ทุนสนับสนุนการตีพิมพ์บทความวิจัยและบทความวิชาการในวารสารวิชาการของคณะรัฐศาสตร์ ปีงบประมาณ 2561
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการขอรับทุนสนับสนุนการตีพิมพ์บทความวิจัย/บทความวิชาการในวารสารวิชาการ จากงบกองทุนวิจัยของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
-------------------------------------------------------
ศูนย์วิจัย ดิเรก ชัยนาม คณะรัฐศาสตร์ ซึ่งมีหน้าที่และรับผิดชอบในด้านการวิจัยของคณะ เห็นว่าคณะรัฐศาสตร์มีบุคลากรที่มีความรู้และความสามารถในการเขียนบทความวิจัย/บทความวิชาการ ซึ่งจะเห็นได้จากจำนวนผลงานวิจัย/ผลงานวิชาการที่ผลิตได้ในแต่ละปี ดังนั้น เพื่อเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลากรของคณะที่ผลิตผลงานวิจัย/ผลงานวิชาการดังกล่าว ได้ดำเนินการจัดทำ/เขียนบทความวิจัย/บทความวิชาการจากผลงานวิจัย/ผลงานวิชาการของตนเอง และสามารถนำไปตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการได้มากยิ่งขึ้น อันจะนำไปสู่การเผยแพร่ผลงานวิจัย/ผลงานวิชาการที่มีคุณภาพ ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ รวมทั้งสามารถนำมาใช้เป็นตัวชี้วัดในการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งในระดับคณะและมหาวิทยาลัยได้อีกทางหนึ่ง จึงเห็นสมควรให้ทุนสนับสนุนการตีพิมพ์บทความวิจัย/บทความวิชาการในวารสารวิชาการดังกล่าว
1. คุณสมบัติของผู้ขอรับทุนสนับสนุน
1.1 เป็นผู้ปฏิบัติงานในสายงานวิชาการหรือสายสนับสนุนวิชาการ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
1.2 สถานะในบทความวิจัยเป็น
1.2.1 ผู้วิจัยชื่อแรก (First Author)
1.2.2 ผู้วิจัยหลัก (Corresponding Author)
1.2.3 ผู้วิจัยที่มีสัดส่วนการทำวิจัยมากที่สุด
1.2.4 หากเป็นบทความที่เขียนร่วมกับบุคคลภายนอก จะต้องมีสัดส่วนการเขียนบทความวิจัย/บทความวิชาการเฉพาะบุคลากรของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
2. ลักษณะของบทความวิจัย/บทความวิชาการ
2.1 เป็นบทความวิจัย/บทความวิชาการได้รับการตีพิมพ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในวารสารวิชาการระดับชาติหรือระดับนานาชาติ ตามช่วงระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้ในการแจ้งเวียนทุนฯ ในแต่ละปีงบประมาณ
2.2 มีรูปแบบของบทความวิจัย/บทความวิชาการ (Document Type: Article) และไม่ใช่บทความจากการประชุมวิชาการ (Document Type: Conference Paper)
2.3 เป็นบทความวิจัย/บทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ในขณะที่ผู้เสนอขอรับทุนเป็นบุคลากรของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และต้องระบุชื่อสังกัดเป็น คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Faculty of Political Science, Thammasat University) ในบทความวิจัย/บทความวิชาการนั้นด้วย
3. หลักเกณฑ์และวิธีการให้ทุนสนับสนุน
3.1 บทความวิจัย/บทความวิชาการที่ขอรับการสนับสนุนการตีพิมพ์ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการส่งเสริมงานวิจัยของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3.2 กรณีที่บทความวิจัย/บทความวิชาการนั้นมีผู้เขียนบทความวิจัย/บทความวิชาการหลายคน ต้องมีลายลักษณ์อักษรหรือหนังสือยินยอมจากผู้เขียนบทความทุกคน โดยใช้หนังสือรับรองผลงานของผู้ร่วมเขียนบทความตามแบบฟอร์มที่กำหนดไว้
3.3 ผลการพิจารณาของคณะกรรมการส่งเสริมงานวิจัยของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย-ธรรมศาสตร์ ถือเป็นที่สุด และหากเอกสารการขอรับทุนไม่ครบถ้วนตามประเภทที่กำหนดไว้ จะขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาจัดสรรให้ทุนในลำดับถัดไป
4. เงินสนับสนุนการตีพิมพ์บทความวิจัย/บทความวิชาการ
4.1. เงินสนับสนุนการตีพิมพ์บทความวิจัย
4.1.1 ประเภทที่ 1 เป็นบทความวิจัยที่ได้ตีพิมพ์แล้ว (ตามช่วงระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้ในการแจ้งเวียนทุนฯ ในแต่ละปีงบประมาณ) ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูลสากล แต่ไม่จำเป็นต้องมีค่า impact factor อาทิเช่น ฐานข้อมูลสากลที่ครอบคลุมทุกสาขา ได้แก่ 1) ISI (Web of Science), 2) ScienceDirect, 3) Agricola, 4) Scopus, 5) Academic Search Premium, 6) Infotrieve, 7) Wilson หรือฐานข้อมูลสากลที่ครอบคลุมในสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ได้แก่ 1) Social Scisearch, 2) Eric, 3) PsycINFO, 4) Sociological Abstracts, 5) Art & Humanities Search, 6) Linguistic and Language Behavior Abstracts หรือวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่ปรากฏอยู่ในบัญชีรายชื่อวารสารวิชาการตามประกาศของ สมศ.
จำนวนทุนละ 20,000 บาท
4.1.2 ประเภทที่ 2 เป็นบทความวิจัยที่ตีพิมพ์แล้ว(ตามช่วงระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้ในการแจ้งเวียนทุนฯ ในแต่ละปีงบประมาณ) ในวารสารวิชาการระดับระดับชาติ ที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ จากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index Centre: TCI) หรือวารสารวิชาการระดับชาติที่ปรากฏอยู่ในบัญชีรายชื่อวารสารวิชาการตามประกาศของ สมศ.
จำนวนทุนละ 10,000 บาท
4.2. เงินสนับสนุนการตีพิมพ์บทความวิชาการ
4.2.1 ประเภทที่ 1 เป็นบทความวิชาการที่ได้ตีพิมพ์แล้ว (ตามช่วงระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้ในการแจ้งเวียนทุนฯ ในแต่ละปีงบประมาณ) ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูลสากล แต่ไม่จำเป็นต้องมีค่า impact factor อาทิเช่น ฐานข้อมูลสากลที่ครอบคลุมทุกสาขา ได้แก่ 1) ISI (Web of Science), 2) ScienceDirect, 3) Agricola, 4) Scopus, 5) Academic Search Premium, 6) Infotrieve, 7) Wilson หรือฐานข้อมูลสากลที่ครอบคลุมในสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ได้แก่ 1) Social Scisearch, 2) Eric, 3) PsycINFO, 4) Sociological Abstracts, 5) Art & Humanities Search, 6) Linguistic and Language
Behavior Abstracts หรือวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่ปรากฏอยู่ในบัญชีรายชื่อวารสารวิชาการตามประกาศของ สมศ.
จำนวนทุนละ 10,000 บาท
4.2.2 ประเภทที่ 2 เป็นบทความวิชาการที่ตีพิมพ์แล้วระดับชาติ (ตามช่วงระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้ในการแจ้งเวียนทุนฯ ในแต่ละปีงบประมาณ) ในวารสารวิชาการระดับ ที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ จากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index Centre: TCI) หรือวารสารวิชาการระดับชาติที่ปรากฏอยู่ในบัญชีรายชื่อวารสารวิชาการตามประกาศของ สมศ.
จำนวนทุนละ 5,000 บาท
5. คำอธิบายประกอบการพิจารณา
5.1 งานวิจัย หมายถึง ผลงานวิชาการที่เป็นงานศึกษาหรืองานค้นคว้าอย่างเป็นระบบด้วยวิทยาการวิจัยที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ และมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลคำตอบหรือข้อสรุปรวมที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือเอื้อต่อการนำวิชาการนั้นไปประยุกต์
5.2 บทความวิจัย หมายถึง บทความที่เป็นผลงานต่อเนื่องจากงานวิจัย หรือสกัดมาจากงานวิจัย เป็นบทความที่ประมวลสรุปกระบวนการวิจัย ให้มีความกระชับและสั้น สำหรับตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการโดยผ่านการกลั่นกรองและตรวจสอบ เนื้อหาสาระ และความถูกต้องจากผู้ทรงคุณวุฒิในวงวิชาการนั้นๆ (Peer review)
5.3 บทความวิชาการ หมายถึง เอกสารทางวิชาการที่เรียบร้องอย่างเป็นระบบ มีข้อความที่สะท้อนมุมมอง แนวคิดเชิงทฤษฎีที่ได้จากประสบการณ์ การสังเคราะห์เอกสาร โดยจัดทำเป็นรูปของบทความเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการที่มีคุณภาพซึ่งมีผู้ตรวจอ่าน
5.4 วารสารวิชาการระดับนานาชาติในฐานข้อมูลสากล ISI (จัดทําโดย ISI Journal Citation Report) สามารถสืบค้นได้ที่ http://adminapps.webofknowledge.com/JCR/ JCR?PointOfEntry=Home&SID=1AbNH8NMgLAHe5k@M9f
5.5 วารสารวิชาการระดับระดับชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI สามารถสืบค้นได้ที่ http://www.kmutt.ac.th/ jif/public_html/list%20journal.php
5.6 บัญชีรายชื่อวารวิชาการระดับชาติ/นานาชาติที่ปรากฏในประกาศของ สมศ. สามารถดูได้ที่ http://research.tu.ac.th
6. เอกสารและหลักฐานประกอบ
6.1 ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มเพื่อขอรับทุนสนับสนุนการตีพิมพ์บทความวิจัย/บทความวิชาการ ได้ที่ เว็บไซต์ศูนย์วิจัย ดิเรก ชัยนาม คณะรัฐศาสตร์http://www.polsci.tu.ac.th/direk/ และยื่นแบบฟอร์มขอรับทุนฯ พร้อมเอกสารประกอบต่างๆ ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้
6.2 เอกสารสำหรับยื่นขอรับการสนับสนุนทุนตีพิมพ์บทความวิจัย/บทความวิชาการในวารสารวิชาการ ประกอบด้วย
6.2.1 แบบฟอร์มเสนอขอรับทุนสนับสนุนการตีพิมพ์บทความวิจัย/บทความวิชาการในวารสารวิชาการ พร้อมกรอกรายละเอียดแล้ว จำนวน 1 ชุด
6.2.2 สำเนาบทความวิจัย/บทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์แล้วในวารสารวิชาการ (ตามช่วงระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้ในการแจ้งเวียนทุนฯ ในแต่ละปีงบประมาณ) พร้อมใบหน้าปกวารสารวิชาการ รายชื่อคณะกรรมการวารสารหรือบรรณาธิการ จำนวน 1 ชุด
6.2.3 รายละเอียดของวารสารวิชาการ ได้แก่ Description, Editorial Board จำนวน 1 ชุด
6.2.4 เอกสารแสดงชื่อวารสารวิชาการปรากฏอยู่ฐานข้อมูลสากล ISI, SCOPUS หรือฐานข้อมูลระดับชาติ TCI หรือวารสารวิชาการระดับชาติหรือระดับนานาชาติที่ปรากฏอยู่ในบัญชีรายชื่อวารสารวิชาการตามประกาศของ สมศ. (รายละเอียดตามข้อ 4) จำนวน 1 ชุด
-----------------------------------------------------
|
|
|