นเกิดจากที่ประชาธิปไตยแบบตะวันออกของไทยยังให้ความสำคัญตลอดมาว่าการเลือกตั้ง คือ หัวใจสำคัญของประชาธิปไตย แต่แท้จริงแล้วการเลือกตั้งนั้นเป็นเพียงกระบวนการสรรหาตัวแทนในระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น ประกอบกับการเลือกตั้งในไทยยังยึดโยงอยู่กับทุน และระบบอุปถัมภ์ ซึ่งโดยแท้จริงแล้วเราต้อง มีความเข้าใจว่าประชาธิปไตยต้องไม่ใช่แค่เพียงการเลือกตั้ง แต่ต้องเป็นประชาธิปไตยโดยวิถีชีวิตที่ต้องยอมรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น และรับฟังเสียงจากคนส่วนน้อย ซึ่งสังคมประชาธิปไตยที่พึงปรารถนาต้องเป็นสังคมประชาธิปไตยแบบถกแถลง (Deliberate Democracy) ที่อยู่บนพื้นฐานของเหตุผลและการแลกเปลี่ยนความคิดกันกันอย่างสร้างสรรค์ กล่าวได้ว่าประชาธิปไตยไทยในปัจจุบันจึงเป็นประชาธิปไตยแบบอัตตาธิปไตยผสานกับธนาธิปไตยที่ขับเคลื่อนไปด้วยอวิชชาและมิจฉาทิฐิ
 
 
แม้ว่าเสถียรภาพทางการเมืองของกัมพูชาจะมีอยู่สูง เนื่องมาจากรัฐบาลพรรคประชาชนกัมพูชาที่นำโดยนายกรัฐมนตรีฮุนเซนสามารถกุมเสียงส่วนใหญ่ในการเลือกตั้งของกัมพูชาได้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พรรคประชาชนกัมพูชาได้เข้าสู่การเป็นพรรคการเมืองที่มีลักษณะโดดเด่นเพียงพรรคเดียว (One Dominant Party System) โดยมีพรรคฟุนซินเปคและพรรคสมรังสีเป็นพรรคฝ่ายค้านที่ได้รับการเลือกตั้งเพียงไม่กี่ที่นั่ง กล่าวได้ว่านายกรัฐมนตรีฮุนเซนสามารถใช้อำนาจและกลไกของรัฐผสานกับการใช้กุศโลบายทางเศรษฐกิจ ในการควบคุมฐานเสียงและการลงคะแนนเลือกตั้งได้อย่างมีประสิทธิภาพเสมอมา หากมองลักษณะทางการเมืองของกัมพูชาถึงแม้ว่ากัมพูชานั้นจะมีการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยก็ตาม แต่จากการควบคุมจากรัฐบาลทุกองคาพยพ ไม่ว่าจะเป็น พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ NGO และสื่อมวลชน ย่อมสะท้อนให้เห็นถึง ความเป็นประชาธิปไตยแบบอำนาจนิยม (Authoritarian Democracy) ของกัมพูชา
 
 
จากลักษณะของการเมืองภายในของประเทศทั้งสองเห็นได้ว่า ทั้งไทยและกัมพูชาต่างก็เป็นประเทศประชาธิปไตย (แบบเอเชีย) เคยมีคำกล่าวของฝ่ายเสรีนิยม (Liberalism) ว่าประเทศในระบอบประชาธิปไตยจะไม่ทำสงครามกัน แต่ในกรณีของความสัมพันธ์ไทยและกัมพูชานั้นทั้งสองต่างก็ตั้งผลประโยชน์หลักแห่งชาติ (National Interest) ไว้ที่เป้าหมายเดียวกัน การนิยามถึงผลประโยชน์หลักแห่งชาติหรือผลประโยชน์ที่จะสูญเสียไปไม่ได้ไว้ที่ตำแหน่งเดียวกัน อาจส่งผลต่อความขัดแย้งหากการเจรจาประนีประนอมนั้นดำเนินการมิได้ ย่อมอาจนำไปสู่ความรุนแรงและสงครามในที่สุด ซึ่งผลประโยชน์หลักของทั้งไทยและกัมพูชาก็คือ ปัญหาปราสาทพระวิหารและพื้นที่ทับซ้อนกับปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล แต่ปัญหาที่ทำให้ความขัดแย้งระหว่างประเทศทั้งสองลุกลามจนไม่มีทีท่าว่าความขัดแย้งดังกล่าวจะยุติลงได้ ก็คือปัญหาปราสาทเขาพระวิหาร ที่รัฐบาลทั้งสองฝ่ายให้คุณค่าว่าเป็นผลประโยชน์หลักที่จะสูญเสียไปไม่ได้
 
 
หากมองไปที่คำตัดสินศาลโลก (International Court of Justice) ที่ทั้งไทยและกัมพูชาต่างก็มีความยินยอม (Consent) เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมระหว่างประเทศ ดังนั้น คำพิพากษาที่มีความชัดเจนอยู่ว่า ตัวปราสาทพระวิหารตกเป็นดินแดนอธิปไตยของกัมพูชาแน่นอน และพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตรบนเขาพระวิหารก็เป็นดินแดนของไทยอย่างแน่นอนเช่นกัน ซึ่งประเด็นปัญหา เขาพระวิหารจะไม่สามารถสร้างความขัดแย้งอย่างในปัจจุบันได้หากทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายกัมพูชา ไม่นำการเมืองภายในประเทศไปเกี่ยวโยงกับการเมืองระหว่างประเทศ โดยทั้งสองฝ่ายได้ใช้ประเด็นปราสาทเขาพระวิหารมาสร้างผลประโยชน์แก่การเมืองภายในประเทศ ซึ่งฝ่ายไทยนั้นเห็นได้จากกรณีที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ใช้กรณีเขาพระวิหารมาปลุกกระแสชาตินิยมเพื่อปลุกระดมมวลชนในการเข้าร่วมต่อต้านรัฐบาลพรรคพลังประชาชนในขณะนั้น โดยพันธมิตรได้ใช้การรณรงค์ที่ว่า "ทวงคืนปราสาทเขาพระวิหาร" แทนที่จะเป็น "รักษาดินแดน 4.6 ตารางกิโลเมตรบริเวณเขาพระวิหาร" อาจเป็นไปได้ว่าคำว่าทวงคืนปราสาทเขาพระวิหารนั้นง่ายกว่าการสื่อสารกับมวลชนในที่ชุมนุม แต่ก็เป็นการมิควรเป็นอย่างยิ่งที่จะยัดเยียดข้อมูลที่ไม่ถูกต้องแก่ประชาชน เพราะการให้ข้อมูลในลักษณะดังกล่าวนอกจากจะมีปัญหาด้านข้อเท็จจริงแล้ว ปัญหาที่สำคัญที่สุดก็คือการสร้างความชิงชังให้แก่ประชาชนชาวไทยที่มีต่อประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา ซ้ำเติมความชิงชังแบบคลั่งชาติให้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น
 
 
สำหรับในกรณีของกัมพูชาภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีฮุนเซนนั้น มีความใกล้ชิดกับเวียดนามเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากในช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 ได้รับเลือกจากเวียดนามเพื่อเป็นผู้นำกองทัพปฏิวัติต่อต้านเขมรแดง จนสามารถยึดกรุงพนมเปญได้ในปี พ.ศ. 2522 และสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาขึ้น โดยมีเวียดนามหนุนหลัง ซึ่งในตอนนั้นฮุนเซนได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ประกอบกับภรรยาของฮุนเซนมีเชื้อสายเวียดนาม ยิ่งทำให้ฮุนเซนมีความแนบแน่นกับเวียดนามยิ่งขึ้น ดั้งนั้น จะเห็นได้ว่า ครั้งใดที่ฮุนเซนต้องการใช้กระแสชาตินิยมเพื่อสร้างความนิยมทางการเมือง เขาจะใช้ประเด็นชาตินิยมสร้างไทยให้เป็นศัตรูถาวรขึ้นมาทุกครั้ง ทั้งที่จากประวัติศาสตร์นั้นกัมพูชาก็ถูกเวียดนามรุกรานไม่น้อยไปกว่าไทยหรือสยามในอดีต เห็นได้จากกรณีของกบ สุวนันท์ ที่ทั้งรัฐบาลกัมพูชาและสื่อมวลชนที่ถูกควบคุมโดยรัฐ ได้โหมกระพือกระแสชาตินิยมว่า นักแสดงไทยกล่าวคำ ดูถูกชาวกัมพูชาจนเกิดความเกลียดชังชาวไทยจนเกิดการเผาสถานเอกอัครทูตไทยในกรุงพนมเปญ ที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องมาจากฮุนเซนและพรรคประชาชนกัมพูชากำลังลงสู่สนามเลือกตั้งทั่วไปของกัมพูชา จึงต้องใช้กระแสชาตินิยมสร้างไทยในภาพของศัตรูถาวรเพื่อต้องการเสียงสนับสนุนฮุนเซนและพรรคประชาชนกัมพูชา
 
 
ในประเด็นของเขาพระวิหารที่กลายมาเป็นประเด็นความขัดแย้งอย่างรุนแรงในปัจจุบัน ก็มีเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนการพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชา กล่าวคือ บริเวณชายแดนกัมพูชา-เวียดนาม แถบจังหวัดสวายเรียงของกัมพูชา เวียดนามได้ปักหลักเขตแดนล้ำเข้ามาในเขตแดนของกัมพูชาโดยนายสม รังสี ผู้นำพรรคฝ่ายค้านกัมพูชาได้เปิดโปงกรณีดังกล่าว จนนายกรัฐมนตรีฮุนเซนต้องเบี่ยงเบนประเด็นความขัดแย้งกับเวียดนามมาสู่ความต้องการรักษาอธิปไตยเหนือเขตแดนเขาพระวิหารจากไทย พร้อมกับเคลื่อนกองทัพสู่ชายแดน ส่งผลให้กองทัพไทยต้องเพิ่มกำลังพลตรึงชายแดนบริเวณเขาพระวิหารเช่นกัน ทำให้เกิดสภาวะล่อแหลม (Dilemma) ระหว่างไทยและกัมพูชา จนความขัดแย้งบนพื้นฐานความคลั่งชาติของประเทศทั้งสองได้ขยายตัวไปสู่ประชาชนทุกระดับ
 
 
กรณีเขาพระวิหารนั้นหากทั้งสองประเทศไม่นำประเด็นการเมืองภายใน ประเทศเชื่อมโยงกับการเมืองระหว่างประเทศที่ขับเคลื่อนไปด้วยความเป็นชาตินิยม แล้วหันมามองถึงผลประโยชน์ของชาติร่วมกันบนพื้นฐานของความร่วมมือของประเทศทั้งสอง ก็จะทำให้ปัญหาเขาพระวิหารจะแปรสภาพจากวิกฤตกลายเป็นโอกาสของทั้งสองฝ่าย เพราะทั้งสองฝ่ายจะได้ผลประโยชน์ร่วมกันจากการจัดสรรผลประโยชน์ร่วมกันในบริเวณเขาพระวิหาร ต้องไม่ลืมว่าทางกัมพูชานั้นได้ครอบครองเพียงแค่ตัวปราสาท แต่บริเวณโดยรอบที่ประกอบไปด้วย เทวสถาน ปรางค์คู่ บันไดนาค และสระคราวนั้น อยู่ภายใต้การครอบครองไทย เหมือนกับที่ศาสตราจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ได้กล่าวว่า "ปราสาทพระวิหารที่ไร้องค์ประกอบโดยรอบ ก็เหมือนกับโครงกระดูกที่ไร้เนื้อหนัง"[1] นอกจากนี้หากมองไปที่ทรัพยากรทางประวัติศาสตร์และสังคมวัฒนธรรมที่ทั้งสองประเทศมีร่วมกัน ไทยมีปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินพนมรุ้ง ฯลฯ กัมพูชามีพระนคร นครวัด ฯลฯ โดยทั้งสองประเทศได้มีส่วนร่วมในการการจัดการมรดกโลกเขา พระวิหารร่วมกัน หากทั้งสองฝ่ายผลักดันความร่วมมือดังกล่าวให้เกิดขึ้นได้ ทั้งไทยและกัมพูชาจะมี Package การท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมขอมโบราณที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวเป็นอย่างยิ่ง กลายเป็นผลประโยชน์บนความร่วมมือระหว่างกันที่ประเมินค่ามิได้ ทั้งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและผลประโยชน์จากการขจัดความขัดแย้งระหว่างกัน
 
เมื่อมองไปที่ความขัดแย้งของไทยและกัมพูชานั้น ส่วนหนึ่งต้องมองไปที่บทบาทและท่าทีของเวียดนามที่พยามช่วงชิงความเป็นเจ้าในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป (Mainland Southeast Asia) จากไทยโดยการดำเนินนโยบายต่างประเทศของเวียดนามในระดับภูมิภาค ถึงแม้ว่าบทบาทในองค์การภูมิภาค อาทิเช่น อาเซียน ของเวียดนามจะมีบทบาทที่โดดเด่นไม่เท่ากับไทย แต่หากมองแยกไปเฉพาะส่วนย่อยในภูมิภาคอย่างอินโดจีน ก็จะเห็นถึงบทบาทความเป็นผู้นำที่ชัดเจนของเวียดนามที่มีเหนือลาวและกัมพูชา ซึ่งตรงจุดนี้ก็ต้องยอมรับว่าบทบาทการนำของเวียดนามคือผู้นำของอินโดจีนอย่างแท้จริงที่เป็นเช่นนี้ก็เป็นเพราะสายสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับลาวและกัมพูชาอันมีมาตั้งแต่สมัยสงครามเย็น กล่าวได้ว่าเวียดนามได้ดำเนินนโยบายสร้างตนให้เป็น แกนล้อ (Hub) และสร้างให้กัมพูชากับลาวเป็นซี่ล้อ (Spokes) ได้อย่างต่อเนื่องและยาวนาน ประกอบด้วยความใกล้ชิดและสายสัมพันธ์อันดีของฮุนเซนกับเวียดนามยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกัมพูชาและเวียดนามนับวันก็ยิ่งจะมีความแนบแน่นยิ่งขึ้น ซึ่งหมายถึงว่าในทางกลับกันความสัมพันธ์ระหว่างกัมพูชาและไทยก็ย่อมจะถดถอยลงจากยุทธศาสตร์การครองความเป็นเจ้าในอินโดจีนของเวียดนาม
 
 
ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชา
 
 
ปัจจุบัน ไทย-กัมพูชาแม้จะมีความขัดแย้งกัน แต่ความสัมพันธ์ยังคงดำเนินไปบนพื้นฐานของความเข้าอก เข้าใจกัน โดยมีกรอบความร่วมมือต่าง ๆ เป็นพลังขับเคลื่อนความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน ทั้งนี้ ไทยและกัมพูชามีความสัมพันธ์ทวิภาคีหลายฉบับ ได้แก่
 
 
คณะกรรมการว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-กัมพูชา (Joint Commission: JC) โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วมทำหน้าที่ดูแลความสัมพันธ์ ทวิภาคีในภาพรวม มีการประชุมประจำปี
 
 
คณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee: GBC) โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วม ทำหน้าที่ดูแลส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงบริเวณชายแดนของทั้งสองประเทศ
 
 
คณะกรรมการรักษาความสงบเรียบร้อยบริเวณชายแดน (Border Keeping Committee: BPKC) มีผู้บัญชาการทหารสูงสุดของทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม ทำหน้าที่กำกับการปฏิบัติให้เป็นตามนโยบายของคณะกรรมการชายแดนทั่วไป
 
 
คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (Joint Boundary Committee: JBC) ที่ปรึกษาว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธานฝ่ายไทย และทำหน้าที่ระดับสูง ตัวแทนนายกรัฐมนตรีกัมพูชาเป็นประธานฝ่ายกัมพูชา ทำหน้าที่กำกับดูแลภารกิจ การสำรวจ ปักปัน และแก้ปัญหาเขตแดนทางบก
 
 
คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค (Regional Border Committee: RBC) มีแม่ทัพภาคในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ของทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วม เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและแก้ปัญหาความสงบเรียบร้อยบริเวณชายแดน และความร่วมมือระดับท้องถิ่นทั้งสองฝ่าย มีการประชุมปกติปีละ 2 ครั้ง
 
 
คณะกรรมการการค้าร่วม (Joint Trade Committee: JCT) มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วม ทำหน้าที่ส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือทางการค้าระหว่างกัน
 
 
นอกจากนี้ ไทยกับกัมพูชามีการตกลงร่วมภายใต้กรอบความร่วมมือทางการค้าและการลงทุน คือ กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี – เจ้าพระยา - แม่โขง (ACMECS) โดยได้มีการดำเนินโครงการทวิภาคีที่มีโครงการร่วมในสาขาการอำนวยความสะดวกทางด้านการค้าและการลงทุนจำนวนทั้งสิ้น 18 โครงการ เช่น การศึกษาการจัดตั้งตลาดกลางเพื่อค้าส่งและส่งออกในกัมพูชา การจัดงานแสดงสินค้า ความตกลงการอำนวยความสะดวกทางการค้าโดยให้บริการเบ็ดเสร็จที่ด่านชายแดนไทย-กัมพูชา เป็นต้น นอกจากนี้ จากยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ACMECS ยังมีแผนปฏิบัติการอื่น ๆ อาทิ โครงการ Contract Farming โดยจังหวัดนำร่องในการจัดทำ Contract Farming ได้แก่ จันทบุรี-พระตะบอง/ไพลิน และยังมีโครงการเมืองคู่แฝด (Sister Cities) ซึ่งเป็นการดำเนินงานเพื่อพัฒนาพื้นที่ระหว่างไทยกับเพื่อนบ้านให้เป็นเมืองเชื่อมโยงระหว่างกัน เป็นรากฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรม การค้า การท่องเที่ยว สนับสนุนการย้ายฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรมจากไทยไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
 
 
สำหรับกรอบความร่วมมือ GMS (Greater Mekong Subregion) ไทยกับกัมพูชาได้ดำเนินโครงการร่วมกัน ได้แก่ การพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor) เชื่อมโยงไทย กัมพูชาและเวียดนาม การอำนวยความสะดวกการผ่านแดนของคนและสินค้าระหว่างไทย-กัมพูชา ส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูป Package Tour โดยจะเน้นตามแนวพื้นที่เศรษฐกิจ ตลอดจนดำเนินการ GMS Single Visa เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวทั้งนี้ จะเห็นได้ว่ามูลค่าการค้าของการส่งออกสินค้าจากไทยไปยังกัมพูชามีมูลค่าสูงกว่ามูลค่าการนำสินค้าเข้าของไทย ซึ่งการส่งออกสินค้าจากไทยไปยังกัมพูชาส่วนใหญ่จะใช้การขนส่งทางถนนเป็นหลัก ทำให้ภาครัฐทั้งไทย-กัมพูชาได้ให้การสนับสนุนการขนส่งทางถนนเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับการพัฒนาการขนส่งรูปแบบอื่น โดยมีแนวคิดที่ว่าระบบถนนเป็นบริการขนส่งพื้นฐานที่ให้ความสะดวกรวดเร็วและเป็นการขนส่งให้ถึงจุดหมายปลายทางโดยตรง อีกทั้งการขนส่งทางถนนเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับการขนส่งในช่วงสั้น ๆ อย่างไรก็ดี จากกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามแดน (ASEAN Frame work Agreement for the facilitation of Inter-State Transport) และความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Great Mekong Subregion Cross-Border Transport Agreement) ทำให้ภาครัฐทั้งไทยและกัมพูชาได้ประสานงานและร่วมมือกันในการลดอุปสรรคต่างๆ และลดค่าใช้จ่าย ในการขนส่งสินค้าผ่านเส้นทางผ่านแดน และให้ความสำคัญอย่างจริงจังในการทำงานร่วมกับสมาคมที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางถนน แก้ไขปัญหาเรื่องรถวิ่งเที่ยวเปล่าเพื่อลดต้นทุนการขนส่งของสินค้า
 
 
อ้างอิงโดย http://122.155.9.68/talad/index.php/cambodia/overview-kh/social/173-2010-09
 
 
๗.๒. ประเทศมหาอำนาจ
 
 
ความขัดแย้งไทย-อเมริกาหลัง คสช. มาเป็นรัฐบาล
 
 
นายเกล็น ทาวน์เซนด์ เดวีส์ อดีตผู้แทนพิเศษด้านนโยบายเกาหลีเหนือระหว่างพ.ศ.2555–2557ผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยได้เข้าให้คำแถลงต่อคณะกรรมาธิการฝ่ายกิจการต่างประเทศของวุฒิสภา
 
 
คำแถลงนี้ถูกเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยผู้ถูกเสนอชื่อเข้ารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตฯกล่าวถึงประเทศไทยว่า
 
 
“ประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาธำรงมิตรภาพร่วมกันมายาวนาน,ไทยเป็นหนึ่งในพันธมิตรคู่สนธิสัญญาที่เก่าแก่ที่สุดของสหรัฐอเมริกาในเอเชีย”
 
“แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจำเป็นต้องจำกัดความสัมพันธ์บางด้านกับไทยหลังเหตุการณ์รัฐประหารโดยทหารเมื่อเดือนพ.ค.2557ความสัมพันธ์ทวิภาคีนี้ยังคงกว้างขวางและก่อประโยชน์อย่างยิ่งแก่ทั้งสองประเทศอย่างที่ความสัมพันธ์อื่นน้อยนักจะเทียบเคียงได้” ซึ่งนายเดวีส์ชี้ว่าการระงับความช่วยเหลือบางประการนี้จะดำเนินต่อไปจนกว่าไทยจะมีการบริหารประเทศโดยรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยเมื่อเป็นเช่นนั้นจึงจะนำไปสู่ความสัมพันธ์อย่างเต็มรูปแบบ
 
 
“ตลอดทศวรรษที่ผ่านมาความแตกแยกทางการเมืองภายในประเทศไทยถลำลึกลงไปอย่างมาก,นำไปสู่การแบ่งขั้วไม่เพียงระดับการเมืองเท่านั้นแต่ยังแผ่ขยายไปถึงสังคมไทยโดยรวมอีกด้วย” พร้อมเน้นย้ำว่าสหรัฐฯยึดมั่นสนับสนุนหลักประชาธิปไตยและไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใดในความขัดแย้งนี้
 
 
“การที่สหรัฐฯเรียกร้องให้ไทยกลับไปมีรัฐบาลพลเรือนคืนสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยและเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจังซึ่งรวมถึงเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมอย่างสงบนั้นมิได้หมายความว่าสหรัฐฯมุ่งเจาะจงสนับสนุนพิมพ์เขียวรัฐธรรมนูญหรือการเมืองประเด็นใดโดยเฉพาะ,สิ่งเหล่านั้นเป็นคำถามที่คนไทยต้องตัดสินใจโดยผ่านกระบวนการทางการเมืองที่ครอบคลุมอันเอื้อต่อการอภิปรายที่เปิดกว้างและตรงไปตรงมาเกี่ยวกับอนาคตทางการเมืองของประเทศหากผมได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการให้ดำรงตำแหน่งผมจะดำเนินงานสานต่อในการสนับสนุนปณิธานด้านประชาธิปไตยของประชาชนชาวไทย”
 
นายเดวีส์ระบุว่านับตั้งแต่เหตุการณ์รัฐประหาร สหรัฐฯเน้นย้ำผ่านทั้งเวทีสาธารณะและการเจรจาส่วนตัวถึงข้อกังวล “เกี่ยวกับการที่การปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทยได้หยุดชะงักลง”รวมถึงการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบของพลเมือง
 
 
ด้านความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพสหรัฐฯและกองทัพไทยนั้นนายเดวี่ส์ชี้สหรัฐฯยังคงยึดมั่นในการรักษาพันธมิตรด้านความมั่นคง“ด้วยตระหนักถึงผลประโยชน์เชิงยุทธศาสตร์ในระยะยาวของเรา”และประวัติศาสตร์การต่อสู้ร่วมกันของสองประเทศไม่ว่าจะในสงครามเวียดนามและสงครามเกาหลีทั้งการฝึกซ้อมกิจกรรมความร่วมมือต่างๆอาทิการฝึกคอบร้าโกลด์ที่ถือเป็นการฝึกซ้อมทางทหารระดับพหุภาคีที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย
 
อดีตผู้แทนพิเศษด้านนโยบายเกาหลีเหนือแถลงถึงความสัมพันธ์หลากหลายด้านของสองประเทศไม่ว่าจะเป็นการค้า,วัฒนธรรม,กิจการมนุษยธรรม,และความร่วมมือผ่านองค์กรพหุภาคีต่าง ๆ ในภูมิภาค
 
ก่อนทิ้งท้ายว่า “เราก็หวังจะเห็นไทยหวนคืนสู่ระบอบประชาธิปไตยเพื่อความพยายามร่วมกันระหว่างประเทศเราทั้งสองจะดำเนินก้าวหน้าได้อย่างเต็มวิสัยสหรัฐฯเชื่อว่าราชอาณาจักรไทยจะสามารถสร้างความปรองดอง สถาปนาประชาธิปไตย และเติมเต็มโชคชะตาบนหน้าประวัติศาสตร์ในฐานะชาติที่ยิ่งใหญ่และเสรี”
 
โดยหลังจากสิ้นสุดการแถลงดังกล่าวแล้วคณะกรรมาธิการฯจำเป็นต้องกำหนดวันลงมติรับรองตำแหน่งก่อนส่งเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาสหรัฐอเมริกา ซึ่งยังไม่ทราบกำหนดเวลาแน่ชัด
 
 
อ้างอิงโดย:http://thainewstip.blogspot.com/2015/06/blog-post_24.html
 
 
 
==ความมั่นคงในยุคสมัยใหม่==
 
 
8.1. Traditional Threat 
 
ภายใต้ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน อาจเป็นที่สงสัยหรือยังไม่เป็นที่เข้าใจกันลึกซึ้งนักกับคำว่า "ความมั่นคงของชาติ” ในตอนนี้จะขอให้ความรู้ความเข้าใจถึงความหมายของคำนี้ ซึ่งก็มีความหมายเดียวกับ "ความมั่นคงของรัฐ” โดยที่รัฐ (State) ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ ประชากร ดินแดน รัฐบาล และอำนาจอธิปไตย หากองค์ประกอบใดไม่เข้มแข็งเพียงพอชาติก็จะขาดความมั่นคง
 
 
ในอดีต ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงของชาติมักให้ความสนใจที่ภัยคุกคามจากภายนอก โดยเฉพาะภัยคุกคามทางทหาร ด้วยเหตุนี้เมื่อกล่าวถึงความมั่นคงของชาติ ส่วนมากจึงเป็นที่เข้าใจว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการทหารหรือการสงครามโดยตรง ซึ่งอาจเป็นความจริงในอดีตมากกว่าในปัจจุบัน จากการสำรวจความหมายของความมั่นคงของชาติแบบดั้งเดิมสรุปได้ว่า หมายถึงสภาวการณ์ของชาติภายใต้การนำของรัฐบาลที่มีอำนาจอธิปไตยในการปกครองดินแดนดังกล่าวด้วยตนเอง อยู่ในสภาพที่มีความปลอดภัยจากภัยคุกคามทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นการเสี่ยงใด ๆ ความเกรงกลัว ความกังวล และความสงสัย อีกทั้งมีเสรีต่อแรงกดดันต่าง ๆ ซึ่งจะประกันให้เกิดอำนาจหน้าที่ของแต่ละส่วนภายในชาติดำเนินไปได้อย่างอิสระ นอกจากนี้ ยังต้องมีความแน่นอนไม่เปลี่ยนแปลงไปโดยง่าย มีความอดทนต่อแรงกดดันต่าง ๆ ที่มากระทบ และมีขีดความสามารถที่จะพร้อมเผชิญต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
 
 
การให้ความหมายของคำว่า "ความมั่นคงแห่งชาติ” ในแต่ละช่วงเวลาของแต่ละกลุ่มบุคคลในสังคมที่มีอุดมการณ์ครอบงำอยู่ อาจมีความหมายและองค์ประกอบที่แตกต่างกันออกไป และให้ความสำคัญต่อความมั่นคงแห่งชาติมากน้อยต่างกันไป ซึ่งโดยทั่วไปรัฐหรือชาติต้องการดำรงความเป็นอยู่ ต้องการมีเสรีภาพ (liberty) คือมีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนของตน มีอิสระต่อแรงกดดันต่าง ๆ มีความมั่นคงปลอดภัย (security) และมีความผาสุกสมบูรณ์ (wealth) การที่จะมีสิ่งเหล่านี้ได้รัฐต้องมีพลังอำนาจของชาติ (national power) ที่เข้มแข็ง หรือมีศักยภาพในหลายด้านด้วยกัน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในปกป้องผลประโยชน์ของชาติ (national interests) การสิ้นสุดของสงครามเย็นมีผลต่อแนวความคิดในการพิจารณาปัญหาความมั่นคงของชาติ จาก "สภาพแวดล้อมใหม่” ที่ความขัดแย้งในเชิงอุดมการณ์เลือนหายไป แต่กลับมีความขัดแย้งในผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของชาติ การศึกษาความมั่นคงภายใต้สถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
 
 
หากให้ความสำคัญเฉพาะเรื่องของการสงครามและการทหารเพียงอย่างเดียวจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างคับแคบและอยู่ในวงจำกัด เรื่องของความมั่นคงจึงขยายวงกว้างขวางขึ้นโดยมีมิติอื่น ๆ เช่น เศรษฐกิจ สังคม จิตวิทยา การเมือง เพิ่มเข้ามา จึงพบว่าปัญหาสิ่งแวดล้อม ผู้ลี้ภัยที่ไม่พึงประสงค์ ภาวะโลกร้อน ฯลฯ ล้วนแต่เป็นประเด็นที่อาจส่งผลทางตรงต่อความขัดแย้ง โดยผ่านกลไกการเสื่อมถอยทางเศรษฐกิจ และความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง
 
 
เมื่อจำแนกความมั่นคงออกเป็นมิติต่าง ๆ กล่าวได้ว่าประกอบด้วย ความมั่นคงทางทหาร หมายถึง ความพร้อมทางทหารเพื่อป้องกันการรุกราน ความมั่นคงทางด้านการเมือง หมายถึง การมีระบบการเมืองที่มั่นคง มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หมายถึง การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูง มีอัตราการส่งออกสูง ประชาชนมีรายได้ต่อหัวสูง และความมั่นคงทางสังคม หมายถึง คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน โดยได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง มีระบบสาธารณะสุขที่ดี ปลอดโรคภัยไข้เจ็บ และมีความอยู่ดีกินดี เป็นต้น
 
อ้างอิงโดย http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=3166&filename=index
 
 
8.2. Non-Traditional Threat
 
 
ประเด็นความมั่นคงแบบ “non-traditional” ซึ่งเน้นในเรื่องความมั่นคงของมนุษย์นับว่ามีความสำคัญยิ่ง และได้รับความสนใจจากรัฐบาลต่างๆมากขึ้นดังสะท้อนให้เห็นจากการกล่าวถึงประเด็นนี้ในสุนทรพจน์ของผู้นำต่างๆโดยเฉพาะในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ที่แต่ละประเทศมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันที่นอกเหนือไปจากประเด็นดั้งเดิม (traditional) ความมั่งคงแบบ non-traditional นี้หมายรวมถึง ปัญหาที่เกิดจากด้านสาธารณสุข การย้ายถิ่น สิ่งแวดล้อมการแข่งขันเพื่อแย่งชิงทรัพยากร อาชญากรรมข้ามชาติปัญหาโจรสลัดและปัญหาการก่อการร้ายปัญหาเหล่านี้ได้ท้าทายบทบาทของรัฐในการให้ความคุ้มกันต่อความปลอดภัยของประชาชนให้สามารถมีชีวิตอยู่อย่างปกติสุขขณะที่มีส่วนในการสร้างความตื่นตัวในกลุ่มประชาชนต่อภัยในรูปแบบใหม่นี้ซึ่งมักถูก “overshadowed” โดยภัยในรูปแบบเดิมๆ เช่น ภัยจากทางทหารภัยจากการรุกรานของต่างชาติ เป็นต้น
 
สถาบันความมั่นคงและยุทธศาสตร์ศึกษา (IDSS) ของสิงคโปร์ ร่วมกับ The Ford Foundation ได้จัดการสัมมนาเรื่อง “Non-Traditional Security in Asia” ระหว่างวันที่ 2-3 มีนาคม2549 โดยได้เชิญวิทยากรจากภูมิภาคต่างๆ จำนวน 23 คนมาร่วมเป็นวิทยากร ซึ่งได้อธิบายในรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบของภัยแบบ non-traditional ว่าอาจได้แก่ 1) ภัยจากการก่อการร้ายซึ่งได้มีความรุนแรงขึ้นนับตั้งแต่เหตุการณ์ 9/11 2) ภัยจากสิ่งแวดล้อมได้แก่ มลภาวะเป็นพิษและความล้มเหลวในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ 3) ภัยทางด้านเศรษฐกิจ เช่น วิกฤตการณ์ทางการเงิน 4) ภัยทางด้านวัฒนธรรม เช่นการรุกรานของวัฒนธรรมต่างชาติ 5) ภัยที่เกิดจากการขาดข้อมูลที่จำเป็นในสังคม 6) ภัยจากด้านการสาธารณสุข เช่นการขาดแคลนน้ำ โรคระบาด ฯลฯ 7) ภัยข้ามชาติอื่นๆ ได้แก่การลักลอบค้ายาเสพติด หรือการย้ายถิ่นของคนจำนวนมาก
 
 
อ้างอิง http://news.thaieurope.net/content/view/980/141/
 
  
  
 
==กฎหมายระหว่างประเทศกับประเทศไทย==
 
==กฎหมายระหว่างประเทศกับประเทศไทย==
 
9.1.ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายภายในกับระหว่างประเทศ และกฎหมายระหว่างประเทศ
 
 
9.1.1.ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในของรัฐ
 
(Relations Between International Law and Municipal Law)
 
 
ความเบื้องต้นใน การศึกษากฎหมายระหว่างประเทศนั้น หากละเลยไม่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและกฎหมายระว่างประเทศและ กฎหมายภายในของรัฐแล้ว จะทำให้ขาดความเข้าใจถึงลักษณะและบทบาทที่แท้จริงของกฎหมายระหว่างประเทศ ทั้งนี้ เพราะกฎหมายระหว่างประเทศมิใช่เพียงแต่วางกฎเกณฑ์เพื่อกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างบุคลต่างๆ ในกฎหมายระหว่างประเทศไม่ว่าจะเป็นรัฐ หรือองค์การระหว่างประเทศ หรือองค์ภาวะ (entity ) อื่นใดที่ถือว่าสภาพบุคคล (personality) หรือมีสถานะ (status) บาง ประการตามกฎหมายระหว่างประเทศเท่านั้น แต่กฎหมายระหว่างประเทศยังเข้าไปเกี่ยวข้องกับระบบกฎหมายภายในของรัฐต่างๆ อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสนธิสัญญาระหว่างประเทศซึ่งนับว่าเป็นบ่อเกิดของกฎหมาย ระหว่างประเทศที่มีอิทธิพลและบทบาทต่อกฎหมายภายในของรัฐมากขึ้นทุกขณะ
 
 
อย่าง ไรก็ดี ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในของรัฐนั้น ถูกนักกฎหมายระหว่างประเทศมองไปในแง่มุมต่างๆ กัน เช่น มองว่ากฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายในของรัฐนั้นเป็นกฎหมายคนละระบบกันและ แยกต่างหากจากกันโดยไม่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งเป็นทัศนะของกลุ่มนักกฎหมายที่สนับสนุนนทฤษีทวินิยม ( Dualism) หรือ กลุ่มนักกฎหมายที่ถือว่ากฎหมายระหว่างประทศและกฎหมายภายในเป็นระบบเดียวกัน ไม่อาจแยกออกจากกันได้ ซึ่งเป็นทัศนะของกลุ่มนักกฎหมายที่สนับสนุนทฤษฎีเอกนิยม (Monism) หรือแม้กระทั่งกลุ่มนักกฎหมายที่มิได้สนับสนุนทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งดังกล่าวข้างดต้นหากแต่ต้องการประสานทฤษฎีทั้งสองเข้าด้วยกัน
 
ทฤษฎี ดังกล่าวข้างต้นนี้ต่างก็ได้รับอิทธิพลจากปรัชญากฎหมายที่แตกต่างกันโดยที่ ไม่อาจหาข้อสรุปที่แน่นอนได้ว่าทฤษฎีใดถูกทั้งหมดหรือผิดโดยสิ้นเชิง เช่นทฤษฎีทวินิยมที่แยกกฎหมายระหว่างประเทศกุบกฎหมายภายในของรับออกจากกันก็ ได้รับอิทธิพลจากปรัชญากฎหมายของสำนักกฎหมายบ้านเมือง ( Positivism) ที่ถือว่ากฎหมายไม่ว่าจะเป็นบ่อเกิดโดยรูปแบบ (formal Sources) หรือโดยเนื้อกา (material sources) มาจากเจตจำนง (will) ของ รัฐ และระบบกฎหมายระหว่างประเทศย่อมไม่สามารถเข้าไปเกี่ยวข้องกับระบบกฎหมายภาย ในของรัฐและผูกพันรัฐได้หากรัฐไม่แสดงเจตจำนงให้ความยินยอม( (consent)
 
 
ในกรณีของทฤษฎีเอกนิยมโดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายที่ถือว่ากำหมายระหว่างประเทศมีลำดับศักดิ์( hierarchy) สูงกว่ากฎหมายภายในของรัฐนั้นได้รับอิทธิพลจากปรัชญากำหมายของสำนักกำหมายธรรมชาติ (natural law) ซึ่ง ถือว่ากฎหมายภายในของรัฐไม่สามารถแยกออกจากกฎหมายระหว่างประเทศได้ และในทางกลับกันกฎหมายภายในของรัฐซึ่งเกิดจากเจตจำนงของรัฐซึ่งเป็นกฎหมาย ที่มนุษย์สร้างขึ้นก็จะต้องตกอยู่ในบังคุบของกฎหมายธรรมชาติ มิใช่แยกตัวออกจากกำหมายธรรมชาติไม่ วาจะเป็นทฤษฎีใดดังกล่าวข้างต้นก็ตามต่างก็ไม่สามารถที่จะตอบคำถามาเกี่ยว กับแนวทางซึ่งรัฐต่างๆ ถือปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายเกี่ยวกับแนวทางซึ่งรัฐต่างๆ ถือปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศและ กฎหมายภายในของรัฐได้หมด เช่นเดียวกับที่ปรัชญากฎหมายซึ่งอยู่เบื้องหลังทฤษฎีดังกล่าวก็ไม่สามารถตอบ คำถามเกี่ยวกับปรัชญาพื้นฐานกฎหมายได้ทุกคำถาม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า การศึกษาถึงทฤษฎีดังกล่าวข้างต้นมีความจำเป็นในการทำความเข้าใจกำหมาย ระหว่างประเทศและความสัมพันธ์ที่กฎหมายระหว่างประทศมีต่อกฎหมายภายในของรัฐ ในทำนองเดียวกันกับที่การศึกษาปรัชญากฎหมายของสำนักความคิดต่างๆ มีความเข้าใจกฎหมายโดยภาพรวม
 
 
ประเทศไทยได้รับอิทธิพลทางกฎหมายจากประเทศที่ใช้ระบบ civil law และ มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ไม่ปรากฏว่ามีรัฐธรรมนูญของประเทศไทยฉบับใดกล่าวถึงสถานะของกฎหมายจารีต ประเพณีระหว่างประเทศเลยว่ากฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศจะเข้ามามีบทบาท ในฐานะที่เป็นกฎหมายภายในของประเทศได้อย่างไร ซึ่งแตกต่างจากกรณีของกฎหมายรัฐธรรมนูญของฝรั่งเศสหรือของเยอรมนีซึ่งกล่าว ถึงกฎเกณฑ์แห่งกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้น จึงทำให้เกิดคำถามว่า กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศจะเข้ามามีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายภายในของ ประเทศไทยได้หรือไม่ ในเมื่อไม่มีการกล่าวถึงจารีตประเพณีระหว่างประเทศไว้ในรัฐธรรมนูญของประเทศ ไทยฉบับใดเลย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ศาลไทยจะยอมบังคับตามกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศหรือไม่ หากมีการกล่าวอ้างกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ เช่น ในกรณีที่กงสุลของรัฐอื่นกระทำความผิดอาญาในประเทศไทยและอ้างความคุ้มกันจาก เขตอำนาจของศาลไทยตามหลักกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ ศาลไทยจำเป็นที่จะต้องบังคับตามกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ เช่นว่านั้นหรือไม่ กล่าวคือ ยอมรับการอ้างความคุ้มกันของกงสุลของรัฐอื่นเช่นว่านั้น เพราะไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายภายในของประเทศไทยบัญญัติถึงความคุ้มกันของกงสุล เหมือนกับกรณีความคุ้มกันทางทูต พ.ศ. 2527 รับรอง อยู่ หรือศาลไทยจะไม่ยอมรับการอ้างความคุ้มกันของกงสุลของรัฐอื่นและดำเนินคดีต่อ กงสุลของรัฐอื่นซึ่งกระทำความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายอาญาของไทย
 
 
ใน กรณีดังกล่าวข้างต้นนี้ หากศาลไทยดำเนินคดีต่อกงสุลของรัฐอื่นเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายอาญาโดยไม่ ยอมรับฟังข้ออ้างในเรื่องความคุ้มกันของกงสุลตามกฎหมายจารีตประเพณีระหว่าง ประเทศ ก็ดูจะไม่มีปัญหาสำหรับศาลซึ่งใช้บังคับกฎหมายที่มีอยู่ แต่ในขณะเดียวกันประเทศไทยอาจต้องรับผิดต่อรัฐผู้ส่งกงสุลเช่นว่านั้นในฐานะ ที่ประเทศไทยฝ่าฝืนพันธกรณีในทางระหว่างประเทศอันเกิดจากกฎหมายจารีตประเพณี ที่ว่ากงสุลจะได้รับความคุ้มกันจากเขตอำนาจทางตุลาการและทางบริหารของรัฐผู้ รับ ถึงแม้ความคุ้มกันของกงสุลจะไม่เท่ากับความคุ้มกันของตัวแทนทางทูตก็ตาม
 
 
ใน ทางกลับกัน หากศาลไทยยอมให้กงสุลของรัฐอื่นเช่นว่านั้นอ้างความคุ้มกันจากเขตอำนาจศาล ไทยได้ ศาลไทยคงจะต้องอธิบายและให้เหตุผลว่ากงสุขของรัฐอื่นเช่นว่านั้น สามารถอ้างความคุ้มกันจากเขตอำนาจศาลไทยได้อย่างไร ในเมื่อไม่มีกฎหมายภายในของประเทศไทยบัญญัติรับรองไว้ เหมือนกับกรณีความคุ้มกันของตัวแทนทางทูต ซึ่งมีพระราชบัญญัติว่าด้วยเอกสิทธิและความคุ้มกันทางทูต พ.ศ. 2527 รับรอง อยู่ ซึ่งคงจะเป็นการยากที่ศาลไทยจะอธิบายได้ เพราะเรื่องความคุ้มกันของกงสุลนั้นไมมีกฎหมายภายในของประเทศไทยบัญญัติ รับรองไว้ นอกจากกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ ซึ่งศาลก็ต้องอธิบายต่อไปว่าศาลไทยสามารถนำกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ เช่นว่านั้นมาปรับแก้ข้อเท็จจริงในคดีดังกล่าวนี้ได้อย่างไร
 
 
ในเมื่อระบบกฎหมายของไทยและกฎหมายรัฐธรรมนูญของไทยไม่เปิดช่องว่างให้ศาลไทยนำ กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศมาใช้บังคับได้โดยตรงศาลไทยจึงไม่มีอำนาจ ตามกฎหมายใดๆ ที่จะนำกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศมาปรับใช้แก่คดีได้ เพราะศาลในระบบ civil law เช่นศาลไทยนี้มีหน้าที่ใช้บังคับกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติเท่านั้น ศาลไทยไม่อาจสร้างหลักกฎหมายได้เองเหมือนกับศาลในระบบ common law ดัง นั้น หากจะย้อนไปพิจารณาปัญหาเรื่องความคุ้มกันของกงสุลของรัฐอื่นข้างต้น ศาลไทยคงไม่มีทางเลือกเป็นอื่นนอกจากวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายอาญาตามปกติ ส่วนความรับผิดในทางระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีต่อรัฐผู้ส่งกงสุลเช่นว่า นั้น ก็เป็นอีกกรณีหนึ่ง
 
 
ภายในhttp://tayucases.blogspot.com/2011/03/blog-post_04.htmlเป็นเนื้อหา
 
 
9.2.กฎหมายระหว่างประเทศที่คนไทยควรรู้
 
               
 
ในปัจจุบันความเจริญของโลกทำให้คนสามารถเดินทางติดต่อสื่อสารกันได้โดยง่ายและเป็นประจำ ทำให้รัฐต้องติดตามไปควบคุมและคุ้มครองพลเมือง ซึ่งได้แก่ ผู้มีสัญชาติของรัฐเมื่ออยู่ในต่างแดน เป็นผลให้รัฐต่างๆต้องเริ่มติดต่อกัน โดยการติดต่อได้ขยายขอบเขตไปถึงเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสังคม จึงทำให้สาระของการติดต่อครอบคลุมมากมายหลากหลายเรื่องขึ้น
 
               
 
นอกจากนี้ รัฐยังได้ร่วมมือกันทำกิจกรรมต่างๆ ที่ไม่อาจทำได้ตามลำพัง ทำให้เกิดสมาคมหรือองค์การระหว่างประเทศขึ้นและมีบทบาทสำคัญในการช่วยรักษาความเรียบร้อย รวมทั้งพัฒนาและส่งเสริมความก้าวหน้าแก่ภูมิภาคต่างๆ ในโลกเป็นอย่างมาก  ดังนั้น รัฐและองค์การที่จัดตั้งขึ้นจึงต้องตั้งกติกาเพื่อเป็นแนวทางในการติดต่อสัมพันธ์กันขึ้นมา ซึ่งได้แก่ กฎหมายระหว่างประเทศ
 
             
 
กฎหมายระหว่างประเทศเกิดจาการตกลงกันหรือจากยอมรับปฏิบัติกันโดยรัฐ และพัฒนาต่อมาโดยองค์การระหว่างประเทศทั้งหลาย
 
           
 
ปัจจุบันกฎหมายระหว่างประเทศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อสังคมโลกเป็นอย่างมากซึ่งกฎหมายระหว่างประเทศในบางเรื่องส่งผลต่อประเทศไทยด้วย ดังนั้น ในฐานะพลเมืองที่ดีของประเทศชาติและสังคมโลก เราจึงจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศในสาขาที่มีความสำคัญไว้บ้าง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศดังกล่าว โดยกฎหมายระหว่างประเทศที่ควรรู้ มีดังนี้
 
 
อ้างอิง https://sites.google.com/site/30885naphasfeem/home/page2
 
 
 
9.2.1. กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ
 
เป็นสาขาหนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศจากเดิมเรียกกันว่า“กฎหมายระหว่างประเทศยามสงคราม หรือ กฎหมายสงคราม” กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศมีจุดประสงค์ที่มุ่งส่งเสริมคุณค่า อันเกี่ยวกับความเป็นมนุษย์เช่นเดียวกับกฎหมายสิทธิมนุษยชน
 
           
 
กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศเริ่มต้นจากความพยายามของนายอังรีดูนังต์และคณะที่จะหาทางลดภาวะทุกข์ทรมารอันหน้าสะพรึงกลัวที่เกิดกับทหารและพลเรือน จากการาสู้รบระหว่างคู่สงคราม พวกเขาได้รณรงค์เป็นเวลานานจนรัฐต่างๆ เห็นความสำคัญของปัญหาทำให้สาระสำคัญของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศจึงเกี่ยวข้องกับเรื่องของการปกป้องคุ้มครอง และดูแลพลเรือนของประเทศคู่สงคราม เช่น ห้ามการใช้อาวุธและวิธีการสู้รบซึ่งมีลักษณะการทำลายล้างอย่างมหาศาล ก็ให้เกิดความสูญเสียโดยไม่จำเป็นหรือความทุกข์ทรมารเกินไป เช่น การใช้อาวุธเคมี การใช้อาวุธชีวภาพ อาวุธนิวเคลียร์ ห้ามกระทำการรุนแรงหรือคุมคามว่าจะทำการรุนแรงเพื่อให้ประชาชนหวากกลัว เป็นต้น
 
         
 
กล่าวได้ว่ากฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศเป็นตัวอย่างกฎหมายที่เกิดจากการตกลงร่วมกันของมนุษย์ เพื่อคุ้มครองประโยชน์และการปลอดภัยของมนุษย์จากเงื้อมมือของมนุษย์ด้วยกันอย่างแท้จริง
 
         
 
กฎหมายนี้มีความมุ่งหมาย คือ การเคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ โดยพัฒนาการของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศมีผลทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนของนานาประเทศ ในการสอดส่องดูแลเพื่อให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายเรื่องนี้สำหรับประเทศไทยเคยมีกฎหมายที่สอดคล้องกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ เช่น พระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม พุทธศักราช 2488พระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม พุทธศักราช 2488 พ.ศ. 2510 ประมวลกฎหมายอาญาทหาร มาตรา 48 เป็นต้น
 
       
 
9.2.2.กฎหมายเกี่ยวกับการค้ามนุษย์
 
 
ปัญหาการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะการค้าผู้หญิงและเด็กได้รับการตระหนักจะประชาคมโลกว่าเป็นอาชญากรรมที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เพราะเป็นการแสวงหาประโยชน์จากเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน โดยผู้เสียหายไม่ได้สมัครใจ และได้กระทำการอย่างกว้างขว้าง
 
จนเป็นกระบวนการเชื่อมโยงทั้งในประเทศระต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นภัยต่อความสงบสุขของโลกอย่างมาก
 
         
 
ในอดีตประเทศไทยเคยมีกฎหมายเพื่อเอาผิดและลงโทษการกระทำซึ่งเกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดทางเพศแก่ผู้หญิงและเด็กในลักษณะที่เป็นการค้าประเวณี กฎหมายว่าด้วยการค้าหญิงและเด็กหญิง กฎหมายสถานบริการ แต่ยังมีขอบเขตจำกัด
 
         
 
ต่อมาประเทศไทยได้ร่วมลงนามอนุสัญญาสหประเทศเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร พ.ศ. 2543 และพิธีสารเพื่อป้องกันปราบปรามและลงโทษการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะผู้หญิงและเด็ก พ.ศ. 2543 เพิ่มเติมอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร และได้ตรากฎหมายพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ขึ้นต่อมาตามลำดับ
 
         
 
นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้กำหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ขึ้น เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศ ตลอดจนการให้ความร่วมมือและประสาน
 
งานกับต่างประเทศเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และกำหนดให้มีคณะกรรมการประสานและกำกับการดำเดินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ มีหน้าที่ติดตามและจัดทำรายงานเกี่ยวกับการดำเนินการตามพัทธกรณีระหว่างประเทศและให้ความร่วมมือและประสานงานกับต่างประเทศเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เพื่อให้การบังคับใช้การหมายเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และสอดคล้องกับกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องและพัทธกรณีระหว่างประเทศ
 
 
9.2.3.กฎหมายว่าด้วยผู้ลี้ภัย
 
 
ปัญหาผู้ลี้ภัยเป็นประเด็นทางมนุษยธรรมที่มีกฎหมายระหว่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะถึงแม้จะมีการรับรองว่าสิทธิแสวงหาที่ลี้ภัยเป็นสิทธิมนุษยชน แต่รัฐต่างๆ ก็ยังลำบากใจเมื่อต้องกลายเป็นรัฐผู้ลี้ภัย โดยการลี้ภัยสามารถแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ
 
             
 
1.การลี้ภัยทางดินแดน (territorial asylum) หมายถึง การของลี้ภัยเพื่อเข้าไปอยู่ในดินแดนของรัฐผู้ลี้ภัย ซึ่งขึ้นกับการตัดสินใจของรัฐดินแดนว่าจะให้ลี้ภัยหรือไม่โดยพิจารณาจากพัทธกรณีในข้อตกลงระหว่างประเทศและกฎหมายภายในของรัฐนั้น
 
             
 
2.การลี้ภัยทางทูต (diplomatic asylum) การลี้ภัยที่ผู้ขอลี้ภัยเข้าไปอยู่ในสถานทูตของรัฐผู้ให้ลี้ภัย ซึ่งตั้งอยู่ในดินแดนของรัฐผู้ให้ลี้ภัย ซึ่งตั้งอยู่ในดินแดนของรัฐที่ต้องการตัวผู้ขอลี้ภัยเอง
 
         
 
ปัจจุบันสมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้จัดตั้งสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติขึ้น เพื่อคุ้มครองและแก้ปัญหาของผู้ลี้ภัยทั่วโลก รวมทั้งปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ลี้ภัย โดยเฉพาะสิทธิที่จะอาศัยอยู่อย่างปลอดภัยในประเทศอื่น เพื่อเตรียมพร้อมที่ส่งกับประเทศต้นทางตามที่ผู้ลี้ภัยต้องการ หรือเพื่อที่จะส่งไปยังประเทศที่สาม
 
         
 
ในส่วนของประเทศไทยนั้น ก็ได้ให้ความสนับสนุนช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับผู้อพยพหนีภัยเข้ามาในดินแดนไทยอย่างต่อเนื่อง ตามหลักมนุษยธรรมด้วยดีดดยให้ความคุ้นครองต่อผู้อพยพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ อาทิ การฝึกทักษาอาชีพและการศึกษาเพื่อเขาจะสามารถดำเนินชีวิตระหว่างอยู่ในพื้นที่พักพิงชั่วคราวอย่างปลอดภัย
 
อ้างอิง https://sites.google.com/site/30885naphasfeem/home/page2
 
 
9.2.4.กฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ
 
 
เป็นสาขาหนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศที่ใช้ควบคุมการดำเนินกิจกรรมของรัฐและปัจจเจกบุคคลที่อยู่ได้อำนาจรัฐ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครอง อนุรักษ์ และพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เกิดขึ้เนื่องจากความกังวลของปัญหาของนานาประเทศเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และได้มีการพัฒนาการมาอย่างต่เนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515
 
         
 
สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ เกิดขึ้นจากการทำข้อตกลงกันระหว่างรัฐต่างๆจึงให้มีรานละเอียดเป็นจำนวนมากและครอบคลุมในเรื่องต่างๆ เช่น เรื่องมลพิษทางอากาศ การลดลงของโอโชน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก เป็นต้น
 
         
 
แต่หลักการสำคัญของกฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศนั้น คือ สิ่งแวดล้อมถือเป็นสมบัติส่วนรวมของมนุษยชาติ ที่ต้องร่วมกันปกป้องและรักษา รวมทั้งต้องให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมตามกำลังความสามารถของแต่ละรัฐ
 
         
 
กฎหมายระหว่างประเทศเป็นกฎหมายที่ใช้ในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐในเบื้องต้น ปัจจุบันได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเพิ่มรายละเอียดของเนื้อหามากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการร่วมกันทำกิจกรรมระหว่างรัฐ ผ่านทางองค์การหรือสมาคมระหว่างรัฐต่างๆ ดังนั้น ในฐานะพลเมืองที่ดีของประเทศและพลโลกจึงต้องศึกษาและเรียนรู้ เพื่อทำความเข้าใจกฎหมายต่างๆ เหล่านี้ เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการดำเดินชีวิตและแนวทางการพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับมาตรฐานของโลกต่อไป
 
       
 
กล่าวโดยสรุปได้ว่า กฎหมาย คือ กฎกติกาที่สังคมตั้งขึ้นมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือควบคุมหรือจัดการระเบียบทางสังคม โดยกฎหมายได้วางแนวทางสำหรับการอยู่ร่วมกันและได้กำหนดบทบาท สิทธิ  และทำหน้าที่ของแต่ละคนในสังคมไว้ ตั้งเกิดจนตาย ซึ่งในฐานะสมาชิกของสังคมจึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจกฎหมาย ยิ่งโดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยงข้องกับตนเองและครอบครัว กฎหมายหมายแพ่งที่เกี่ยวกับนิติกรรมสัญญา กฎหมายอาญาตลอดจนกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและมีผลกระทบต่อส่วนรวมและควรรู้ เช่น กฎหมายเกี่ยวกับการรับราชการทหาร กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอาการ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายระหว่างประเทศในเรื่องต่างๆ เป็นต้น เพราะการศึกษากฎหมายดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อตนเอง สังคม ชุมชน และสังคมโลก
 
 
อ้างอิง https://sites.google.com/site/30885naphasfeem/7-kdhmay-rahwang-prathes-thi-khwr-ru/page3/page4
 

โปรดระลึกว่างานเขียนทั้งหมดใน คลังข้อมูลด้านรัฐศาสตร์ อาจถูกผู้เขียนอื่นแก้ไข เปลี่ยนแปลงหรือนำออก หากคุณไม่ต้องการให้งานของคุณถูกแก้ไข ก็อย่าส่งเข้ามา
นอกจากนี้ คุณยังสัญญาเราว่าคุณเขียนงานด้วยตนเอง หรือคัดลอกจากสาธารณสมบัติหรือทรัพยากรเสรีที่คล้ายกัน (ดูรายละเอียดที่ [[]]) อย่าส่งงานมีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต!

ยกเลิก | คำอธิบายการแก้ไข (เปิดหน้าต่างใหม่)