งานวิจัยเชิงนโยบาย การวิจัยเชิงนโยบาย
 
Review ข่าวคณะรัฐศาสตร์ มธ. จัดกิจกรรมครบรอบ 62 ปี

7 มกราคม 2556

 ข่าว คณะรัฐศาสตร์ มธ. ครบรอบ 62 ปี จัดสัมมนา “ออกแบบประเทศไทยใหม่” (Redesign Thailand) - ดูสกู๊ปข่าว คณะรัฐศาสตร์ มธ. ครบรอบ 62 ปี จัดสัมมนา “ออกแบบประเทศไทยใหม่” (Redesign Thailand)

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดกิจกรรมครบรอบ 62 ปี

ข่าวประชาสัมพันธ์ทั่วไป Monday June 13, 2011

กรุงเทพฯ--13 มิ.ย.--มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ขอเชิญร่วมกิจกรรมครบรอบ 62 ปี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 14 มิถุนายนนี้ ตั้งแต่เวลา 13.30 - 16.30 น. รับฟังการเสนอเค้าโครงวิจัย"ออกแบบประเทศไทยใหม่ (Redesign Thailand). โดยคณาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ 3 สาขา ต่อด้วยการสัมมนาทางวิชาการ หัวข้อ "ยิ่งกว่าจำนวน : รัฐศาสตร์การเลือกตั้งไทยในสภาวะไม่แน่นอน" ที่ห้อง ร. 103 คณะรัฐศาสตร์ มธ. ท่าพระจันทร์"
14 มิ.ย. 54 - เมื่อเวลา 13.00 น. ณ ห้อง 103 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ จัดงานเสนอเค้าโครง โครงการวิจัย “ออกแบบประเทศไทยใหม่” (Redesigning Thailand) พร้อมทั้งแนะนำศูนย์ดิเรก ชัยนาม โดยมีคณาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจากหลายสาขาวิชามานำเสนอหัวข้อเค้าโครงวิจัยในประเด็นที่เกี่ยวกับการ ปฏิรูปสถาบันและประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการเมืองไทย รศ.ดร.ศิริพร วัชชวัลคุ คณบดีคณะรัฐศาสตร์กล่าวถึงโครงการ “ออกแบบประเทศไทย” ว่า เป็นโครงการวิจัยขนาดใหญ่ มีระยะเวลาดำเนินการ 3-5 ปี โดยมีจุดประสงค์เพื่อผลิตองค์ความรู้ในการรองรับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทยและในระดับภูมิภาค เพื่อนำไปผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางนโยบายสาธารณะต่อไป ทั้งนี้ มีโครงการบางส่วนที่ได้เริ่มดำเนินการไปแล้วในระยะเบื้องต้น เช่น โครงการการออกแบบระบบการเลือกตั้งโดยใช้องค์ความรู้ทางรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และคณิตศาสตร์ โดยอรรถกฤต ปัจฉิมนันท์ โครงการศึกษาการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิเสรีภาพจากการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยวรรณภา ติระสังขะ รวมถึงโครงการออกแบบพื้นที่ชายแดนแม่สอด โดยเดชา ตั้งสีฟ้า และโครงการอื่นๆ ในประเด็นความสัมพันธ์ไทย-อาเซียน และผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล เป็นต้น หลังจากนั้นสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้เสนอความคิดเห็นในวงเสวนาว่า ตนมองว่าในการพูดเรื่องการออกแบบและเปลี่ยนแปลงประเทศไทย จำเป็นต้องพูดเรื่องสถาบันกษัตริย์ เนื่องจากเป็นศูนย์กลางในความขัดแย้งของการเมืองไทยที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยง ที่จะอภิปรายได้ “ถ้าไม่ต้องการให้โครงการวิจัยแบบนี้เข้าท่าหรือดูเท่แต่หัวข้อ โดยเฉพาะถ้าพูดถึงเรื่องจุดมุ่งหมายที่ว่าด้วยเรื่องการออกแบบสถาบัน และการรองรับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น ประเด็นที่สำคัญที่สุดที่ต้อง ‘redesign’ คือสถานะและอำนาจสถาบันกษัตริย์” สมศักดิ์กล่าว “ต่อให้ไม่เห็นด้วย หรือไม่ยอมรับว่า [เรื่องสถาบันกษัตริย์] เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด แต่ไม่มีทางเถียงได้เลยว่า เรื่องนี้สำคัญไม่น้อยกว่าหัวข้อที่กล่าวมาแน่นอน...โดยเฉพาะบริบทที่เกิด ขึ้นในรอบ 2-3 ปีที่ผ่านมา สิ่งที่เป็นหัวใจของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง คือ เรื่องที่ว่าเราจะจัดตำแหน่งแห่งที่ และอำนาจของสถาบันกษัตริย์ในการเมืองไทยอย่างไร หัวข้อที่กล่าวมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องชายแดน เรื่องอัตลักษณ์ ล้วนได้รับผลกระทบจากหัวข้อนี้ทั้งสิ้น” “คณะรัฐศาสตร์อันดับหนึ่งของประเทศไทย และทำหัวข้อวิจัยที่ใหญ่และทะเยอทะยานขนาดนี้ แต่หัวข้อที่สำคัญ ในการ Redesign Institution กลับไม่มีการพูดเรื่องการรีดีไซน์สถานะและอำนาจของสถาบันกษัตริย์ เป็นเรื่องที่วิปริตมากๆ จนเกือบจะ Surreal “ สมศักดิ์ แสดงความเห็น ต่อประเด็นดังกล่าว คณบดี คณะรัฐศาสตร์ มธ. ได้ชี้แจงว่า ทั้งหมดนี้เป็นเพียงโครงการนำร่องเท่านั้น และชี้ว่านอกจากโครงการ 7 โครงการดังกล่าวที่ได้นำเสนอไป จะมีงานวิจัยในประเด็นอื่นด้วยในอนาคต เช่น ด้านวิกฤติการณ์การอาหาร สิ่งแวดล้อม และด้านกองทัพ อย่างไรก็ตาม สมศักดิ์อภิปรายต่อไปว่า “ในหัวข้อแบบนี้ ไม่มีเหตุผลโดยสิ้นเชิงที่บอกตัวเองว่าจะไม่พูด (เรื่องสถาบันกษัตริย์) ได้ นอกจากจะเอาความเคารพตัวเองไปเก็บใส่กระเป๋า โดยเฉพาะเมื่อทุกคนรู้ว่าระยะเวลาข้างหน้าจะมีการเปลี่ยนแปลงรัชกาล และมีความสำคัญแค่ไหน” “การที่ปัญญาชนทางด้านรัฐศาสตร์ชั้นหนึ่งของประเทศ Straight face ขึ้นมาพูดเรื่องการออกแบบสถาบันของไทย และไม่พูดเรื่องสถาบันกษัตริย์แม้แต่คำเดียว มันยิ่งกว่า surreal และ absurd ลองถามตัวเองว่า มีเหตุผลจริงๆหรือ” สมศักดิ์ตั้งคำถาม
 
จากรายการ Voic TV
นักวิชาการคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เห็นว่า การเลือกตั้งในวันที่ 3 กรกฎาคมนี้ มีความเสี่ยงจะเกิดความรุนแรง และเชิญชวนประชาชนให้ตรวจสอบผู้ลงสมัคร และนโยบายพรรคให้ชัดเจนก่อนตัดสินใจเลือกผู้แทน  พร้อมทั้งเสนอเค้าโครงการวิจัยเรื่อง "ออกแบบประเทศไทยใหม่" ใน 3 ประเด็นใหญ่ 7 เรื่อง เนื่องในโอกาสครบรอบ 62 ปี คณะรัฐศาสตร์ 
คณาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอเค้าโครงงานวิจัยเรื่อง "ออกแบบประเทศไทยใหม่" หรือ รีดีไซน์นิ่ง ไทยแลนด์ ใน 3 ประเด็นหลัก ทั้งการปฏิรูปประเทศไทย ภายใต้การออกแบบปัจจัยทางรัฐศาสตร์เพื่อการพัฒนาทางการเมือง /ยุทธศาสตร์การจัดการผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล และการออกแบบอาณาบริเวณชายแดนแม่สอด  เพื่อนำผลการวิจัยเสนอให้ผู้กำหนดนโยบายนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศและคุณภาพ                  
นายอรรถกฤต ปัจฉิมนันท์  อาจารย์สาขาบริหารรัฐกิจ คณะรัฐศาสตร์ มองว่า การศึกษาระบบการเลือกตั้ง / ความสมดุลย์ระหว่าง 2 สภา และความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลและข้าราชการมีความสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบาย จึงนำหลักวิชาด้านคณิตศาสตร์ และรัฐศาสตร์มารวมกันในการศึกษาวิจัยนำข้อมูลหาทางออกให้กับประเทศ
เช่นเดียวกับนายเดชา ตั้งสีฟ้า อาจารย์สาขาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ เห็นว่า การศึกษาเรื่องชายแดนมีความสำคัญ โดยเฉพาะชายแดนไทย - พม่า บริเวณอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ทั้งเรื่องการค้า อารยธรรม และความรุนแรง เพราะชายแดนแม่สอดกำลังเติบโตเป็นเมืองเศรษฐกิจที่สำคัญในอนาคต
ขณะที่เวทีเสวนา หัวข้อ "ยิ่งกว่าจำนวน: รัฐศาสตร์การเลือกตั้งไทยในสภาวะไม่แน่นอน"  นายอรรถสิทธิ์ พานแก้ว อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ ตั้งข้อสังเกตถึงนโยบายหาเสียงว่า ส่วนใหญ่พรรคการเมืองมักจะบอกรายละเอียดของนโยบายไม่ครบถ้วน ซึ่งเป็นเหมือนการโฆษณาชวนเชื่อ ดังนั้นประชาชนควรตรวจสอบข้อมูลของผู้สมัคร และศึกษานโยบายพรรคให้ละเอียดก่อนตัดสินใจเลือกผู้สมัครจากพรรคการเมือง ทั้งนี้ประชาชนสามารถศึกษาข้อมูลของผู้สมัครและพรรคการเมือง รวมทั้งวิธีการตัดสินใจเลือกผู้แทนได้ที่ www.tpd.in.th                   
นอกจากนี้นักวิชาการยังแสดงความเห็นว่า ผลสำรวจหรือผลโพลล์จากสำนักต่างๆที่จัดทำขึ้นก่อนการเลือกตั้ง มีอิทธิพลต่อประชาชนในหลายรูปแบบ ซึ่งต้องการให้ประชาชนตรวจสอบที่มาของผู้ศึกษา ระเบียบวิธีวิจัย และวิธีการเผยแพร่ให้ชัดเจน ก่อนนำไปประกอบการตัดสินใจ
-----------------------------------
ขณะที่เวทีเสวนา หัวข้อ "ยิ่งกว่าจำนวน: รัฐศาสตร์การเลือกตั้งไทยในสภาวะไม่แน่นอน"  นายอรรถสิทธิ์ พานแก้ว อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ ตั้งข้อสังเกตถึงนโยบายหาเสียงว่า ส่วนใหญ่พรรคการเมืองมักจะบอกรายละเอียดของนโยบายไม่ครบถ้วน ซึ่งเป็นเหมือนการโฆษณาชวนเชื่อ ดังนั้นประชาชนควรตรวจสอบข้อมูลของผู้สมัคร และศึกษานโยบายพรรคให้ละเอียดก่อนตัดสินใจเลือกผู้สมัครจากพรรคการเมือง ทั้งนี้ประชาชนสามารถศึกษาข้อมูลของผู้สมัครและพรรคการเมือง รวมทั้งวิธีการตัดสินใจเลือกผู้แทนได้ที่ www.tpd.in.th
                   
นอกจากนี้นักวิชาการยังแสดงความเห็นว่า ผลสำรวจหรือผลโพลล์จากสำนักต่างๆที่จัดทำขึ้นก่อนการเลือกตั้ง มีอิทธิพลต่อประชาชนในหลายรูปแบบ ซึ่งต้องการให้ประชาชนตรวจสอบที่มาของผู้ศึกษา ระเบียบวิธีวิจัย และวิธีการเผยแพร่ให้ชัดเจน ก่อนนำไปประกอบการตัดสินใจ
 

รัฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ 60ปีสัมมนา เตือนอย่าเกิด"อำนาจพิเศษ"ล้มเลือกตั้งหรือทำให้ช้า ร้อยละ70 รู้แค่กาเบอร์เดียว 2ใบ ไม่รู้นักการเมืองดี,เลว

------------------------------------------------

ที่มี: Bangkok Biz News

ที่คณะ รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวาระครบรอบ 62 ปีก่อตั้งคณะรัฐศาสตร์ วันนี้ 14 มิ.ยุ. ได้จัดเสนอเค้าโครงการวิจัย ”ออกแบบประเทศไทยใหม่” โดยสรุปคือ 1.การเลือกตั้งจะมีการใช้นโยบายคณิตศาสตร์ออกแบบระบบเลือกตั้งใหม่ โดยดูระบบสถาบันอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการมารวมกัน เพื่อบ่งชี้การเลือกตั้งของไทยจะเป็นอย่างไร

2.ส่วนรัฐสภา ต้องดูว่า ทั้งสภาสูงและสภาล่างต้องไม่มีระบบอุปถัมภ์เข้ามาเกี่ยวข้อง 3. พ.ร.ก.ฉุกเฉิน นั้น เป็นกฎหมายละเมิดสิทธิเสรีภาพ และยกเว้นหลักนิติรัฐมากเกินไป ฉะนั้นจำเป็นต้องแก้ไขปัญหานี้ 4.ความสัมพันธ์ลุ่มแม่น้ำโขงนั้น ปัญหาชายแดนไทยกับเพื่อนบ้านนั้น ควรสนใจภาพรวมด้านนี้เพื่อจะผลักดันให้สังคมส่วนใหญ่สนใจมากขึ้น และ 5.อัตตลักษณ์ของอาเซียนบวกสามนั้น ต้องสร้างอัตตาลักษณ์ใหม่ขึ้นมาเพื่อเป็นความร่วมมือของเพื่อนบ้าน     

ช่วงหนึ่งการนำเสนอ นายสมศักดิ์ เจียมธีรกุล อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แสดงทัศนะว่า ทำไมโครงการวิจัยครั้งนี้ไม่มีเรื่อง อำนาจและสถาบันกษัตริย์ เพราะทุกคนรู้ดีเรื่องนี้สำคัญสุด ทุกคนรู้ต่อไปนี้ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต่อให้ยืดอายุออกไปยี่สิบปี เรื่องนี้ก็ยังสำคัญสุด 

อย่างไรก็ตาม คณะผู้จัดงานได้แจ้งกับนายสมศักดิ์ว่า หัวข้อดังกล่าวยังไม่มีในโครงการจะดำเนินการศึกษา แต่ก็มีแผนจะดำเนินการศึกษาในอนาคต 

จากนั้นมีสัมมนาหัวข้อ “ยิ่งกว่าจำนวน : รัฐศาสตร์การเลือกตั้งไทยในสภาวะไม่แน่นอน” มีนายประจักษ์ ก้องกีรติ ดร.วรรณภา ติระลังขะ ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว และนางสาวชญานิษฐ์ พูลยรัตน์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมสัมมนา 

นางสาวชญานิษฐ์ กล่าวเปิดการสัมมนาว่า ตัวเลขการเลือกตั้งมีความน่าสนใจ ตั้งเเต่หมายเลขของพรรคต่างๆ จำนวนผู้สมัคร นโยบายต่างๆ ที่ต้องนำมาพิจารณาอย่างรอบด้าน 

ส่วน นางสาววรรณภา กล่าวว่า โพลเกิดในอเมริกาและไทยเริ่มใช้เมื่อยี่สิบปีที่แล้ว กติกาทำโพลในฝรั่งเศสมีกฎหมายกำกับ เพราะโพลมีอิทธิพลสูงต่อการตัดสินใจของประชาชนลงคะแนน ห้ามเผยแพร่ล่วงหน้าก่อนเลือกตั้งหนึ่งวัน แต่ของไทยห้ามไว้เจ็ดวันจนมีเสียงวิจารณ์กันมาก  

การเลือกตั้งครั้งนี้โพลเกี่ยวกับการ เลือกตั้งหลายสำนักระบุคะแนนนิยมของพรรคต่างๆ สำรวจทัศนคติของประชาชนกับคะเเนนิยมกับพรรคต่างๆ และมีส่วนและอาจมีอิทธิพลในการลงคะแนนเสียง รวมทั้งเป็นเทคนิคทางการตลาด พรรคต่าง ๆ จ้างสำนักโพลสำรวจความก้าวหน้าการรณรงค์หาเสียงว่าได้ผลหรือไม่ 

ปัจจุบันเชื่อว่า โพลอาจไม่มีส่วนในการซื้อเสียง เพราะประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจมากขึ้นแล้ว ชื่อว่าประชาชนจะลงคะแนนตามความคิดทางการเมืองของตัวเอง โดยโพลเป็นส่วนหนึ่งประกอบการตัดสินใจ และแสดงพลังบางอย่างในการออกสิทธิครั้งนี้   
นายอรรถสิทธิ์ กล่าวว่า การห้ามเผยแพร่ผลโพลในไทยส่งผลมากกับคนไทย เพราะขาดข้อมูลข่าวสารในการตัดสินใจ คนที่ออกกฎหมายดูถูกผู้ที่จะไปใช้สิทธิที่อ้างว่าอาจจะมีการซื้อเสียงในช่วง โค้งสุดท้าย และหัวข้อสัมมนาในวันนี้ ข้อมูลที่ไม่พอจะเกิดความไม่แน่นอน พฤติกรรมการเมืองของคนไทยนั้นจะโดนอ้างว่าโดนหัวคะแนนชักจูง และไม่มีคุณภาพ แต่ไม่พูดกันว่าประชาชนอาจขาดข้อมูลบางอย่างที่เลือกนักการเมืองหน้าเดิมๆ ว่าทำงานจริงหรือไม่   ข้อมูลที่ตนรวบรวมไว้นั้น การทำหน้าที่ส.ส.ยังไม่ถึงขั้น บางคนเช็กชื่อช่วงเช้า แต่เวลาโหวตใสภากลับไม่ทำงาน แต่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ไม่รู้ สถาบันพระปกเกล้า เคยสำรวจเมืองไทยมี ส.ส.กี่คน มีกี่กลุ่มสัดส่วน ประชาชนกว่า 70 เปอร์เซนต์ตอบคำถามนี้ไม่ได้ ตอบได้แค่กาเบอร์เดียวสองใบ รวมทั้งไม่เคยรู้ข้อมูลอีกส่วนที่บางพรรคใช้หาเสียงกันเลย
"คนไทยเสียภาษีเฉลี่ยสองหมื่นหนึ่งพัน กว่าบาท ได้ผลตอบแทนจากรัฐสองหมื่นหกพันบาท กำไรห้าพันบาท แต่เป็นหนี้หกหมื่นกว่าบาทต่อคนต่อปี แต่ข้อมูลของหลายพรรคหาเสียงใช้งบประมาณหาเสียง คำนวณแล้วพรรคต่างๆใช้เงินนับล้านๆ บาทแล้วไม่เคยบอกว่าจะหาเงินมาจากไหน พรรคต่าง ๆ ไม่บอกข้อมูลครบ และการคัดเลือกผู้สมัครส.ส. ไม่เคยบอกว่าทำงานเป็นเช่นใด เข้าประชุมและโหวตกฎหมายบ้างหรือไม่ หากคนรู้ว่าข้อมูลในเว็บไซต์กับผู้สมัครส.ส.ที่ทำไว้ จะเลือกหรือไม่ หากไม่เปลี่ยนก็ต้องยอมรับผล แต่ผู้สมัครส.ส.ส่วนใหญ่มาจากตระกูลพ่อค้า และยังมีข้อมูลลึกๆ เตรียมเปิดในเว็บไซต์ในพฤติกรรมของผู้สมัคร ส.ส. ด้านต่างๆ ด้วย โดยเฉพาะข้อมูลสีเทามาจากรัฐ โดยขอให้ไปดูที่ www.tpd.in.th"  
ต่อมา นายประจักษ์ กล่าวว่า หัวข้อสัมมนาของตนคือ “ความรุนแรงในการเลือกตั้ง มือปืน รถถัง และการประท้วง”  ข้อมูลที่รวบรวมไว้ ขอย้อนกลับไปตั้งแต่สมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ถึงปัจจุบัน ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในการเลือกตั้งนั้นเกิดในหลายประเทศ การเลือกตั้งเป็นเครื่องมือสมัยใหม่ที่นำมาใช้สืบทอดอำนาจ และการเลือกตั้งออกแบบมาเพื่อนำไปสู่สันติ 
แต่หลายปีที่ผ่านมา ความรุนแรงมักเกิดขึ้น ฉะนั้นการเลือกตั้งมันเป็นความรุนแรงชนิดหนึ่ง ความรุนแรงแบบนี้จะพบมากในประเทศในช่วงเปลี่ยนผ่าน ประเทศที่มีประชาธิปไตยอ่อนแอและประเทศเพิ่งผ่านพ้นสงครามกลางเมือง ไทยเองเพิ่งผ่านความรุนแรงทางการเมืองช่วงสองปี แม้ความรุนแรงจะไม่เท่ากับต่างประเทศ แต่มันร้ายแรงสุดในประวัติศาสตร์การเมืองสมัยใหม่ของไทย เพราะมีการจัดเลือกตั้งหลังผ่านความขัดแย้งในสังคมเพียงหนึ่งปี สองฝ่ายยังเผชิญหน้าเพราะยังไม่คลี่คลายความจริงและความยุติธรรม 
นายประจักษ์ กล่าวอีกว่า การเลือกตั้งช่วงนี้มีความเสี่ยง หลายประเทศที่พัฒนาแล้วไม่มีประท้วงรุนแรงในการเลือกตั้ง แต่ไทยยังตกอยู่ในกลุ่มเสี่ยงใช้ความรุนแรงในช่วงเลือกตั้ง แต่ยังดีกว่าบางประเทศ เช่น ซิมบับเว ฟิลิปปินส์ อิหร่าน ปากีสถาน เพราะผู้เลือกตั้งและนักข่าวในไทยจะไม่ตกเป็นเป้าหมายของมือปืน ฉะนั้น นิยามความรุนแรงในการเลือกตั้งของตน หมายถึง การใช้หรือขู่ว่าจะใช้กำลังบังคับที่ส่งผลกระทบกับกระบวนการเลือกตั้ง จ้องจะปั่นป่วนไม่ให้มีการเลือกตั้ง หมายความว่า ล้มหรือเลือกตั้งช้า หรือผลการเลือกตั้งที่ใช้ความรุนแรงเพื่อชนะการแข่งขันเพื่อตำแหน่งทางการ เมือง เช่น ลอบสังหารฝ่ายตรงข้ามเพื่อให้คะแนนมาอยู่ฝ่ายตัวเอง
เรื่องนี้ประเทศไทยมีปัญหาเสมอมา แกนนำชาวบ้านมักโดนยิงช่วงเลือกตั้ง ตำรวจมักตั้งประเด็นขัดแย้งผลประโยชน์ เรื่องส่วนตัวหรือเลือกตั้ง แต่ผลวิจัยพบว่า คน ๆ นั้นเกี่ยวพันกับการเลือกตั้งเสมอ เวลาจะเกิดความรุนแรง คือ ก่อนเลือกตั้ง โดยโค้งสุดท้ายสองสัปดาห์ก่อนหย่อนบัตรจะเป็นโค้งอันตราย และร้อยละ 80 จะเกิดในช่วงนี้ 
"แต่วันเลือกตั้งถือว่าเป็นช่วงสงบที่ สุด หลังเลือกตั้งจะแบ่งเป็นช่วงนับคะแนน และหลังประกาศผลอย่างเป็นทางการ หลายฝ่ายจับตาช่วงนี้เพราะมีขบวนการและกลุ่มมวลชนชัด อาจจะไม่สงบและควรเฝ้าระวัง แต่คงไม่น่ากลัว" 
นายประจักษ์ กล่าวต่อไปว่า ประเภทความรุนแรงในการเลือกตั้งนั้นแบ่งได้ คือ ความรุนแรงเพื่อเอาชนะการแข่งขันคือ การลอบสังหาร ประเทศไทยประสบความรุนแรงแบบนี้เป็นหลัก อยู่ในระดับสีเหลือง พอควบคุมได้ ความรุนแรงเพื่อล้มการเลือกตั้งหรือแทรกแซงการเลือกตั้ง เช่น กองทัพ อำนาจรัฐ รัฐประหาร ตุลาการภิวัตน์ อยู่ในระดับสีส้ม และควรเฝ้าระวัง เพราะลุ้นกันว่าจะมีเลือกตั้งหรือไม่ นักการเมืองยังวางเงินพนันกันว่า จะมีการเลือกตั้งหรือไม่เลย 
ล่าสุด พรรคชาติไทยพัฒนา พูดเรื่องอำนาจพิเศษจึงคาดว่าการเลือกตั้งครั้งนี้อาจไม่แน่นอน หากนำอำนาจพิเศษมาใช้อีก จะเป็นชนวนในความรุนแรงเพื่อประท้วงผลการเลือกตั้ง เช่น ผู้สนับสนุนพรรคต่างๆ และการชุมนุมประท้วงจะมีเงื่อนไขเพราะเหตุเชื่อได้ว่ามีการใช้บางอำนาจแทรก แซงผลเลือกตั้งไม่ให้เป็นไปตามเจตนาของประชาชน อยู่ในระดับสีแดง แต่จุดที่จะป้องกันเรื่องนี้ คือ ไม่ให้ระดับสีส้มเกิดขึ้น 
"ล่าสุด มีการปาไข่ฟองเดียวเพราะไข่แพง แต่ภาพมันดูรุนแรง" นายประจักษ์ หยอด และกล่าวต่อไปว่า สรุปคือไทยนั้น มีความรุนแรงปานกลาง เริ่มจากยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ จากระดับชาติสู่ท้องถิ่น เริ่มประท้วงตั้งแต่ปี 2544   แต่ประท้วงโดยสงบ เป็นความรุนแรงแบบปัจเจกชนมากกว่ามวลชน 
ส่วนตัวละครก่อความรุนแรง คือ มือปืน ช่วงอันตรายคือช่วงรณรงค์หาเสียง พื้นที่เสี่ยงคือไม่มีใครผูดขาดและพื้นที่มีประวัติศาสตร์ขัดแย้งรุนแรง จังหวัดที่มีซุ้มมือปืนอาจไม่มีความรุนแรง สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังไม่พบว่าความรุนแรงมาจากกลุ่มก่อความไม่สงบ ภาคกลาง ใต้ ตะวันออก มีความรุนแรงสูงสุด 
และเลือกตั้งครั้งนี้จากสถิติที่เก็บ ไว้ คือ เหตุรุนแรงเกิดขึ้นครั้งแรกวันที่ 2 มี.ค. รูปแบบยังเป็นการลอบยิง เสียชีวิตแล้วแปดราย บาดเจ็บเก้าราย เหตุรุนแรงยี่สิบสี่ครั้ง 
"ความรุนแรงในการล้มผลการเลือกตั้งน่า กลัวกว่าความรุนแรงในการเข่งขันของนักการเมือง ช่วงหลังเลือกตั้งหากไม่มีอำนาจพิเศษแทรกแซงหรือทุจริต จะไม่มีการประท้วง ประชาชนอย่าปฏิเสธการเลือกตั้ง แม้จะไม่ใช่ยาวิเศษ แต่มันเป็นประตูที่ต้องเปิดออก และต้องไม่ให้การเลือกตั้งนำไปสู่รัฐที่ล้มเหลว" นายประจักษ์ กล่าว

 
 
บทความอื่น ๆ ในหมวด
โครงการประสานงานชุดโครงการ The Crisis Management: Shared Experiences and Lesson Learned between Japan and Thailand
หัวข้อการนำเสนองานวิจัยในโครงการ Redesigning Thailand
โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ
"Fair to Flourishing: Thai?Malaysia Relations in the 21st Century and Beyond" speech by The Hon. Tun Abdullah Ahmad Badawi
 

จำนวนคนอ่าน 1824 คน ยังไม่มีผู้โหวต
 
คุณคิดอย่างไรกับการนำเสนอบทความนี้
ควรปรับปรุง ดีมาก
  1 2 3 4 5  
1 2 3 4 5
 


 
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม นับตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2555